ความรับผิดชอบต่อตนเองในด้านต่างๆ

ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility: CSR)

บริษัทฯ ตระหนักถึงความสำคัญในการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อสังคม การกำกับดูแลกิจการที่ดี และยึดถือในความถูกต้อง โปร่งใส และคำนึงถึงผลประโยชน์และผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย ซึ่งในปีที่ผ่านมาบริษัทฯ มุ่งเน้นในการดำเนินงานด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมในกระบวนการธุรกิจ (CSR – in – Process) โดยครอบคลุมในเรื่องสิทธิมนุษยชน สิทธิแรงงานตามกฎหมาย การดำเนินธุรกิจที่เป็นธรรม การสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี และการดูแลความปลอดภัยให้แก่พนักงานของบริษัทฯ ไปจนถึงการพัฒนาบริการที่มีคุณภาพให้แก่ลูกค้าของบริษัทฯ ภายใต้หลักการตามแนวทางความรับผิดชอบต่อสังคมของกิจการของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในประเด็นต่าง ๆ ดังนี้

1. การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม
2. การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
3. การเคารพสิทธิมนุษยชน
4. การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม
5. ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค
6. การดูแลสิ่งแวดล้อม
7. การร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคม

Home » ความรับผิดชอบต่อสังคม

1

การประกอบกิจการด้วยความเป็นธรรม

บริษัทฯ มีแนวทางในการดำเนินธุรกิจด้วยความเป็นธรรมโดยได้กำหนดขึ้นเป็นนโยบายหลักเกณฑ์ และมาตรฐานในการประพฤติ ปฏิบัติ ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทุกคนต้องถือปฏิบัติ อันได้แก่ นโยบายการกำกับดูแลกิจการ และคู่มือจริยธรรมธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมถึงการดำเนินการดูแลผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มของบริษัทฯ ซึ่งคณะกรรมการบริษัท จะทำหน้าที่ในการกำกับดูแลให้บริษัทฯ มีการดำเนินงาน และปฏิบัติตามนโยบาย และคู่มือดังกล่าวอย่างเคร่งครัด

2

การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน

บริษัทฯ ยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง ตรงไปตรงมา ซื่อสัตย์ โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้ รวมทั้ง จะไม่ปฏิบัติ หรือไม่สนับสนุนการปฏิบัติที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย และขัดต่อนโยบายการต่อต้านคอร์รัปชัน

3

การเคารพสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯ ยึดถือหลักสิทธิมนุษยชนเป็นหลักในการปฏิบัติงานร่วมกัน โดยพนักงานทุกคนจะต้องเคารพหลักสิทธิมนุษยชน โดยการปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม และปราศจากการเลือกปฏิบัติ โดยกำหนดเป็นนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติ เพื่อให้พนักงานทุกคนยึดถือปฏิบัติ

4

การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม

บริษัทฯ ตระหนักดีว่าพนักงานเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า อันเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความสำเร็จขององค์กร ดังนั้น บริษัทฯ จึงให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิบัติต่อพนักงานตามหลักสิทธิมนุษยชน ซึ่งไม่ขัดต่อกฎหมาย โดยคำนึงถึงความต้องการ  ของพนักงาน เพื่อส่งเสริมพัฒนาทักษะ และสร้างความมั่นคง รวมไปถึง ความก้าวหน้าในอาชีพให้แก่พนักงาน ซึ่งได้กำหนดเป็นนโยบายและแนวทางในการปฏิบัติต่อพนักงาน ได้แก่ นโยบายแนวปฏิบัติความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสิ่งแวดล้อมในการทำงาน และ นโยบายและแนวปฏิบัติการสรรหา การบริหารค่าตอบแทนและสวัสดิการ การพัฒนาและการปฏิบัติต่อพนักงาน

5

ความรับผิดชอบต่อผู้บริโภค

บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะส่งมอบบริการเพื่อความพึงพอใจของ
ผู้บริโภค และประโยชน์สูงสุดของลูกค้า ผ่านการบริการที่มีประสิทธิภาพ โดยกำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อ
ผู้บริโภค ดังนี้

1-มุ่งมั่นพัฒนา และสร้างสรรค์นวัตกรรม เพื่อให้ได้มาซึ่งการบริการที่ทันสมัยตรงตามความต้องการ

2-ต้องไม่กระทำการใดอันเป็นการหลอกลวง หรือทำให้หลงเชื่อในคุณภาพสินค้าและบริการ

3-มีระบบการจัดเก็บข้อมูลลูกค้า/ผู้ที่เกี่ยวข้อง และป้องกันความปลอดภัยในการนำข้อมูลไปใช้อย่างไม่ถูกต้อง

4-มีช่องทางในการรับข้อเสนอแนะ ให้คำปรึกษา และรับเรื่องร้องเรียน เพื่อให้ผู้บริโภคพึงพอใจ และได้รับประโยชน์สูงสุดจากการใช้บริการ

6

การดูแลสิ่งแวดล้อม

บริษัทฯ ให้ความสำคัญถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งเกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ รวมไปถึงการ
มุ่งมั่น ที่จะส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึก และ
ความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม โดยกำหนดเป็น
แนวทางในการปฏิบัติ ดังนี้

1-ปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ ให้กับพนักงานทุกระดับ

2-สนับสนุนและส่งเสริม ให้มีการใช้วัสดุ หรืออุปกรณ์ต่าง ๆ รวมทั้งทรัพยากรต่าง ๆ อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล

3-สนับสนุนการแบ่งปันข้อมูลด้านสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนกิจกรรมต่าง ๆ ทั้งในและนอกประเทศ อันเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

7

การร่วมพัฒนาชุมชนหรือสังคม

บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อความปลอดภัยของชุมชม และสังคม และมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมให้พนักงานมีจิตสำนึก และความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชน พร้อมทั้ง ให้ความสำคัญต่อการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาคุณภาพชีวิต และความเจริญแก่ชุมชน โดยกำหนดเป็นแนวทางในการปฏิบัติต่อชุมชน สังคม และสิ่งแวดล้อม ดังนี้

1-รับผิดชอบ และให้ความช่วยเหลืออย่างเหมาะสมแก่สังคมและชุมชน โดยคำนึงถึงวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียม ประเพณีท้องถิ่นตามบริเวณนั้น ๆ

2-ดำเนินกิจกรรม หรือมีส่วนร่วมในการดำเนินกิจกรรม เพื่อสร้างสรรค์สังคมและชุมชนอย่างสม่ำเสมอ

3-การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับองค์กร ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน เพื่อประสานความร่วมมือในการพัฒนาชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน

4-ปลูกฝังจิตสำนึกความรับผิดชอบต่อสังคมและชุมชนให้กับพนักงานทุกระดับ

ความรับผิดชอบต่อตนเอง มีอะไรบ้าง

คือ 1. ความรับผิดชอบต่อตนเอง ได้แก่ 1.1 ความรับผิดชอบในการรักษาสุขภาพอนามัย 1.2 ความรับผิดชอบในการจัดหาเครื่องอุปโภค บริโภค 1.3 ความรับผิดชอบด้านสติปัญญาและความสามารถ 1.4 ความรับผิดชอบในด้านความประพฤติ 1.5 ความรับผิดชอบด้านมนุษยสัมพันธ์ 1.6 ความรับผิดชอบด้านเศรษฐกิจส่วนตัว 1.7 ความรับผิดชอบด้านการงานที่ได้รับมอบหมาย

มีความรับผิดชอบ อย่างไรบ้าง

7 วิธีที่จะทำให้คุณเป็นคนที่ “ รับผิดชอบ “ มากขึ้น.
1 . รับผิดชอบคำพูด อารมณ์ และพฤติกรรมของตัวเอง ... .
2 . หยุดกล่าวโทษคนอื่น ... .
3 . หยุดบ่น ... .
4 . จัดการให้ตัวเองมีความสุข ... .
5 . ใช้ชีวิตอย่างมีสติ ... .
6 . หยุดผลัดวันประกันพรุ่ง ... .
7 . มีวินัยกับตาราง.

ความรับผิดชอบต่อส่วนรวม คืออะไร

2. ความรับผิดชอบต่อสังคมหรือส่วนรวม หมายถึง รู้จักฐานะหน้าที่ความ รับผิดชอบของตนเองที่มีต่อสังคม อันได้แก่ ความรับผิดชอบต่อครอบครัว โรงเรียน ชุมชน ประเทศชาติและบุคคลที่เกี่ยวข้อง โดยปฏิบัติอย่างถูกต้องเหมาะสม เกิดประโยชน์แก่สังคม ส่วนรวม 16.

ความรับผิดชอบต่อหน้าที่" หมายความว่าอย่างไร

Accountability (ความรับผิดชอบในหน้าที่) ความหมาย : จิตสำนึกและความรับผิดชอบในหน้าที่ โดยเอาใจใส่มุ่งมั่นให้งานที่รับผิดชอบสำเร็จตามวัตถุประสงค์ ร่วมรับผิดชอบในภารกิจและเป้าหมายของหน่วยงานและองค์กร