งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

Impulsion Pattern - จะประกอบด้วย 5 คลื่นหลัก คือ 1-2-3-4-5 ( ผมขอใช้ขาขึ้นเป็น model นะครับ ส่วนขาลงก็จะเหมือนกันแต่มีทิศทางลง) โดยคลื่นที่ 1 จะเริ่มวิ่งขึ้นไปหลังจากจบ wave-C ของ รอบก่อนแล้ว มักจะวิ่งขึ้นเร็ว แต่ volume ยังไม่มากนัก ค่า RSI-14 มักจะวิ่งขึ้นมาจากแถว 30 ขึ้นไปแถว 65-70 ซึ่งผมมักจะใช้ค่า RSI และนับจำนวนคลื่นย่อยว่าเป็น 5 คลื่นย่อยใช่หรือไม่ หากครบทั้ง 2 กรณี ก็อาจจะเป็น wvae-1 ได้ แต่หากค่า RSI-14 สูงสุดได้แค่ 50-60 ก็อย่าหวังว่าจะเป็น wave-1 เลยน่าจะเป็น wave-X แล้วจะลงไปทำ wave-a ต่อไปแทน อันนี้แล้วแต่เทคนิคของแต่ละคน ผมไม่ยืนยันว่าถูกหรือผิด ขอเป็นความเห็นส่วนตัวแล้วกันนะครับ


งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip



********

แนะนำบทความรวมคลิป = คอร์สหุ้นออนไลน์ 

ชมฟรีครับ ที่ช่องยูทูปของ zyo


งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip


https://www.zyo71.com/2021/11/free-full-trading-course-by-zyo.html


คอร์สเรียนหุ้นเทคนิค คอร์สเรียนหุ้นมือใหม่ 

เรียนหุ้นที่ไหนดี 2564 เรียนหุ้นออนไลน์ฟรี 


งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip



***********

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip



หลังจากที่เราทราบจุดสูงสุดของ wave-1 แล้ว ( ปกติ RSI-14 ของ wave-1 มักไม่สูงเกิน 75 หรอกครับ หากมีก็น้อยมากแล้วจะปรับลงอย่างรวดเร็ว แม้ราคาจะลงไม่เร็วก็ได้ ) ผมจะเริ่มมองหาเป้าหมายของ wave-2 โดยใช้ ค่า Fibonacci Retracement ที่ 38.2%-61.8% เป็นจุดกำหนด โดยดูแต่ละระดับ ควบคู่กับค่า RSI หรือ STO รวมทั้งนับจำนวนคลื่นด้วยว่าเป็น a-b-c หากได้ครบทั้ง หมดแล้ว เช่นราคาลงมาที่ 61.8% และค่า RSI-14 ของ wave-2 มักจะลงมาแถวๆ ต่ำกว่า 40 และมีคลื่นย่อยครบตามลักษณะ a-b-c แล้ว ก็รอดูเมื่อไหร่มันจะเด้งครับ จุดนี้ล่ะครับเป็นจุดที่สำคัญเพราะจะเป็นราคาที่ต่ำที่สุดในรอบนี้แล้ว จะไม่มีราคา Sale นี้อีกในรอบนี้ หากเป็นขาขึ้นจริง จากนั้นก็รอถือไปเรื่อยๆ ครับ แต่ อย่าลืม stop loss ทีราคา Previous low นะครับ ป้องกันตัวเองไว้ก่อนทุกครั้งที่ซื้อ จะได้ไม่เจ็บตัว หากผิดทาง


“หากพี่เห็นหุ้น (that)ตัวนึงเป็นขาลง มานานแล้ว และ(หรือ)กำลัง sideway ออกข้าง ทันใดนั้นเอง มันก็พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็ว ทะลุ high เดิมขึ้นมาได้ทั้งหมด พร้อมๆกับ วอลุ่มที่เพิ่มขึ้นแบบพรวดพราด จนขึ้น most active ได้( เว่อร์) ขอให้ คิดไว้ในใจได้เลยว่า นี่คือ wave 1” และเครื่องยืนยันอีก อันนึงที่ขาดไม่ได้เลยก็คือออออ “ระยะเวลา”


โดยส่วนใหญ่ wave1 ที่ผมพบ เกือบๆทุกๆเวฟ มันจะเร็วมากกกกก คือขึ้น เร็ว ลงก็เร็ว เวลาลง มันจะลง เกือบถึงติดดินที่มันเคยอยู่เลย หรือไม่หาก ใช้ตัวเลข Fibonacci ละก็จะประมาณ 78.6% (ก็ได้) เหมือนกัน ซึ่งก็คือ wave2 นั่นเอง

พุดง่ายๆ ในช่วง เวฟหนึ่ง นี่เอง แมงเม่า โดยส่วนใหญ่ จะ “ไม่ได้กำไร” เพราะมันเร็ว ตัดสินใจไม่ทัน ตะลึงกันอยู่ พอคราวบินเข้าไปก็ยอดดอยแล้ว


....สมมติเราซื้อได้ที่ wave-2 แล้ว แนะนำให้ถือไปเรื่อยๆ หากเรามองถูกต้องค่า RSI นับวันก็จะค่อยๆวิ่งขึ้นไปเรื่อยๆ จนกว่าค่า RSI จะเริ่มวิ่งเข้าสู่ 65-70 ก็จะมีแรงกระชากราคาให้วิ่งเร็วยิ่งขึ้น เหมือนม้ากำลังจะเข้าทางตรง วิ่งไม่คิดชีวิต ช่วงนี้แหละครับ ไม่ว่ารายย่อยรายใหญ่เข้าตะลุมบอนกัน Volume เลยโป่งออกมา ตามรูปแบบ wave-3 เป๊ะเลย ยังครับ ยังไม่ต้องขาย ให้รอต่อไปจนค่า RSI > 85-90 ช่วงนี้ต้องสังเกตใกล้ชิดแล้วครับเพราะแกว่งตัวแรงมาก volume ก็มากมีแต่ไม้ใหญ่ๆ indicators ที่เราต้องสังเกตให้ดีคือ RSI เริ่มหักหัวลง ค่า STO %K ตัด %D ลงมาในเขต Overbought area ราคาเริ่มติดลบ ตรงนี้ หากพอใจในกำไรก็น่าจะออกมาก่อนนะครับ ได้มักไม่คุ้มเสีย เก็บกำไรใส่ตุ่มไว้ก่อนนะครับ แล้วมารอซื้อใหม่ข้างล่างดีกว่าครับ


....ลืมบอกอีกอย่าง ที่จริงแล้วผมต้องหาราคาเป็าหมายของ wave-3 โดยใช้ Fibonacci Retracement ร่วมกับการดูค่า RSI ประกอบว่ามันจะไป peak ที่ไหน โดยทั่วไป จุดสูงสุดของ wave-3 จะอยู่ประมาณ 1.618 เท่าของความยาว wave-1 โดยนับต่อยอดขึ้นไปจาก wave-1 (ในกรณีที่มองว่า wave-3 เป็น wave ที่ยาวที่สุด )


สมมติอีกทีว่า เราขายตรง wave-3 แล้ว แหมช่างโชคดีอะไรอย่างนี้ ราคาร่วงทันตาเห็น ก็แอบอมยิ้มที่เพิ่งได้กำไรครั้งแรกในชีวิต คราวนี้รู้สึกติดใจ แล้วเราจะรับกลับที่ราคาตรงไหนดีล่ะ ? แหมมันก็อยากได้อีกนี่

นาย ELLIOTT เขาบอกว่า (หรือใครบอกก็จำไม่ได้แล้วแต่ช่างมันเถอะ) wave-4 มันมักจะปรับตัวลงมาอย่างน้อยต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 0.382 เท่าของความยาว wave-3 ที่เพิ่งจบลง คำว่า '' อย่างน้อย '' แสดงว่า อาจมากกว่า โดยเป็น 0.50 0.618 หรือ 0.786 ก็ได้สิ ? คำตอบคือ ใช่ครับ

แต่ผมบอกแล้วไงครับว่า เราต้องดู indicators อื่นๆ ประกอบด้วยดูแต่ราคาอย่างเดียวไม่ได้ เดี๋ยวหลงทาง ปกติแล้วค่า RSI ของ wave-4 มักจะลงมาค่อนข้างต่ำจนเข้าเขต oversold area เลย คือต่ำกว่า 30 นั่นเอง ตัวเลขอย่าไปยึดมั่นว่าต้องเป๊ะๆ นะครับ ต้องดูอย่างอื่นประกอบด้วย และกฎอีกอย่างคือ จุดต่ำสุดของ wave-4 จะลงมาต่ำกว่าจุดสูงสุดของ wave-1 ไม่ได้นะครับ มันเป็นกฎ ( ที่จริงแล้วมันเกิดขึ้นได้ ในการ overlap ระหว่างจุด ต่ำสุดของ wave-4 และจุดสูงสุดของ wave-1 แต่จะทำให้เกิดรูปแบบที่เรียกว่า Terminal Impulse pattern ซึ่งจะคุยให้ฟังภายหลัง ตัวนี้น่าสนใจมาก ขอบอก ) ดังนั้นเวลาเราหาเป้าหมายราคาโดยใช้ Fibo Retracement ก็ต้องดูด้วยว่าราคามันลงไปต่ำกว่ายอด wave-1 หรือเปล่า ถ้าต่ำกว่าก็ใช้ค่านั้นไม่ได้ หลังจากรอจนได้ราคาลงมาพอสมควรแล้ว ดูค่า RSI ได้ 25-30 แล้ว ได้ค่าตัวเลข Fibo Ret ที่เป็นแนวรับแล้วเช่นลงมา 61.8% คราวนี้ก็รอครับ ให้มีการกระตุกราคา หรือดูว่าค่า RSI เริ่มวิ่งขึ้นจาก oversold area และค่า STO %K ตัด %D ขึ้นไป ก็เริ่มเข้าทะยอยเก็บคืนครับ อย่าลืมนับคลื่นด้วนนะครับ wave-4 ก็ต้องมี a-b-c นะครับ เมื่อครบทุกอย่างก็ลงมือครับ


.....สำหรับเป้าหมายของ wave-5 นั้นแยกออกเป็นหลายรูปแบบอีกซึ่งต้องระวังแล้วเพราะเป็นคลื่นขาขึ้นสุดท้าย ซึ่งแรงซื้อจะน้อยกว่า wave-3 ค่า RSI สูงสุดก็มักอยู่แถว ๆ 70-80 เท่านั้น จะต่ำกว่าตอน wave-3 แน่นอนยืนยันนอนยันได้ ดังนั้นหากค่า RSI ที่วิ่งขึ้นจาก 30 ตอน wave-4 ขึ้นไปถึงแถวๆ ตัวเลขนี้แล้วก็ต้องระวังตัวกันแล้ว และกรุณาช่วยนับคลื่นดูด้วยว่า ครบ 5 คลื่นย่อยแล้วหรือยัง หากครบทุกอย่างแล้ว เวลาจะจบ wave-5 มักจะจบไม่ค่อยสวย คือเล่นโยนลงมาแบบ Grand sale ไม่สนใจอะไรทั้งนั้น แม้จะมีข่าวดีไม่ดีก็ไม่รู้ กว่ารายย่อยจะรู้มักจะทำ WAVE-A ไปแล้ว ติดดอยกันเป็นแถวๆ ดังนั้นจึงขอเตือนแล้วเตือนอีก ว่า ศึกษาให้มาก มันมีอะไรมากกว่าที่เราคิดเสมอ แล้วเงินในกระเป๋าเราก็จะยังอยู่ครบครับ

- ช่อง CryptoZyo แนวทางการสวิงเทรด Crypto

- ข้อสังเกต จากการเทรด Bitcoin และเหรียญ Crypto โดย CryptoZyo





การนับเวฟสูตรพี่เสือ

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10155610798900508&set=pcb.10155610808065508&type=3

ตอนจบพี่เค้าสรุปเป็นหลักง่ายๆ ว่า

๑) Ema เกิด golden cross มักจะเป็นเวฟ 3

๒) RSI ทำ peak และมักจะเกิด bearish divergence ตามมา แล้ว macd ตัดลง =จบเวฟ 3

๓) Macd ย่อลงมาหา 10% และไม่เกิน -40% พร้อมกับราคาย่อมา ema ระยะกลางหรือ 50-75 days ก็จะเป็นการหาจุดจบของเวฟ 4

๔) สุดท้าย macd ตัดกลับขึ้นไปก็เข้าเวฟ 5 มีเป้าที่ hi เดิม หรืออาจจะเกิด new hi พร้อม di ใน macd


มาถึงเรื่องที่ติดไว้นาน ได้เขียนสักที เรื่องเกี่ยวกับใช้ macd ในการนับเวฟ

ก่อนไปถึงตรงนั้นผมบอกก่อนนะครับว่า

1. ข้อนี้สำคัญมาก คือหลักการพื้นฐานของเวฟสำหรับผมคือเราจะนับมันได้ถูกต้องที่สุดเมื่อมันจบแล้วนะครับ และสิ่งที่เขียนก็ประสบการณ์ผมล้วนๆ โดยไม่ได้ทดลองหรือ backtest อะไร การเอาไปใช้จริงจึงควรมีการทดลองข้อมูลย้อนหลังก่อนแล้วกันนะครับ อย่าเพิ่งเชื่อผมมาก ฮ่า

2. ผมนับได้แค่เวฟแบบเบสิคเลยนะ คือ 1-2-3-4-5-a-b-c พวก pattern ยากกว่านี้ผมนับไม่เป็นนะครับ แค่พวกปรับตัวแบบ flat หรือ zigzag นี่ก็ผมก็ยังลืมๆ แล้ว ฮ่า ก็ถ้าสนใจจริงๆ ในสายเวฟ อาจจะต้องลองศึกษาตำราเพิ่มดูนะครับ

3. อันนี้ก็สำคัญ คือผมเคยอ่านหนังสือของ Tom Joseph เล่ม Mechanical Trading System using EW เขาบอกว่า เวฟนี่มันนับยาก แล้วก็มุมมองจะต่างกันเยอะ เขาเลยแนะนำว่า เวฟที่ง่ายสุดคือเวฟ 4 ไป 5 เพราะมันดูง่ายสุด และก็ให้ผลตอบแทนดีประมาณนึงเลยล่ะ (ใครเคยใช้ advancget จะรู้ว่ามันมี wave oscillator ไว้จับหาเวฟ 4 ด้วยนะ แต่ผมใช้ macd แทน)

4. Trick ผมอีกอย่างคือ ผมไม่ไปนับเวฟให้ได้ในกราฟทุกกราฟนะ แต่ผมจะหากราฟที่ผมนับได้ คุ้นตา และรู้ทางหนีทีไล่มากกว่า ซึ่งในตัวอย่างนี้ก็เข้า pattern ที่ผมคุ้นเลยล่ะ ก็เลยยกตัวอย่างมาให้ดูนะครับ (ตรงที่เราหาแต่กราฟที่มันเข้าทางเรานี่ จะมีเรื่องจิตวิทยาเข้ามาเสริมด้วยนะ คงไว้เล่ากันอีกที)

5. อีกอันสำคัญเช่นกันถ้าจะศึกษาต่อนะครับ เวฟนี่มักจะใช้คู่กับฟิโปเลยนะ ซึ่งตัวฟิโบนี่แหละที่ผมจะไม่ค่อยได้ใช้ที่สุด เพราะบางทีเราเครื่องมือไม่พร้อมมันก็ลากยาก เช่น ดูในมือถือเงี้ย ผมเลยไม่ได้ใช้ ตรงนี้ต้องบอกเลยว่า ถ้าศึกษาต่อ จะได้ใช้เยอะเลยนะฮะ

เอาล่ะ เริ่มกันเลยนะ

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

ภาพที่ 1

1. ดูภาพแรกก่อนนะ ภาพที่ 1 นี่คือ basic ของเวฟเลยในแง่ของ complete cycle ก็แบ่งตามเส้นกลางก่อน คือ impulse wave มี 1-2-3-4-5 ภาษาไทยก็เวฟส่ง ส่วนตอนลงจะเป็น correction wave a b c นะ อันนี้คือ basic ถ้าจะลึกกว่านี้ก็จะมีเวฟย่อยอีก เช่น ในขา impulse เวฟ 3 จะมีเวฟย่อย 5 เวฟ ย่อ 4 มี 3 เวฟ อันนี้จะยากละ เราเอา basic กับข้อสังเกตก่อนแล้วกันนะ

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

2. ทีนี้มาต่อที่ภาพ 2 เอาส่วนของ indicator ก่อน ในกราฟราคาผมใช้ ema 10 25 50 75 200 อันนี้ไม่มีเหตุผลนอกจากมันชินละ ฮ่า แต่ concept มันคือแต่ละอันก็จะเป็นตัวแทนของค่า สั้น กลาง ยาว

3. Ema ใช้ยังไง - ใช้ 2 อย่างนะ คือดู golden cross กับเอาไว้ดูตอนย่อเวฟ 4

4. Golden cross ก็ง่ายๆ คือ ema มันตัดขึ้นเรียงกันหมด อันนี้ขีดเส้นใต้เลยนะ วิธีผมคือ ตรงนี้มักจะเป็นเวฟ 3 มาร์กไว้ก่อนเลย

5. ดูในภาพ 2 นะ เราจะเห็นว่าหุ้นที่ผมยกตัวอย่างมา มันทำ golden cross มาแล้ว จากนั้นเราจะไปดู indicator อีก 2 ตัวคือ RSI กับ macd

6. เวฟ 3 เนี่ย ผมดู 2 อย่างคือ RSI ทำ peak ณ ตรงจุดนั้นในเวฟ 3 มันจะทำ 3 of 3 แล้วพอทำ di ที่ผมขีดเส้นไว้ ก็จะมา 5 of 3 ตรงนี้อาจจะเริ่มงงเพราะต้องไปดู timeframe ย่อยๆ แต่เอาแบบง่ายๆ คือเวฟ 3 มันจะเริ่มใกล้จะจบละ ซึ่งมันจะจบลงตอน macd ตัดลง ก็เป็นอันจบเวฟ 3 (แต่จริงๆถ้าใช้ fibo เวฟ 3 นี่มักจะทำ 1.618 of เวฟ 1 อันนี้ไว้ใช้ตอนหาเป้านะฮะ อย่างที่บอก เวฟนี่คู่กับ fibo เลยล่ะ อันนี้ยกตัวอย่างข้อสังเกตให้ดู)

7. ตามภาพเราก็จะเห็นว่ามันจบเวฟ 3 ละ ทีนี้ต่อมา เวฟ 4 จะมี 3 จุดสังเกตคือมันมักจะลงมาที่ ema50-75 ก็คือเส้นระยะกลาง ซึ่งตามภาพมันลงมาแล้วนะ มาถึง ema75 ก็มีแรงรับไว้เลย ซึ่งถ้าเรานับถูก ต่อไปมันจะทำวงจรของเวฟ 5 ต่อไปละ

8. จุดที่ 2 ของข้อสังเกตของเวฟ 4 คือ macd ถ้ายังเป็น เวฟ 4 ให้มาร์กที่จุดสูงสุดของ macd แล้วตามดูค่าของ macd มันมักจะลงมาแถว ๆ 10% และต้องไม่เกิน -40% เช่น macd ไป 2 ลงมาก็ไม่ควรเกิน 0.2 หรือถ้าตัด 0 ลงไป ก็ไม่ควรเกิน -0.1 (-40%) แต่เอาตามประสบการณ์นะ ตัดลงมาแล้วไม่หลุด 0 แล้วตัดกลับนี่แหละ ดีเลิศประเสริฐศรีสุดละ ฮ่า

9. จุดสังเกตที่ 3 ของเวฟ 4 นะ คืออย่าหลุดเกินหัวเวฟ 1 อันนี้ผมไม่ได้ใช้ละเอียดขนาดนี้เท่าไหร่ เพราะผมมักจะหาตัวที่แกร่งๆ หน่อย เช่น macd ตัดลง แล้วไม่ลงลึกถึง 0 อะไรประมาณนั้น เพราะถ้ามันลึกมาขนาดใกล้หัวเวฟ 1 ตัว macd ก็มักจะหลุด 0 หุ้นตัวนั้นก็ไม่น่าสนใจเท่าไหร่

10. ทีนี้ สุดท้ายของภาพ 2 นะ ถ้าเรานับถูก พอ macd ตัดกลับ มันจะเข้าเวฟ 5 เป้าของเวฟ 5 คือ ไฮเดิมหรือมากกว่า อันนี้ก็ขีดเส้นใต้ไว้เลย ก็ถ้ามาดูหุ้นตัวนี้ ถ้าเรานับถูก มันควรไปแถวๆ 4.8++ ก็ราวๆ 13% จากราคาปัจจุบัน ก็น่าสนใจพอได้เนอะ และอีกข้อสังเกตสำคัญของเวฟ 5 คือมันจะมาพร้อมกับ di ใน macd อันนี้ก็ขีดเส้นใต้ไว้เช่นกัน

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

11. มาภาพ 3 เอา ema ออก มันลายตา(ฮ่า) นับแบบเอาภาพใหญ่ๆ พอนะ หลังจากเราเช็ค ema แล้ว ก็มาร์กจุดให้เห็นภาพนะฮะว่ามันทำ 1 2 มาเข้าเวฟ 3 ยังไง พอมี di ใน RSI ก็เฝ้าระวัง แล้วพอจบเวฟ 3 ลง 4 ก็ใช้ macd ในการดู

12. จากภาพ มีข้อสังเกตอีกอย่างว่ามันก็จะคล้ายๆ Dow Theory ตรงการทำ higher high/higher low ยกฐานไปเรื่อยๆ อย่างเวฟ 1 2 มันก็คือไม่มี lower low แล้วพอจะเริ่มเข้า 3 ซึ่งในแง่เวฟก็คือการทำ เวฟย่อยของเวฟ 3 ขึ้นไป มันก็ทำ Higher high ไปเรื่อยๆ จนมีการเบรกพร้อมวอลลุ่มตามมา ก็จะเข้าเวฟ 3 อย่างสวยงามหยดย้อย กำไรบานตะไทไชโยโห่ฮิ้ว

13. ย้ำอีกที ถ้ามันไป 5 นะครับ มันจะทำ di ใน macd แล้วทีนี้ อันนี้ก็เฝ้าระวังต่อ ผมก็ใช้ macd เหมือนเดิมนี่แหละ ในการบอกว่ามันจบ คือตัดลงตอนไหนก็จบตอนนั้นแหละ ไม่มีลีลา แต่ในแง่การเทรด พอมันมาไฮเก่า ก็จะเป็นจุดเฝ้าระวังได้อีกจุด อาจจะแบ่งไม้ทำกำไร เพื่อช่วยเรื่องจิตวิทยาไป หรือจะใช้การตั้ง trailing stop ก็ได้นะ lower low ก็ปิดไปซะ อันนี้ตามความถนัดได้เลย

14. จากนั้น พอจบ 5 ก็จะเข้าสู่ correction ซึ่งตรงนี้จะยากละ แต่คร่าวๆ คือ พบจบ 5 ตรงนี้ต้องนึกภาพเอา เพราะไม่มีภาพให้ดู ว่ามันจะเกิด macd ตัดลงหลังจากมี di ตรงนั้นแหละ จุดเตือนแรก จุดต่อมาคือมันจะหลุดเส้น 2-4 หรือเส้น trendline ก็จะจบขาขึ้นของ impulse และตรงนี้แหละที่ผมเจอ error บ่อยสุดเพราะหลังๆ มาหาเส้น 2-4 ไม่ค่อยเจอตามทฤษฎีเท่าไหร่ ดังนั้น ใน correction เหมือนอย่างที่ set เราเกิดอยู่ตอนนี้ก็เป็นช่วงของการนอนหลับพักผ่อนได้ มันยากก็อย่าไปเล่นมัน ฮ่า

หลักๆ ก็ประมาณนี้นะครับ ทีนี้ถ้าอยากจะหาว่า เฮ่ย เล่นแค่เวฟ 4 ไป 5 กำไรมันน้อย อยากหาเวฟ 3 แล้ว run ให้ได้กำไรมากกว่า ผมแนะนำว่า ลองเอาพวกค่า RSI กับ ema ตัดกันไปลอง test ดูนะว่า ค่าไหนมันมีนัยยะในการจับเวฟ 3 ซึ่งก็คือเมื่อเกิดขึ้นแล้ว golden cross มักจะตามมา ก็ถ้าใครหาเจอมาบอกผมด้วยแล้วกันนะ ฮ่า

โอเค สรุปเป็นหลักง่ายๆ อีกครั้งนะครับ

Ema เกิด golden cross มักจะเป็นเวฟ 3

RSI ทำ peak และมักจะเกิด di ตามมา แล้ว macd ตัดลง = จบเวฟ 3

Macd ย่อลงมาหา 10% และไม่เกิน -40% พร้อมกับราคาย่อมา ema ระยะกลางหรือ 50-75 days ก็จะเป็นการหาจุดจบของเวฟ 4

สุดท้าย macd ตัดกลับขึ้นไปก็เข้าเวฟ 5 มีเป้าที่ hi เดิม หรืออาจจะเกิด new hi พร้อม di ใน macd

สุดท้ายจริงๆ ย้ำอีกครั้ง

หลักการพื้นฐานเลยของผมคือ เวฟจะนับได้ถูกต้องที่สุดเมื่อมันจบลงแล้วนะครับ (ฮ่า) ดังนั้น อย่าไปยึดติดมันมาก

โชคดีมีชัยในการลงทุนกันทุกท่านนะครับ ^_^

ปล. di คือ bearish divergence นะครับ ส่วน bullish divergence ที่จะเกิดตอนขาลง ผมจะเรียกว่า convergence แทน

ปล2. ความรู้ทั้งหมดทั้งปวงในสายเวฟมาจากการศึกษากับ อ.เล่าปี่ และคุณหมอยินตันแห่งบอร์ดสินธรนะครับ

ปล3. ใครเจอหุ้นเข้าเวฟ 3 แล้วกำลังพักตัวอย่าลืมบอกกันด้วย ขอลอกๆ อ่อ

ปล4. ลืม label ภาพที่ 3 อันที่มีแต่แท่งเทียนน่ะนะฮะ ลืมไปๆ ต้องขอโทษด้วย




Elliott Waves - the Trading Plan
ก่อนหน้านี้เคยมีเนื้อหาที่พาดพิงถึงแผนการเทรด บางคนอาจจะยังไม่เคยเห็นตัวอย่าง จึงอยากยกเคส ลำดับขั้นตอนของ "แผนการเทรด" โดยการใช้ อีเลียตเวฟ ที่เจอจากเว็บต่างประเทศ ให้ดูว่าเขามีความรัดกุมแค่ไหน
ต้นฉบับคือ http://forex-indicators.net/cycle-indicators/elliott-waves/plan

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

ขั้นตอนที่ 1
เมื่อเราเปิดกราฟดู หากมีความมั่นใจราคามันทำขาลงจนจบเวฟ 5 ของขา c แล้ว
ก็ให้รอดูการกลับตัวของเทรนด์ สิ่งที่จะยืนยันชัดก็คือการเด้งแรงครั้งแรกและทำ Higher High ได้ด้วย
หรือนี่อาจจะเป็นเวฟหนึ่ง(คาดเอาไว้ก่อน เพราะเราไม่รู้อนาคต)

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip


ขั้นตอนที่ 2

เมื่อเจอ Higher High แล้ว ก็เจอการถล่มขายอย่างแรง(เป็นเรื่องปกติมากๆ)ราคาก็เป็นแท่งแดงลงมา 

ต่อไปก็เป็นเวลาแห่งการวางแผนเข้าซื้อก่อนที่มันจะเกิดแนวโน้มครั้งใหม่

ให้ใช้ Fibonacci retracement เพื่อหาระดับแนวรับที่มีนัยยะเมื่อราคาย่อลงมาทำเวฟสอง ระดับที่ต้องจับตาคือ 38.2%, 50% และ 61.8% ถ้าลงมาแตะแล้วไม่หลุด ก็เข้าซื้อได้



งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

ขั้นตอนที่ 3

เมื่อซื้อแล้ว ให้กำหนด stop loss ที่โลว์ของเวฟหนึ่ง (ที่ตั้งแบบนี้เพราะยึดตามกฎอีเลียตที่ว่ายอดเวฟสองต้องลงไปไม่ถึงจุดเริ่มต้นของเวฟหนึ่ง ดังนั้นถ้ามัน breakdown ลงไปได้ ก็แสดงว่าการลงไม่จบ ต้องขายหุ้นทิ้งทันที เพราะมันจะลงแรง) การกล้ายอมรับว่าตัวเองคิดผิดเป็นสิ่งที่ยากแต่ต้องทำให้ได้เพราะมันสำคัญมากๆต่อเงินต้นของเรา

หลังจากที่เปิดสถานะซื้อไปแล้ว (เราเห็นว่าราคาเด้งที่ระดับฟีโบที่ตั้งไว้ ก็ซื้อทันที) ถ้าราคาเด้งไปจากระระดับฟีโบที่เราเข้าซื้อ และขึ้นต่อไปได้อีก ก็ให้กำหนดราคาเป้าหมายที่ยอดไฮเดิม(คือยอดที่เราคิดว่าเป็นเวฟหนึ่ง) อันเป็นระดับราคาที่คนส่วนใหญ่มองว่าเป็นแนวต้านสำคัญ แนะนำให้ขายออกครึ่งหนึ่งก่อน ทำไมต้อง take profit ตรงนี้ล่ะมันไวไปมั้ย คุณอาจอยากถาม คำตอบคือ -- ก็เพราะว่าตลาดยังไม่แน่ใจว่ามันเป็นขาขึ้นชัวร์หรือเปล่าไง มันแค่เด้งขึ้นมาทำ double top และ reverse ลงไปก็ได้ เราจึงควรเก็บกำไรบางส่วนเอาไว้บ้าง

เมื่อราคาถึงเป้าแล้ว ก็เลื่อน Stop order ขึ้นไปวางที่จุดต้นทุนของเรา


งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

ขั้นตอนที่ 4

พิจารณา 2 บริเวณจุดสำคัญ:

1. เมื่อความยาวของเวฟใหม่เท่าเวฟแรก (Length 1 = Length 2) ราคาขึ้นไปเจอแนวต้าน

2. เมื่อราคาวิ่งขึ้นไปชนเส้นเทรนไลน์คู่ขนานด้านบน แสดงว่าเจออีกแนวต้าน

ถ้าราคาทะลุผ่านต้านทั้งสองได้ ก็ให้ซื้อเพิ่มเมื่อรู้ชัดว่ามันยืนได้ เพราะมันคือเวฟสาม ที่แข็งแกร่งสุด มันจึงเป็นโอกาสที่จะทำเงินต่อไปได้อีก


งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

ขั้นตอนที่ 5

ใช้ Fibonacci Expansion เพื่อหาราคาเป้าหมายที่ระดับราคา 161.8%

เมื่อราคาวิ่งถึงระดับราคานี้-ให้ขายหุ้นออกให้หมด

ทำไมล่ะ? เพราะเวฟสามนั้นราคาขึ้นแข็งแกร่งและให้กำไรดีที่สุดไง

เวฟสี่โดยส่วนใหญ่จะลงแรงและบางทีก็ยาวนานกว่าจะจบ

อีกอย่าง เวฟห้าบางทีมันอาจจะไม่ได้แรงพอที่จะไปทำนิวไฮได้ด้วยซ้ำ

เราจึงไม่ควรเสียเวลากับมัน



งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

ขั้นตอนที่ 6

ถ้าคุณอยากจะทำเงินจากเวฟสี่ ก็ให้ขายช็อร์ต แล้วไป take profit ที่ระดับฟีโบนาชี 38.2% - 50% หรือจะอยู่ในระดับของเส้นเทรนด์ไลน์ด้านล่าง(ดูรูป)


งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

ขั้นตอนที่ 7

เวฟห้าเป็นจุดสุดท้ายที่เราควรจะปิดโพสิชั่นที่เหลือทั้งหมด

ต้องหาจุดสำคัญเพื่อทำกำไร

- ลากเส้นเทรนด์ไลน์คู่ขนานโดยอ้างอิงจากเส้นล่าง (หากเวฟสามชันมากๆ ให้เส้นที่ลากขนานใหม่นั้นแตะยอดเวฟหนึ่งแต่ตัดผ่านแท่งเทียนของเวฟสามได้ แต่มันจะให้ราคาเป้าหมายที่ทรงคุณค่าของเวฟห้า

- take profit ออกครึ่งหนึ่งเมื่อราคาวิ่งไปถึงยอดของเวฟสาม(เพราะมันเป็นแนวต้าน และมีโอกาสทำ double top ซึ่งเป็นเวฟห้าที่ไม่ปกติ)

- ใช้ 61.8% Fibonacci Expansion เพื่อเป็นราคาเป้าหมายในการออกของให้หมด


งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

ขั้นตอนที่ 8

ปิดการสั่งซื้อทันทีเมื่อมีข้อบ่งชี้ว่าราคามีการกลับตัว (อาจต้องลงดูไปในกรอบเวลาที่มีขนาดเล็กลงเพื่อหาสัญญาณของการกลับตัว) 

วาง stop order ให้ไกล้กับจุด entry มากที่สุด

โอกาสขายชอร์ตที่ดีอีกจุดคือเวฟ b (ราคาย่อลงมาที่ระดับฟีโบนาชี 32.8%-50%) 

วัดความยาวของเวฟ a เพื่อระดับราคาเป้าหมายของเวฟ c ให้ take profit ที่เป้าหมายนั้น





Basics of of Elliott Wave by Dr. John Trapp

ผู้เขียนบอกว่าการใช้ Elliott Wave analysis จะช่วยให้เราหาจุดกลับตัวของตลาดได้ โดยการใช้ fibonacci number ซึ่งโดยส่วนใหญ่ที่ใช้กันก็คือ 23.6%, 38.2%, 61.8%, 127.2%, 161.8% และ 261.8% นอกจากนั้นก็จะมี 50% กับ 78.6% ร่วมด้วย โดยสัดส่วนเหล่านี้ถูกใช้เพื่อหา retracements, extensions, fans, arcs และ time.


Wave 1 or A 

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

http://www.safehaven.com/article/16496/wave-1-or-a

เวฟ 1 นั้น ประกอบไปด้วย 5 คลื่น รวมถึงแบบผิดปกติที่เรียกว่า leading diagonal โดยเขาให้ข้อสัเกตุที่น่าสนใจว่า "if W1 is a leading diagonal expect W3 to be extended" 

คือถ้าเวฟหนึ่งเป็น leading diagonal เวฟสามที่จะเกิดขึ้นถัดไปมีโอกาสที่จะเป็นเวฟยาวยืดค่อนข้างแน่


ส่วน Wave A Pattern ปกติก็จะมี 5 คลื่น รวมทั้งอาจเกิด leading diagonal ด้วย แต่ก็อาจจะมีแค่สามก็ได้ 


แล้วทำไมเราต้องประมาณการจุดสิ้นสุดของเวฟหนึ่งด้วยล่ะ เพราะเมื่อเราปักหมดที่จุดสิ้นสุดของเวฟ 5 หรือ C ได้แล้ว เราก็จะได้จุดที่สามารถ long ได้น่ะสิ  เพราะเรารู้ว่าต่อไปมันจะเด้งทำเวฟ 1 หรือ Aไงล่ะ ซึ่งเราคาดว่ามันจะเด้งขึ้นไปได้ 50-78.6% ซึ่งมันทำเงินให้เราได้พอสมควรทีเดียว


จุดจบของเวฟ 1 หรือ A หายังไง 

นอกจากจะใช้ Fibonacci retracements (38.2%, 50%, 61.8%, และ 78.6%) เป็นระดับเบาะแสแล้ว ผู้เขียนยังสังเกตุพบว่า EMA15 ที่ยังเคลื่อนที่ลาดชันเฉื่อยอยู่ในทิศทางของแนวโน้มในอดีต ก็เป็นอีกตัวช่วยที่น่าสนใจ เพราะเขาพบว่าเส้นค่าเฉลี่ยนี้มักจะเป็นแนวต้านและเป็นจุดสิ้นสุดของเวฟหนึ่งด้วย (ดูรูปประกอบ)



Wave 2 or B

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

http://www.safehaven.com/article/16505/wave-2-or-b

Dr. John Trapp บอกว่าการเข้าซื้อที่จุดสิ้นสุดของเวฟ 2 เป็นจังหวะเขาชอบมาก เนื่องจาก เวฟ 2 หรือ B เป็น corrective waves ทั้งคู่ แถมมีโครงสร้างเหมือนกันด้วย ความต่างอย่างเดียวคืออันแรกอยู่ในขาขึ้น-อีกแบบก็อยู่ในขาลง 


โครงสร้าง เพราะว่ามันเป็น corrective wave ที่เคลื่อนที่สวนทางกับแนวโน้ม มันจึงมีแค่ 3 คลื่นย่อย ซึ่งมักจะเป็น ABC correction และก็มีบางครั้งที่มันพักตัวแบบดิ่งแรงทำให้มองหรือแยกคลื่นย่อยไม่ออก


Retracement levels มีตั้งแต่ 50%, 61.8%, 78.6% ประสปการณ์ของเขาบอกว่าระดับ 61.8% มักเด้งเสมอ ถ้าหลุดจากนี้ เขาก็พบว่ามันลงไปได้ถึง 78.6% ก็มีบ่อยครั้ง

ด้วยความที่เขาชอบ ซื้อตอนย่อ ขายตอนวิ่ง (buying on dips or selling on rallies) เขาชอบยึด 61.8% เป็นจุดสำคัญ เมื่อราคาลงมาถึงระดับนี้ เขาจะเฝ้าดู pattern ของราคาที่จบแบบสมบูรณ์ประกอบ (ดูรูป) บางทีเขาจำเป็นต้องใช้ time frame 1 นาที เพื่อดูว่าโครงสร้างราคามันทำครบแล้วหรือยัง

เขายังบอกอีกว่า เขาจะยังไม่เข้าเทรด หากราคายังไม่ลงไปถึง 50%


Limited Capital Exposure: วงเงินเข้าซื้อ เมื่อเทรดถึงราคาจบเวฟสอง จุด stop ของเขาคือจุดเริ่มต้นของของเวฟ 1 หรือ A หรือไม่ถ้าเขาเห็นว่าราคาลงไปหลุด 78.6% ก็ต้องตัดสินใจออก

ต้นฉบับเขาว่าแบบนี้  When a trade is made at the end of Wave 2 or B, capital exposure is known. My stop is placed one tick (at most two in a volatile futures market) beyond the beginning of W1 or A. This was discussed in a previous lesson. Sometimes, if I see a close beyond the 78.6% retracement level, I will exit my trade, as it is no longer a high probability setup and the trend may continue. That's a judgment call.


W2/B Trade Setup: ส่วนนี้แปลยาก เขาว่าดังนี้ Here is a real example of a trade I remember taking. I remember almost being stopped out when I moved my stop to 1 tick below the W2, once I got profitable. I remember taking some profit at the 50 MA before moving my stop up. I was flat at the end of the day. Too bad! Look at that nice gap up the next day. But I'm almost always flat at the end of the day.



Wave 3

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

http://www.safehaven.com/article/16517/wave-3

เวฟสามมีห้าคลื่นย่อย ยาวสุดและแข็งแกร่งสุด แน่นอนมันต้องไม่สั้นกว่าคลื่นอื่นๆ 

เป้าหมายของเราคือเข้าต้องแต่ต้นแล้วถือทนรวยไปออกก่อนที่เวฟสี่จะเริ่ม เพราะคลื่นที่ 4 มักจะลงยาวนานและยืดเยื้อ 


เป้าหมายการขึ้นของเวฟสามหายังไงเหรอ? ก็ใช้เครื่องมือ Fibonacci extension ช่วยหา โดยคลิกที่จุดเริ่มต้นเวฟหนึ่ง จากนั้นก็คลิกที่จุดจบของเวฟหนึ่ง สุดท้ายก็คลิกตรงจุดจบของเวฟสอง เครื่องมือก็จะคำนวนระดับราคาขึ้นไปข้างบนให้เรา ซึ่งโดยปกติแล้วเวฟนี้จะขึ้นไปได้ถึง 161.8% และไปได้สูงสุด  261.8% จากเวฟหนึ่ง 


แต่ถ้าราคาวิ่งขึ้นไปได้แค่ 100% ก็ต้องแก้ชื่อเวฟใหม่จาก 1-2-3 เป็น A-B-C เพราะมันไม่เป็นไปตามกฎ ซึ่งมันเกิดขึ้นบ่อยมาก เหตุผลคือ (แปลไม่เข้าใจ)  This often happens when we think a 5 wave impulsive move has completed and we enter a trade thinking we have bought the beginning of a new trend, only to find that we entered into the W4 of the impulsive move.

จากประสบการณ์ของผู้เขียน เขามักจะ take profit ที่ 100% เพราะเหตุผลนี้แหละ


Structure of Wave 3: มันมีคลื่นย่อย 5 เวฟภายในนี้ ไม่แตกต่างจากเวฟ C เลย เพียงแต่ว่า คลื่น C นั้นอาจจะเกิด ending diagonal ได้ แต่เวฟสามไม่


Wave 3 Tips: เวฟสามจะวิ่งแรงและบางทีอาจจะไกลเกินกว่าที่คุณคิดก็ได้ จุดสังเกตุที่มีนัยยะคือตอนที่มันทำเวฟย่อยสี่ของเวฟสาม-คุณอาจจะออกตรงนั้นก็ได้


ที่เหลือต่อจากนี้ก็ดูน่าสนใจนะ แต่จนใจที่สรุปออกมาให้ตัวเองเข้าใจไม่ได้ เลยไม่แปลต่อ เขาว่าดังนี้.....

Wave 3 Tips: Because Wave 3 is the strongest wave in a trend, you won't know when it will extend beyond your expectation. It is a good rule to always leave at least a runner to capture an extended move. The first significant correction in a W3 is usually W4 of W3. If you are trading a 1-5 minute chart, you may want to ride through that correction, if it's only going to amount to a few points.Remember what happens when you try a counter-trend trade in the face of a W3, and just ended up stepping in front of a freight train. Ride that train! Let your profits run. It's always best to let the market take you out of a W3 trade, IMO. To let the market take me out, I usually go to a 1 minute chart, and set a stop loss 1 tick below the last little swing low or high, depending on which way the trend is going.


W3 in actual market action: I am including this chart as an example of a W3, not because it is a classic looking impulsive wave, but to show a real-life example of what an impulsive wave might look like. When you are trading 1-5 minute charts, you will see more of these impulsive moves with wide swings and extreme moves. Also, note how the W4 of W3 probably fooled most EW traders into thinking that the W3 high was the W5 high, and end of the impulsive move. How many times have we seen this scenario in longer time-frames, when it looked like the top was in, but it was only the end of W3?



Wave 4

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

http://www.safehaven.com/article/16616/wave-4

Wave 4 สามารถเป็น simple ABC (Zig-Zag) correction หรือ complex correction ก็ได้

 ถ้าเวฟสองเป็น simple ABC correction เวฟสี่ก็จะเป็น complex correction ผู้เขียนบอกว่ามันไม่มีประโยชน์ที่จะมาเสียเวลานับ complex correction ให้เสียเวลา ส่วน simple ABC Zig-Zag สามารถเป็น 3, 3, 5 หรือ 5, 3, 5  แต่ส่วนใหญ่ที่เขาเจอมักจะเป็น 3, 3, 5


มันมีกฎเบสิคของเวฟสี่ คือถ้าเวฟสองเป็น simple correction เวฟสี่ complex ในทางกลับกัน ถ้าเวฟสองเป็น complex เวฟสี่ก็จะเป็น simple correction 


อีกข้อคือ จุดจบของเวฟสี่ต้องไม่ไปล้ำยอดของเวฟหนึ่ง แต่ก็มีข้อยกเว้นที่ว่า In highly leveraged, volatile markets like ES, some overlap is allowed by AdvancedGET (17% default)

ส่วนการย่อของเวฟสี่ จะลงไปได้ 38.2%, 50%, และ 61.8% retracements ของ Wave 3.





เคล็ดลับการหาจุดนับเวฟแบบง่ายๆ

รวบรวมจากหลายแหล่ง ที่เขาแชร์มุมมองที่น่าสนใจ

1. หารูปแบบสามเหลี่ยม(Triangle pattern)ให้เจอ เพราะมันเป็นจุดสังเกตุที่เห็นง่ายสุดๆ

เมื่อสามารถลากตีกรอบเป็นรูปร่างสามเหลี่ยมได้ ให้รู้ไว้เลยว่านี่มันคือรูปแบบ corrective ของ เวฟ 4 หรือ B เท่านั้น ต่อไปคุณก็แค่ดูสภาพแวดล้อมในภาพใหญ่ประกอบว่ามันจะเป็น 4 หรือ B เพื่อฟันธงให้แน่ชัด

ในกรณีที่ขาย่อยยังไม่ครบ(ดูรูปประกอบ) คุณก็สามารถทำนายว่ามันควรจะลงหรือขึ้นเพื่อให้ครบขา ในที่นี้คือ a-b-c-d-e (ตามรูป)

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip


ที่มา http://www.forexfactory.com/attachment.php?attachmentid=1422808&d=1399571594


2. หา MACD divergence จำไว้เลยว่า ทุกครั้งที่ MACD ทำจุดสูงสุด นั่นคือเวฟ 3 และต่อมาหากราคาทำยอดสูงกว่าเดิม แต่ MACD เตี้ยกว่า มันคือเวฟ 5 นั่นเอง (นี่แหละที่เขาเรียกว่า divergence) ส่วนจะเป็นเวฟใหญ่หรือย่อยก็ต้องดูสภาพแวดล้อม หรือ timeframe ประกอบอีกที

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip

ที่มา https://www.dailyfx.com/forex/education/trading_tips/trend_of_the_day/2014/04/11/EW_Effectiveness.html



3. หา RSI divergence คล้ายกับ MACD คือเขาให้สังเกตุว่าทุกครั้งที่ RSI divergence มันเป็นจุดพีคของรอบคลื่น โดยจะเป็นยอดของ เวฟ 1, 3 หรือ 5 ก็ได้ ตามแต่สภาพแวดล้อมของราคา

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip


ที่มา http://elliottwave-forecast.com/eliottwave/the-new-elliott-wave-theory-using-market-correlation-and-rsi-in-elliott-wave/






การใช้วอลุ่มมาจับอีเลียตเวฟ

จากหนังสือคู่มือวิเคราะห์ราคาหุ้นเพื่อซื้อและขาย ภาคเจาะลึก Elliott Wave 

งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip


วอลุ่มตัวหุ้นเปรียบเหมือนรากฐานของหุ้นทุกตัว ถ้าหุ้นตัวใดขึ้นโดยไม่มีวอลุ่ม การซื้อต้องระวัง อาจจะถูกหลอกได้เพราะไม่มีฐานรองรับ


ราคาหุ้นเริ่มขึ้น วอลุ่มก็จะเพิ่มตาม แต่พอราคาเริ่มลดลงวอลุ่มก็ลดลงตามเป็นเรื่องปกติ

และการเริ่มต้นของเวฟ 1 อาจใช้เวลานาน(บางทีใช้ 1-5 ปีก็มี แล้วแต่ภาวะตลาดหุ้นนั้นๆ) การเกิดเวฟย่อยในเวฟนี้มาจากการซื้อ้ก็บสะสมเพื่อรอโอกาสดันราคาขึ้นสูง 


เวฟ 2 กับเวฟ 4 ที่ปรับฐาน เกิดจากการขายทำกำไรและมีการซื้อเก็บ


เวฟ 5 คือการทยอยทิ้งของ ผู้ซื้อจากเวฟแรกๆจะขายทำกำไรทั้งหมดและออกจากตลาดไปเล่นตัวอื่นต่อไป

เวฟ 1,3,5 จะสังเกตุได้ว่า วอลุ่มจะเพิ่มขึ้นสูงตามราคาตลาด อย่างนี้ซื้อตามได้โดยเฉพาะเวฟ 1,2,3


นักซื้อหุ้นอาชีพ นอกจากซื้อตามแล้วยังเฝ้าคอยซื้อหุ้นที่เวฟ 2 คือช่วงปรับฐานลงเพราะเชื่อว่าซื้อของถูก เพราะฉะนั้นราคาหุ้นในเวฟ 2 เมื่อไหลลงบวกกับวอลุ่มจำนวนน้อย ก็หมายถึงผู้ซื้อรายย่อยตัดกำไรเพราะใจไม่ถึง ดังนั้นเวฟ 2 วอลุ่มจะน้อยกว่า เวฟ 1 และเวฟ 2 กับเวฟ 5


หลังจากราคาหุ้นขึ้นเวฟ 3 ซึ่งสูงมาก ก็จะมีผู้ซื้ออีกกลุ่มหนึ่งตัดทำกำไร ราคาก็ลดลงมาปรับฐานเป็นเวฟ 4 และวอลุ่มของเวฟ 4 จะมากกว่าเวฟ 2 แต่ก็อาจจะเป็น 0.382% หรือ 0.618% ของเวฟ 3 ไม่มากกว่านี้


หลังจากเวฟ 3 ปรับฐานขึ้นเวฟ 4 แล้วราคาก็จะปรับตัวสูงขึ้นไปเวฟ 5 ซึ่งถ้ามีข่าวดี ปริมาณวอลุ่มอาจจะมากเท่าเวฟ 3 หรือน้อยกว่า ซึ่งบอกว่าสัญญาณแห่งการเทขายหุ้นของรายใหญ่ได้จบแล้ว


งานคอนเฟิร์มออเดอร์ pantip


Volume กับ Elliott Wave

1. ในช่วงเวฟ A ขาขึ้น วอลุ่มจะทยอยขึ้นตาม ใช้ OBV ตรวจได้

2. ถ้าวอลุ่มอยู่ในช่วงต่ำ คือจุดในการปรับฐาน

3. การปรับฐานในเวฟ 2 และ 4 ถือเป็นการตัดเอากำไรและเตรียมบวกทุนซื้อเพิ่มในเวฟที่ 3 และ 5

4. ในกรณีเวฟ 5 สูงขึ้นต่อเนื่อง แต่จำนวนของวอลุ่มลดต่ำลง หมายถึงผู้ที่เข้าซื้อในเวฟที่ 1 และ 3 ทยอยปล่อยของ

5. ถ้าเวฟ 5 สูงขึ้น วอลุ่มก็ขึ้นตาม แต่ไม่มากเท่าของเวฟ 1 และเวฟ 3 หรือเท่ากัน แสดงว่ากำลังซื้อเริ่มอ่อนลง


เสริม

การขึ้นราคาหุ้นของอีเลียตเวฟสังเกตุได้จาก "จุดสูงสุดใหม่" ซึ่งอาจจะสูงสุดใน 1 ปี 3 ปี  5 ปี หรือแม้แต่ 1 เดือน 6 เดือน