บุคคลธรรมดายื่นภาษีอะไรบ้าง

คือ สิ่งที่รัฐบาลขอเรียกเก็บจากประชาชน ผู้ที่มีรายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ เพื่อนำไปพัฒนาประเทศชาติในด้านต่างๆ

สรรพากร

คือ หน่วยงานในกระทรวงการคลัง มีหน้าที่จัดเก็บภาษีอากรต่างๆจากประชาชน และนำส่งให้เป็นรายได้ของแผ่นดิน

ช่วงเวลาไหนที่ต้องยื่นแบบเสีย ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.91)

จะยื่นแบบ และ จ่ายภาษีตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 31 มีนาคม ในแต่ละปี (เป็นการคิดรายได้ในปีที่ผ่านมาทั้งปี ตั้งแต่ 1 มกราคม – 31 ธันวาคม)

ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้

หมายถึง การที่เรานำแบบแสดงรายการ ภาษีเงินได้ของกรมสรรพากรมากรอกให้ละเอียด พร้อมแนบหลักฐานรายได้ประจำปี รวมทั้งหลักฐานลดหย่อนต่างๆ แล้วนำไปยื่นเสียภาษี ตามสถานที่ ที่กรมสรรพากรกำหนดไว้

ยื่นแบบภาษีได้ที่ไหนบ้าง ?

1.สำนักงานกรมสรรพากรพื้นที่สาขาที่สะดวกทุกแห่งทั่วประเทศ

2.ทาง Internet ผ่านทางเว็ปไซต์ของกรมสรรพากร www.rd.go.th

หมายเหตุ : หลังจากยื่นแบบภาษีเรียบร้อยแล้ว เราจะทราบว่า

1.เรามีเงินภาษีที่จะต้องจ่ายเพิ่มจากภาษีที่หัก ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเท่าไหร่?

2.เรามีเงินคืนภาษีจากภาษีที่ถูกหัก ณ ที่จ่าย เป็นจำนวนเท่าไหร่?

3.เรามีภาษีที่ต้องเสีย เป็นจำนวนเท่าไหร่?

บุคคลธรรมดายื่นภาษีอะไรบ้าง

ถ้าเราลืมจ่ายภาษีจะต้องเสียค่าปรับเท่าไหร่?

หากเราไปเสียภาษีหลังจากวันที่ 31 มีนาคม มีเกณฑ์ดังนี้

  • ไม่เกิน 7 วัน ต้องเสียค่าปรับตามจริง ไม่เกิน 2,000 บาท
  • เกิน 7 วัน ต้องเสียค่าปรับ ตามจริงไม่เกิน 2,000 บาท และมีดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน ของยอดภาษีที่ต้องจ่าย

เงินได้   หมายถึง เงินต่างๆ ที่เราได้รับไม่ว่าจะเป็น ผลตอบแทนจากการทำงาน เช่น เงินเดือน หรือ ผลตอบแทนจากการลงทุน เช่น ดอกเบี้ย เงินปันผล เป็นต้น

ค่าลดหย่อนภาษี หมายถึง การใช้สิทธิรายการต่างๆ ที่กฎหมายยอมให้นำมาหักจากรายได้ หลังหักค่าใช้จ่ายแล้ว เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้เสียภาษี

เงินได้พึงประเมิน หมายถึง รายได้ทั้งหมดที่เราได้รับตลอดทั้งปี ( มกราคม – ธันวาคม ) โดยถือเกณฑ์เงินสด เพื่อนำมาคำนวนภาษี

ค่าใช้จ่าย คือ จำนวนเงินที่เราใช้ไปเพื่อเป็นต้นทุน ระหว่างเกิดรายได้ ซึ่งรัฐบาลยอมให้นำค่าใช้จ่าย มาหักออกจากรายได้ เพื่อคำนวนภาษีเกณฑ์ของการหักค่าใช้จ่าย ขึ้นอยู่กับประเภทของเงินได้ที่ได้รับ มาตรา 40(1) – 40(8)

เงินได้สุทธิ  หมายถึง เงินที่คำนวนได้จาก

บุคคลธรรมดายื่นภาษีอะไรบ้าง

นำผลลัพธ์ที่ได้ไปคำนวนภาษีตามอัตราภาษีก้าวหน้า

ประเภทของรายได้ บุคคลธรรมดามีอะไรบ้าง ?

     บุคคลธรรมดา เมื่อมีรายได้ก็จำเป็นที่จะต้องเสียภาษีบุคคลธรรมดา ซึ่งภาษีที่ต้องเสียนั้นขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ ขึ้นอยู่กับว่ารายได้ที่เราได้มานั้น มาจากรายได้ประเภทอะไร ซึ่งเงินได้ในแต่ละประเภทจะแบ่งออกมาเป็นรูปแบบ 40(1) – 40(8) ดังนี้

  1. 40(1) รายได้ที่ได้มาจากหน้าที่การงาน การจ้างแรงงาน เช่น เงินเดือน , ค่าจ้าง , โบนัส , OT
  2. 40(2) รายได้ที่ได้มาจากหน้าที่ หรือตำแหน่งงาน เช่น ค่ารับจ้าง , ค่านายหน้า , Part-time
  3. 40(3) รายได้ที่ได้มาจากค่าแห่งกู๊ดวิลล์ ค่าแห่งลิขสิทธิ์ เช่น รายได้จากการเขียนหยังสือ หรือ เงินได้ที่มีลักษณะจ่ายรายปี เช่น เงินรายปีจากพินัยกรรม
  4. 40(4) รายได้จากดอกเบี้ย เงินปันผล เงินส่วนแบ่งกำไร (เช่นดอกเบี้ยธนาคาร เงินปันผลกองทุนรวม)
  5. 40(5) รายได้ที่ได้มาจากการให้เช่าทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่ายานพาหนะ
  6. 40(6) รายได้จากการประกอบวิชาชีพอิสระ เช่น แพทย์ ทนายความ สถาปนิก วิศวกร บัญชี ประณีตศิลป์ เป็นต้น
  7. 40(7) รายได้ที่มาจากการรับเหมา เช่น ผู้รับเหมาก่อสร้างบ้าน
  8. 40(8) รายได้ที่มาจากอื่นๆ นอกเหนือจากประเภทที่ 1 – 7

อัตราค่าใช้จ่ายที่หักภาษี ของรายได้แต่ละประเภท

บุคคลธรรมดายื่นภาษีอะไรบ้าง

เราจะรู้ได้อย่างไร ว่าเสียภาษีเท่าไหร่ ?

วิธีการ คือ ให้นำยอดเงินได้สุทธิ นั้นมาเทียบในตารางอัตราภาษี (ฐานภาษี) เราก็จะทราบว่าเราต้องเสียในอัตราเท่าไหร่ หรือเสียภาษีในฐานกี่เปอร์เซนต์ ในประเทศไทย การคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เรียกว่า การคิดภาษีอัตราก้าวหน้า และมีฐานภาษีเริ่มต้นที่ 0% – 35% ขึ้นอยู่กับเงินได้สุทธิดังนี้

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

บุคคลธรรมดายื่นภาษีอะไรบ้าง

จากตารางเป็น อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และ การคำนวนอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบบก้าวหน้า

ค่าลดหย่อนมีอะไรบ้าง ?

ค่าลดหย่อน คือ สิทธิประโยชน์ทางภาษี อย่างหนึ่งอย่างหนึ่ง ให้เสียภาษีน้อยลง เมื่อคำนวนภาษี หรืออาจจะช่วยให้ได้เงินคืนภาษีเพิ่มขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายช่วยลดหย่อนภาษีมีดังนี้

  • ดอกเบี้ยเงินกู้ ซื้อที่อยู่อาศัย
  • กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) และ กองทุน เพื่อการออม (SSF)
  • เงินสมทบ กบข. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
  • เงินบริจาค
  • คู่สมรส
  • เลี้ยงดูบุตร และการศึกษาบุตร
  • เลี้ยงดูบิดามารดา
  • เบี้ยประกันชีวิต
  • เบี้ยประกันสุขภาพ
  • เบี้ยประกันแบบบำนาญ

ช่องทางติดต่อตัวแทน ประกันชีวิต aia

บุคคลธรรมดายื่นภาษีอะไรบ้าง

Phone : 090-978-9169

Phone : 061-494-7474

Facebook

AIA ตัวแทนประกันชีวิต ประกันสุขภาพ เอไอเอ prakunaia

ให้เราติดต่อกลับ

กรุณาเลือกบริการที่คุณต้องการ เมื่อได้รับข้อความของคุณแล้ว เราจะรีบดำเนินการติดต่อกลับไปยังคุณ ตามรายละเอียดที่ได้แจ้งไว้ ขอบคุณครับ

บุคคลธรรมดา ยื่น ภาษี แบบ ใด

โดยปกติบุคคลธรรมดาจะ ยื่นภาษี กันเพียงปีละครั้งเท่านั้น คือระหว่าง 1 มกราคม – 31 มีนาคม โดยเป็นการสรุปรายได้และสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงปีภาษีที่ผ่านมา ถ้ามีเงินได้จากเงินเดือน เพียงอย่างเดียวจะใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 91. ถ้ามีเงินได้จากอื่นๆ นอกเหนือจากเงินเดือนด้วยจะใช้แบบฟอร์ม ภ.ง.ด. 90.

บุคคลธรรมดาต้องเสียภาษีไหม

ก่อนอื่นที่ต้องรู้เลย ก็คือ ตามอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ใช้ในการคำนวณภาษีกำหนดว่า บุคคลที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท ต้องยื่นภาษี แต่ไม่ต้องเสียภาษี นั่นหมายความว่า บุคคลที่มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,001 บาทขึ้นไปนั้นต้องเสียภาษี พี่ทุยจะมาอธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ

ยื่นภาษีทางไหนได้บ้าง

1. สํานักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เดิมเรียกวา สํานักงานสรรพากรเขต/อําเภอ) สําหรับการยื่นแบบฯ ภ.ง.ด.90 หรือ ภ.ง.ด.91 ผูมีเงินไดสามารถยื่นแบบฯ ณ สํานักงานสรรพากรพื้นที่ สาขาทุกแหง 2. ที่ทําการไปรษณีย สําหรับการยื่นแบบฯ ระหวางวันที่ 1 มกราคม ถึงวันที่31 มีนาคม เทานั้น มีหลักเกณฑ ดังนี้

ยื่น ภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดา 2564 ได้ถึงวันไหน

สำหรับการยื่นภาษีประจำปีภาษี 2564 นั้น กรมสรรพากร ได้ยืดเวลาการยื่นภาษีผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ถึงเที่ยงคืน หรือ 24.00 น. ของวันที่ 8 เมษายน 2565 โดยสำหรับใครที่ยื่นภาษีไม่ทัน หรือยื่นแบบ ภ.ง.ด.90/91 เมื่อพ้นกำหนดเวลา มีข้อกำหนดโทษปรับ แยกย่อยตามรายละเอียด ดังนี้