ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงิน

การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด เป็นหนึ่งในเครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงินที่น่าสนใจอีกวิธีการหนึ่ง นอกเหนือจากการวิเคราะห์อัตราส่วนทางการเงิน หรือว่าการวิเคราะห์งบโดยวิธีแนวนอน วิธีแนวโน้ม วิธีแนวตั้ง หรือวิเคราะห์ร้อยละของยอดรวม

หลายๆ ท่านคงคุ้นเคยกับการวิเคราะห์งบกำไรขาดทุน และงบแสดงฐานะทางการเงินมาบ้างแล้ว แต่รู้หรือไม่ว่า หนึ่งในวิธีการวิเคราะห์งบการเงินที่มีประโยชน์มากอีกวิธีหนึ่งก็คือ การวิเคราะห์กระแสเงินสด

การวิเคราะห์กระแสเงินสดนั้นเราจะมุ่งไปที่เงินสดของกิจการเท่านั้น ซึ่งจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวอย่างชัดเจน ไม่เหมือนกับการวิเคราะห์แบบอื่นๆ

การวิเคราะห์กระแสเงินสด (Cash Flow Analysis) เป็นการวิเคราะห์แหล่งที่มา และแหล่งที่ไปของเงินสด โดย

แหล่งที่มา คือ การได้รับเงินเข้ามาในบริษัท

แหล่งที่ไป คือ การจ่ายเงินสดออกไป

ซึ่งจะดูทั้งเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสด ว่ามีการรับมาหรือจ่ายไปในระหว่างงวดบัญชี ที่ต้องการวิเคราะห์อย่างไร เงินสด ของกิจการที่เพิ่มขึ้นหรือลดลงนั้นได้มาจากแหล่งใด และมีการใช้เงินไปในเรืองใด เพื่อทำความเข้าใจให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เกี่ยวกับการไหลเวียนของเงินสดในกิจการ

ขั้นตอนในการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด แบ่งเป็น 4 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่

1.วิเคราะห์แหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินสดจากกิจการรมทั้ง 3

ข้อแรกนี้เป็นการวิเคราะห์ภาพว่า ใน 3 กิจการ ได้แก่ กิจกรรมดำเนินงาน, กิจกรรมลงทุน และกิจกรรมจัดหาเงิน เราได้เงินสดมา และใช้เงินสดไปกับกิจกรรมใดเป็นหลัก

            ที่สำคัญเราต้องดูว่า กระแสเงินสดจากกิจการรมดำเนินงาน มีค่าเป็นบวก และเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในการกิจการหรือไม่ หากเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน มีค่าติดลบ หรืออาจจะมีน้อยไป ซึ่งถ้าเทียบกับกิจการการลงทุนและกิจกรรมจัดหาเงิน อาจจะไม่เพียงพอในการดำเนินธุรกิจ

            ถ้าเป็นเช่นนั้น ผู้บริหารจะต้องเปลี่ยนกลยุทธ์ในการบริหาร หรือไม่ หรือต้องทำอย่างไร เพื่อที่จะบริหารกระแสเงินสดที่มีให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้อย่างต่อเนื่อง

2.วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO)

กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน ส่วนใหญ่มักจะมีที่มาที่ไปจากธุรกิจหลัก คือการขายสินค้า ซื้อวัตถุดิบ จ่ายค่าแรงพนักงาน เป็นต้น ใคร ๆ ก็อย่างมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเป็นบวกใช่ไหมค่ะ

การวิเคราะห์กระแสเงินสดในกิจกรรมนี้ ต้องดูว่าเงินสดที่ได้มามีองค์ประกอบสำคัญมาจากรายการใด กระแสเงินสดจากิจกรรมดำเนินงานมีค่ามากกว่า หรือน้อยกว่า กำไรสุทธิในงบกำไรขาดทุน และมีสาเหตุมาจากอะไร เช่น

หากำไรเยอะ ๆ ในงบกำไรขาดทุน แต่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานน้อยกว่าแสดงว่าเราอาจจะยังบริหารเงินสดได้ไม่ดีพอ

3.วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (CFI)

กระแสเงินสดจากกิจกรรมการลงทุน ส่วนใหญ่มักจะมีเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงไปของส่วนของสินทรัพย์ไม่หมุนเวียน เช่น ซื้อที่ดินเพิ่ม สร้างโรงงานเพิ่ม นี้เป็นสาเหตุทำให้กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุนติดลบ

การติดลบของกระแสเงินสดของกิจกรรมลงทุนนั้นไม่ได้เลวร้ายเสมอไป หากเรามีแผนงานรองรับในอนาคต เช่น การขยายกิจการหรือขยายสาขา เพิ่มต้องลงทุนเพิ่ม ในปีนี้ และคาดการณ์ว่าจะสร้างรายได้จากกิจกรรมดำเนินงานในอนาคต 2 เท่า

การวิเคราะห์กระแสเงินสดในกิจกรรมลงทุน ต้องทราบว่ากระแสเงินสดสุทธิที่เป็นบวกหรือลบ มีองค์ประกอบสำคัญมา จากรายการใด และคาดหวังว่าในอนาคตจะได้ผลตอบแทนอย่างไร

4.วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF)

 การจัดหาเงินอาจจะมาจากการกู้เงิน หรือการเพิ่มทุนในส่วนของผู้ถือหุ้น โดยหากกู้เงินจากสถาบันการเงิน หรือบุคคลที่สาม คือจะต้องมีดอกเบี้ยจ่ายเกิดขึ้น และสำหรับการเพิ่มทุน จะไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย แต่อย่างไรก็ตามผู้ถือหุ้นคาดหวังที่จะได้รับเงินปันผล ดังนั้นกิจการต้องแพลนว่าการจัดหาเงินด้วยวิธีใด คุ้มค่า และเหมาะสมสำหรับกิจการ

การวิเคราะห์กระแสเงินสดจากิจกรรมจัดหาเงิน ให้ดูว่ามีองค์ประกอบสำคัญมาจากรายการใด หากกิจกาจมีการจัดหาเงินได้มาก กิจการมีแผนที่จะจัดการกับต้นทุนทางการเงินที่เกิดขึ้นอย่างไร และกิจการคาดว่าจะสร้างรายได้จากการประกอบการในอนาคตจากเงินที่จัดมาอย่างไร สุดท้ายมีกำไรเพื่อไปจ่ายดอกเบี้ย หรือเงินปันผลในอนาคตอย่างบ้างนั้นเอง

สรุป

การวิเคราะห์งบกระแสเงินสด คือการที่กิจกรรมมีเงินสดที่ได้รับมา หรือได้จ่ายไปจากกิจกรรมใดเป็นหลัก และมีความสามารถที่จะดำเนินตอ่ไปได้ในอนาคติหรือไม่

งบกระแสเงินสดเป็นสิ่งที่ผู้บริหารให้ความสนใจ โดยเฉพาะบัญชีเงินสดที่ปรากฎอยู่ในงบการเงิน จัดเป็นรายการหนึ่งที่แสดงถึงสภาพคล่องของกิจการว่าเป็นอย่างไร มีความคล่องตัวในการดำเนินเพียงใด เพื่อใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจดำเนินงานต่างๆ ในส่วนนที่เกี่ยวข้องกับเงินสดเป็นสำคัญ

อ่านงบการเงินในการวิเคราะห์ภาพรวมบริษัท สำหรับนักลงทุนสายปัจจัยพื้นฐาน หรือ Value Investor (VI) นอกจากที่จะต้องใช้การวิเคราะห์เชิงคุณภาพแล้ว ยังจำเป็นที่จะต้องใช้การวิเคราะห์เชิงปริมาณควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น ในเนื้อหาส่วนนี้จะกล่าวถึงวิธีการใช้งบการเงิน และอัตราส่วนทางการเงินในการวิเคราะห์ภาพรวมบริษัทเพื่อให้ได้มาซึ่งหุ้นที่นำไปสู่การลงทุนที่มีประสิทธิภาพ

อ่านงบการเงิน เริ่มต้นอย่างไร?

มาทำความรู้จัก… งบการเงิน คือ รายงานผลประกอบการของบริษัท ซึ่งจัดขึ้นตามวิธีการทางบัญชีรายงานกิจกรรมต่าง ๆ

โดยงบการเงินที่สำคัญมีดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงิน

การอ่านงบการเงินผ่านอัตราส่วนทางการเงิน

อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio) เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่สำคัญในการใช้ประกอบการตัดสินใจลงทุน เนื่องจากอัตราส่วนทางการเงินเป็นการนำข้อมูลจากงบการเงินมาคำนวณให้อยู่ในอัตราส่วนที่วิเคราะห์ให้เห็นภาพได้ง่ายและชัดเจนมากยิ่งขึ้น

โดยแบ่งอัตราส่วนทางการเงินออกเป็น 7 หมวดได้แก่

  1. Market Value Ratios : วัดความถูกความแพงด้วยอัตราส่วนมูลค่าตลาด
  2. Profitability : วัดความสามารถในการทำกำไรของบริษัท
  3. Efficiency : วัดประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและบริหารสินทรัพย์
  4. Debt Ratio : วัดประสิทธิภาพในการบริหารหนี้สิน
  5. Growth : วัดการเติบโตในด้านรายได้, กำไรสุทธิ, กำไรต่อหุ้นและเงินปันผล
  6. Dividend & Ownership : วัดอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้น จากการได้รับเงินปันผล
  7. Liquidity : วัดสภาพคล่องของกิจการ

อัตราส่วนทางการเงินต้องรู้สำหรับมือใหม่ มีอะไรบ้าง ?

หลังจากรู้จักงบการเงินแบบคร่าว ๆ มาแล้ว หลายคนก็อาจสงสัยกันว่า เราจะนำงบมาใช้ประโยชน์ได้อย่างไร

คำตอบก็คือ งบการเงินจะช่วยให้เราสามารถวิเคราะห์หุ้นผ่านอัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio) โดยเราอาจใช้อัตราส่วนนี้ในการคัดเลือกหุ้นที่สนใจ หรือใช้เปรียบเทียบกับกลุ่มอุตสาหกรรม รวมถึงคู่แข่งเพื่อพิจารณาบริษัทที่สนใจได้ โดยวันนี้ Bualuang Knowledge ได้ทำตารางสรุป Financial Ratio ทั้งหมด 12 อัตราส่วนทางการเงินแบบเข้าใจง่ายมาให้นักลงทุนทุกท่านแล้ว ถ้าพร้อมแล้วไปเริ่มกันเลย!!

ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงิน

เครื่องมือวิเคราะห์งบการเงินด้วยโปรแกรม Stock Signals

ขั้นตอนการใช้งานที่ง่าย เพียงไม่กี่ขั้นตอน อ่านวิธีการใช้งานเพิ่มเติมคลิก หรือสามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้

ขั้นตอนการเข้าใช้งาน

  1. หลังจากเรา Login เข้า website ของหลักทรัพย์บัวหลวงก็กดไปที่ Stock Signals
  2. คลิกไปที่ Summary
  3. พิมพ์ชื่อหุ้นที่สนใจตรง Symbol

ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงิน

หลังกรอกชื่อหุ้น ก็จะเห็นข้อมูลทางพื้นฐานต่าง ๆ ของหุ้นที่เราสนใจ ดังภาพ

ตัวอย่างการอ่านงบการเงิน

..เรามาลองดูการวิเคราะห์บริษัท คอมเซเว่น จำกัด มหาชน (COM7)  ผ่าน Financial Ratio ของบริษัทนี้กันดีกว่า

ขั้นตอนการวิเคราะห์งบการเงิน

วัดความถูกความแพงด้วย Market Value Ratio ดังนี้

  • P/E = 44.96 เท่า หมายความว่า ถ้าซื้อหุ้น COM7 วันนี้จะใช้เวลา 44.96 ปี ในการคืนทุน โดยหากเรามองว่า P/E 44.96 เท่า นั้นแพงเกินไป สามารถดูควบคู่กับ PEG Ratio เพื่อประกอบกับการตัดสินใจได้
  • PEG = 1.10 เท่า หมายความว่า COM7 มีราคาแพงเล็กน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับการเติบโตของบริษัท
  • P/BV = 18 เท่า หมายความว่า ถ้าซื้อหุ้น COM7 วันนี้จะซื้อในราคาแพงกว่าเจ้าของ 18 เท่า

วัดความสามารถในการทำกำไรด้วย Profitability ดังนี้

  • ROE = 43.94% หมายความว่า COM7 สามารถสร้างอัตราผลตอบแทนกลับมาจากเงินทุนของผู้ถือหุ้นได้สูงถึง 43.94%
  • ROCE = 25.60% หมายความว่า COM7 สามารถสร้างกำไรจากการดำเนินงานกลับมาจากเงินทุนของบริษัทมาลงทุนได้ในระดับหนึ่ง

วัดประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและบริหารสินทรัพย์ด้วย Efficiency ดังนี้

  • ROA = 21.7% หมายความว่า COM7 สามารถนำสินทรัพย์ที่บริษัทมีอยู่มาสร้างผลกำไรได้ 21.7% เมื่อเทียบกับสินทรัพย์ที่มี

วัดประสิทธิภาพในการบริหารหนี้สินด้วย Debt Ratio ดังนี้

  • D/E = 1.46 เท่า หมายความว่า COM7 มีหนี้เป็น 1.46 เท่าของทุน ซึ่งถือว่าอยู่ในระดับมาตรฐาน
  • TIE = 75.98 เท่า หมายความว่า บริษัทมีความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ต่ำ อาจเป็นเพราะมีกำไรมากพอที่จะสามารถจ่ายคืนชำระดอกเบี้ยได้

วัดการเติบโตในด้านรายได้, กำไรและเงินปันผลด้วย Growth ดังนี้

  • Revenue Growth Rate = 46.88% หมายความว่า COM7 มีการเติบโตของกระแสเงินสดรับจากการขายสินค้าได้เพิ่มขึ้น 46.88%
  • Net Profit Growth Rate = 96.47% หมายความว่า COM7 มีกำไรสุทธิเติบโตจากปีที่แล้วมากถึง 96.47%

วัดอัตราผลตอบแทนของผู้ถือหุ้นจากการได้รับเงินปันผลด้วย Dividend & Ownership ดังนี้

  • Dividend yield = 1.51% หมายความว่า COM7 มีการจ่ายปันผล 1.51% ต่อหุ้น เทียบกับราคาปัจจุบัน
  • Dividend Per Share = 1.00 บาท หมายความว่า นักลงทุนจะได้รับเงินปันผลหุ้นละ 1 บาท

วัดสภาพคล่องของกิจการด้วย Liquidity ดังนี้

  • Quick ratio = 0.27 เท่า ซึ่งมีค่าน้อยกว่า 1 เท่า แสดงว่าธุรกิจมีสภาพคล่องต่ำ อาจเป็นเพราะมีสินทรัพย์ไม่มากพอที่จะชำระหนี้ระยะสั้น
  • Receivable Turnovers = 45.81 เท่า หมายความว่า COM7 มีความสามารถในการเรียกเก็บหนี้ ได้เร็ว
  • Inventory Turnovers = 8.18 เท่า ซึ่งสูงขึ้นกว่าจากปีก่อน ๆ แสดงว่าสินค้าของ COM7 ขายดีขึ้น มีสินค้าคงคลังที่เหลืออยู่น้อยลง

นอกจากนี้ Stock Signals ยังมีฟังก์ชันที่ใช้ในการคัดเลือกหุ้นผ่านการกำหนดเงื่อนไข Financial Ratio ที่เราต้องการได้อีกด้วย ตามขั้นตอนดังนี้

การวิเคราะห์งบการเงินมีขั้นตอนอย่างไร

การวิเคราะห์การเงิน( Financial Analysis) มีเทคนิคในการวิเคราะห์ 4 แบบคือ.
วัดสภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity ratio).
วัดความสามารถในการทำกำไร (Profitability ratio).
วัดประสิทธิภาพในการจัดการสินทรัพย์ (Asset management ratio).
วัดความสามารถในการชำระหนี้ (Debt management ratio หรือ Leverage ratio).

ขั้นตอนในการวิเคราะห์งบกระแสเงินสด มีกี่ขั้นตอน

4 ขั้นตอนในการวิเคราะห์กระแสเงินสด.
วิเคราะห์แหล่งที่มาและการใช้ไปของเงินสดจากกิจการรมทั้ง 3. ... .
วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (CFO) ... .
วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (CFI) ... .
วิเคราะห์กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (CFF).

ความสําคัญในการวิเคราะห์รายงานทางการเงิน มีอะไรบ้าง

วัตถุประสงค์สําคัญของการวิเคราะห์งบการเงิน ได้แก่ การวัดค่าความเสี่ยงและ ผลตอบแทนในเชิงเปรียบเทียบเพื่อนําไปประกอบการตัดสินใจลงทุนหรือให้สินเชื่อ การตัดสินใจดังกล่าวต้องอาศัยการคาดการณ์เหตุการณ์ในอนาคต แม้ว่างบการเงินที่จัดทําขึ้น เพื่อวัตถุประสงค์โดยทั่วไปจะแสดงถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต แต่ก็เป็นพื้นฐานที่สําคัญ ...

เครื่องมือในการวิเคราะห์งบการเงิน มีกี่วิธี

เครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์งบการเงินมี4 ประเภท ดังนี้ 2.1 การวิเคราะห์งบการเงินโดยใช้อัตราส่วนทางการเงิน (Financial Ratio Analysis) เป็นการวัดค่า ความสัมพันธ์ระหว่างรายการต่าง ๆ ที่แสดงในงบการเงิน ซึ่งจะได้ผลลัพธ์ออกมาในรูปต่าง ๆ ทาง คณิตศาสตร์เช่น เปอร์เซ็นต์สัดส่วน จานวนเท่า เป็นต้น