รายชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ตรวจสอบ รายชื่อ บริษัทจดทะเบียน

เราสามารถตรวจสอบรายชื่อห้างหุ้นส่วนบริษัทร้างได้ที่ไหนบ้าง

สามารถตรวจสอบรายชื่อห้างหุ้นส่วน บริษัทร้าง ได้ที่
(1) www.dbd.go.th
(2) ฝ่ายถอนทะเบียนร้างนิติบุคคล สำนักทะเบียนธุรกิจ กรมพัฒนาธุรกิจการค้า
(3) สำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจในเขตกรุงเทพมหานคร
(4) สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ
(5) สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดทุกจังหวัด

สำนักงานบัญชี มีบริการอะไรบ้าง แล้วจะติดต่อสำนักงานบัญชี รับทำบัญชี ได้อย่างไร ?

47/103 ตำบลบางพูด อำเภอปากเกร็ด
จังหวัดนนทบุรี 11120
โทร.081-931-8341

รายชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

แก้ไขครั้งสุดท้าย พฤศจิกายน 8, 2022

 

รายชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

  • บทความ
  • กฏหมาย
  • ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน
รายชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

เขียนเมื่อ 2 สิงหาคม 2565 หมวดหมู่ กฏหมาย โดย สำนักงานบัญชี พีทูพี p2paccounting

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

รายชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียนคืออะไร


ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน หรือ ห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล คือห้างหุ้นส่วนสามัญที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล 

การจดทะเบียน จะต้องมีรายละเอียด ดังนี้

1.ชื่อห้างหุ้นส่วน

2.วัตถุประสงค์ของห้างหุ้นส่วน

3.ที่ตั้งสำนักงานใหญ่ และสาขา

4.ชื่อของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน

5.ชื่อหุ้นส่วนผู้จัดการ

6.ข้อจำกัดอำนาจของหุ้นส่วนผู้จัดการบางประการ (ถ้ามี)

7.ตราของห้างหุ้นส่วน

8.ข้อความอื่นใดที่เห็นว่าเป็นประโชชน์หรือสมควรให้ประชาชนทราบ

ทุนในการดำเนินกิจการของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

ห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน มีลักษณะของทุนในการคำเนินกิจการเหมือนกับห้างหุ้นส่วนสามัญ ประกอบด้วย เงิน ทรัพย์สิน และแรงงาน

การจัดการธุรกิจของห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

กำหนดให้มีหุ้นส่วนผู้จัดการคนเดียว หลายคน และจัดการหุ้นส่วนด้วยเสียงข้างมาก กรณีไม่ได้กำหนดให้ใครเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการไว้ ให้ถือว่าหุ้นส่วนทุกคนสามารถจัดการงานของห้างหุ้นส่วนได้ทุกคน

ความรับผิดชอบของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน


ความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอกการกระทำ ที่หุ้นส่วนคนใดคนหนึ่งกระทำลงไป ถือว่าการกระทำนั้นผูกพันผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ที่ต้องรับผิดร่วมกันในหนี้อันได้ก่อให้เกิดขึ้น โดยไม่จำกัดจำนวน

ความรับผิดต่อผู้เป็นหุ้นส่วนด้วยกัน  การกระทำที่เกินขอบเขต อำนาจของผู้เป็นหุ้นส่วน ต้องรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น ถือว่าเป็นการกระทำการจัดการงานนอกสั่ง

ข้อจำกัดของผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน

มีข้อจำกัดของผู้เป็นหุ้นส่วนเหมือนกับผู้เป็นหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน คือ ห้าม หุ้นส่วนคนใดประกอบกิจการอย่างใดอย่างหนึ่งที่มีสภาพเดียวกับห้างหุ้นส่วนสามัญจดทะเบียน กิจการดังกล่าวนั้นแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนนั้น ไม่ว่ากิจการนั้นจะกระทำเพื่อประโยชน์ของผู้เป็นหุ้นส่วนนั้นเองหรือกระทำเพื่อประโยชน์บุคคลอื่น และการกระทำดังกล่าวไม่ได้รับความยินยอมจากหุ้นส่วนคนอื่นๆ 

แต่มีข้อจำกัดเพิ่มขึ้นอีกประการ คือห้ามเข้าไปเป็นหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดชอบในห้างหุ้นส่วนอื่นที่มีสภาพดุจเดียวและเป็นการแข่งขันกับห้างหุ้นส่วนเดิม ไม่ว่าเป็นประโยชน์ของตนเองหรือผู้อื่น

รายชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล
รายชื่อห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคล

รับจดทะเบียนบริษัท สำนักงานบัญชี พีทูพี

บางใหญ่, นนทบุรี

จดทะเบียนบริษัท สะดวก ครบ จบ ในที่เดียวจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทไม่ว่าจะเป็นธุรกิจรายใหม่ทุกธุรกิจ SMEs, Startup กับเราวันนี้ รับฟรีทันที    ... [อ่านต่อ]

คำถาม-คำตอบ เกี่ยวกับการยื่นแบบ บภ.07/08

ลำดับที่ คำถาม คำตอบ
1 หากต้องการแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง ต้องทำอย่างไร

ต้องแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง ดังนี้

1. ครั้งแรกของทุกปีปฏิบัติงาน ต้องแจ้งด้วยการยื่นแบบ บภ.07 ภายในวันที่ 30 มิถุนายนของทุกปี โดยต้องแจ้งก่อนปีที่จะลงลายมือชื่อรับรอง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการลงลายมือชื่อหรือไม่มีการลงลายมือชื่อ

2. หากมีการเปลี่ยนแปลงจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีจะลงลายมือชื่อรับรอง ต้องแจ้งด้วยการยื่นแบบ บภ.08 ภายในวันที่ 5 ของเดือนถัดจากเดือนที่มีการเปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ ต้องแจ้งก่อนวันที่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชี

ท่านสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก www.rd.go.th > ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี > ความรู้เกี่ยวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากร > การยื่นแบบ บภ.07/08

2 การยื่นแบบ บภ.07/08 ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะต้องทำอย่างไร 

ขั้นตอนการยื่นแบบ บภ.07/08 ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 

1.เข้าเว็บไซต์ของกรมสรรพากร ที่ www.rd.go.th

2. เลือกหัวข้อ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี

3. เลือกหัวข้อ ยื่นแบบ

4. เลือกหัวข้อ คำแนะนำวิธีการยื่นแบบ > แบบ บภ.07/08 เพื่อศึกษา ขั้นตอนการยื่นแบบ บภ.07/08 ทางอินเทอร์เน็ต 

5. เลือกหัวข้อ บริการยื่นแบบ

6. เลือกแบบที่ต้องการยื่น (บภ.07 หรือ บภ.08)

7. Login เข้าระบบ และปฏิบัติตามคำแนะนำที่ได้ศึกษามาแล้วข้างต้น

3 ในปีแรกที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้ เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องยื่นแบบ บภ. 07 อย่างไร

ในปีแรกที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร ต้องยื่นแบบ บภ.07 จำนวน 2 ฉบับ ตามปีปฏิบัติงาน สำหรับปีปฏิบัติงานที่ได้รับใบอนุญาตและสำหรับปีปฏิบัติงานถัดไป ภายใน 60 วัน นับแต่วันที่ได้รับอนุญาตจากอธิบดีให้เป็นผู้สอบบัญชีภาษีอากร หรือ ภายในวันที่ 30 มิถุนายน แล้วแต่กรณี 

ท่านสามารถเข้าไปศึกษารายละเอียดได้จาก www.rd.go.th > ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี > ความรู้เกี่ยวกับผู้สอบบัญชีภาษีอากร > การยื่นแบบ บภ.07/08

4 การแจ้งจำนวนและรายชื่อของห้างหุ้นส่วนที่จะตรวจสอบ ต้องแจ้งกับกรมสรรพากรในกรณีใด ในกรณีที่จะลงลายมือชื่อรับรองให้กับห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นตามกฎกระทรวงออกตามความในพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543 ซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่เกิน 5 ล้านบาท สินทรัพย์รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท และรายได้รวมไม่เกิน 30 ล้านบาท
5 ผู้สอบบัญชีรับอนุญาตที่ตรวจสอบเฉพาะบริษัท ต้องแจ้งรายชื่อต่อกรมสรรพากรหรือไม่ ควรยื่นแบบ บภ.07 ไว้ก่อน โดยแจ้งว่า ไม่ลงลายมือชื่อรับรองการตรวจสอบและรับรองบัญชีในห้างหุ้นส่วนขนาดเล็ก เนื่องจากหากรับงานตรวจสอบและรับรองบัญชีในห้างหุ้นส่วนขนาดเล็กเพิ่มเติมภายหลัง อาจทำให้ไม่สามารถยื่นแบบ บภ.07 ได้ภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
6 กรณี ลืมรหัสผ่านในการยื่นแบบ บภ.07/08 ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะต้องดำเนินการอย่างไร ให้เลือกหัวข้อ “ลืมรหัสผ่าน” เพื่อเข้าไปตอบคำถามที่ท่าน ได้เคยกำหนดไว้ในการเข้าระบบครั้งแรก หากตอบคำถามถูกต้อง ระบบจะแจ้ง Password ให้ท่านทราบ หากท่านลืมรหัสผ่านและจำคำตอบที่เคยกำหนดไว้ในการเข้าระบบครั้งแรกไม่ได้ ขอให้ท่านยื่นแบบคำขอทั่วไป (บภ.03) ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เพื่อขอทราบรหัสผ่านและคำตอบที่เคยกำหนดไว้ พร้อมทั้ง ส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนรับรองสำเนาถูกต้อง มาเพื่อประกอบการพิจารณา โดยส่งมาทางโทรสารหมายเลข 0-2619-8250
7 ได้เข้าไปใช้บริการยื่นแบบ บภ.07/08 ทางอินเทอร์เน็ต แต่ระบบให้เลือกรอบระยะเวลาบัญชีเพียง 2 ปีเท่านั้น เพราะเหตุใด ในการยื่นแบบ บภ.07 หรือ บภ.08 ระบบได้กำหนดให้เลือกจากรอบปีปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีโดยเลือกได้ 2 ปีปฏิบัติงาน คือ ปีปฏิบัติงานปัจจุบัน และ ปีปฏิบัติงานที่ต้องแจ้งล่วงหน้า มิใช่ปีตามรอบระยะเวลาบัญชีในงบการเงินของนิติบุคคล ท่านสามารถดูคำนิยามของรอบปีปฏิบัติงานและรอบระยะเวลาบัญชี ได้จาก www.rd.go.th > ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี > ยื่นแบบ > คำแนะนำวิธีการยื่นแบบ > บภ.07/บภ.08 > คำนิยามที่เกี่ยวข้อง
8 ได้ยื่น แบบ บภ.07 แจ้งรายชื่อนิติบุคคล ซึ่งขณะนั้นมีคุณสมบัติเป็นห้างฯ ขนาดเล็ก แต่ในระหว่างปีบัญชีห้างฯมีรายได้มากกว่า 30 ล้าน อยากทราบว่า ในปีนั้น TA สามารถตรวจสอบและรับรองงบการเงินของห้างฯ นั้น ได้หรือไม่ ไม่ได้ และท่านต้องแจ้งเปลี่ยนแปลงลดจำนวนรายนิติบุคคลด้วยแบบ บภ.08
9 ถ้าเคยแจ้งรายชื่อห้างฯ ไว้ในปีก่อนแล้ว หากไม่มีการถอนชื่อออกหรือห้างฯ ยังคงให้ตรวจสอบเหมือนปีก่อน TA จะต้องแจ้งรายชื่อธุรกิจด้วยหรือไม่ ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีต้องแจ้งจำนวนและรายชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่จะลงลายมือชื่อรับรองทุกครั้งที่มีการตรวจสอบในแต่ละปีปฏิบัติงานด้วยแบบ บภ.07 หรือ บภ.08 ไม่ว่าจะเป็นรายเดิมที่เคยตรวจสอบในปีปฏิบัติงานก่อน
10 ถ้าต้องการตรวจสอบข้อมูลการยื่นแบบ บภ.07/08 ที่ได้ยื่นมาแล้ว จะตรวจสอบได้อย่างไร ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีสามารถตรวจสอบข้อมูลการยื่นแบบ บภ.07/08 ผ่านทางเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ได้จาก www.rd.go.th > ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชี > ยื่นแบบ > บริการยื่นแบบ > แบบ บภ.07 หรือ แบบ บภ.08 > Login เข้าระบบ > ประวัติการยื่นแบบ (สามารถตรวจสอบจำนวนครั้งที่ยื่นแบบ บภ.07/08 และเลขที่รับเอกสารได้จากปีปฏิบัติงานที่ระบุในการค้นหาและสามารถตรวจสอบรายชื่อและจำนวนรายได้จากเลขที่รับเอกสารแบบ บภ.07/08 ในแต่ละครั้ง) หรือ จำนวนรายและรายชื่อสุทธิ ( สามารถตรวจสอบจำนวนรายและรายชื่อตามที่ได้แจ้งไว้ทั้งหมดในแต่ละปีปฏิบัติงานที่ระบุในการค้นหา)
11 ถ้ายื่นแบบ บภ.07/08 หลังจากพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแล้วจะต้องทำอย่างไร ขอให้ผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีรีบดำเนินการยื่นแบบโดยเร็ว และครั้งต่อไปขอให้ท่านปฏิบัติตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.122/2545 ลงวันที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2545 เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์การปฏิบัติงาน และการรายงานการตรวจสอบและรับรองบัญชีของผู้สอบบัญชีภาษีอากร ตามมาตรา 3 สัตต แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป.147/2548 ลงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2548 อย่างเคร่งครัด หากไม่ปฏิบัติตามที่อธิบดีกำหนด อธิบดีอาจพิจารณาเพิกถอนใบอนุญาตการเป็นผู้ตรวจสอบและรับรองบัญชีได้