หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างงาน

หน้าแรก > คดีแรงงาน > มาตรา ๑๑๙ วรรคท้าย หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้าง หมายความว่าอย่างไร

มาตรา ๑๑๙ วรรคท้าย หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้าง หมายความว่าอย่างไร

มาตรา ๑๑๙ วรรคท้าย หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง ต้องระบุข้อเท็จจริงอันเป็นเหตุที่เลิกจ้าง หมายความว่าอย่างไร

๑.ระบุข้อเท็จจริงอันเป็นรายละเอียดของเหตุแห่งการเลิกจ้างเพียงพอที่ทำให้ลูกจ้างได้ทราบว่าตนเองถูกเลิกจ้างด้วยเหตุใด เช่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๑๒๒/๒๕๔๖ แม้นายจ้างมิได้อ้างว่า ลูกจ้างกระทำผิดข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างข้อใดไว้ในหนั้งสือเลิกจ้าง แต่เมื่อนายจ้างได้อ้าง การกระทำของลูกจ้างไว้ในหนังสือเลิกจ้างแล้ว ย่อมยกเป็นข้อต่อสู้ได้

๒.ระบุเหตุผลอันเป็นหลักแห่งการกระทำความผิดของลูกจ้าง โดยไม่จำต้องระบุเหตุผลอันเป็นรายละเอียดข้อเท็จจริงการกระทำความผิด เช่น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ ๘๗๓๔/๒๕๔๔ ศาลฎีกาแผนกคดีแรงงานพิจารณาแล้ว คดีมีปัญหาวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์ว่าหนังสือเลิกจ้างระบุว่าโจทก์ปฏิบัติฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของจำเลย ข้อ ๕.๑.๑, ๕.๑.๓, ๕.๑.๔, ๕.๑.๑๐, ๕.๑.๑๔ ซึ่งเป็นกรณีร้ายแรง เป็นการระบุว่าจำเลยเลิกจ้างโจทก์เพราะเหตุที่โจทก์กระทำการฝ่าฝืนคำสั่งในข้อดังกล่าว หนังสือเลิกจ้างจึงได้ระบุเหตุผลแห่งการเลิกจ้างโจทก์ไว้แล้ว ส่วนพฤติการณ์การกระทำของโจทก์เป็นอย่างไร เป็นรายละเอียดที่จำเลยสามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา จำเลยจึงยกเหตุไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยเนื่องจากโจทก์ฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือระเบียบหรือคำสั่งของจำเลยเป็นกรณีร้ายแรงขึ้นอ้างในคำให้การเพื่อไม่จ่ายค่าชดเชยได้ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. ๒๕๔๑ มาตรา ๑๑๙ (๔) ไม่ต้องห้ามตามมาตรา ๑๗ วรรคสาม 

Visitors: 90,290

หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างงาน

ตัวอย่างจดหมายบอกเลิกสัญญาต่างๆ

1.ฟอร์ม ขอเงินจองรถยนต์คืน

2.ฟอร์ม โอนกรรมสิทธิ์รถยนต์

3.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญากรมธรรม์ประกันภัย

4.ฟอร์ม จดหมายเวนคืนกรมธรรม์ประกันชีวิต

5.ฟอร์ม ยกเลิกประกันภัยทางโทรศัพท์

7.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและปฏิเสธการชำระหนี้ อินเทอร์เน็ต

8.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและให้เยียวยาความเสียหาย กรณีบริษัทผิดสัญญา

9.ฟอร์ม ขอให้ระงับการเรียกเก็บเงินจนกว่าคดีจะถึงที่สุด ทรูสปาทรูฟิตเนส

10.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญา ฟิตเนส

11.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญา สินค้าชำรุดบกพร่อง

12.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและขอให้คืนเงินมัดจำ กรณีเช่าที่อยู่อาศัย บ.ผิดสัญญา

13.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและขอให้คืนเงินดาวน์ กรณีซื้อห้องชุด กู้ไม่ผ่าน

14.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญา เสริมความงาม

15.ฟอร์ม ขอยกเลิกสัญญาและขอให้คืนเงิน บริษัท ELC.

16.ฟอร์ม ขอให้ดำเนินการตามสัญญา (จ้างทำของ ก่อสร้างบ้าน ทิ้งงาน)

17.ฟอร์ม ขอให้เยียวยาความเสียหาย อาหารปนเปื้อน

18.ฟอร์ม แจ้งบริษัทบัตรเครดิต

19.01 ฟอร์ม ปฏิเสธการยกเลิกประกัน COVID-19 (แก้ไขได้)

19.02 ฟอร์ม ปฏิเสธการยกเลิกประกัน COVID-19 (PDF)

การบอกเลิกสัญญาจ้าง เป็นสิ่งหนึ่งที่นายจ้างหรือเจ้าของกิจการนั้นรู้สึกไม่ค่อยอยากทำสักเท่าไหร่ เพราะว่าเป็นสิ่งที่ทำร้ายจิตกันไม่น้อยเลยล่ะ แต่ว่าในบางครั้งก็มีเหตุจำเป็นที่จะต้องทำการบอกเลิกสัญญาจ้างกับอีกฝ่าย ไม่ว่าจะเป็นทั้งปัญหาเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นทั้งความต้องการจัดระเบียบบุคลากร จำเป็นต้องมีการคัดคนที่ไม่ได้คุณภาพออกไป รวมไปถึงเป็นการลดภาระค่าใช้จ่ายให้กับบริษัทเพื่อความอยู่รอดของคนส่วนมาก ซึ่งสิ่งต่างๆเหล่านี้ก็ล้วนจำเป็นต้องบอกเลิกสัญญาจ้าง แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามการบอกเลิกสัญญาจ้างนั้น ไม่สามารถกระทำได้ด้วยเพียงคำพูดเพียงอย่างเดียว หรือเดินมาหาลูกจ้างพร้อมกับพูดคำว่าเชิญออก แต่จำเป็นที่จะต้องทำตามข้อกฎหมายบังคับด้วยโดยเราก็มีความรู้เล็กๆเกี่ยวกับการบอกเลิกสัญญาจ้างดังนี้

การบอกเลิกสัญญาจ้าง เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ

  1. สัญญาจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างเอาไว้

  2. สัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้

โดยการบอกเลิกสัญญาจ้างทั้ง 2 แบบ ก็มีลักษณะดังนี้

สำหรับในกรณีที่ 1. สัญญาจ้างไม่ได้กำหนดระยะเวลาการจ้างเอาไว้

  • เราสามารถทำการบอกเลิกสัญญาจ้างได้โดยบอกกล่าวล่วงหน้าโดยทำเป็นหนังสือออกมาเพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งทราบ โดยเราจะบอกล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน
  • หากนายจ้างเป็นฝ่ายที่ต้องทำการยกเลิกจ้างหรือเลิกจ้างงานในทันที นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างล่วงหน้าให้แก่ลูกจ้าง
  • เมื่อนายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกจ้างลูกจ้าง นายจ้างจะต้องจ่ายค่าชดเชนให้แก่ลูกจ้างตามมาตรา 118 พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน 2541

สำหรับกรณีที่ 2. สัญญาจ้างกำหนดระยะเวลาการจ้างไว้

ในกรณีนี้ สัญญาจ้างจะสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนดระยะเวลาในสัญญาจ้างโดยไม่จำเป็นต้องบอกล่วงหน้า ซึ่งการที่นายจ้างยกเลิกสัญญาจ้างนั้น จำเป็นที่ต้องระบุสาเหตุไว้ด้วย ไม่อย่างนั้นอาจจะผิดกฎหมายได้และสูญเสียผลประโยชน์ของนายจ้างเองได้ โดยในส่วนนี้ มีสิ่งที่เราต้องควรรู้ดังนี้

  •  ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้าง หากนายจ้างไม่ระบุเหตุผลไว้ในหนังสือบอกเลิกสัญญาจ้าง นายจ้างจะยกเหตุตามมาตรา 119 ไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยขึ้นมาอ้างทีหลังไม่ได้ ซึ่งข้อจำกัดนี้อยู่แค่ในส่วนของการห้องเรียกค่าชดเชน ไม่รวมถึงการฟ้องเรียกเงินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและเรื่องเรียกค่าเสียหาย
  • ในกรณีที่นายจ้างเป็นฝ่ายบอกเลิกสัญญาจ้างพร้อมเหตุผล นายจ้างก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง

หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างงาน
แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตาม การบอกเลิกสัญญาจ้างนั้น นายจ้างก็ไม่จำเป็นที่จะต้องมีการจ่ายเงินค่าชดเชยเสมอไป โดยยังมีกรณีที่นายจ้างไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้างดังต่อไปนี้

  1. เมื่อลูกจ้างทุจริตต่อหน้าที่ รวมไปถึงกระทำความผิดทางอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง
  2. เมื่อลูกจ้างจงใจให้นายจ้างได้รับความเสียหาย
  3. เมื่อลูกจ้างมีความประมาท จนเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายขั้นรุนแรง
  4. เมื่อลูกจ้างฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานหรือมีการฝ่าฝืนระเบียบ คำสั่งของนายจ้างโดยว่าชอบด้วยกฎหมายและมีความเป็นธรรม และนายจ้างก็ได้มีการตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว ยกเว้นในบางกรณีที่นายจ้างไม่จำเป็นต้องตักเตือนอย่างกรณีร้ายแรง (หนังสือเตือนให้มีผลบังคับไม่เกินหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่ลูกจ้างได้กระทำความผิด)
  5. เมื่อลูกค้างละทิ้งหน้าที่เป็นระยะเวลา 3 วันติดต่อกันไม่ว่าจะมีวันหยุดคั่นหือไม่ก็ตาม โดยไม่มีเหตุอันควร
  6. เมื่อลูกจ้างได้รับโทษทางกฎหมายอย่างเช่นจำคุกตามคำพิพากษา ยกเว้นแต่การกระทำโดยประมาทหรือลหุโทษ

เมื่อนายจ้างทำการบอกเลิกสัญญาจ้างลูกจ้างแล้ว หากเป็นการบอกเลิกสัญญาจ้างโดยที่จะต้องมีการจ่ายเงินชดเชย นายจ้างจะต้องมีการจ่ายเงินตามมาตรา 118 ในลักษณะดังนี้

  1. สำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบอย่างน้อยหนึ่งร้อยยี่สิบวันแต่ไม่ครบหนึ่งปี ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามสิบวันสุดท้าย
  2. สำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบหนึ่งปีแต่ไม่ครบหกปี ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายเก้าสิบวันหรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานเก้าสิบวันสุดท้าย
  3. สำหรับลูกจ้างทำงานครบติดต่อกันสามปีแต่ไม่ถึงหกปี ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายหนึ่งร้อยแปดสิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานหนึ่งร้อยแปดสิบวันสุดท้าย
  4. สำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันครบหกปีแต่ไม่ถึงยี่สิบปี ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสองร้อยสี่สิบวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสองร้อยสี่สิบวันสุดท้าย
  5. สำหรับลูกจ้างทำงานติดต่อกันยี่สิบปีขึ้นไป ต้องจ่ายไม่น้อยกว่าค่าจ้างอัตราสุดท้ายสามร้อยวัน หรือไม่น้อยกว่าค่าจ้างของการทำงานสามร้อยวันสุดท้าย

ซึ่งการจ่ายเงินของเลิกสัญญาจ้างนายจ้างตามมาตรา  118 ก็ได้รวมไปถึงกรณีที่นายจ้างไม่สามารถดำเนินกิจการได้ด้วยนะ พูดง่ายๆก็คือต่อให้ธุรกิจล้มละลาย แต่เมื่อว่าตามกฎหมายมาตรา 118 นายจ้างก็ต้องจ่ายเงินค่าชดเชย

เพียงเท่านี้ การบอกเลิกสัญญาจ้างก็ไม่ใช่สิ่งที่น่ากลัวและเราสามารถกระทำได้โดยไม่ต้องกังวลว่าจะผิดกฎหมาย ซึ่งการบอกเลิกสัญญาจ้างนั้น เป็นอะไรที่มีความเสี่ยงอย่างมากเลยล่ะสำหรับคนที่ทำงานกับบริษัทเป็นระยะเวลานานๆ เพราะยิ่งทำงานนานเท่าไหร่ ค่าชดเชยก็มากขึ้นเท่านั้น จึงทำให้นายจ้างบางคนเลือกที่จะบอกเลิกสัญญาจ้างเพื่อที่จะจ้างคนรุ่นใหม่มาทำงาน

หนังสือบอกเลิกสัญญาจ้างงาน