รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

เรียบเรียงข้อมูลโดยกระปุกดอทคอม 
ขอขอบคุณภาพประกอบจาก Wikipedia

          หลอดทดลอง บีกเกอร์ เครื่องชั่ง กล้องจุลทรรศน์ กล้องดูดาว ชามระเหย สามขา ตะแกงลวด คีม กระจกนาฬิกา ฯลฯ ... อ่ะ อ่ะ ไม่ต้องเอาคิ้วไปชนกันให้เมื่อยค่ะ หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมเราถึงเอ่ยชื่ออุปกรณ์หรือเครื่องมือวิทยาศาสตร์ต่าง ๆ มาบอกเล่ากัน

          เนื่องจากในทุก ๆ วันที่ 18 สิงหาคม ของทุกปี เป็นอีกวันหนึ่งที่มีความสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์ วงการดาราศาสตร์ และวงการศึกษาของไทย เพราะถ้าย้อนอดีตกลับไปเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ.2411 จะเป็นวันที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ตำบลหว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ หลังจากที่พระองค์ทรงคำนวณการเกิดสุริยุปราคาไว้ล่วงหน้า 2 ปี ต่อมาคณะรัฐมนตรีจึงกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคมของทุกปี เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" ...วันนี้กระปุกดอทคอมเลยจะพาไปทำรู้จักที่มาที่ไป และประวัติของ วันวิทยาศาสตร์ กันค่ะ...

          แต่ก่อนอื่นเราจะพาไปรู้จักความหมายของ "วิทยาศาสตร์" (Science) กันก่อน ซึ่งจริง ๆ แล้วคำว่า วิทยาศาสตร์ หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่าง ๆ ในธรรมชาติ ทั้งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต รวมทั้งกระบวนการประมวลความรู้เชิงประจักษ์ ที่เรียกว่ากระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และกลุ่มขององค์ความรู้ที่ได้จากกระบวนการดังกล่าว ทั้งนี้ การศึกษาในด้านวิทยาศาสตร์ยังถูกแบ่งย่อยออกเป็น วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และ วิทยาศาสตร์ประยุกต์

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
  
วันวิทยาศาสตร์

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 ประวัติวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 

          รัฐบาลไทยกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็นวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ เนื่องจากวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2411 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินชลมารคและสถลมารค ทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง ที่ทรงคำนวณพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า 2 ปี ว่าจะเกิดในวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 10 ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1230 โดยจะเห็นหมดดวงและชัดเจนที่สุด คือ ที่หมู่บ้านหัววาฬ ตำบลหว้ากอ อำเภอเมือง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ตั้งแต่บริเวณ เกาะจาน ขึ้นไปถึง ปราณบุรี และลงไปถึง จังหวัดชุมพร จึงโปรดฯ ให้เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ไปสร้างค่ายหลวงและพลับพลาที่ประทับ มีคณะนักดาราศาสตร์จากประเทศฝรั่งเศส และเซอร์แฮรี ออด เจ้าเมืองสิงคโปร์เดินทางมาเข้าเฝ้าฯ และร่วมในการสังเกตการณ์ และต่อมาได้มีการสร้าง"อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ อำเภอบ้านหว้ากอ

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

          ผลการคำนวณของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแม่นยำมาก เซอร์แฮรี ออด บันทึกเหตุการณ์ไว้ซึ่งต่อมาหม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้แปลเป็นภาษาไทยในงานหว้ากอรำลึก ณ ท้องฟ้าจำลองกรุงเทพฯ เมื่อ พ.ศ. 2518 ว่า "พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระสำราญมาก เพราะการคำนวณเวลาสุริยุปราคาของพระองค์ ได้พิสูจน์แล้วว่าถูกถ้วนที่สุด ถูกถ้วนยิ่งกว่าที่ชาวยุโรปได้คำนวณไว้"


          ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระองค์ทรงรับเอาศิลปวิทยาการ และความคิดสมัยใหม่มาประยุกต์ใช้ในการปกครองประเทศ ด้วยเหตุนี้องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (ยูเนสโก) จึงได้ประกาศยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก ด้วยพระราชกรณียกิจและพระเกียรติคุณนานัปการ โดยเฉพาะพระราชกรณียกิจด้านดาราศาสตร์ 

   

       ทั้งนี้ สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยเฉพาะทางด้านดาราศาสตร์ มีแนวคิดว่าน่าจะถือเอาวันที่ 18 สิงหาคมเป็นวันวิทยาศาสตร์ไทย ต่อมาวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2525 คณะรัฐมนตรีได้มีมติเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็น "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" พร้อมทั้งกำหนดให้วันที่ 18 สิงหาคม เป็น "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ" และเมื่อวันที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2511 ได้มีการจัดงานขึ้นเนื่องในโอกาสครบรอบ 100 ปีของเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น 

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

          นอกจากนี้ เมื่อปี พ.ศ. 2527 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติขึ้นเป็นครั้งแรก ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม โดยได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานราชการต่างๆ จนได้รับความสนใจทั้งจากภาครัฐ เอกชน และประชาชนทั่วไป ซึ่งทำให้คณะรัฐมนตรีได้เล็งเห็นความสำคัญ ดังนั้น เมื่อวันที่ 3 กันยายน พ.ศ. 2528 คณะรัฐมนตรีจึงได้อนุมัติให้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดำเนินการจัดงาน "สัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ" เป็นประจำทุกปี ระหว่างวันที่ 18-24 สิงหาคม

          สำหรับ "อุทยานวิทยาศาสตร์" ที่ บ้านหว้ากอ จ.ประจวบคีรีขันธ์ นั้น ในเวลาต่อมา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่ออุทยานนี้ว่า "อุทยานวิทยาศาสตร์พระจอมเกล้า ณ หว้ากอ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์" และได้รับพระบรมราชานุญาติให้จัดสร้าง พระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบรมรูปหล่อประทับนั่งบนพระเก้าอี้ฉลองพระองค์เครื่องแบบทหารเรือ ชุดเดียวกับวันที่พระองค์ท่านเสด็จพระราชดำเนินมาบ้านหว้ากอ เพื่อเป็นการระลึกถึง "วันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ"

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 พระราชกรณียกิจทางด้านดาราศาสตร์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 
รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 
          พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดฯ ให้สร้างหอดูดาวบนเขาวัง ในจังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2403 พระราชทานนามว่า "หอชัชวาลเวียงชัย" ซึ่งตลอดพระชนม์ชีพของพระองค์ ได้เคยทอดพระเนตรดาวหาง 3 ดวงคือ

          1. ดาวหางฟลูเกอร์กูส (Flaugergues s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่และมีหาง 2 หาง ปรากฏในรัชสมัย พระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อ พ.ศ. 2355 ขณะนั้นเจ้าฟ้ามงกฏมีพระชันษาราว 8 ปี เมื่อทรงเห็นแล้ว คงจะทรงติดตามศึกษาเรื่องดาวหางอยู่เสมอ เพราะว่าก่อนดวงที่ 2 จะมาปรากฏ พระองค์สามารถทรงนิพนธ์ประกาศฉบับแรกชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" แจ้งแก่ประชาชน

          2. ดาวหางโดนาติ (Donati a Comet)
 เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่มาก นักดาราศาสตร์อิตาเลียนค้นพบในคืนวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ 2401 และคืนต่อๆมา จนถึงวันที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2402 (รวมเวลา 9 เดือน) ชาวไทยคงจะเห็นด้วยตาเปล่า ระหว่างเดือนกันยายน-ตุลาคม พ.ศ. 2401

          ดาวหางดังกล่าวมีลักษณะเป็น 2 หาง หางหนึ่งเหยียดตรง อีกหางหนึ่งเป็นพู่โค้งสวยงามอยู่ราว 2 เดือน พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเกรงว่า เมื่อประชาชนเห็นดาวหางโดนาติ แล้วจะตื่นเต้นไปตามคำลือต่าง ๆ จึงทรงออกประกาศเตือนชื่อว่า "ประกาศดาวหางขึ้นอย่าได้วิตก" นับเป็นประกาศทางวิทยาศาสตร์ฉบับแรกของประเทศ มีความว่า "ดาวหางนี้ชาวยุโรปได้เห็นมาแล้วหลายเดือน ดาวหางนี้มีคติแลทางยาวไปในท้องฟ้า แล้วก็กลับมาได้เห็นในประเทศทั้งนี้อีก เพราะเหตุนี้อย่าให้ราษฎรทั้งปวงตื่นกัน และคิดวิตกเล่าลือไปต่าง ๆ ด้วยว่ามิใช่จะเห็นแต่ในพระนครนี้ และเมืองที่ใกล้เคียงเท่านั้นหามิ ได้ย่อมได้เห็นทุกบ้านทุกเมืองทั่วพิภพอย่างนี้แล"

          3. ดาวหางเทพบุท (Tebbut s Comet) เป็นดาวหางที่มีขนาดใหญ่ หางยาว และสว่างกว่าดาวหางโดนาติ ปรากฏแก่สายตาชาวโลก ระหว่างเดือนมิถุนายน-กรกฎาคม พ.ศ. 2404 เป็นดาวที่พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยมากยิ่งขึ้น ถึงกับทรงได้คำนวณไว้ล่วงหน้าว่า จะปรากฏเมื่อใด และได้ทรงออกประกาศไว้ล่วงหน้า มิให้ประชาชนตื่นตระหนก ทั้งนี้เพราะพระองค์ มีพระราชประสงค์มุ่งขจัดความเชื่อ เกี่ยวกับเรื่องโชคลาง และทรงให้ราษฎรตั้งอยู่ในความไม่ประมาท เตรียมพร้อมที่จะเผชิญเหตุการณ์ (ถ้าจะเกิด) อย่างมีเหตุผลตามแบบวิทยาศาสตร์

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย


รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 คำขวัญวันวิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2532 พิทักษ์สิ่งแวดล้อมของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2533 เพิ่มคุณค่าทรัพยากรธรรมชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2534 ขจัดมลพิษทุกชีวิตจะปลอดภัย


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2536 วิทยาศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจ เพิ่มคุณค่าชีวิต พิทักษ์สิ่งแวดล้อม


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2537 ขจัดปัญหาน้ำของชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2538 เทคโนโลยีสารสนเทศก้าวไกล เศรษฐกิจไทยมั่นคง


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2539 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล พัฒนาชาติไทยให้ก้าวหน้า


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2540 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2541 พัฒนาเศรษฐกิจด้วยวิทยาศาสตร์ พัฒนาชาติด้วยภูมิปัญญาไทย


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2542 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวไกล เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตไทยที่ยั่งยื่น


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2543 พัฒนาคน พัฒนาชาติ ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2544 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2545 วิทยาศาสตร์เทคโนโลยี เพื่อเศรษฐกิจและสังคมไทย


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2546 เส้นทางแห่งการค้นพบวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณค่าแห่งภูมิปัญญา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2547 เศรษฐกิจของชาติมีปัญหา วิทยาศาสตร์มีคำตอบ


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2548 วิทยาศาสตร์คือความรู้สู่ความสำเร็จ


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2549 เศรษฐกิจพอเพียง เคียงคู่ไทย ก้าวไกลด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2550 วิทยาศาสตร์สร้างปัญญาในสังคม


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2551 วิทยาศาสตร์สร้างชาติ สร้างอนาคต


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2552 วิทยาศาสตร์ก้าวไกล นำไทยก้าวหน้า


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2553 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2554 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2555 จุดประกายความคิด พัฒนาชีวิตด้วยวิทยาศาสตร์


   

รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 2556 ทันโลก ทันวิทย์ จุดประกายความคิดสู่อาเซียน


รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 วัตถุประสงค์ของการจัดงานวันสัปดาห์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ 
รัชกาลที่ 4 บิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย
 


          1. เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติและพระปรีชาสามารถทางด้านวิทยาศาสตร์ ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว "พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย" 


          2. เพื่อเสริมสร้างบรรยากาศทางวิทยาศาสตร์ อันเป็นวิถีทางหนึ่งของการแก้ปัญหาการขาดแคลนกำลังคน ทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี


          3. เพื่อเป็นการส่งเสริมและเผยแพร่ผลงาน การค้นคว้า วิจัย ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศ 


          4. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่าภาครัฐและเอกชน ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปใช้ในการพัฒนาประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ 


          5. เพื่อสนับสนุนให้กำลังใจและโอกาสแก่นักวิจัย นักประดิษฐ์ ได้แสดงผลงานต่อสาธารณชน

ทำไมรัชกาลที่ 4 จึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

พระองค์ทรงเป็นพระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย เนื่องจากสนพระราชหฤทัยเรื่องของวิทยาศาสตร์ เรขาคณิต ตรีโกณมิติ โดยเฉพาะดาราศาสตร์เป็นพิเศษ โดยพระองค์ทรงคำนวณปฏิทินจันทรคติแบบใหม่ที่ทรงประดิษฐ์คิดค้นขึ้นด้วยพระองค์เอง ซึ่งมีความแม่นยำถูกต้องตรงกับดวงจันทร์บนท้องฟ้ายิ่งกว่าปฏิทินที่ใช้อยู่เดิม และยังทรงคำนวณการเกิดปรากฏการณ์ ...

รัชกาลที่ 4 เป็นบิดาในด้านใด

1. พระองค์ทรงคำนวณด้วยวิธีทางดาราศาสตร์แลคณิตศาสตร์ชั้นสูง จะใช้การคำนวณด้วยวิธีของโหราศาสตร์มิได้ 2. ต้องคำนวณด้วยพระองค์เองทั้งสามขั้นตอน

รัชกาลใดคือบิดาของวิทยาศาสตร์

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย

รัชกาลที่ 4 เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์อย่างไร

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 พระมหากษัตริย์แห่งบรมราชจักรีวงศ์ กรุงรัตนโกสินทร์ พระผู้นำแห่งสยามประเทศด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะพระอัจฉริยภาพล้ำเลิศด้านดาราศาสตร์ พระองค์ได้รับการถวายพระราชสมัญญานามว่า พระบิดาแห่งวิทยาศาสตร์ไทย พระองค์ได้แสดงเกียรติภูมิของชาติไทยให้แผ่ไพศาลเป็นที่ยกย่องและชื่นชม ในบรรดา ...