การบำเพ็ญทุกรกิริยาในวาระที่ 1 ทำอย่างไร

พระมหาบุรุษเสด็จเข้าสำนักดาบส-เริ่มทรงบำเพ็ญทุกกรกิริยา

ลำดับนั้น พระมหาบุรุษก็เสด็จจาริกจากที่นั้น ไปสู่สำนักอาฬารดาบส กาลามโคตร
ซึ่งสร้างอาศรมอยู่ในพนาสณฑ์ตำบลหนึ่ง ขอพำนักศึกษาวิชาและข้อปฏิบัติอยู่
ทรงศึกษาอยู่ไม่นาน ก็ได้สำเร็จสมาบัติ ๗ คือ รูปฌาน ๔ อรูปฌาน ๓ สิ้นความรู้ของอาฬารดาบส

ทรงเห็นว่าธรรมเหล่านี้มิใช่ทางตรัสรู้ จึงได้อำลาอาฬารดาบส
ไปสู่สำนักอุทกดาบส รามบุตร ขอพำนักศึกษาอยู่ด้วย ทรงศึกษาไดอรูปฌาน ๔ ครับสมาบัติ ๘
สิ้นความรู้ของอุทกดาบส ครั้นทรงไตร่ถามถึงธรรมวิเศษขึ้นไป อุทกดาบสก็ไม่สามารถจะบอกได้
และได้ยกย่องตั้งพระมหาบุรุษไว้ในที่เป็นอาจารย์เสมอด้วยตน

การบำเพ็ญทุกรกิริยาในวาระที่ 1 ทำอย่างไร

แต่พระมหาบุรุษทรงเห็นว่า ธรรมเหล่านี้มิใช่ทางตรัสรู้
จึงได้อำลาอาจารย์ออกแสวงหาธรรมวิเศษสืบไป ทั้งมุ่งพระทัยจะทำความเพียรโดยลำพังพระองค์เดียว
ได้เสด็จจาริกไปยังมคธชนบท บรรลุถึงตำบลอุรุเวลา เสนานิคม ได้ทอดพระเนตรเห็นพื้นที่ราบรื่น
แนวป่าเขียวสด เป็นที่เบิกบานใจ แม่น้ำไหล มีน้ำใสสะอาด มีท่าน่ารื่นรมณ์ โคจรคาม
คือ หมู่บ้านที่อาศัยเที่ยวภิกษาจาร ก็ตั้งอยู่ไม่ไกล ทรงเห็นว่าประเทศนั้น
ควรเป็นที่อาศัยของกุลบุตรผู้มีความต้องการด้วยความเพียรได้ จึงเสด็จประทับอยู่ ณ ที่นั้น

ส่วนบรรพชิตทั้ง ๕ อันมีนามว่า ปัญจวัคคีย์ คือ พระโกณทัญญะ
พระวัปปะ พระภัททิยะ พระมหานามะ พระอัสสชิ พากันเที่ยวติดตามพระมหาบุรุษในที่ต่าง ๆ
จนไปประสบพบพระมหาบุรุษยังตำบลอุรุเวลา เสนานิคม จึงพากันเข้าไปถวายอภิวาทแล้ว
อยู่ปฏิบัติบำรุง จัดทำธุระกิจถวายทุกประการ โดยหวังว่าเมื่อพระองค์ได้ตรัสรู้แล้ว จะได้แสดงธรรมโปรดตนบ้าง

พระมหาบุรุษทรงเริ่มทำทุกกรกิริยา ซึ่งเป็นปฏิปทาที่นิยมว่าเป็นทางให้ตรัสรู้ได้ในสมัยนั้น
โดยทรมานพระกายให้ลำบาก ซึ่งเป็นกิจยากที่บุคคลจะกระทำได้ ด้วยการทรมานเป็น ๓ วาระ ดังนี้

วาระแรก ทรงกดพระทนต์(ฟัน)ด้วยพระทนต์
กดพระตาลุ(เพดานปาก)ุด้วยพระชิวหา(ลิ้น)ไว้ให้แน่น จนพระเสโท(เหงื่อ)ไหลจากพระกัจฉะ(รักแร้)
ในเวลานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง
จับบุรุษมีกำลังน้อยไว้ที่ศรีษะ หรือที่คอ บีบให้แน่น ฉะนั้น
แม้พระกายจะกระวนกระวายไม่สงบระงับอย่างนี้ ทุกขเวทนานั้นก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย
พระองค์มีพระสติมั่น ไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ท้อถอย ครั้นทรงเห็นว่า
การกระทำอย่างนั้น ไม่ใช่ทางตรัสรู้ จึงทรงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

วาระที่ ๒ ทรงผ่อนกลั้นลมอัสสาสะปัสสาสสะ(ลมหายใจเข้าออก)
เมื่อลมไม่ได้ทางเดินสะดวก โดยช่องพระนาสิก(จมูก)และช่องพระโอฐ(ปาก)
ก็เกิดเสียงดังอู้ทางช่องพระกรรณ(หู)ทั้งสอง ให้ปวดพระเศียร(หัว) ร้อนในพระกายเป็นกำลัง
แม้จะได้เสวยทุกขเวทนากล้าถึงเพียงนี้ ทุกขเวทนานั้น ก็ไม่อาจครอบงำพระหฤทัยให้กระสับกระส่าย
มีพระสติตั้งมั่นไม่ฟั่นเฟือน ปรารภความเพียรไม่ย่อหย่อน ครั้นทรงเห็นว่า
การกระทำอย่างนี้ ไม่ใช่ทางตรัสรู้ ก็ทรงเปลี่ยนวิธีอื่นต่อไป

วาระที่ ๓ ทรงอดพระอาหาร ผ่อนเสวยแต่วันละน้อย ๆ บ้าง เสวยอาหารละเอียดบ้าง
จนพระกายเหี่ยวแห้ง พระฉวี(ผิว)เศร้าหมอง พระอัฏฐิ(กระดูก)ปรากฏทั่วพระกาย
เมื่อทรงลูบพระกาย เส้นพระโลมามีรากเน่าร่วงจากขุมพระโลมา
พระกำลังน้อยถอยลง จะเสด็จไปข้างไหนก็ซวนเซล้ม วันหนึ่งทรงอ่อนพระกำลัง
อิดโรยโหยหิวที่สุด จนไม่สามารถจะทรงพระกายไว้ได้ ก็ทรงวิสัญญีภาพ(สลบ)ล้มลงในที่นั้น

การบำเพ็ญทุกรกิริยา (อ่านว่า ทุ-กะ-ระ- กิ-ริ-ยา) มักเป็นเรื่องที่ผู้สอนพุทธประวัติทั่วไปจะไม่เข้าใจเท่าไร บางทีก็อธิบายว่าเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามหลักพุทธศาสนา  แต่ที่จริงแล้วเป็นการทรมานตนเอง ซึ่งพระพุทธองค์เรียกว่า “อัตตะกิละมัตถานุโยค” แปลว่าการบำเพ็ญความเพียรเพื่อทรมานตนเอง เป็นวิธีการที่สุดโต่ง ไม่ใช่ทางหลุดพ้นได้  จึงมีคำถามว่า แล้วเหตุไฉนพระพุทธองค์เมื่อก่อนตรัสรู้จึงได้บำเพ็ญทุกรกิริยา  เพราะว่าหลังจากพระองค์ผนวชแล้วทรงได้ศึกษาคำสอน ปฏิบัติตามวิธีการต่างๆ ของนักบวชในสมัยนั้น รวมทั้งการทำทุกรกิริยาด้วย  ซึ่งคิดว่าจะเป็นหนทางบรรลุพระโพธิญาณได้ แต่เมื่อศึกษาและปฏิบัติจนครบถ้วนแล้ว จึงได้เห็นว่าความเชื่อและวิธีการดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้อง ไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ เพราะไปยึดติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างขาดปัญญา  พระองค์จึงเปลี่ยนแนวทางใหม่คือดำเนินตามมัชฌิมาปฏิปทา หรือทางสายกลาง 

ซึ่งการบำเพ็ญทุกรกิริยา พระองค์ทรงปฏิบัติด้วยวิธีต่างๆ ดังต่อไปนี้ -

๑. ลดพระกระยาหารให้น้อยลงตามลำดับจนกระทั่งเหลือเพียงเท่าเมล็ดในของถั่วพูเท่านั้นในหนึ่ง มื้อของแต่ละวัน
๒. เสวยของโสโครก เช่น เสวยมูลของลูกโค หรือพระบังคลหนักของพระองค์เอง เป็นต้น
๓. เอาของโสโครก เช่น ขี้เถ้า ทาพระวรกายโดยไม่ทรงสนาน(อาบน้ำ)เลยเป็นเวลานับปีจนกระทั่ง สิ่งโสโครกเหล่านั้นเกาะติดพระวรกายเป็นแผ่น
๔. กลั้นลมหายใจโดยใช้พระชิวหากดเพดานปากจนหูอื้อตาลายเกิดอาการวิงเวียนพระเศียร

วิเคราะห์
การที่พระองค์ได้ทรงกระทำทุกรกิริยาอยู่ถึง ๖ ปี จนทำให้พระวรกายของพระองค์ลำบาก สกปรก ซูบผอม และอ่อนล้า ในที่สุดพระองค์ทรงระลึกได้ว่า เมื่อคราวที่ทรงพระชนมายุ ๗ ขวบนั้น ทรงเจริญ
อานาปานสติ คือ การกำหนดลมหายใจเข้าออกจนได้บรรลุปฐมฌาน

การบำเพ็ญทุกรกิริยาในวาระที่ 1 ทำอย่างไร

ที่มา ::: http://www.vicha.kroophra.net/

การบำเพ็ญทุกรกิริยาในวาระที่ 1 ทำอย่างไร


           หลังจากทรงผนวชแล้ว พระองค์มุ่งไปที่แม่น้ำคยา แคว้นมคธ ได้พยายามเสาะแสวงทางพ้นทุกข์ ด้วยการศึกษาค้นคว้าทดลองในสำนักอาฬารดาบส กาลามโครตร และอุทกดาบส รามบุตร แต่เมื่อเรียนจบทั้ง 2 สำนักแล้ว ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์

          จากนั้นพระองค์ได้เสด็จไปที่แม่น้ำเนรัญชรา ในตำบลอุรุเวลาเสนานิคม และทรงบำเพ็ญทุกรกิริยา ด้วยการขบฟันด้วยฟัน กลั้นหายใจและอดอาหาร จนร่างกายซูบผอม แต่หลังจากทดลองได้ 6 ปี ทรงเห็นว่านี่ยังไม่ใช่ทางพ้นทุกข์ จึงทรงเลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา และหันมาฉันอาหารตามเดิม ด้วยพระราชดำริตามที่ท้าวสักกเทวราชได้เสด็จลงมาดีดพิณถวาย 3 วาระ คือดีดพิณสายที่ 1 ขึงไว้ตึงเกินไปเมื่อดีดก็จะขาด ดีดพิณวาระที่ 2 ซึ่งขึงไว้หย่อน เสียงจะยืดยาดขาดความไพเราะ และวาระที่ 3 ดีดพิณสายสุดท้ายที่ขึงไว้พอดี จึงมีเสียงกังวานไพเราะ ดังนั้นจึงทรงพิจารณาเห็นว่า ทางสายกลางคือไม่ตึงเกินไป และไม่หย่อนเกินไป นั่นคือทางที่จะนำสู่การพ้นทุกข์

          หลังจากพระองค์เลิกบำเพ็ญทุกรกิริยา ทำให้พระปัญจวัคคีย์ทั้ง 5 ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยา มหานามะ อัสสชิ ที่มาคอยรับใช้พระองค์ด้วยความคาดหวังว่าเมื่อพระองค์ค้นพบทางพ้นทุกข์ จะได้สอนพวกตนให้บรรลุด้วย เกิดเสื่อมศรัทธาที่พระองค์ล้มเลิกความตั้งใจ จึงเดินทางกลับไปที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ตำบลสารนาถ เมืองพาราณสี 

ทุกรกิริยาที่ทรงบำเพ็ญวาระแรก คืออะไร

วาระแรก ทรงกดพระทนต์(ฟัน)ด้วยพระทนต์ กดพระตาลุ(เพดานปาก)ุด้วยพระชิวหา(ลิ้น)ไว้ให้แน่น จนพระเสโท(เหงื่อ)ไหลจากพระกัจฉะ(รักแร้) ในเวลานั้นได้เสวยทุกขเวทนาอันกล้า เปรียบเหมือนบุรุษมีกำลัง จับบุรุษมีกำลังน้อยไว้ที่ศรีษะ หรือที่คอ บีบให้แน่น ฉะนั้น

พระพุทธเจ้ามีการบำเพ็ญทุกรกิริยาอย่างไร

๑. ลดพระกระยาหารให้น้อยลงตามลำดับจนกระทั่งเหลือเพียงเท่าเมล็ดในของถั่วพูเท่านั้นในหนึ่ง มื้อของแต่ละวัน ๒. เสวยของโสโครก เช่น เสวยมูลของลูกโค หรือพระบังคลหนักของพระองค์เอง เป็นต้น ๓. เอาของโสโครก เช่น ขี้เถ้า ทาพระวรกายโดยไม่ทรงสนาน(อาบน้ำ)เลยเป็นเวลานับปีจนกระทั่ง สิ่งโสโครกเหล่านั้นเกาะติดพระวรกายเป็นแผ่น

การบำเพ็ญทุกกิริยาคือการบําเพ็ญอย่างไร

ทุกรกิริยา (บาลี: ทุกฺกรกิริยา; อังกฤษ: self-mortification/ mortification of the flesh) แปลว่า “การกระทำกิจที่ทำได้โดยยาก” ใช้ในบริบททางศาสนาและจิตวิญญาณ เพื่อหมายถึงการทรมานร่างกายตนเอง เพื่อชำระตนให้บริสุทธิ์จากบาป

ทุกรกิริยาคืออะไรพระองค์ทรงบำเพ็ญที่ไหน

เมื่อพระองค์ทรงเปลี่ยนพระทัย ที่จะคิดค้นคว้าแสวงหาความรู้ด้วยพระองค์เอง แทนที่จะ ทรงเล่าเรียนในสำนักอาจารย์ทั้งสองแล้ว พระองค์เริ่มด้วยการทรมานพระวรกายตามวิธีการของโยคี เรียกว่า การบำเพ็ญทุกรกิริยา ณ บริเวณแม่น้ำเนรัญชรา ตำบลอุรุเวลาเสนานิคม มีปัญจวัคคีย์ ได้แก่ โกณฑัญญะ วัปปะ ภัททิยะ มหานามะ และอัสสชิ เป็นอุปัฏฐาก