ลูกโอนที่ดินให้แม่เสียภาษีเท่าไร

อสังหาริมทรัพย์ถือว่าเป็นทรัพย์สินอย่างนึงที่เราสามารถมีไว้ครอบครองได้ ไม่ว่าจะเป็นที่ดิน บ้าน คอนโด ซึ่งก่อนการจะครอบครองอาจจะมีการทำสิ่งที่เรียกว่าการโอนเกิดขึ้น ทั้งโอนจากการซื้อขาย เช่นเราซื้อบ้าน ซื้อคอนโด หรือจะเป็นพ่อแม่ยกที่ดินแปลงนึงให้ สิ่งที่เกิดขึ้นต่อจากนั้นก็คือค่าใช้จ่ายในการโอน เรามาดูกันว่าค่าใช้จ่ายในการ โอนที่ดิน โอนบ้าน รวมถึงการจ่ายภาษีต้องทำอย่างไรบ้าง

กรณีซื้อ–ขายกับบุคคล

ปกติเวลาที่เราซื้อบ้าน ซื้อคอนโดกับบริษัทอสังหาฯ ส่วนใหญ่พนักงานขายจะสรุปค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นมาให้เราอยู่แล้ว เพื่อให้ได้เตรียมตัวไว้ ในบางครั้งอาจจะได้โปรโมชั่นฟรีค่าโอน ตรงจุดนี้เราอาจจะต้องคุยและตกลงกับทางพนักงานขายให้เข้าใจตรงกันทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าหากเราไม่ได้ซื้อจากบริษัทอสังหาฯ แต่เป็นการที่เราไปซื้อจากญาติหรือบุคคลทั่วไปที่เราไปติดต่อขอซื้อบ้านหรือที่ดิน หลักๆ แล้วจะมีค่าใช้จ่ายในการโอนอยู่ 5 อย่าง ได้แก่ 

ลูกโอนที่ดินให้แม่เสียภาษีเท่าไร

ค่าธรรมเนียมการโอนที่ดิน โอนบ้าน

ค่าธรรมเนียมการโอนปกติจะอยู่ที่ 2%ของราคาประเมินปกติจะแบ่งกันคนละครึ่งระหว่างเรากับผู้ขาย หรือบางผู้ขายอาจจะรับผิดชอบค่าธรรมเนียมการโอนทั้งหมด ก็อยู่โปรโมชันและการตกลงระหว่างสองฝ่าย แต่หากที่ดิน(พร้อมอาคารเท่านั้น) หรือบ้านหรือคอนโดราคาไม่เกิน 3 ล้านบาท ตอนนี้ทางรัฐฯได้ขยายเวลาการลดค่าธรรมเนียมการโอนลงมาอยู่ที่ 0.1% เท่านั้น ตัวอย่างคุณซื้อบ้านราคา 2.5 ล้าน ค่าธรรมเนียมการโอนปกติจะอยู่ที่ 50,000 บาท ก็จะลดลงมาเหลือเพียง 250 บาทเท่านั้น 

ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ

ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะคือคือภาษีที่เก็บจากธุรกิจหรือกิจการบางประเภทที่กฎหมายกำหนดให้เป็นพิเศษโดยแยกจากภาษีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งจะอยู่ที่ 3.3% หากผู้ขายเป็นเจ้าของบ้านหรือซื้อบ้านโครงการใหม่แล้วมีการถือครองไม่เกิน 5 ปี แต่หากเกิน 5 ปีขึ้นไปหรือมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเกิน 1 ปีขึ้นไป ผู้ขายจะต้องจ่ายค่าอากรแสตมป์ด้วย

ค่าอากรแสตมป์

ค่าอากรแสตมป์จะอยู่ที่ 0.5% ของราคาซื้อขาย แต่ไม่ต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์ ถ้าต่ำกว่าให้ใช้ราคาประเมินทุนทรัพย์มาคำนวณ และถ้าหากเสียภาษีธุรกิจเฉพาะแล้ว ไม่จำเป็นต้องเสียค่าอาการแสตมป์

ค่าจดจำนอง

ค่าจดจำนองจะอยู่ที่ 1% ของยอดเงินกู้ทั้งหมด สูงสุดไม่เกิน 200,000 บาท หากเป็นการกู้ แต่ถ้าเป็นการซื้อด้วยเงินสดจะไม่ต้องจ่ายค่าจดจำนอง และเช่นเดียวกับค่าธรรมเนียมการโอน ณ ตอนนี้ลดลงจาก 1% เหลือเพียง 0.01% 

ค่าภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภงด.)

ถ้าหากเราซื้อบ้านหรือที่ดินจากบุคคลธรรมดา ไม่ใช่บริษัทอสังหาฯ ทางผู้ขายจะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาด้วย เพราะถือเป็นรายได้จากการซื้อขาย โดยวิธีการคิดจะเป็นแบบขั้นบันได โดยจำนวนเงินที่เอาไปคิด ไม่ได้คิดจากราคาที่มีการซื้อขาย แต่คิดจากจำนวนปีที่ถือครองอสังหาฯและวิธีที่ได้มา โดยใช้ราคาจากการประเมินที่ดินและสิ่งปลูกสร้างโดยกรมที่ดิน

กรณีโอนโดยยกให้ญาติพี่น้อง

การโอนบ้าน-โอนที่ดินในลักษณะที่จะมีข้อแตกต่างตามความสัมพันธ์ของเรา ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นนั้นไม่เท่ากัน ได้แก่

การโอนให้ลูกที่ชอบโดยกฎหมาย

คำว่าลูกที่ชอบโดยกฎหมายหมายถึง ลูกที่เกิดระหว่างที่สามี-ภรรยาจดทะเบียนสมรสกันอย่างถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น โดยที่ค่าใช้จ่ายในการโอนลักษณะนี้ได้แก่

  • ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% ของราคาประเมิน  
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 5% จากราคาประเมิน ในส่วนนี้จะมีการยกเว้นหากราคาประเมินไม่เกิน 20 ล้านบาท ตัวอย่างเช่น พ่อแม่โอนบ้านให้ลูกซึ่งมีราคา 25 ล้านบาทตามราคาประเมิน ในส่วน 20 ล้านบาทแรกจะได้รับการยกเว้นการคิดภาษี แต่จะถูกคิดภาษี 5% ในส่วน 5 ล้านบาทที่เกินมา

การโอนให้ลูกที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำว่าลูกที่ไม่ชอบโดยกฎหมายพูดกันง่ายๆ ก็คือลูกนอกสมรสแบบที่น่าจะคุ้นเคยกัน ซึ่งหมายถึงลูกที่เกิดในระหว่างที่ไม่ได้มีการจดทะเบียนสมรสอย่างถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ได้จดทะเบียนรับรองบุตร เมื่อสามี-ภรรยาต้องการโอนบ้าน โอนที่ดินให้จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันได้แก่

  • ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน
  • ในส่วนของการคิดภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะแตกต่างจากการโอนให้ลูกที่ชอบโดยกฎหมายตรงที่จะไม่มีการยกเว้นในส่วน 20 ล้านบาทแรก และการคิดภาษีจะถูกคิดตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน ซึ่งหักค่าใช้จ่ายได้ 50%

การโอนให้สามี-ภรรยา หรือคู่สมรสทางกฎหมาย

การโอนในลักษณะนี้ต้องเป็นคู่สมรสทางกฎหมายอย่างถูกต้อง ซึ่งหมายถึงได้มีการจดทะเบียนสมรสเป็นที่เรียบร้อยเท่านั้น และไม่ใช่การโอนในรูปแบบของมรดกโดยค่าใช้จ่ายในการโอนบ้าน โอนที่ดิน โอนคอนโด จากสามีหรือภรรยาที่ถูกต้องตามกฎหมายนั้นจะมีค่าใช้จ่ายเหมือนกับการโอนให้ลูกที่ไม่ชอบโดยกฎหมายเลย ได้แก่

  • ค่าธรรมเนียมการโอน 0.5% จากราคาประเมิน
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3% จากราคาประเมิน 
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดภาษีจะถูกคิดตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน ซึ่งหักค่าใช้จ่ายได้ 50%

การโอนให้ญาติพี่น้อง

การโอนบ้าน โอนที่ดินในรูปแบบนี้คือการโอนให้กับบุคคลที่ไม่ได้เข้าเกณท์ของ 3 รูปแบบที่เล่ามาข้างต้น อาจจะเป็นลุง ป้า น้า อา ปู่ ย่า ตา ยาย ลูกเขย หลาน เป็นต้น ซึ่งหากไม่ได้รับการโอนในรูปแบบของมรดกนั้นจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการโอน ได้แก่

  • ค่าธรรมเนียมการโอน 2% โดยในส่วนค่าธรรมเนียมการโอน หากเป็นการโอนจากปู่ ย่า ตา ยาย ไปให้หลานหรือที่เรียกว่าผู้สืบสันดาน ในส่วนค่าธรรมเนียมการโอนนี้จะลดเหลือ 0.5%
  • ค่าอากรแสตมป์ 0.5% หรือภาษีธุรกิจเฉพาะ 3.3%
  • ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา คิดภาษีจะถูกคิดตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน ซึ่งหักค่าใช้จ่ายได้ตามปีที่ถือครอง

เราสรุปมาให้เป็นตารางในส่วนของค่าใช้จ่ายในการโอนแต่ละรูปแบบดังนี้

ค่าธรรมเนียมการโอนค่าอากรแสตมป์ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาโอนให้ลูก 

(ชอบโดยกฎหมาย)

0.5%0.5%5% ในส่วนที่เกินจาก 20 ล้านบาทแรกโอนให้ลูก 

(ไม่ชอบโดยกฎหมาย)

0.5%0.5%ตามขั้นบันไดจากราคาประเมินโอนให้สามี-ภรรยา0.5%0.5%ตามขั้นบันไดจากราคาประเมินโอนให้ญาติพี่น้อง2% (หากเป็นผู้สืบสันดานลดเหลือ 0.5%)0.5%ตามขั้นบันไดจากราคาประเมิน

 

นอกเหนือจากค่าธรรมเนียมที่พูดถึงไปยังมีค่าธรรมเนียมอื่นๆ อีก เช่น ค่าคำขอ แปลงละ 5 บาท, ค่าพยาน 20 บาท, ค่าอากรคู่ฉบับ 5 บาท

 

กรณีโอนมรดก

การโอนบ้าน โอนที่ดินในรูปแบบของการโอนมรดก จะมีค่าใช้จ่ายเพียงแค่ค่าจดทะเบียนเท่านั้นหากผู้รับมรดกเป็นผู้สืบสันดาน เช่น ลูก หลาน หรือคู่สมรส จะเสียค่าธรรมเนียม 0.5% จากราคาประเมิน แต่หากเป็นญาติ พี่น้อง ลูกบุณธรรม จะเสียค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 2% จากราคาประเมิน

นอกจากค่าธรรมเนียมแล้ว ผู้ที่รับมรดกจะต้องเสียภาษีมรดกตามอัตราดังนี้

  • หากมีมูลค่าเกินกว่า 100 ล้านบาท จะต้องเสียภาษีในอัตรา 10% เฉพาะส่วนที่เกินจากมูลค่า 100 ล้านบาทนั้น  
  • หากผู้รับมรดกเป็นพ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หรือผู้สืบสันดาน อัตราภาษีที่ต้องเสียจะลดลงมาเหลือ 5% 
  • หากสามีหรือภรรยา คนใดคนหนึ่งเสียชีวิต แล้วอีกฝ่ายได้รับมรดกเป็นบ้านหรือที่ดิน หากมีการจดทะเบียนสมรสถูกต้องตามกฎหมาย ผู้รับมรดกจะได้รับการยกเว้นภาษี