ค่าไฟหน่วยละกี่บาท 2565 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

เริ่มแล้ว! กกพ.ปรับขึ้นค่าไฟเป็น 4 บาทต่อหน่วย ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – สิงหาคม 256500เริ่มแล้ว! กกพ.ปรับขึ้นค่าไฟเป็น 4 บาทต่อหน่วย ตั้งแต่ 1 พฤษภาคม – สิงหาคม 2565 โดยรัฐยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน กว่า 20 ล้านราย

"ค่าไฟฟ้า" ในรอบเดือนพฤษภาคม - สิงหาคม 2565 จะเพิ่มขึ้นอีก 23.38 สตางค์/หน่วย เป็น 24.77 สตางค์/หน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าอยู่ที่ 4 บาท/หน่วย  โดยรัฐยังมีมาตรการช่วยเหลือผู้ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 300 หน่วยต่อเดือน กว่า 20 ล้านราย คิดเป็นร้อยละ 90 ของครัวเรือน จะได้ส่วนลดโดยคงค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) รอบเดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2565 ไว้ที่ 1.39 บาทต่อหน่วย


สำหรับปัจจัยหลักที่ส่งผลกระทบต่อค่าเอฟที มาจากผลกระทบสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งส่งผลต่อวิกฤตราคาพลังงานโลกเพิ่มสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ทำให้ กกพ.ต้องปรับสมมติฐานการประมาณการค่าเอฟทีใหม่ให้สะท้อนราคาเชื้อเพลิงในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งเป็นปัจจัยลบเพิ่มเติมจากสถานการณ์ที่ก๊าซธรรมชาติ (LNG) ในอ่าวไทยลดลงในช่วงปลายสัมปทาน


ขณะที่ นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากการประชุม กกพ. เมื่อวันที่ 16 มีนาคม 2565 ได้มีมติให้ปรับเพิ่มค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) สำหรับการเรียกเก็บค่าไฟฟ้าในรอบเดือนพฤษภาคม – สิงหาคม 2565 โดยให้เรียกเก็บที่ 24.77 สตางค์ต่อหน่วย ส่งผลให้อัตราค่าไฟฟ้าเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 23.38 สตางค์ต่อหน่วย เป็น 4.00 บาทต่อหน่วย ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่ค่าไฟฟ้าปรับสูงขึ้นไปแตะที่ระดับนี้


ส่วน "ราคาน้ำมันดีเซล" ปรับขึ้น 2 บาทต่อลิตร จากเดิมที่ตรึงไว้ 30 บาทต่อลิตร โดยราคาดีเซล B7 อยู่ที่ 31.94 บาทต่อลิตร ดีเซล B10 อยู่ที่ 31.94 บาทต่อลิตร และดีเซล B20 อยู่ที่ 31.94 ดีเซลพรีเมี่ยม B7 อยู่ที่ 37.96 บาทต่อลิตร


ส่วนราคาน้ำมัน E85 ปรับขึ้น 1.00 บาทต่อลิตร อยู่ที่ 32.84 บาทต่อลิตร และจะทยอยปรับขึ้นแบบขั้นบันไดครั้งละไม่เกิน 1 บาทต่อลิตร ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคาน้ำมันตลาดโลก แต่สูงสุดไม่เกิน 35 บาทต่อลิตร จากราคาจริงอยู่ที่ประมาณ 40 บาทต่อลิตร

สำหรับการใช้ไฟฟ้าในบ้านเรือนที่อยู่อาศัย วัดและโบสถ์ของศาสนาต่าง ๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว

1.1 อัตราปกติ

1.1.1 ใช้พลังงานไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วยต่อเดือนอัตรารายเดือนค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย)ราคาต่อหน่วย15 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 15)2.3488 บาท10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 16 – 25)2.9882 บาท10 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 26 – 35)3.2405 บาท65 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 36 – 100)3.6237 บาท50 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 101 – 150)3.7171 บาท250 หน่วยต่อไป (หน่วยที่ 151 – 400)4.2218 บาทเกิน 400 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)4.4217 บาทค่าบริการ (บาท/เดือน) :8.191.1.2 ใช้พลังงานไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยต่อเดือนอัตรารายเดือนค่าพลังงานไฟฟ้าบาท/หน่วย150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 150)3.2482 บาท250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400 )4.2218 บาทเกิน 400 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป)4.4217 บาทค่าบริการ (บาท/เดือน) :38.22

1.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU)

1.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use : TOU)อัตรารายเดือนค่าพลังงานไฟฟ้า (บาท/หน่วย)ค่าบริการ (บาท/เดือน)PeakOff Peak1.2.1 แรงดัน 22 – 33 กิโลโวลต์5.11352.6037312.241.2.2 แรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลต์5.79822.636938.22

หมายเหตุ

  1. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าไม่เกิน 5 แอมป์ 220 โวลท์ 1 เฟส 2 สาย จะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.1 แต่หากใช้ไฟฟ้าเกิน 150 หน่วยติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.2 และเมื่อใดมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 150 หน่วย ติดต่อกัน 3 เดือน ในเดือนถัดไปจะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.1
  2. ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าเกิน 5 แอมป์ 220 โวลท์ 1 เฟส 2 สาย จะจัดเข้าประเภทที่ 1.1.2
  3. ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1.1.1 ที่ใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือนทุกราย ยังคงได้รับสิทธิค่าไฟฟ้าฟรีถึงค่าไฟฟ้าประจําเดือนธันวาคม 2558 และ ตั้งแต่ค่าไฟฟ้าประจําเดือนมกราคม 2559 เป็นต้นไป ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 1.1.1 ที่ได้รับสิทธิค่าไฟฟ้าฟรี จะต้องไม่เป็นนิติบุคคลและมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วยต่อเดือน ติดต่อกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 เดือน นับถึงเดือนปัจจุบัน
  4. ประเภทที่ 1.2 กรณีติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าทางด้านแรงต่ำของหม้อแปลงซึ่งเป็นสมบัติของผู้ใช้ไฟฟ้า ให้คํานวณหน่วยคิดเงินเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 เพื่อครอบคลุมการสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมิได้วัดรวมไว้ด้วย
  5. ประเภทที่ 1.2 เป็นอัตราเลือก ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชําระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกําหนด และหากเลือกใช้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถแจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนไปใช้อัตราประเภทที่ 1.1 ได้

ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก

ประเภทที่ 2 กิจการขนาดเล็ก

สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ ธุรกิจรวมกับที่อยู่อาศัย อุตสาหกรรม ส่วนราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ  สถาฑูต สถานที่ทำการของหน่วยราชการต่างประเทศ สถานที่ทำการขององค์การระว่างประทเศ หรืออื่นๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุด ต่ำกว่า 30 กิโลวัตต์ โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว


2.1 อัตราปกติอัตรารายเดือน ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ
(บาท/เดือน)2.1.1 แรงดัน 22 - 33 กิโลโวลต์3.9086312.242.1.2 แรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลต์46.16150 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 150) 3.2484250 หน่วยต่อไป ( หน่วยที่ 151 – 400)4.2218เกิน 400 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 401 เป็นต้นไป )4.42172.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU)อัตรารายเดือน ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ
(บาท/เดือน)PeakOff Peak2.2.1 แรงดัน 22 – 33 กิโลโวลต์5.11352.6037312.242.2.2 แรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลต์5.79822.636946.16

หมายเหตุ

  1. ประเภทที่ 2.2 กรณีติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าทางด้านแรงต่ำของหม้อแปลงซึ่งเป็นสมบัติของผู้ใช้ไฟฟ้า ให้คํานวณหน่วยคิดเงินเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 เพื่อครอบคลุมการสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมิได้วัดรวมไว้ด้วย
  2. ประเภทที่ 2.2 เป็นอัตราเลือก ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชําระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกําหนด และหากเลือกใช้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถแจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนไปใช้อัตราประเภทที่ 2.1 ได้
  3.  เดือนใดมีความต้องการพลังไฟฟ้าตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไปในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ให้เปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นประเภทที่ 3 หรือ 4 หรือ 5 แล้วแต่กรณี

ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง

ประเภทที่ 3 กิจการขนาดกลาง

สําหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม ส่วนราชการ สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถานทูต สถานที่ทําการของหน่วยงานราชการต่างประเทศ สถานที่ทําการขององค์การระหว่างประเทศ หรืออื่น ๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ แต่ไม่ถึง 1,000 กิโลวัตต์ และมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือนก่อนหน้าไม่เกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

3.1 อัตราปกติอัตรารายเดือนค่าความต้องการ
พลังไฟฟ้า
(บาท/กิโลวัตต์)ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ
(บาท/เดือน)3.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป175.703.1097312.243.1.2 แรงดัน 22-33 กิโลโวลต์196.263.1471312.243.1.3 แรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลต์221.503.1751312.243.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU)อัตรารายเดือน ค่าความต้องการ
พลังไฟฟ้า
(บาท/กิโลวัตต์)ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ บาท/เดือนPeakOff PeakPeakOff Peak3.2.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป74.1404.10252.5849312.243.2.2 แรงดัน 22-33 กิโลโวลต์132.9304.18392.6037312.243.2.3 แรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลต์210.0004.32972.6369312.24

อัตราขั้นต่ำ : ค่าไฟฟ้าต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาสิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน

หมายเหตุ

  1. กรณีติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าทางด้านแรงต่ำของหม้อแปลงซึ่งเป็นสมบัติของผู้ใช้ไฟฟ้า ให้คํานวณกิโลวัตต์และหน่วยคิดเงินเพิ่มขึ้นนอีกร้อยละ 2 เพื่อครอบคลุมการสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมิได้วัดรวมไว้ด้วย
  2. ประเภทที่ 3.1 เป็นอัตราสําหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าในอัตราประเภทที่ 3.1 อยู่เดิมก่อนค่าไฟฟ้าประจําเดือนพฤศจิกายน 2558 และสามารถเลือกใช้ อัตราประเภทที่ 3.2 ได้ โดยต้องชําระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกําหนด ทั้งนี้ เมื่อเลือกใช้แล้วจะกลับไปใช้อัตราประเภทที่ 3.1 ไม่ได้
  3. เดือนใดมีความต้องการพลังไฟฟ้าไม่ถึง 30 กิโลวัตต์ ค่าไฟฟ้ายังคงคํานวณตามอัตราดังกล่าว หากความต้องการพลังไฟฟ้าไม่ถึง 30 กิโลวัตต์ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือน และในเดือนถัดไปยังไม่ถึง 30 กิโลวัตต์อีก ให้เปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นประเภทที่ 2.1 หรือ 2.2 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ผู้ใช้ ไฟฟ้าที่เคยเลือกใช้อัตรา TOU และได้ชําระค่าใช้จ่ายไว้แล้ว จะไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายอีก

ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่

ประเภทที่ 4 กิจการขนาดใหญ่

สําหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบธุรกิจ อุตสาหกรรม ส่วนราชการ สํานักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รัฐวิสาหกิจ สถานทูต สถานที่ทําการของหน่วยงานราชการต่างประเทศ สถานที่ทําการขององค์การระหว่างประเทศ หรืออื่น ๆ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมี ความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีสูงสุดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ตั้งแต่ 1,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป หรือมีปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเฉลี่ย 3 เดือน ก่อนหน้าเกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว


4.1 อัตราตามช่วงเวลาของวัน (Time of Day : TOD)อัตรารายเดือน ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
(บาท/กิโลวัตต์)ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ
(บาท/เดือน)PeakPartialOff Peakทุกช่วงเวลา4.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป224.3029.9103.1097312.244.1.2 แรงดัน 12 - 24 กิโลโวลต์285.0558.8803.1471312.244.1.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์332.7168.2203.1751312.24

Peak       : เวลา 18.30-21.30 น. ของทุกวัน
Partial    : เวลา 08.00-18.30 น. ของทุกวัน (ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า คิดเฉพาะส่วนที่เกิน Peak)
Off Peak : เวลา 21.30-08.00 น. ของทุกวัน

4.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU)อัตรารายเดือน ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
(บาท/กิโลวัตต์)ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ
(บาท/เดือน)PeakOff PeakOn PeakOff Peak4.2.1 แรงดัน 69 กิโล
โวลต์ขึ้นไป74.1404.10252.5849312.244.2.2 แรงดัน 22-33 กิโล
โวลต์132.9304.18392.6037312.244.2.3 แรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลต์210.0004.32972.6369312.24

อัตราขั้นต่ำ: ค่าไฟฟ้าต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาสิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน

หมายเหตุ

  1. ประเภทที่ 4.1 เป็นอัตราสําหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าในอัตราประเภทที่ 4.1 อยู่เดิมก่อนค่าไฟฟ้าประจําเดือนพฤศจิกายน 2558 และสามารถเลือกใช้ อัตราประเภทที่ 4.2 ได้ โดยต้องชําระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกําหนด ทั้งนี้ เมื่อเลือกใช้แล้วจะกลับไปใช้อัตราประเภทที่ 4.1 ไม่ได้
  2. เดือนใดมีความต้องการพลังไฟฟ้าไม่ถึง 1,000 กิโลวัตต์ หรือมีการใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 250,000 หน่วยต่อเดือน ค่าไฟฟ้ายังคงคํานวณตามอัตรา ดังกล่าว หากความต้องการพลังไฟฟ้าไม่ถึง 30 กิโลวัตต์ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือน และในเดือนถัดไปยังไม่ถึง 30 กิโลวัตต์อีก ให้เปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้า เป็นประเภทที่ 2.1 หรือ 2.2 แล้วแต่กรณีทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าที่เคยเลือกใช้อัตรา TOU และได้ชําระค่าใช้จ่ายไว้แล้ว จะไมเ่รียกเก็บค่าใช้จ่ายอีก

ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง

ประเภทที่ 5 กิจการเฉพาะอย่าง

ลักษณะการใช้ สำหรับการใช้ไฟฟ้าเพื่อประกอบกิจการโรงแรมและกิจการให้เช่าพักอาศัย ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมีความต้องการพลังไฟฟ้าเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดตั้งแต่ 30 กิโลวัตต์ขึ้นไป โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว

5.1 อัตราปกติ อัตรารายเดือน ค่าความต้องการ
พลังไฟฟ้า
(บาท/กิโลวัตต์)ค่าพลังงานไฟฟ้า
 (บาท/หน่วย)ค่าบริการ
 (บาท/เดือน)PeakPeakOff Peak5.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป74.144.10252.5849312.245.1.2 แรงดัน 12 – 24 กิโลโวลต์132.934.18392.6037312.245.1.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์210.004.32972.6369312.245.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ ( Time of Use Tariff : TOU Tariff )อัตรารายเดือนค่าความต้องการ
พลังไฟฟ้า
(บาท/กิโลวัตต์) ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ
(บาท/เดือน)5.2.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป220.563.1097312.245.2.2 แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์256.073.1471312.245.2.3 แรงดันต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์276.643.1751312.24

อัตราขั้นต่ำ : ค่าไฟฟ้าตำ่สุดต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาสิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน

หมายเหตุ

  1. กรณีติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าทางด้านแรงต่ำของหม้อแปลงซึ่งเป็นสมบัติของผู้ใช้ไฟฟ้า ให้คํานวณกิโลวัตต์และหน่วยคิดเงินเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 เพื่อครอบคลุมการสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมิได้วัดรวมไว้ด้วย
  2. ประเภทที่ 5.1 เป็นอัตราสําหรับผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทที่ 5 ทุกราย สําหรับผู้ใช้ไฟฟ้าที่ยังไม่ได้ติดตั้งมิเตอร์ TOU อนุโลมให้คิดประเภทที่ 5.2 ไปก่อน
  3. เดือนใดมีความต้องการพลังไฟฟ้าไม่ถึง 30 กิโลวัตต์ ค่าไฟฟ้ายังคงคํานวณตามอัตราดังกล่าว หากความต้องการพลังไฟฟ้าไม่ถึง 30 กิโลวัตต์ ติดต่อกันเป็นเวลา 12 เดือน และในเดือนถัดไปยังไม่ถึง 30 กิโลวัตต์อีก ให้เปลี่ยนประเภทผู้ใช้ไฟฟ้าเป็นประเภทที่ 2.1 หรือ 2.2 แล้วแต่กรณี ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าที่เคยเลือกใช้อัตรา TOU และได้ชําระค่าใช้จ่ายไว้แล้ว จะไม่เรียกเก็บค่าใช้จ่ายอีก

ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

ประเภทที่ 6 องค์กรที่ไม่แสวงหากำไร

สำหรับการใช้ไฟฟ้าขององค์กรที่มีวัตถุประสงค์ในการให้บริการ โดยไม่คิดค่าตอบแทน รวมถึงสถานที่ ที่ใช้ในการประกอบศาสนกิจ ตลอดจนบริเวณที่เกี่ยวข้อง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว แต่ไม่รวมถึงหน่วยราชการ สำนักงาน หรือหน่วยงานอื่นใดของรัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ สถานที่ทำการเกี่ยวกับกิจการของต่างชาติ และสถานที่ทำการขององค์การระหว่างประเทศ


6.1 อัตราปกติอัตรารายเดือน ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ
(บาท/เดือน)6.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป

3.4149

312.246.1.2 แรงดัน 22 – 33 กิโลโวลต์3.5849312.246.1.3 แรงดันต่ำกว่า 22 กิโลโวลต์20.0010 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-10 )2.8013เกิน 10 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 11 เป็นต้นไป)3.89196.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Tariff : TOU Tariff )อัตรารายเดือน ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
(บาท/กิโลวัตต์)ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ
(บาท/เดือน)PeakOff PeakPeakOff Peak6.2.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์
ขึ้นไป74.1404.10252.5849312.246.2.2 แรงดัน 12-24 กิโลโวลต์132.9304.18392.6037312.246.2.3 แรงดันต่ำกว่า 12
กิโลโวลต์210.0004.32972.6369312.24

อัตราขั้นต่ำ : ประเภทที่ 6.2 ค่าไฟฟ้าต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาสิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน

หมายเหตุ

  1. กรณีติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าทางด้านแรงต่ำของหม้อแปลงซึ่งเป็นสมบัติของผู้ใช้ไฟฟ้า ให้คํานวณกิโลวัตต์และหน่วยคิดเงินเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 เพื่อครอบคลุมการสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมิได้วัดรวมไว้ด้วย
  2. ประเภทที่ 6.2 เป็นอัตราเลือก ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชําระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกําหนด และหากเลือกใช้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถแจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนไปใช้อัตราประเภทที่ 6.1 ได้

ประเภทที่ 7 สูบน้ำเพื่อการเกษตร

ประเภทที่ 7 สูบน้ำเพื่อการเกษตร

สำหรับการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรของหน่วยราชการ สหกรณ์เพื่อการเกษตร  กลุ่มเกษตรกรที่ จดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกร กลุ่มเกษตรกรที่หน่วยราชการรับรอง โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว


7.1 อัตราปกติอัตรารายเดือน ค่าพลังงานไฟฟ้า(บาท/หน่วย)100 หน่วยแรก (หน่วยที่ 1-100)2.0889เกิน 100 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 101 เป็นต้นไป)3.2405ค่าบริการ (บาท/เดือน) :115.167.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU)                        อัตรารายเดือน ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า
(บาท/กิโลวัตต์)ค่าพลังงานไฟฟ้า
(บาท/หน่วย)ค่าบริการ
(บาท/เดือน)On PeakOff PeakOn PeakOff Peak7.2.1 แรงดัน 22-24 กิโลโวลต์132.9304.18392.6037228.177.2.2 แรงดันต่ำว่า 22 กิโลโวลต์210.0004.32972.6369228.17

อัตราขั้นต่ำ : ประเภทที่ 7.2 ค่าไฟฟ้าต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่าร้อยละ 70 ของค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในรอบ 12 เดือนที่ผ่านมาสิ้นสุดในเดือนปัจจุบัน

หมายเหตุ

  1. กรณีติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าทางด้านแรงต่ำของหม้อแปลงซึ่งเป็นสมบัติของผู้ใช้ไฟฟ้า หรือหม้อแปลงของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (เฉพาะที่ติดตั้งเครื่องวัดไฟฟ้าทางด้านแรงต่ำประกอบ ซี.ที.) ให้คํานวณกิโลวัตต์และหน่วยคิดเงินเพิ่มขึ้นอีกร้อยละ 2 เพื่อครอบคลุมการสูญเสียในหม้อแปลงไฟฟ้าซึ่งมิได้ วัดรวมไว้ด้วย
  2. ประเภทที่ 7.2 เป็นอัตราเลือก ทั้งนี้ ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องชําระค่าใช้จ่ายตามที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคกําหนด และหากเลือกใช้ไปแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน สามารถแจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนไปใช้อัตราประเภทที่ 7.1 ได้

ประเภทที่ 8 ไฟฟ้าชั่วคราว

ประเภทที่ 8 ไฟฟ้าชั่วคราว

สำหรับการใช้ไฟฟ้าชั่วคราว งานที่จัดขึ้นเป็นพิเศาชั่วคราว สถานที่ที่ไม่มีทะเบียนบ้าน และการใช้ไฟฟ้าที่ยังปฏิบัติไม่ถูกต้องตามระเบียบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยต่อผ่านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าเครื่องเดียว


อัตรารายเดือนค่าพลังงานไฟฟ้า (ทุกระดับแรงดัน) หน่วยละ6.8025 บาท

หมายเหตุ
ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ใช้อัตราประเภทนี้ หากประสงค์จะขอเปลี่ยนแปลงลักษณะการใช้ไฟฟ้าเป็นการถาวร หรือการไฟฟ้าส่วนภูิมภาคตรวจพบว่าได้เปลี่ยนแปลงการใช้ไฟฟ้าเป็นอย่างอื่นแล้ว เช่น เพื่อประกอบธุรกิจ หรืออุตสาหกรรม หรือบ้านอยู่อาศัย ฯลฯ เมื่อได้ยื่นคำร้องขอใช้ไฟฟ้าถาวรที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคในท้องถิ่นนั้น พร้อมกับเดินสาย และติดตั้งอุปกรณ์ภายในให้เรียบร้อยถูกต้องตามมาตรฐาน และชำระเงินค่าธรรมเนียมการใช้ไฟฟ้าแบบถาวรให้ครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ของการไฟฟ้าแบบถาวรครบถ้วน ตามหลักเกณฑ์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแล้ว ค่าไฟฟ้าจะคิดตามอัตราประเภท 1 - 7 แล้วแต่กรณี

ข้อกำหนดช่วงเวลาอัตรา TOUPeak :
  • เวลา 09:00 น. - 22:00 น. วันจันทร์ - ศุกร์ และวันพืชมงคล

Off Peak:

  • เวลา22.00น.–09.00น.วันจันทร์–ศุกร์และวันพืชมงคล
  • เวลา 00.00 น.– 24.00 น. วันเสาร์ – อาทิตย์, วันแรงงานแห่งชาติ, วันพืชมงคลที่ตรงกับวันเสําร์ – อาทิตย์ และ วันหยุดราชการตามปกติ (ไม่รวมวันหยุดชดเชย)

อัตราค่าไฟฟ้าสำรอง

กรณีที่ 1

สำหรับการใช้ไฟฟ้า เฉพาะที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้า และใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเองเป็นหลัก แต่มีความต้องการไฟฟ้าจากการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคเพื่อสำรองไว้ทดแทน ในกรณีที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขัดข้องในการผลิตไฟฟ้า หรือหยุดซ่อมแซม หรือบำรุงรักษาตามแผนงานที่ได้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไว้ โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว
1.1 เดือนที่ไม่มีการใช้ไฟฟ้าสำรอง : ค่าไฟฟ้าคำนวณจากความต้องการพลังงานไฟฟ้าสำรองตามสัญญา
ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสำรองตามสัญญา

ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้า

(บาท/กิโลวัตต์)

ค่าบริการ

(บาท/เดือน)

1.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป52.71312.241.1.1 แรงดัน 22-23 กิโลโวลต์58.88312.241.1.1 แรงดันต่ำกว่า 20 กิโลโวลต์66.45312.24

1.2 เดือนที่มีการใช้ไฟฟ้าสำรอง : 

1.2.1 ความต้องการพลังงานไฟฟ้าที่ใช้จริงส่วนที่ไม่เกินความต้องการพลังงานไฟฟ้าสำรองตามสัญญา คิดตามอัตราค่าไฟฟ้าปกติ

1.2.2 ความต้องการพลังงานไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่ต่ำหรือสูงกว่าสัญญา

  • เฉพาะส่วนที่ต่ำกว่าสัญญา คิดความต้องการพลังงานไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่ต่ำกว่าสัญญาตามอัตราไฟฟ้าสำรองข้อ 1.1
  • เฉพาะส่วนที่สูงกว่าสัญญา คิดความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่สูงกว่าสัญญาเป็น 2 เท่าของอัตราค่าไฟฟ้าปกติ

1.2.3 ค่าพลังงานไฟฟ้า : คิดตามอัตราค่าไฟฟ้าปกติ

1.2.4 ค่าบริการ : คิดตามอัตราข้อ 1.1

หมายเหตุ : ค่าไฟฟ้าต่ำสุดต้องไม่ต่ำกว่าค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าสำรองข้อ 1.1

กรณีที่ 2

สำหรับการใช้ไฟฟ้า เฉพาะที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเอง ผลิตพลังงานไฟฟ้าร่วมกับพลังงานความร้อน (Cogeneration) และใช้ไฟฟ้าที่ผลิตจากเครื่องกำเนิดไฟฟ้าของตนเองเป็นหลัก แต่มีความต้องการไฟฟ้าจากการไฟฟ้า ส่วนภูมิภาคเพื่อสำรองไว้ทดแทน ในกรณีที่เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขัดข้องในการผลิตไฟฟ้า หรือหยุดซ่อมแซม หรือบำรุงรักษา ตามแผนงานที่ได้แจ้งการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคไว้โดยต่อผ่านเครื่องวัดไฟฟ้าเครื่องเดียว

2.1 เดือนที่ไม่มีการใช้ไฟฟ้าสำรอง : ค่าไฟฟ้าคำนวณจากความต้องการพลังไฟฟ้าสำรองตามสัญญา

ความต้องการพลังงานไฟฟ้าสำรองตามสัญญา

ค่าความต้องการพลังงานไฟฟ้า

(บาท/กิโลวัตต์)

ค่าบริการ

(บาท/เดือน)

1.1.1 แรงดัน 69 กิโลโวลต์ขึ้นไป26.36312.241.1.1 แรงดัน 22-23 กิโลโวลต์29.44312.241.1.1 แรงดันต่ำกว่า 20 กิโลโวลต์33.22312.24

2.2 เดือนที่มีการใช้ไฟฟ้าสำรอง

2.2.1 ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริงแต่ไม่เกินความต้องการพลังไฟฟ้าสำรองตามสัญญา คิดตามอัตรา ค่าไฟฟ้าปกติ

2.2.2 ค่าความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่ต่าหรือสูงกว่าสัญญา

  • เฉพาะส่วนต่ำกว่าสัญญา คิดความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่ต่ำกว่าสัญญา ตามอัตราค่าไฟฟ้าสารอง ข้อ 2.1
  • เฉพาะส่วนที่สูงกว่าสัญญา คิดความต้องการพลังไฟฟ้าเฉพาะส่วนที่เกินจากสัญญา เป็น 2 เท่า ของอัตราค่าไฟฟ้าปกติ

2.2.3 ค่าพลังงานไฟฟ้า : คิดตามอัตราค่าไฟฟ้าปกติ

2.2.4 ค่าบริการ : คิดตามอัตราข้อ 2.1

หมายเหตุ : ค่าไฟฟ้าต่าสุดต้องไม่ต่ากว่าค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสารองข้อ 2.1

เงื่อนไขและหลักเกณฑ์

1. ผู้ใช้ไฟฟ้าประเภทนี้ต้องจัดทำสัญญาซื้อขายไฟฟ้า และแจ้งปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้าเพื่อใช้สำหรับไฟฟ้า สำรอง โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะเป็นผู้พิจารณาปริมาณความต้องการพลังไฟฟ้าสารอง ให้เหมาะสมกับเครื่องกำเนิดไฟฟ้า ที่ติดตั้ง

2. ต้องมีตัวประกอบการใช้ไฟฟ้าในรอบปี (Annual Load Factor) ไม่เกินร้อยละ 15 หากเกินร้อยละ 15 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะยกเลิกการขอใช้อัตราค่าไฟฟ้าสำรอง และเปลี่ยนไปคิดอัตราเดิมในเดือนที่ 13

3.หากความต้องการพลังไฟฟ้าที่ใช้จริงในช่วงOn-Peak(ของอัตราTOU) ของเดือนใดๆ สูงกว่าความต้องการ พลังไฟฟ้าสำรองตามสัญญานับได้ครบ6 เดือนการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะนาความต้องการพลังไฟฟ้าที่สูงสุดที่ใช้จริงใน ช่วงเวลาดังกล่าวมากาหนดเป็นความต้องการพลังไฟฟ้าสารองตามสัญญาในเดือนถัดไป

4. ตัวประกอบการใช้ไฟฟ้าในรอบปี (Annual Load Factor) คานวณจากรอบปีของการใช้ไฟฟ้าสำรองตามสัญญา ปีละ 1 ครั้ง ดังนี้

ค่าไฟหน่วยละกี่บาท 2565 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค
ค่าไฟหน่วยละกี่บาท 2565 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค

ข้อกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า

1. หากเดือนใดมีเพาเวอร์แฟคเตอร์แลค (Lag) ที่มีความต้องการพลังไฟฟ้ารีแอคตีฟเฉลี่ยใน 15 นาทีที่สูงสุดใน ช่วงเวลาใดเวลาหน่ึง (กิโลวาร์) เกินกว่าร้อยละ 61.97 ของความต้องการพลังไฟฟ้าแอคตีฟเฉลี่ย ใน 15 นาทีที่สูงสุดใน ช่วงเวลาใดเวลาหน่ึง (กิโลวัตต์) ส่วนท่ีเกินจะต้องเสียค่าเพาเวอร์แฟคเตอร์ในอัตรากิโลวาร์ (KVAR) ละ 56.07 บาท (เศษของ กิโลวาร์ ถ้าไม่ถึง 0.5 กิโลวาร์ตัดทิ้ง ตั้งแต่ 0.5 กิโลวาร์ข้ึนไปคิดเป็น 1 กิโลวาร์)

2. ค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บในแต่ละเดือน ประกอบด้วย ค่าไฟฟ้าตามอัตราข้างต้น และค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตรา ค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) และภาษีมูลค่าเพิ่ม

3. อัตราค่าไฟฟ้าข้างต้น ยังไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม

อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interruptible Tariff)

อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ สำหรับอัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Interruptible Rate for TOU Rate)

อัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ เป็นอัตรเลือกอีกประเภทหนึ่ง ที่ใช้ควบคู่กับอัตราปกติ สำหรับอัตราตามช่วงเวลาของการใช้มีรายละเอียดและเงื่อนไข ดังนี้  

  1. คุณสมบัติผู้ใช้ไฟฟ้า
    เป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ประเภทกิจการขนาดใหญ่ที่มีความต้องการพลังไฟฟ้าตั้งแต่ 5,000 กิโลวัตต์ขึ้นไป และมีปริมาณพลังไฟฟ้าที่สามารถให้งดจ่ายไฟฟ้าได้ (Interruptible Demand) ไม่น้อยกว่า1,000 กิโลวัตต์ เมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคร้องขอ
  2. คำจำกัดความ
    2.1 Interruptible Demand หมายถึง  ปริมาณพลังไฟฟ้า  ที่ผู้ใช้ไฟฟ้ายินยอมให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคงดจ่ายไฟฟ้าได้   เมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคร้องขอ
    2.2 Firm Demand หมายถึง ผลต่างของ Maximum Demand (พลังไฟฟ้าสูงสุด) กับ Interruptible Demand
    2.3 Maximum Take หมายถึง ปริมาณพลังไฟฟ้าสูงสุดช่วง Peak ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าทำสัญญากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคว่าจะไม่สามารถงดการใช้ไฟฟ้าได้ ต่ำกว่านี้
  1. เงื่อนไขการรับซื้อไฟฟ้า
    3.1 ปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญา
    ผู้ใช้ไฟฟ้าที่มีความต้องการซื้อไฟฟ้าประเภท Interruptible Rate นี้ จะต้องทำสัญญาระบุปริมาณ Interruptible Demand และ Maximum Take ที่แน่นอน กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ทั้งนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะทำการตรวจสอบความเป็นไปได้ของปริมาณ Interruptible Demand แลพ Maximum Take ก่อนทำสัญญา
    3.2 การแจ้งงดจ่ายไฟฟ้า
    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จะแจ้งให้ผู้ใช้ไฟฟ้าทราบ เวลางดจ่ายไฟฟ้า และระยะเวลางดจ่ายไฟฟ้าล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 1 ชั่วโมง โดยทางโทรสาร โทรศัพท์ หรือ Internet
    3.3 การงดใช้ไฟฟ้า
    3.3.1 เมื่อผู้ใช้ไฟฟ้าได้รับแจ้งเวลาของดจ่ายไฟฟ้า จะต้องดำเนินการดับ หรือลดการใช้ไฟฟ้าให้ได้ปริมาณ Interruptible Demand ตามเวลา และระยะเวลาที่การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแจ้ง ตามข้อ 3.2 โดยปริมาณพลังไฟฟ้าให้อ่านจากมาตรวัดค่าพลังไฟฟ้า (Demand Meter) ก่อนงดจ่ายไฟฟ้า เทียบกับเมื่อดำเนินการงดจ่ายไฟฟ้าแล้ว
    3.3.2 ผู้ใช้ไฟฟ้าที่ลดการใช้ไฟฟ้าถึงระดับ Maximum Take แต่ปริมาณ Interruptible Demand น้อยกว่าสัญญาให้ถือว่าไม่ผิดสัญญา
    หากลด การใช้ไฟฟ้า ถึงระดับ Maximum Take แต่ปริมาณ Interruptible Demand น้อยกว่าสัญญา 2 ครั้ง แล้ว การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถปรับปริมาณ Interruptible Demand ใหม่ได้
  1. การแก้ไขปริมาณพลังไฟฟ้าตามสัญญา
    4.1 ผู้ใช้ไฟฟ้า สามารถขอแก้ไขปริมาณ Interruptible Demand และ/หรือ Maximum Take ที่ทำสัญญาไว้ได้ โดยทำหนังสือแจ้ง ให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทราบล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 30 วัน และมีระยะเวลาการแจ้งแต่ละครั้งห่างกันไม่น้อยกว่า 12 เดือน
    4.2 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถขอแก้ไขปริมาณ Interruptible Demand และ/หรือ Maximum Take ถ้าผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถงดการใช้ไฟฟ้าได้ 2 ครั้ง ตามข้อ 3.3.2 โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง
    4.3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคสามารถขอแก้ไขปริมาณ Interruptible Demand และ/หรือ Maximum Take เมื่อปริมาณ  Firm Demand น้อยกว่า ปริมาณ Maximum Take เป็นเวลา 2 เดือนติดต่อกัน หรือเป็นเวลา 3 เดือนในรอบปีสัญญา โดยพิจารณาจากลักษณะการใช้ไฟฟ้าย้อนหลัง
  1. วัน-เวลางดจ่ายไฟ
    การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะของดจ่ายไฟฟ้า (Interrupt) ระหว่างเวลา 09.00 – 22.00 น. (ยกเว้นวันเสาร์ วันอาทิตย์ และวันหยุดราชการตามปกติ) โดยมีจำนวนครั้งและระยะเวลาตามข้อ 6.
  2. จำนวนครั้งและระยะเวลาที่การไฟฟ้าสามารถงดจ่ายไฟฟ้า
    มี 3 ทางเลือก โดยมีอัตราค่าไฟฟ้าตาม ข้อ 14 ดังนี้

ทางเลือกที่ 1 การงดจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน 3 ชม./ครั้ง , 2 ครั้ง/วัน , 10 ครั้ง/เดือน , 40 ครั้ง/ปี

ทางเลือกที่ 2 การงดจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน  3 ชม./ครั้ง , 1 ครั้ง/วัน ,  10 ครั้ง/เดือน , 20 ครั้ง/ปี

ทางเลือกที่ 3 การงดจ่ายไฟฟ้าไม่เกิน 6 ชม./ครั้ง , 1 ครั้ง/วัน , 10 ครั้ง/เดือน , 20 ครั้ง/ปี

  1. การผิดสัญญา
    เมื่อการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคแจ้งงดจ่ายไฟฟ้าตาม ข้อ 3.2 และผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติตามข้อ 3.3 ให้ถือว่าเป็นการผิดสัญญา จะมีบทปรับกรณีผิดสัญญา ตามข้อ 8
  2. บทปรับกรณีผิดสัญญา
    กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถดับไฟฟ้าได้ตามที่ทำสัญญาไว้ (ในรอบปีนับจากวันที่เริ่มต้นสัญญา)จะมีบทปรับดังนี้

ครั้งที่ 1 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ Interruptible Demand เป็น 1.5 เท่าของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่

ครั้งที่ 2 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ  Interruptible Demand  เป็น 2 เท่า ของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่

ครั้งที่ 3 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ  Interruptible Demand  เป็น 3 เท่า ของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง Peak ประเภทกิจการขนาดใหญ่

ครั้งที่ 4 การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะคิดค่าความต้องการพลังไฟฟ้าสำหรับ  Interruptible Demand  เป็น 3 เท่า ของอัตราค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ปกติในช่วง  Peak  ประเภทกิจการขนาดใหญ่ และการไฟฟ้านครหลวงสามารถยกเลิกสัญญาซื้อขายไฟฟ้า ในอัตราค่าไฟฟ้าประเภทที่ สามารถงดจ่ายไฟฟ้าได้ ทั้งนี้ผู้ใช้ไฟฟ้าจะกลับไปซื้อไฟฟ้าในอัตราปกติ เช่นเดิม

สำหรับการขอดับไฟฟ้าครั้งแรก นับจากวันเริ่มต้นสัญญา หากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถดับไฟฟ้าได้ตามสัญญาการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะผ่อนผันคิดค่าไฟฟ้า Interruptible Demand ตามอัตราปกติโดยไม่นับเป็นการผิดสัญญาครั้งที่ 1 แต่หากผู้ใช้ไฟฟ้าไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาได้ 2 ครั้ง หรือครั้งแรกปฏิบัติได้ครั้งที่สองปฏิบัติไม่ได้จะถูกปรับโดยนับเป็นการผิดสัญญาครั้งที่ 1

การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคค่าไฟหน่วยละกี่บาท

7.1 อัตราปกติ ค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าบริการ (บำท/หน่วย) (บำท/เดือน) 115.16 100 หน่วยแรก (หน่วยที่0 – 100) 2.0889 เกิน 100 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่101 เป็นต้นไป) 3.2405. 7.2 อัตราตามช่วงเวลาของการใช้ (Time of Use Rate : TOU) ค่าความต้องการพลังไฟฟ้า ค่าพลังงานไฟฟ้า ค่าบริการ

ไฟเกษตรหน่วยละกี่บาท 2565

ประเภทที่ 7 มีไว้เพื่อการใช้ไฟฟ้ากับเครื่องสูบน้ำเพื่อการเกษตรของหน่วยงานราชการ กลุ่มเกษตรที่จดทะเบียนจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรหรือที่หน่วยงานราชการรับรอง โดยมีอัตรา ดังนี้ อัตราปกติ (บาท / หน่วย) – 100 หน่วยแรก (หน่วยที่ 0 – 100) 2.0889. – เกิน 100 หน่วยขึ้นไป (หน่วยที่ 101 เป็นต้นไป) 3.2405.

ใช้ไฟฟรีกี่หน่วย 2565

ผู้มีรายได้น้อยรีบลงทะเบียนร่วมโครงการฯ ใช้ไฟฟ้า 50 หน่วยฟรี ถึงวันที่ 31 ต.ค. 65. จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบการขยายเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปาให้ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ อีก 7 เดือน คือ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2565 – เมษายน 2566 นั้น

ค่าไฟกี่บาทต่อกิโลวัตต์

ค่าไฟฟ้าปัจจุบัน คำนวณจากการชาร์จไฟฟ้าที่บ้าน โดยใช้ไฟฟ้าจากการไฟฟ้านครหลวง มิเตอร์ 15 แอมป์ ค่าไฟฟ้าหน่วยละ 4.2 บาท (โดยประมาณ) 1 หน่วย = 1 kWh. เพราะฉะนั้น ค่าไฟฟ้า 1 kWh = 4.2 บาท