ผลสัมฤทธิ์ ต่างจากผลลัพท์ อย่างไร

วันที่ 18 มีนาคม 2552 เป็นวันที่ 6 ของ โครงการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาทักษะในการทำงานฯ วันนี้เรียนเรื่อง “การบริหารโครงการเชิงกลยุทธ์” ต่อภาคสอง กับท่านวิทยากร รศ.ดร. สมบูรณ์ ศิริสรรหิรัญ

ได้ประเด็นที่น่าสนใจ เกี่ยวกับ วิธีการชี้วัดความสำเร็จของโครงการเชิงกลยุทธ์

ผลสัมฤทธิ์ (Results) = ผลผลิต (Outputs) + ผลลัพธ์ (Outcomes)

ผลผลิต (Outputs) ตอบคำถามว่า ได้รับอะไร จากการดำเนินงาน (What ?)
ผลลัพธ์ (Outcomes) ตอบคำถามว่า ทำไม จึงต้องดำเนินการให้ได้ผลผลิตนั้น (Why ?)

ตัวอย่างตัวชี้วัดผลผลิต :

  • จำนวนคนไข้ที่ได้รับการรักษา
  • จำนวนผู้ต้องหาที่ได้รับการสอบสวน

ตัวอย่างตัวชี้วัดผลลัพธ์ :

  • จำนวนคนไข้ที่สุขภาพดีขึ้น
  • จำนวนผู้ต้องหาที่กระทำผิดจริง

ตัวชี้วัด แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ (รูปธรรม) เช่น จำนวนคน น้ำหนัก งบประมาณ
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ (นามธรรม) เช่น คุณภาพชีวิต ความพึงพอใจ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม

มิติหรือความเกี่ยวข้องของตัวชี้วัด

  • ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยนำเข้า (Input) และผลผลิต (Output) จะสะท้อนประสิทธิภาพ (Efficiency) ของการดำเนินการ
  • ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน (Process) จะแสดงถึงปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ (Key Success Factors)
  • ตัวชี้วัดที่เกี่ยวข้องกับผลการดำเนินงาน (Product/Outcome) จะสะท้อนว่าการดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ หรือมีประสิทธิผลหรือไม่ (Effectiveness)

ตัวชี้วัดในมุมมอง 4 มิติของ Balanced Scorecard (BSC)

  1. ตัวชี้วัดด้าน Financial Perspective เช่น % ของงบประมาณที่ได้ใช้จริง
  2. ตัวชี้วัดด้าน Customer Perspective เช่น ระดับความพอใจของผู้ใช้บริการ
  3. ตัวชี้วัดด้าน Internal Process Perspective เช่น จำนวนงานที่เสร็จตามกำหนดเวลา
  4. ตัวชี้วัดด้าน Learning and Growth Perspective เช่น จำนวนหลักสูตรที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาบุคลากร

ตัวชี้วัดที่มีคุณภาพ จะต้องมีความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของโครงการเชิงกลยุทธ์ จะต้องครอบคลุมการดำเนินการทั้ง Input, Process, Output และ Outcome และจะต้องมีค่าเป้าหมาย (Target) ที่เหมาะสม โดยพิจารณาจาก ฺBaseline data

ผลลัพธ์ (outcome) คือ ผลที่เกิดขึ้นต่อยอดจากผลผลิต หรือผลระยะยาวซึ่งเกิดเป็นผลจุดหมายปลายทาง หรือผลต่อเนื่องจากผลกระทบ

ผลกระทบ (impact) คือ ผลที่เกิดต่อเนื่องมาจากผลผลิต ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากผลผลิตและผลลัพธ์ทำให้สังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร

ผลสัมฤทธิ์ ต่างจากผลลัพท์ อย่างไร

ตัวอย่าง

ผลผลิตผลลัพธ์ผลกระทบทฤษฎีทรัพยากรมนุษย์แบบใหม่บริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทยนำทฤษฎีใหม่ไปใช้บริหารคนในองค์กรพนักงานไทยที่ทำงานในบริษัทญี่ปุ่นพัฒนาทักษะการทำงานเป็นทีมจนสามารถขายสินค้าได้มากขึ้น 50%นิทานสองภาษาคือ นิทานสามารถพัฒนาผู้เรียนให้อ่านภาษาอังกฤษได้คล่องและมีความเข้าใจเนื้อหานิทานกระทรวงศึกษาธิการปรับเปลี่ยนหลักสูตรสอนภาษาอังกฤษทั่วประเทศให้เป็นการสอนภาษาผ่านนิทานเทคโนโลยีสมาร์ตโฟนเทคโนโลยีไปสร้างต้นแบบสมาร์ตโฟนบริษัทที่นำสมาร์ตโฟน ไปผลิตขายจนสร้างสัดส่วนการตลาดได้เพิ่มขึ้น 10%

ดังนั้น Output และ Outcome มีความแตกต่างกัน

  • โดย Output คือสิ่งที่ทำออกมาเป็นผลิตผล (Product) ซึ่งวัดได้เมื่อสิ้นสุดการกระทำ / จบกิจกรรมนั้นๆ
  • แต่ Outcome คือผลประโยชน์ที่ได้จาก Product ซึ่งต้องทอดระยะเวลาไว้ช่วงหนึ่ง ประมาณ 6 เดือน หรือ เมื่อสิ้นสุดปีการศึกษา

การวัดผลลัพธ์ (Outcome) เป็นการวัดผลที่ได้รับจากผลของการดำเนินงานซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นกับกลุ่มเป้าหมาย / ผู้เรียนทั้งในเรื่องความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมหรือการปฏิบัติ โดยนำไปเปรียบเทียบกับเกณฑ์หรือเป้าหมายที่วางไว้ตามวัตถุประสงค์ของแผนงานและโครงการ กล่าวคือเป็นการวัดประสิทธิผล (Effectiveness) โดยวัดความสัมพันธ์ระหว่างผลลัพธ์กับวัตถุประสงค์ของงาน

แหล่งที่มา : https://researchjung.blogspot.com/2017/02/blog-post.html

 

ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบในงานวิจัย

ผลผลิต ผลลัพธ์ ผลกระทบในงานวิจัย

การวิจัย (research) คือการค้นคว้าโดยการทดลอง สำรวจหรือการศึกษาตามหลักวิชาการเพื่อให้ได้ข้อมูล ความรู้ รวมทั้งการพัฒนาผลิตภัณฑ์และกระบวนการต่างๆ อันจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม วิชาการ หรือเป็นพื้นฐานของการพัฒนาประเทศในด้านต่าง ๆ ต่อไป (พรบ.กองทุนสนับสนุนการวิจัย พ.ศ.2535)

พรบ.การส่งเสริมวิทยาศาสตร์ การวิจัยและนวัตกรรม พ.ศ. 2562 กำหนดความหมายของการวิจัยไว้เป็น “การศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ หรือทดลองอย่างเป็นระบบ อันจะทำให้ได้มาซึ่งข้อเท็จจริง ความรู้ใหม่ หรือหลักการไปใช้ในการตั้งกฎ ทฤษฎี แนวทางในการปฏิบัติ เพื่อเป็นพื้นฐานของการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปวิทยาการแขนงต่าง ๆ รวมทั้งเพื่อสร้างนวัตกรรม อันจะสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้”

ผลสัมฤทธิ์ ต่างจากผลลัพท์ อย่างไร

 

การกำหนด KPI

ตัวชี้วัด หรือตัวบ่งชี้ (Indicator) หมายถึง ตัวประกอบ ตัวแปร หรือค่าที่สังเกตได้ ซึ่งบ่งบอกสถานภาพหรือสะท้อนลักษณะการดำเนินงานหรือผลการดำเนินงานที่สามารถ วัดและสังเกตได้ เพื่อบอกสภาพทั้งทางเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพในประเด็นที่ต้องการ

ดัชนีชี้วัด (Key Performance Indicators : KPIs) หรือหน่วยวัดความสำเร็จของการปฏิบัติงานที่ถูกกำหนดขึ้น โดยหน่วยที่วัดควรมีผลเป็นตัวเลขที่นับได้จริง และสื่อถึงเป้าหมายในการปฏิบัติงาน เพื่อความชัดเจนในการกำหนดเป้าหมาย การติดตาม และการประเมินผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆ (สำนักงาน ก.พ.)