วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องหมายความว่าอย่างไร

ในการทำการวิจัยไม่ว่าเรื่องใดต้องมีการศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเอกสารจากแหล่งต่างๆไม่ว่าจะเป็น ตำรา หนังสือ เอกสารอ้างอิง บทคัดย่อ วิทยานิพนธ์ งานวิจัยที่เกี่ยวข้องและบทความรวมถึงสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่มีอยู่ทั้งในอินเทอร์เน็ตและในรูปแบบเอกสาร เพื่อหาข้อมูลมาเป็นแนวทางในการวิจัยซึ่งจะทำให้งานวิจัยมีคุณค่าและน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น(๑)

ความหมายของคำว่า เอกสาร

เอกสาร หมายถึง แหล่งที่มาของข้อมูลและข่าวสารต่าง ๆ ได้แก่ หนังสือ สิ่งพิมพ์ และบันทึกหรือ

ข้อความใด ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานอ้างอิง รวมทั้งแผนภูมิประเภทต่าง ๆ อาทิ กราฟ ภาพวาด ภาพระบายสี

แผนที่ ตลอดจนสัญลักษณ์หรือเครื่องแบบแสดงความนึกคิดของมนุษย์ที่ยังมีเหลืออยู่ อาทิ หลักศิลาจารึก

ศิลปะ โบราณวัตถุ เหรียญ อนุสาวรีย์ และสถาปัตยกรรม เป็นต้น(Best,1986 : 107)

(๒)

นงลักษณ์ วิรัชชัย (2543: 419-420) ให้ความหมายคำว่า เอกสารและงานวิจัย หมายถึง ผลงานวิชาการที่มีการจัดทำ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ในรูปสิ่งพิมพ์ หรือ การบันทึกในรูปเอกสารอีเล็คทรอนิกส์ ตัวอย่างของ

เอกสารได้แก่ หนังสือ ตำรา จุลสาร บทความทางวิชาการ สารานุกรมวารสาร เอกสารสิ่งพิมพ์ของทางราชการ จดหมายเหตุ คู่มือ รายงานประจำปี บทปริทัศน์ และบทสรุปส่วนตัว ในส่วนของงานวิจัย ได้แก่

วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยบทคัดย่องานวิจัย และรายงาน

พิชิต ฤทธิ์จรูญ (2544:64)ให้ความหมายคำว่า เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หมายถึง เอกสารและงานวิจัยที่มีเนื้อหาที่สัมพันธ์กับ หัวข้อเรื่องหรือประเด็นของปัญหาการวิจัยและประเภทของเอกสารยังแบ่งเป็นปฐมภูมิ หมายถึง เอกสารที่ผู้เขียนเป็นผู้ทำงานวิจัยนั้น เป็นเจ้าของความคิดนั้น เช่นรายงานการวิจัยและเอกสารทุติยภูมิ หมายถึง เอกสารที่ผู้เขียนนานาสาระ ข้อมูลมาจากแหล่งอื่นแล้วนำมาเขียนประมวล อีกทีหนึ่ง เช่นหนังสือ(๓)

Neuman (1997,67) ให้ความหมายคำว่า เอกสารและงานวิจัยหมายถึง เอกสาร/ผลงานวิชาการที่มีการจัดทำ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ อาทิ หนังสือ ตำรา วารสาร สารานุกรม หนังสือพิมพ์ วิทยานิพนธ์และรายงานการวิจัย จดหมายเหตุและรายงานประจำปี เป็นต้น หรือมีการบันทึกไว้ในลักษณะของสื่อทัศนูปกรณ์ อาทิ เทปบันทึกเสียง วีดีทัศน์ วีซีดีและดีวีดี เป็นต้น หรือมีการบันทึกในลักษณะของเอกสารอีเล็กทรอนิกส์ อาทิ ฐานข้อมูลซีดีรอม เครือข่ายคอมพิวเตอร์ E-book E-research เป็นต้น(๔)

สรุปคำว่าเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หรือ (วรรณกรรม related literature)หมายถึง เอกสารงานเขียนที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้องกับหัวข้อปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจเป็น เอกสาร/ผลงานวิชาการที่มีการจัดทำ หรือจัดพิมพ์เผยแพร่ในลักษณะสื่อสิ่งพิมพ์ หรือ มีการบันทึกในรูปเอกสารอีเล็คทรอนิกส์ เช่น เป็นตำรา วิทยานิพนธ์ รายงานการวิจัยบทคัดย่องานวิจัย และรายงาน สารานุกรม พจนานุกรม นามานุกรม ดัชนี รายงานสถิติ หนังสือรายปี บทความในวารสาร จุลสารเอกสารรวมถึงสิ่งพิมพ์ของทางราชการเช่น จดหมายเหตุ คู่มือ รายงานประจำปี บทปริทัศน์แต่สิ่งที่สำคัญคือต้องมีความเกี่ยวข้องกับงานวิจัยที่ผู้วิจัยศึกษาอยู่ ผู้วิจัยจะต้องทำการสำรวจอ่านทบทวนอย่างพินิจพิเคราะห์ ดังนั้น ผู้วิจัยต้องมีทักษะในการสืบค้นหาสารนิเทศจากแหล่งต่าง ๆ และทักษะในการอ่านอย่างมีวิจารณญาณ(๕)

ความหมายของวรรณกรรมวรรณกรรม

-วรรณกรรม(literature)เป็นปัจจัยป้อนกระบวนการวิจัยที่สำคัญไม่ว่าใครจะทำวิจัยเรื่องใด ต้องศึกษาวรรณกรรมหรือมีการทบทวนวรรณกรรม(review of literature)ให้มากๆการศึกษาวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องมีความสำคัญต่อการกำหนดเรื่องหรือปัญหาการวิจัยเพราะจะมีประโยชน์อย่างมากต่อการสร้างแนวคิดทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์สำหรับกำหนดเรื่องวิจัย(Punch ๑๙๙๘;๔๔)

-วรรณกรรม(literature)เป็นกรอบสำหรับกำหนดสิ่งที่จะศึกษาและเป็นเสมือนเกณฑ์ฐาน(benchmark)ไว้เปรียบเทียบกับผลการวิจัย(Creswell ๑๙๙๔;๒๑)(๖)

สรุป ความหมายของวรรณกรรมวรรณกรรมการวิจัย (research literature) คือผลงานวิชาการที่นักวิจัยสามารถนำความรู้จากสาระไปใช้ประโยชน์ในการวิจัยเพื่อให้ได้สารสนเทศสาหรับการสร้างกรอบ แนวคิด การวิจัย และกำหนดสมมติฐานซึ่งวรรณกรรมที่พบส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบ รูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์ สื่อเอกสารที่ไม่มีการเผยแพร่ สื่อโสตทัศนูปกรณ์ เอกสารอิเล็กทรอนิกส์และจารึกในถาวรวัตถุ(๗)

แหล่งที่มา;เอกสาร วรรณกรรมและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

แหล่งที่มาของเอกสารวรรณกรรมเป็นสิ่งที่นักวิจัยทุกคนต้องทราบเพื่อใช้ในการศึกษาค้นคว้าเพราะว่าในการทำวิจัยทุกเรื่อง ข้อมูลที่ได้มาจะทำให้ผู้วิจัยสามารถกำหนดทิศทางการวิจัยได้อย่างถูกต้องทำให้ผลการวิจัยมีความน่าเชื่อถือ เอกสาร วรรณกรรมและรายงานวิจัยที่เกี่ยวข้องแบ่งออกได้เป็น ๔ ประเภท ดังนี้

๑. ประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์ ได้แก่

๑.๑ หนังสือ ตำราวิชาการทั่วไป (Books General Science) หมายถึง เอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่ม หรือเป็นชุดก็ได้ โดยเอกสารเหล่านี้จะมีเนื้อหาสาระที่ครอบคลุมเนื้อหาทางวิชาการ ความรู้ต่างๆ ในแต่ละสาขาวิชา เช่น หนังสือ หรือตำราเรียนของนักเรียน นักศึกษาในแต่ละระดับ หนังสือหรือตาราเหล่านี้จะมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับความรู้ ทฤษฎีแนวคิดที่น่าสนใจ ซึ่งผู้วิจัยสามารถค้นคว้าหาแนวคิด ทฤษฎีพื้นฐานให้ตรงกับสิ่งที่ผู้วิจัยมีความสนใจได้จากตาราทางวิชาการเหล่านี้

๑.๒ วารสารวิจัยและวารสารวิชาการ (Periodicals and Technical Journals) เป็นหนังสือชนิดหนึ่งที่ประกอบไปด้วยบทความทางวิชาการที่นำมารวบรวมอยู่ในเล่มเดียวกัน โดยมีการจัดพิมพ์ตามกำหนดวาระ เช่น รายสัปดาห์ รายเดือน หรือทุก ๓ เดือน ๖ เดือน แล้วแต่วาระ วารสารเป็นหนังสือที่รวบรวมสรุปผลงานทางวิชาการ ที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาปัจจุบัน และมีลักษณะเป็นวารสารเฉพาะสาขาวิชา เช่น วารสารพุทธจักร, วารสาร มจร. สังคมศาสตร์ปริทรรศน์ ฯลฯ

๑.๓ รายงานผลการวิจัย (Research Report) เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีการรายงานผลการวิจัยในสาขาต่างๆ หลังจากที่ได้ดำเนินการวิจัยเสร็จสิ้นแล้ว รายงานการวิจัยประกอบไปด้วยเนื้อหาสาระในส่วนที่สำคัญ ซึ่งได้แก่ บทนำ วัตถุประสงค์ การทบทวนวรรณกรรม การกำหนดสมมติฐาน ระเบียบวิธีวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุป อภิปรายผล และข้อเสนอแนะ ผู้วิจัยสามารถค้นหารายงานการวิจัยได้จากหน่วยงานที่ทำการวิจัยหรือสถาบันที่สนับสนุนทุนวิจัย หรือห้องสมุดสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เป็นต้น

๑.๔ วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ (Thesis & Dissertation) เป็นรายงานการวิจัยของนิสิต นักศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่มีการจัดพิมพ์เป็นรูปเล่มคล้ายหนังสือแต่ไม่มีการจัดจำหน่ายและถือว่าเป็นสิ่งพิมพ์ต้นฉบับ มีเนื้อหาสาระที่ครบถ้วนทั้งบทคัดย่อ วัตถุประสงค์ วิธีการวิจัย การวิเคราะห์ข้อมูล การสรุปอภิปรายผล และข้อเสนอแนะ พร้อมทั้งมีเอกสารอ้างอิงท้ายเล่มซึ่งผู้วิจัยสามารถนำไปค้นคว้าเพิ่มเติมได้อย่างสะดวก

๑.๕ รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการ (Annual Seminar) เป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ขึ้นหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นแล้ว โดยจะรวบรวมเนื้อหาสาระที่นำเสนอในที่ประชุมสัมมนา

๑.๖ วารสารปริทัศน์ (Review Journals) เป็นเอกสารที่จัดพิมพ์ขึ้นเพื่อรวบรวมผลงานปฐมภูมิมาอยู่ในที่เดียวกัน โดยจะแสดงให้เห็นความเป็นมาและแนวโน้มของเรื่องต่างๆ วารสารประเภทนี้จะเขียนโดยผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาซึ่งเป็นที่ยอมรับและมักจะเน้นที่ความเห็นของผู้เขียนเป็นหลัก

๑.๗ หนังสือพิมพ์ (Newspaper) เป็นเอกสารสิ่งพิมพ์ที่นำเสนอข่าวหรือเหตุการณ์ต่างๆ รายวัน เช่น ไทยรัฐ

มติชน เดลินิวส์ Bangkok Post, The Nation, Newsweek เป็นต้น ผู้วิจัยอาจอาจจะให้ความสนใจปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นจากการตีพิมพ์ในหน้าหนังสือพิมพ์ แต่อย่างไรก็ตามควรมีการตรวจสอบความถูกต้องก่อนจะนามาใช้อ้างอิง

๑.๘ เอกสารทางราชการ ได้แก่ ประกาศ คำสั่ง จดหมายเหตุ ใช้ค้นคว้าหัวข้อเกี่ยวข้องกับภารกิจของหน่วยงาน

๑.๙ หนังสืออ้างอิง (Reference books) เป็นสิ่งพิมพ์ที่มีการรวบรวมขึ้นเป็นพิเศษ สาหรับให้สืบค้นได้อย่างรวดเร็ว หนังสืออ้างอิงเป็นหนังสือที่ใช้อ่านประกอบ หรืออ้างอิงเรื่องราวเพียงบางตอนในเล่มเท่านั้น มิใช่

หนังสือที่ต้องการอ่านทั้งเล่ม หนังสืออ้างอิงมีประโยชน์ในการใช้ประกอบการค้นคว้าวิจัย หนังสืออ้างอิงมีหลายชนิด แต่ละชนิดก็มีวิธีการใช้แตกต่างกัน ดังนั้น จะกล่าวถึงเฉพาะที่สำคัญ ดังนี้

๑) พจนานุกรม (Dictionary) เป็นหนังสือที่อธิบายความหมายของคำศัพท์ โดยมีการเรียงลำดับคำศัพท์ตามตัวอักษร ตามเสียง หรือตามลำดับอื่นๆ ที่เหมาะสมสอดคล้องกับการใช้พจนานุกรมนั้นๆ พจนานุกรมยังมีนัยถึงหนังสือที่ให้รายละเอียด ครอบคลุมวงศัพท์ที่กว้าง ผู้ใช้จะได้รับความรู้เกี่ยวกับการสะกดคำความหมาย คุณสมบัติทางไวยากรณ์ ตัวอย่างประโยค การออกเสียง ประวัติคำ หรือคุณลักษณะอื่นๆ เป็นต้น

๒) สารานุกรม (Encyclopedia) เป็นหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ทุกแขนงโดยให้ความรู้ที่เป็นพื้นฐานกว้างๆ การเรียงลำดับเนื้อเรื่องอาจเรียงลำดับตามตัวอักษรหรือหมวดหมู่มีดรรชนี ตัวอย่างสารานุกรม เช่น สารานุกรมไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน

๓) หนังสือรายปี (Yearbooks) เป็นหนังสือที่เสนอเรื่องราวที่เกิดขึ้นในรอบปีที่ผ่านมา หรือเรื่องราวในอดีตถึงปัจจุบัน

๔) หนังสืออ้างอิงเฉพาะสาขาวิชา เป็นหนังสืออ้างอิงต่างๆ เฉพาะสาขาวิชาใดวิชาหนึ่งโดยเฉพาะ

๕) นามานุกรม (Directories) เป็นหนังสือที่รวบรวมความรู้เกี่ยวกับบุคคล องค์กร สถาบันและหน่วยงานต่างๆ เช่น นามานุกรมท้องถิ่น

๖) อักขรานุกรมชีวประวัติ (Biographical Dictionary) เป็นหนังสือที่มีการรวบรวมชีวประวัติของบุคคลหลายคนไว้ในเล่มเดียวกันหรือในชุดเดียวกัน

๑.๑๐ ดัชนีวารสาร (Periodical Indexes) เป็นหนังสือคู่มือการค้นหาบทความและวารสารซึ่งระบุถึงแหล่งที่มีหนังสือวารสารนั้น

๑.๑๑ หนังสือบรรณานุกรม (Bibliography) เป็นหนังสือที่รวมรายชื่อหนังสือ หรือสิ่งพิมพ์ในช่วงเวลาหนึ่ง ได้แก่ บรรณานุกรมของสถาบัน บรรณานุกรมเฉพาะสาขาวิชา

๒. ประเภทโสตทัศนวัสดุ เป็นวรรณกรรมที่ไม่ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ ได้แก่

๒.๑ ทัศนวัสดุ (Visual Materials) เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ผู้รับต้องใช้สายตารับรู้ อาจดูด้วยตาเปล่าหรือใช้เครื่องฉายช่วยขยายภาพ เช่น รูปภาพ แผนที่ แผนภูมิ วัสดุกราฟิก หรือวัสดุลายเส้น ลูกโลก หุ่นจาลอง เกม ภาพนิ่งหรือแผ่นชุดการสอน เป็นต้น

๒.๒ โสตวัสดุ (Audio Materials) เป็นทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้เสียงเป็นสื่อในการถ่ายทอดสารสนเทศ ได้แก่ แผ่นเสียง แถบบันทึกเสียง หรือเทปบันทึกเสียง แผ่นดิสก์ เป็นต้น

๒.๓ โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials) เป็นวัสดุสารสนเทศที่มีทั้งภาพและเสียง ได้แก่ เครื่องฉายภาพยนตร์สไลด์ ประกอบเสียง หรือสไลด์มัลติวิชั่น เป็นต้น

๓. ประเภทฐานข้อมูล (Database) เป็นวรรณกรรมขนาดใหญ่ที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อสะดวกในการสืบค้น ซึ่งการสืบค้นอาจทาโดยผ่านแหล่งผลิตฐานข้อมูลหรือผ่านระบบเครือข่าย หรือสืบค้นด้วย CD – ROM ก็ได้ ระบบการจัดเก็บฐานข้อมูลนี้สามารถแบ่งออกได้เป็น ๓ ประเภท คือ

๓.๑ ฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic databases) เป็นการเก็บข้อมูลของหนังสือ วารสาร เอกสาร รายงานการประชุมต่างๆ ในลักษณะข้อมูลบรรณานุกรม

๓.๒ ฐานข้อมูลตัวเลข (Numeric databases) เป็นการเก็บข้อมูลตัวเลขเกี่ยวกับการลงทุน ตลาดหุ้น ธุรกิจ อุตสาหกรรม ทฤษฎีและสูตรสมการต่างๆ

๓.๓ ฐานข้อมูลเต็มรูปแบบ (Full-text databases) เป็นการเก็บรวบรวมข้อมูลทั้งหมดไว้ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หากผู้วิจัยต้องการศึกษาค้นคว้าข้อมูลประเภทใดและเรื่องใด สามารถค้นหาได้จากฐานข้อมูลที่ห้องสมุด ที่มีการจัดทาระบบนี้ไว้หรือองค์การต่างๆ ทั้งหน่วยงานของรัฐและเอกชนที่มีการจัดทำไว้

๔. ประเภทอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นการทบทวนวรรณกรรมที่ทาได้รวดเร็ว และได้ข้อมูลมาก ทันสมัย การสืบค้นต้องผ่าน Search Engine ที่เชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆ ที่นิยมกันแพร่หลาย เช่น Google, Yahoo เป็นต้น

ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็นแหล่งค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับงานวิจัย ดังนี้

www.nrct.go.th สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาตินำเสนอข่าว แหล่งทุนการวิจัย และข้อมูลข่าวสารการวิจัยของประเทศ
www.trf.or.th สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) จะมีข่าวสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและแหล่งทุนการวิจัย
www.tdri.or.th สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) จะมีข้อมูลข่าวสารการวิจัย
www.thailis.or.th แหล่งค้นคว้าข้อมูลวิทยานิพนธ์และงานวิจัยของมหาวิทยาลัย จะมีข้อมูลวิทยานิพนธ์และทุนวิจัยของมหาวิทยาลัยต่างๆ

www.nso.go.th สำนักงานสถิติแห่งชาติ เป็นแหล่งข้อมูล สถิติที่สำคัญในด้านต่างๆ ของประเทศไทย

ห้องสมุด/สำนักวิทยบริการ หรือสำนักวิจัยของสถาบันการศึกษาต่างๆ เช่น

www.stou.ac.th มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
www.tu.ac.th มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
www.nida.ac.th สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์

www.chula.ac.th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
www.cmu.ac.th มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
www.bbu.ac.th มหาวิทยาลัยบูรพา

นอกจากนี้ ยังมีเว็บไซต์ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอีกมากมาย ขึ้นอยู่กับว่าปัญหาที่ทำการวิจัยเกี่ยวข้องกับอะไร ก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลจากเว็บไซต์ในเรื่องนั้น ๆ ได้โดยตรง ทั้งนี้บางเว็บไซต์จะมีข้อมูลหนังสือ วารสาร วิทยานิพนธ์ ข้อมูล สถิติ ฯลฯ ในรูปของเอกสารฉบับเต็ม (full text) ทำให้นักวิจัยสะดวกในการค้นคว้าเนื่องจากสามารถค้นคว้าได้ตลอด ๒๔ชั่วโมงและสามารถพิมพ์ข้อความออกมาอ่านได้โดยตรง ทำให้ไม่ต้องเสียเวลาในการเดินทางไปค้นคว้ายังสถานที่เก็บเอกสาร จึงทำให้มีความสะดวกในการค้นคว้าหาข้อมูลสะดวกมากขึ้นในปัจจุบันแต่ ข้อพึงระวังใน การค้นคว้าผ่านเว็บไซต์ก็มีคือ ความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์นั้นๆ เนื่องจากบางเว็บไซต์ไม่ได้มีการตรวจสอบความถูกต้องและคุณภาพของข้อมูลที่เผยแพร่(๘)

สรุปผู้วิจัยสามารถค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเป็นการทำวิจัยได้จาก๑.ประเภทเอกสารสิ่งพิมพ์ ได้แก่๑.๑หนังสือ ตำราวิชาการทั่วไป (Books General Science)๑.๒วารสารวิจัยและวารสารวิชาการ (Periodicals and Technical Journals)๑.๓รายงานผลการวิจัย (Research Report)๑.๔วิทยานิพนธ์ และดุษฎีนิพนธ์ (Thesis & Dissertation)๑.๕รายงานการประชุมสัมมนาทางวิชาการ (Annual Seminar)๑.๖วารสารปริทัศน์ (Review Journals)๑.๗ หนังสือพิมพ์ (Newspaper)๑.๘อกสารทางราชการ๑.๙หนังสืออ้างอิงซึ่งสามารถค้นหาได้จากห้องสมุดต่างๆ ๒.ประเภทโสตทัศนวัสดุ เป็นวรรณกรรมที่ไม่ได้จัดพิมพ์เป็นหนังสือ ได้แก่ (Reference books)๒.๑ ทัศนวัสดุ (Visual Materials)๒.๒ โสตวัสดุ (Audio Materials)๒.๓ โสตทัศนวัสดุ (Audio Visual Materials)๓. ประเภทฐานข้อมูล (Database) เป็นวรรณกรรมขนาดใหญ่ที่จัดเก็บข้อมูลโดยใช้เทคโนโลยี เพื่อสะดวกในการสืบค้นได้แก่ ๓.๑ ฐานข้อมูลบรรณานุกรม (Bibliographic databases)๓.๒ ฐานข้อมูลตัวเลข (Numeric databases)๓.๓ ฐานข้อมูลเต็มรูปแบบ (Full-text databases)๔.ประเภทอินเทอร์เน็ต (Internet)ซึ่งปัจจุบันมีเว็ปไซด์ของสถาบันศึกษาทั้งภายในและภายนอกประเทศที่มีการเปลี่ยนแปลงข้อมูลให้เป็นปัจจุบันมากกว่าตำรา ทำให้วิจัยสามารถหาแหล่งข้อมูลได้สะดวกและรวดเร็วขึ้น(๙)

ความสำคัญของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

๑.ช่วยให้ผู้วิจัยได้ทราบถึงสถาพขององค์ความรู้ (state of the art) ในเรื่องที่จะทำการวิจัย ว่า ได้มีผู้ศึกษาหาคำตอบความรู้ไว้แล้วในแง่มุมหรือประเด็นใดแล้วบ้าง เพื่อทำการจะศึกษาวิจัยเพื่อหาคำตอบในเรื่องนั้นต่อไปและ การทราบถึงสถานภาพขององค์ความรู้ในเรื่องที่จะทำวิจัยจะช่วยให้ผู้วิจัยมองเห็นได้อย่างชัดเจนว่า ความรู้ใหม่ที่จะได้จากการวิจัยของตนเองนั้นจะมีความสัมพันธ์อย่างไรกับองค์ความรู้ที่มีอยู่แล้วในเรื่องนั้น หรือจะเป็นความรู้ใหม่มีความสำคัญอย่างไรและตัวผู้วิจัยจะต้องเข้าไปจัดระเบียบอยู่ในองค์ความรู้ในเรื่องนั้นๆ อย่างเหมาะสมมีความน่าเชื่อถือ เพื่อให้ผลงานวิจัยสมบูรณ์ที่สุด

๒.ช่วยให้ผู้วิจัยสามารถหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำซ้อนกับผู้อื่นการที่นักวิจัยจึงพยายามหลีกเลี่ยงการทำวิจัยซ้ำกับที่ผู้อื่นได้ทำไว้แล้วซึ่งถือเป็นจรรยาบรรณอย่างหนึ่งของนักวิจัยและการทบทวนเอกสารวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องอย่างกว้างละเอียด รอบคอบจะทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าประเด็นที่ตนเองสนใจจะทำวิจัยนั้นได้มีผู้หาคำตอบไว้แล้วหรือยัง ถ้ามีแล้วก็จะได้เลี่ยงไปศึกษาในประเด็นอื่นๆที่ผู้วิจัยมีความสนใจและยังไม่มีใครศึกษาค้นคว้าไว้

๓. ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีแนวคิดพื้นฐานเชิงทฤษฎีในเรื่องที่จะทำการวิจัยอย่างเพียงพอ เพราะว่าได้ศึกษาค้นคว้าจนมีความรู้เพียงพอในการเขียนกรอบแนวคิดเชิงทฤษฎี (Theritical หรือConceptual framwork) เกี่ยวกับเรื่องที่ต้องการวิจัยต้องเขียนชัดเจนเพื่อช่วยให้ผู้วิจัยกำหนดประเด็นปัญหาในการวิจัยได้อย่างชัดเจน เข้าใจเนื้อหาสาระของเรื่องที่วิจัย สามารถกำหนดแนวทางในการศึกษาได้อย่างเหมาะสม

๔. ช่วยให้ผู้วิจัยได้เห็นแนวทางในการดำเนินงานวิจัยของตนเอง จากการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องจะทำให้นักวิจัยได้ทราบว่าเรื่องที่สนใจนั้นได้มีผู้วิจัยอื่นได้ค้นคว้าหาคำตอบไว้อย่างไร แล้วมีวิธีการหาคำตอบเอาไว้อย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอะไรบ้าง คำตอบที่ได้มามีความชัดเจนเพียงใด คำตอบสอดคล้องหรือขัดแยังกันหรือไม่ เอกสารเชิงทฤษฎีต่างๆได้ชี้แนะแนวทางในการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนั้นอย่างไร สารสนเทศเหล่านี้นักวิจัยจะนำมาใช้ตัดสินใจกำหนดแนวทางในการวิจัยของตนเริ่มตั้งแต่ การกำหนดประเด็นปัญหาที่เหมาะสม การกำหนดขอบเขตและข้อสันนิษฐานการวิจัยอย่างสมเหตุสมผล ออกแบบวิจัยเพื่อดำเนินการหาคำตอบซึ่งจะเกี่ยวกับการเลือกระเบียบวิธีวิจัย การเลือกตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์หรือประมวลผลข้อมูล ตลอดจนการสรุปและรายงานผลการวิจัย นักวิจัยจะวางแผนการวิจัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถหลีกเลี่ยงปัญหาอุปสรรคที่จะทำให้งานวิจัยนั้นล้มเหลวได้ ช่วยให้โอกาสที่จะทำงานมีวิจัยนั้นให้สำเร็จอย่างมีคุณภาพมีสูงขึ้น

๕. ช่วยให้ผู้วิจัยได้มีหลักฐานอ้างอิงเพื่อสนับสนุนในการอภิปรายผลการวิจัย เมื่อผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยจนได้ข้อสรุปหรือคำตอบให้กับปัญหาแล้ว ในการรายงานผลการวิจัยผู้วิจัยจะต้องแสดงความคิดเห็นเขิงวิพากษ์วิจารณ์ผลการวิจัย การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องอย่างรอบคอบถี่ถ้วนจะช่วยให้ผู้วิจัยมีข้อมูลอ้างอิงประกอบการแสดงความเห็นได้อย่างสมเหตุสมผลและมีความหนักแน่นน่าเชื่อถือ

๖. ช่วยสร้างคุณภาพและมาตรฐานเชิงวิชาการให้แก่งานวิจัยนั้น การทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยนั้นจะต้องประมวลมาเป็นรายงานสรุปใส่ไว้ในรายงานการวิจัยหรือเค้าโครงร่างของการวิจัย (Research proposal) การไปทบทวนเอกสารที่เกี่ยวข้องมาอย่างกว้างขวางครอบคลุมในเรื่องที่ศึกษาและนำมาเรียบเรียงเอาไว้อย่างดี จึงจะทำให้รายงานหรือโครงร่างการวิจัยนั้นมีคุณภาพและได้มาตรฐาน เป็นการแสดงถึงศักยภาพของนักวิจัยได้ทางหนึ่งว่ามีความสามารถเพียงพอที่จะทำวิจัยในเรื่องนั้นได้อย่างน่าเชื่อถือ ในการพิจารณาโครงร่างการวิจัยส่วนหนึ่งที่กรรมการมักจะพิจารณาเป็นพิเศษก็คือ รายงานการประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องนี่เอง(๑o)

สรุปความสำคัญของการศึกษาเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะให้ผู้วิจัยสามารถเลือกและกำหนดปัญหาการวิจัยได้และยังทราบว่ามีปัญหาอะไรที่น่าสนใจมีผู้ทำการศึกษาแล้วหรือยังไม่มีใครเคยศึกษาวิจัยไว้ ทำให้หลีกเลี่ยงการทำวิจัยที่ซ้ำซ้อนได้และได้ทราบแหล่งที่มาการหาข้อมูล เครื่องมือหรืออุปกรณ์ที่ต้องใช้ จนทำให้สามารถเลือกการกำหนดตัวแปร ตลอดจนวิธีการวิเคราะห์และการจัดทำรายงานการวิจัยและสามารถนำผลการวิจัยของตนมาเปรียบเทียบอ้างอิงกับวรรณกรรมที่ทบทวนเพื่อสรุปในรายงานวิจัยทั้งนี้ไม่ว่าการเปรียบเทียบผลนั้นจะเป็นการเห็นด้วยหรือไม่ก็ตามซึ่งอาจทำให้งานวิจัยมีคุณค่ามากขึ้นหรือข้อค้นพบใหม่ๆที่ น่าสนใจทำให้งานวิจัยความน่าเชื่อถือและมีน้ำหนักเชิงวิชาการมีความ สมบูรณ์ถูกต้องที่สุด๑๑

"""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""""

ขอบคุณแหล่งที่มาคะ

(๑.รองศาสตราจารย์ดร.ชมบุญ ศรีสะอาด การวิจัยเบื้องต้น ฉบับพิมพ์ครั้งที่๙ แก้ไขเพิ่มเติม สุวีริยาสาส์น,๒๕๕๔,๒oหน้า๒๑)

๒. http://www.udru.ac.th/website/attachments/elearning/01/04.pd)

(๓.รศ.ดร.ดุษฎี โยเหลาสถาบันวิจัยพฤติกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

http://www.phd.ru.ac.th/newszian/files/20110722_09...)

๔.http://www.udru.ac.th/website/attachments/elearnin...)


(๕.เอกสารคำสอนวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยโดย ผศ. ดร. จักรกฤษณ์ สำราญใจ http://netra.lpru.ac.th/)

(๖.เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ ศาสตราจารย์ดร.สิน พันธุ์พินิจ สำนักพิมพ์จูนพับลิชชิ่ง จำกัด๒๕๔๗หน้า๗๑)

(๗.เทคนิคการสืบค้น การสังเคราะห์ และการจัดทาบรรณานุกรม เกี่ยวกับวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ในงานวิทยานิพนธ์และดุษฎีนิพนธ์โดย ดร. นลินี ณ นคร สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ๒๕๕๖)

(๘ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วรางคณา ผลประเสริฐจุลสาร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช สุขภาพออนไลน์ ฉบับที่๔ ปี๒๕๕๔)

(ปาจรีย์ ผลประเสริฐ และคณะ (๒๕๕๑) เอกสารศึกษาการวิจัยและการเขียนบทความ เอกสารประกอบการบรรยายหลักสูตรการบริหารงานตำรวจชั้นสูง พิมพ์ครั้งที่ ๓, ม.ป.ท)

(http://www.stou.ac.th/Schools/Shs/booklet/book๕๔๔/research.html)

(๙.การทบทวน วรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ดร. อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้อานวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (วังน้อย) นวรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์-๒๕๕๗หน้า๔-๗)

(เทคนิควิจัยทางสังคมศาสตร์ ศาสตราจารย์ดร.สิน พันธุ์พินิจ สำนักพิมพ์จูนพับลิชชิ่ง จำกัด๒๕๔๗หน้า๗๒)

๑o..เอกสารคำสอนวิชา ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการวิจัยโดย ผศ. ดร. จักรกฤษณ์ สำราญใจ http://netra.lpru.ac.th/)

(๑๑.การทบทวนวรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์พระครูสังฆรักษ์เกียรติศักดิ์ กิตฺติปญฺโญ, ดร. อาจารย์ประจำภาควิชารัฐศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และผู้อานวยการหลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ (วังน้อย) นวรรณกรรมในงานวิจัยทางสังคมศาสตร์-๒๕๕๗หหน้า๑o)

(บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์, คู่มือการเขียนรายงานการวิจัยและวิทยานิพนธ์,พิมพ์ครั้งที่ ๗, (กรุงเทพมหานคร : จามจุรีโปรดักท์, ๒๕๔๖), หน้า ๑๐๓ – ๑๐๙.)

(มนัส สุวรรณ, ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, (กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์, ๒๕๔๔), หน้า ๒๙ – ๓๐).

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง คืออะไร

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง หมายถึงแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย ที่ผู้วิจัย สนใจที่จะศึกษาหาค าตอบ ซึ่งผู้วิจัยจะต้องไปศึกษาค้นคว้ามาก่อนที่จะลงมือ ท าวิจัย ซึ่งบางท่านก็เรียกว่า การ ทบทวนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องเป็นการศึกษาข้อมูลทั้งในขั้น ปฐม ภูมิ (first ...

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยหมายถึงอะไร

เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย หมายถึง เอกสารที่มีเนื้อหาสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเรื่องที่นักวิจัยจะทำวิจัย ดังนั้นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยจึงครอบคลุมถึงเอกสารทุกชนิดทั้งที่เป็นรายงานการวิจัย และที่ไม่ใช่รายงานการวิจัยโดยที่สาระในเอกสารนั้นอาจจะมีความเกี่ยวข้องกับเรื่องที่นักวิจัยจะทำได้ตั้งแต่ระดับเกี่ยวข้องกับงาน ...

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยประกอบด้วยอะไร

วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องซึ่งประกอบด้วยแนวคิด ทฤษฎี และงานวิจัย ที่ เกี่ยวข้องกับปัญหาการวิจัย หรือเกี่ยวข้องกับตัวแปรการวิจัย ที่ผู้วิจัยต้องไปศึกษาหรือ ทบทวนมาก่อนที่จะตั้งสมมุติฐานการวิจัย เพื่อเป็นการบอกว่าผลการวิจัยที่คาดการณ์ไว้ หรือเดาไว้ล่วงหน้าก่อนที่จะลงมือทําวิจัยนั้นมาจากวรรณกรรมที่ได้ทบทวนมาก่อนหน้านี้

การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องในการวิจัย หมายถึงอะไร

การค้นคว้าข้อมูลและผลงานวิจัยจากแหล่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง กับ โจทย์การวิจัยที่กําหนด ให้ครอบคลุมประเด็นปัญหาที่เกี่ยวข้องกับ งานวิจัย ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบของสื่อสิ่งพิมพ์หรือโสตทัศนูปกรณ์ ต่างๆ