บทความ การสร้างแรงจูงใจในการ ทำงาน

การสร้างแรงจูงใจสำหรับการทำงานในช่วงโควิด          คนเราทุกคนล้วนแต่อยากให้ตัวเองมีความสุขประสบความสำเร็จ และสามารถทำสิ่งต่าง ๆ ได้มีประสิทธิภาพเป็นอย่างดี แม้จะมีข้อจำกัดเรื่องสถานที่ การทำงาน และระยะทาง รวมทั้งไม่สามารถผ่อนคลายด้วยกิจกรรมที่เคยทำ ไม่สามารถไปกินข้าวร่วมกันได้ แต่ข้อดีของการทำงานแบบทางไกลก็มีอยู่มาก และมีหลายวิธีที่ท่านสามารถทำได้ เพื่อสร้างแรงจูงใจด้วยตนเอง1.จัดการความเครียดให้อยู่ในระดับที่รับมือได้

บทความ การสร้างแรงจูงใจในการ ทำงาน
          ในการเรียนและการทำงาน ความเครียดสามารถส่งผลได้ทั้งทางดีและทางร้าย เมื่อมีความเครียดน้อย ๆ คนเราจะทำงานหรือเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มากขึ้น แต่หากเครียดมากถึงจุดหนึ่งผลลัพธ์ที่ได้จะกลับกลายเป็นตรงข้าม การที่พนักงานไม่สามารถจัดการกับความเครียดได้ด้วยข้อจำกัดในสถานการณ์โควิดนี้ เชื่อได้ว่าหลายคนจะมีความเครียดที่มากไปจนถึงจุดที่ลดศักยภาพการทำงานที่แท้จริงของตนเองลงไป ดังนั้น การผ่อนคลายความเครียดแม้เพียงเล็กน้อย สามารถส่งผลบรรเทาความรู้สึกคับข้องใจต่าง ๆ และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้ เพราะมีแรงจูงใจในการทำงานมากขึ้น2.สร้างบรรยากาศและความสัมพันธ์ในทีมงาน
บทความ การสร้างแรงจูงใจในการ ทำงาน
          การมีเพื่อนร่วมทางหรือลงเรือลำเดียวกัน โดยเฉพาะกับเพื่อนและบุคคล ที่มีความสัมพันธ์ที่คุ้นเคยกัน จะทำให้คนเราเกิดแรงจูงใจในการทำสิ่งต่าง ๆ ได้มากขึ้น ในโลกของการทำงานที่ไม่ได้พบเจอกันตัวจริงในระยะนี้ การติดต่อสื่อสารกันเป็นระยะ เพื่อให้จิตใจได้พัก และได้รับรู้ถึงการมีตัวตนของกันและกัน จึงสามารถ หล่อเลี้ยงจิตใจที่กำลังกังวลได้มาก          มีงานวิจัยชี้ว่า การพูดคุยพูดเล่นในเรื่องที่ ‘ไม่เกี่ยวข้องกับการทำงานสามารถเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะการพูดคุยแบบที่สามารถเห็นสีหน้าท่าทางได้ยินน้ำเสียงของอีกฝ่าย หัวหน้าควรเป็นผู้นำในการสร้างวัฒนธรรมการสื่อสารในโลกเสมือนจริงแบบนี้ เช่น จัดการพบปะแบบสบาย ๆ เพื่อเสริมสร้างความสัมพันธ์เป็นหลัก ซึ่งจะทำให้พนักงานรู้สึกได้ว่า แม้จะอยู่ไกลกันแต่ก็ไม่เคยทิ้งกันและรู้สึกว่าตัวเองมีคุณค่า3.ทำกิจวัตรประจำวันที่ส่งเสริมสุขภาพจิต
บทความ การสร้างแรงจูงใจในการ ทำงาน
          การทำงานจากบ้าน หรือกักตัวอยู่บ้านเพื่อลดการติดเชื้อ เป็นปัจจัยทางอ้อมที่ทำให้สุขภาพจิตแย่ลง ส่วนหนึ่งเป็นเพราะอาจไม่ค่อยได้มีการขยับร่างกาย และไม่ได้โดนแดด โดยเฉพาะคนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่ไม่มีบริเวณหรือสวน เราควรจัดเวลาให้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างสม่ำเสมอ เช่น การนอน การออกกำลังกาย และกินอาหารอย่างเป็นเวลา จะช่วยให้สุขภาพกายใจดีขึ้น4.มองหาข้อดีของเหตุการณ์และตัวเอง
บทความ การสร้างแรงจูงใจในการ ทำงาน
          ลองใช้วิธีหาข้อดีของสิ่งที่เกิดขึ้น และข้อดีของตัวเองในแต่ละวัน ซึ่งจะทำให้ท่านมองภาพกว้างของเหตุการณ์ และลดความคิดหมกมุ่นกับเรื่องร้าย ๆ ได้ เมื่อคนเราต้องเผชิญสถานการณ์ที่ไม่ปกติ และต้องปรับตัว เราอาจได้เรียนรู้ว่า ตัวเราเองสามารถทำได้ในหลายอย่างที่ไม่เคยทำ          หลายคนใช้วิธีการนี้โดยการพิมพ์ข้อดีของสถานการณ์โควิดลงในสื่อสังคมออนไลน์ และเผยแพร่ให้คนอื่น ๆ ได้ เห็นด้วย เช่น สิ่งแวดล้อมธรรมชาติได้มีโอกาสฟื้นฟู ทะเลสะอาดขึ้น ตัวเราเองได้กลับมาทบทวนมากขึ้นว่า อันที่จริงแล้วสิ่งที่ต้องใช้ในชีวิตประจำวันมีไม่มาก ทำให้เห็นว่าอะไรที่สำคัญต่อชีวิตอย่างแท้จริง บางคนหันมาให้ความสำคัญกับสุขภาพมากขึ้น รวมถึงหลาย ๆ คนอาศัยช่วงเวลานี้ทำกิจกรรมที่เคยอยากทำ แต่ไม่มีเวลา เช่น จัดบ้าน ทำความสะอาดข้าวของ ออกกำลังกายในบ้าน ทำอาหารเอง ฯลฯ เป็นการได้เปิดโอกาสใหม่ ๆ ให้ชีวิตตัวเองได้มองสิ่งอื่น ๆ อย่างมีความหมายมากขึ้นที่มา :Panjawara Boonsrangsom (2564). วิธีสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ในสถานการณ์โควิด-19, สืบค้นเมื่อ 9 สิงหาคม 2564. จาก. https://www.thaihealth.or.th/Content/55068

← โพสต์ก่อนหน้า โพสต์ถัดไป →

    ความหมายของแรงจูงใจและการจูงใจ

แรงจูงใจ คือพลังผลักดันให้คนมีพฤติกรรม และยังกำหนดทิศทางและเป้าหมาย ของพฤติกรรมนั้นด้วย คนที่มีแรงจูงใจสูง จะใช้ความพยายามในการกระทำไปสู่เป้าหมายโดยไม่ลดละ แต่คนที่มีแรงจูงใจต่ำ จะไม่แสดงพฤติกรรม หรือไม่ก็ล้มเลิก การกระทำ ก่อนบรรลุเป้าหมาย

 แรงจูงใจจะเกี่ยวข้องกับองค์ประกอบที่สำคัญ 2 ประการ คือ
(1) เป็นกลไกที่ไปกระตุ้นพลังของร่างกายให้เกิดการกระทำ และ
(2) เป็นแรงบังคับให้กับพลังของร่างกายที่จะกระทำอย่างมีทิศทาง

  • ความสำคัญของการจูงใจ 
    การจูงใจมีอิทธิผลต่อผลผลิต ผลิตผลของงานจะมีคุณภาพดี มีปริมาณมากน้อยเพียงใด ขึ้นอยู่กับ การจูงใจในการทำงาน ดังนั้น ผู้บังคับบัญชาหรือหัวหน้างานจึงจำเป็นต้องเข้าใจว่าอะไร คือแรงจูงใจที่จะทำให้พนักงานทำงานอย่างเต็มที่ และไม่ใช่เรื่องง่ายในการจูงใจพนักงาน เพราะ พนักงานตอบสนองต่องานและวิธีทำงานขององค์กรแตกต่างกัน การจูงใจพนักงานจึงมี ความสำคัญ สามารถสรุปความสำคัญของการจูงใจในการทำงานได้ดังนี้
    1. พลัง (Energy) เป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญต่อการกระทำ หรือ พฤติกรรมของมนุษย์ ในการทำงานใดๆ ถ้าบุคคลมี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง ย่อมทำให้ขยันขันแข็ง กระตือรือร้น กระทำให้สำเร็จ ซึ่งตรงกันข้ามกับ บุคคลที่ทำงานประเภท “เช้าชาม เย็นชาม” ที่ทำงานเพียงเพื่อให้ผ่านไปวันๆ

    2. ความพยายาม (Persistence) ทำให้บุคคลมีความมานะ อดทน บากบั่น คิดหาวิธีการนำความรู้ความสามารถ และ ประสบการณ์ของตน มาใช้ให้เป็นประโยชน์ต่องานให้มากที่สุด ไม่ท้อถอยหรือละความพยายามง่ายๆ แม้งาน จะมีอุปสรรคขัดขวาง และเมื่องานได้รับผลสำเร็จ ด้วยดีก็มักคิดหา วิธีการปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นเรื่อยๆ 
    3. การเปลี่ยนแปลง (variability) รูปแบบการทำงานหรือวิธีทำงานในบางครั้ง ก่อให้เกิการค้นพบช่องทาง ดำเนินงาน ที่ดีกว่า หรือประสบ ผลสำเร็จมากกว่า นักจิตวิทยาบางคนเชื่อว่า การเปลี่ยนแปลง เป็นเครื่องหมายของ ความเจริญ ก้าวหน้า ของบุคคล แสดงให้เห็นว่า บุคคลกำลังแสวงหาการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ให้ชีวิต บุคคลที่มี แรงจูงใจ ในการทำงานสูง เมื่อดิ้นรน เพื่อจะบรรลุ วัตถุประสงค์ใดๆ หากไม่สำเร็จบุคคล ก็มักพยายามค้นหา สิ่งผิดพลาด และพยายามแก้ไข ให้ดีขึ้นในทุก วิถีทาง ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง การทำงานจน ในที่สุดทำให้ค้นพบแนวทาง ที่เหมาะสมซึ่ง อาจจะต่างไป จากแนวเดิม

    4. บุคคลที่มีแรงจูงใจในการทำงาน จะเป็นบุคคลที่มุ่งมั่นทำงานให้เกิดความเจริญก้าวหน้า และการมุ่งมั่นทำงานที่ตนรับผิดชอบ ให้เจริญก้าวหน้า จัดว่าบุคคลผู้นั้นมี จรรยาบรรณในการทำงาน (work ethics) ผู้มีจรรยาบรรณในการทำงาน จะเป็นบุคคล ที่มีความรับผิดชอบ มั่นคงในหน้าที่ มีวินัยในการทำงาน ซึ่งลักษณะดังกล่าวแสดงให้เห็นถึงความสมบูรณ์ ผู้มีลักษณะ ดังกล่าวนี้ มักไม่มีเวลาเหลือพอที่จะคิดและทำในสิ่งที่ไม่ดี

  • ลักษณะของแรงจูงใจ
  • แรงจูงใจของมนุษย์มีมากมายหลายอย่าง เราถูกจูงใจให้มีการกระทำหรือพฤติกรรม หลายรูปแบบ เพื่อหาน้ำและ อาหารมาดื่มกิน สนองความต้องการทางกาย แต่ยังมีความต้องการมากกว่านั้น เช่น ต้องการความสำเร็จ ต้องการเงิน คำชมเชย อำนาจ และในฐานะที่เป็นสัตว์สังคม คนยังต้องการมีอารมณ์ผูกพันและอยู่รวมกลุ่มกับผู้อื่น แรงจูงใจ จึงเกิดขึ้นได้จากปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอก

  • แรงจูงใจภายใน (intrinsic motives) 

  • แรงจูงใจภายในเป็นสิ่งผลักดันจากภายในตัวบุคคล ซึ่งอาจจะเป็นเจตคติ ความคิดเห็น ความสนใจ ความตั้งใจ การมองเห็นคุณค่า ความพอใจ ความต้องการ ฯลฯ สิ่งต่างๆ ดังกล่าวมาเหล่านี้มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมค่อนข้างถาวร เช่น คนงานที่เห็นคุณค่าของงาน มองว่าองค์การคือสถานที่ให้ชีวิตแก่เขาและครอบครัว เขาก็จะจงรักภักดีต่อองค์การ กระทำ การต่างๆ ให้องค์การเจริญก้าวหน้า หรือในกรณีที่บ้านเมืองประสบปัญหาเศรษฐกิจ ในช่วงเวลาของเศรษฐกิจขาลง องค์การจำนวนมากอยู่ในภาวะขาดทุน ไม่มีเงินจ่ายค่าตอบแทน แต่ด้วยความผูกพัน เห็นใจกันและกัน ทั้งเจ้าของกิจการ และพนักงานต่างร่วมกันค้าขายอาหารเล็กๆ น้อยๆ ทั้งประเภทแซนวิช ก๋วยเตี๋ยว ฯลฯ เพียงเพื่อ ให้มีรายได้ ประทังกันไปทั้งผู้บริหารและลูกน้อง และในภาวะดังกล่าวนี้จะเห็นว่า พนักงานหลายราย ที่ไม่ทิ้งเจ้านาย ทั้งเต็มใจไปทำงานวันหยุดโดยไม่มีค่าตอบแทน ถ้าการกระทำดังกล่าวเป็นไปโดย เนื่องจากความรู้สึก หรือเจตคติที่ดีต่อเจ้าของกิจการ หรือด้วยความรับผิดชอบในฐานะสมาชิกคนหนึ่งขององค์การ มิใช่เพราะ เกรงจะถูกไล่ออกหรือไม่มีที่ไป ก็กล่าวได้ว่า เป็นพฤติกรรมที่เกิดจากแรงจูงใจภายใน

  • แรงจูงใจภายนอก (extrinsic motives)

  • แรงจูงใจภายนอกเป็นสิ่งผลักดันภายนอกตัวบุคคลที่มากระตุ้นให้เกิดพฤติกรรม อาจจะเป็นการได้รับรางวัล เกียรติยศ ชื่อเสียง คำชม การได้รับการยอมรับยกย่อง ฯลฯ แรงจูงใจนี้ไม่คงทนถาวรต่อพฤติกรรม บุคคลจะ แสดงพฤติกรรม เพื่อ ตอบสนองสิ่งจูงใจดังกล่าว เฉพาะในกรณีที่ต้องการรางวัล ต้องการเกียรติ ชื่อเสียง คำชม การยกย่อง การได้รับ การยอมรับ ฯลฯ ตัวอย่างแรงจูงใจภายนอกที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรม เช่น การที่คนงาน ทำงานเพียง เพื่อแลกกับ ค่าตอบแทน หรือเงินเดือน การแสดงความขยันตั้งใจทำงานเพียง เพื่อให้หัวหน้างานมองเห็นแล้ว ได้ความดีความชอบ เป็นต้น
  • บทความ การสร้างแรงจูงใจในการ ทำงาน


    วิดีโอ YouTube

     การสร้างแรงจูงใจให้ใครสักคนต้องใช้เวลา และค่อยเป็นค่อยไป หากอีกฝ่ายหนึ่งให้ความร่วมมือ มีความตั้งใจที่พัฒนา โอกาสที่จะสำเร็จก็จะเป็นไปได้ง่ายขึ้น ในทางตรงกันข้าม หากพนักงานไม่พร้อมจะเปลี่ยนแปลง ต่อให้พยายามเท่าไรก็คงไม่เกิดผล ปล่อยเขาไปในที่ที่เขาต้องการคงง่ายกว่า

    วิดีโอ YouTube