Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

JD ย่อมาจาก Job Description
หรือบางที่อาจจะเรียกว่า Job Profile หรือ Job Role

เป็นเอกสารที่กำหนดขอบเขตและหน้าที่ความรับผิดชอบของงานในตำแหน่งนั้นๆ
รวมถึงคนที่จะมาทำในตำแหน่งนั้นจะต้องมีคุณสมบัติยังไงบ้างด้วย

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

         การเขียน JD ควรคำนึงถึงคนที่จะมาทำในตำแหน่งนั้นๆ ด้วย คนที่เขียนจึงไม่ควรเขียนแบบตัวเองเข้าใจเองคนเดียว ดังนั้นถ้าเขียน JD ไว้ไม่ดีก็จะเกิดปัญหาตามมาได้ เช่น...

1. ถ้าเขียนคุณสมบัติไม่ชัดเจน จะเกิดปัญหาในการหาคนมาทำงาน
2. ถ้าเขียนงานที่ต้องทำไม่ละเอียดหรือไม่ชัดเจน คนที่เข้ามาทำงานใหม่ก็ไม่รู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง หรือเกิดการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน ขัดแย้งกันได้
3. ถ้าต้องการวางแผนงานหรือฝึกอบรม รวมถึงการพัฒนาคนก็เป็นไปได้ยาก และเมื่อถึงเวลาประเมินผลการปฏิบัติงานก็ไม่ตรงกับงานที่รับผิดชอบ ซึ่งส่งผลต่อการที่จะได้เลื่อนตำแหน่งด้วย
4. ถ้าเขียนสายบังคับบัญชาไม่ชัดเจน คนที่มาทำตำแหน่งนี้ก็จะเกิดความสับสนว่าเราอยู่ใต้บังคับบัญชาของใครกันแน่

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

         เห็นมั้ยว่าแค่เรื่องของ JD ก็สามารถสร้างปัญหาและผลกระทบต่างๆ ได้พอสมควร แล้วเราจะมีวิธีป้องกันหรือลดปัญหาพวกนี้ยังไง ลองดูคำแนะนำนี้กัน

1. สิ่งแรกเลยควรจะเขียน JD โดยคำนึงถึงผู้ที่มาปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้ ไม่ใช่เขียนในฐานะผู้ที่ครองตำแหน่งนี้
2. เขียนงานที่ทำอยู่จริงในปัจจุบัน ให้กับผู้ที่จะมาทำตำแหน่งนี้อย่างชัดเจน ว่าเขาจะต้องรับผิดชอบอะไรและทำเรื่องอะไรบ้าง
3. หลีกเลี่ยงการเขียนที่เยิ่นเย้อ ควรเขียนโดยใช้คำที่ตรงประเด็น ได้ใจความ อ่านแล้วไม่ต้องไปตีความเอาเอง ชัดเจน กระชับ และเข้าใจง่าย
4. ถ้ามีงานที่ต้องทำจริงๆ อยู่เยอะ ก็ต้องเขียนให้สมบูรณ์ ครบและครอบคลุมงานที่ผู้มาทำตำแหน่งนั้นจะต้องรับผิดชอบทั้งหมด
5. เรื่องของคำศัพท์หรือศัพท์เทคนิคต่างๆ รวมถึงตัวอักษรย่อ ควรมีวงเล็บอธิบายด้วยภาษาไทยที่ทำให้เข้าใจชัดเจนด้วย
6. ถ้าจำเป็นต้องอ้างอิงถึงบุคคล ให้ใช้ชื่อตำแหน่งของบุคคลหรือหน่วยงานที่บุคคลนั้นสังกัดอยู่ด้วย

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

         ถ้าต้องการ JD ที่ดีก็ต้องมาจาก “เจ้าของงานนั้นๆ” ซึ่งไม่ใช่หน้าที่ของฝ่ายบุคคลที่ต้องมานั่งเขียน JD แทนเจ้าของงาน เพราะประเด็นสำคัญอยู่ที่ ฝ่ายบุคคลไม่ใช่เจ้าของงานและไม่ใช่ผู้ที่ทำในตำแหน่งนั้น ถึงแม้จะรู้ว่าตำแหน่งไหนทำงานอะไรก็ตาม แต่ก็เป็นการรู้แบบคร่าวๆ และเมื่อเจ้าของงานเขียนเสร็จก็เป็นหน้าที่ของผู้บริหารหรือผู้จัดการฝ่ายในแต่ละฝ่ายต้องอ่านตรวจสอบความถูกต้องอีกครั้ง

  “การเขียน JD ที่ดี จะเป็นก้าวแรกที่ทำให้เราได้บุคคลตามต้องการ  
  และเมื่อบุคคลนั้นเข้ามาทำงานกับเราแล้ว  
  ผลงานที่ออกมาก็จะเป็นไปตามที่เราต้องการเช่นกัน”  

 สำหรับบริษัทไหนที่ต้องการหานักศึกษาเพื่อช่วยงานด่วน !!
เข้ามาอัพเดทโปรไฟล์และลงประกาศงานกับเราได้ที่ เด็กฝึกงาน.com

เพื่อนๆ HR หลายๆ คน คงเคยรู้จัก JD (หรือ Job Description) กันเป็นอย่างดีอยู่แล้ว

สวัสดีปี 2019 ขอให้ผู้อ่านพบความสุข ความเจริญ ขอให้ร่ำรวยทั้งสุขภาพ ความรัก และมีความสุขมากๆ ค่ะ

หลังจากห่างหายไปการเขียนบล็อกไปพักใหญ่ คิดว่าพี่น้องชาว HR น่าจะเข้าใจหัวอกอย่างเราจะยุ่งๆ ช่วงสิ้นปี ไม่ว่าจะเรื่องประเมิน โบนัส 50 ทวิ ฯลฯ

JD คืออะไร

วันนี้เรามาพูดถึง JD (Job Description) หรือขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบงานตำแหน่งงาน / คำบรรยายลักษณะงาน / ใบพรรณนาหน้าที่งาน ก็แล้วแต่จะเรียก ซึ่งเป็นเครื่องมือพื้นฐานในการบริหารงานทรัพยากรบุคคล

โดยมีปัจจัยเชื่อมโยงในการเขียน JD ประกอบด้วย คือ

– นโยบาย

– วิสัยทัศน์

– เป้าหมาย / กลยุทธ์

– สอดคล้องกับแผนผังโครงสร้างองค์กร (Organization Chart)

ใครมีหน้าที่เขียน JD

เรียกว่า HR หลายๆ คนต้องเจอ จะเขียน JD ก็ให้ HR เขียนไปซิครับ หน้าที่ของ HR ไม่ใช่หรอ

จากประสบการณ์ที่พบเจอมาจริงๆ แล้ว HR ควรช่วยร่างให้เพื่อเป็นแนวทางให้กับ ผู้ปฏิบัติงานเขียน ก่อนนำส่งหัวหน้างาน หรือ Line Manager เป็นผู้ตรวจสอบ ยืนยันหน้าที่งานนั้นๆ และมี HR เป็นที่ปรึกษาช่วยปรับปรุงแก้ไขให้เป็นระบบฯ

ซึ่ง JD ที่ดี และสามารถนำไปใช้ได้จริงนั้น ควรจะ

  1. เขียน JD โดยนึกถึงผู้ที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งนี้  ไม่ใช่ในมุมมองของหัวหน้างาน
  2. เขียนงานที่ทำอยู่จริงในปัจจุบัน ให้กับผู้ที่จะมาทำตำแหน่งนี้อย่างชัดเจน ว่าเขาจะต้องรับผิดชอบอะไร ทำอะไรบ้าง และวัดผลอย่างไร
  3. ใช้คำกระชับ ไม่เยิ่นเย้อ ตรงประเด็น เข้าใจง่าย
  4. การใช้ศัพท์เทคนิค คำย่อ ควรมีวงเล็บคำอธิบายให้ชัดเจน
  5. การเขียน JD ควรเขียนให้ผู้เกี่ยวข้องอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

เรามาดูตัวอย่าง และส่วนประกอบที่มีใน JD ว่าแต่ละส่วนมีความสำคัญอย่างไร

ส่วนแรก : หลักๆ อยู่ที่ รหัสเอกสารเป็นตัวบ่งบอก แผนก ส่วนงาน ลำดับ HR-HRD-J01 ใช้จัดเก็บค้นหาเอกสารอย่างเป็นระบบ วันที่บังคับใช้ – ใช้ตรวจสอบเอกสารว่าเป็นฉบับล่าสุด

***HR-HRD-J01 R1 (R1 = เท่ากับการแก้ไขครั้งที่ 1)

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนที่ 2: ตัวอย่างประมาณนี้

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนที่ 3: การเขียนควรกระชับ ง่าย และสามารถเข้าใจตรงกันได้ ใช้เป็นทิศการกำหนดหน้าที่งานด้วย

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนที่ 4: ตัวอย่าง JD ควรบอกหน้าที่งานให้ครบถ้วนชัดเจน เพื่อใช้ในการมอบหมายงานแก่พนักงานใหม่ และ สามารถนำไปใช้ในการประเมินค่างานต่อได้

  • ความคาดหวังหรือตัวชี้วัด จะช่วยให้พนักงานทราบเป้าหมาย เป็นประโยชน์ต่อการประเมิณผลงานพนักงานอย่างยุติธรรม

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ส่วนที่ 5: เป็นการทบทวน ความยาก ข้อควรระวัง และยังช่วยในการสัมภาษณ์สรรหาผู้ที่เหมาะกับการทำงานตำแหน่งนี้ได้อีกด้วย
Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนที่ 6: ระบุคุณสมบัติที่ต้องการ แน่นอนว่าเป็นประโยชน์ต่อการโพสจ๊อบ และสรรหาคนได้ตรง

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนที่ 7: การกำหนดขอบข่ายอำนาจดำเนินการ เป็นตัวช่วยในการนำไปใช้ในการตัดสินใจหลายๆ อย่าง เช่น ว่ากล่าวตักเตือน ลงโทษ พนักงานทำเกินขอบข่าย หรือข้อมูลการตัดสินใจให้ค่าตอบแทนตามความยากง่ายของงานนั้นๆ ด้วย

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนที่ 8: ส่วนการระบุ Competencies ให้พนักงานเช่นกัน นอกจากช่วยสรรหาคัดเลือกคนที่มีบุคลิกลักษณะ ความสามารถที่ตรงกับความต้องการแล้ว

ยังช่วยในการพัฒนาบุคลากรอีกด้วย เช่น พนักงานเข้าใหม่ควรฝึกความรู้ ด้านความเข้าใจสินค้า กระบวนการผลิตสินค้า และขั้นตอนการให้บริการ ฯลฯ HR ก็สามารถจัดทำแผนการอบรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ เช่น การทำ OJT (On the Job Training) หลักสูตรพนักงานขายที่เข้าใหม่ เป็นต้น

***ซึ่งถ้าอ่านย้อนกลับไปก็จะเห็นได้ว่า competency นั้นถอดออกมาจากหน้าที่งานที่ต้องทำนั่นเอง

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ส่วนท้าย

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ขอทบทวนประโยชน์ของ JD สักเล็กน้อย

  • ช่วยในการสรรหา และคัดเลือกคน และใช้ทบทวนก่อนการร้องขอกำลังคนเพิ่ม
  • เป็นเครื่องมือมอบหมายงานให้กับพนักงานใหม่
  • เป็นเครื่องในการวิเคราะห์หาความจำเป็นในการฝึกอบรมของตำแหน่งนั้นๆ
  • สามารถนำไปใช้ในการประเมินค่างาน
  • ใช้ในการประเมิณ/วัดผลงาน
  • ช่วยกำหนด Competency ของตำแหน่งงานนั้นๆ
  • นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการทำสำรวจค่าจ้างเงินเดือน ช่วยเปรียบเทียบในการตัดสินใจด้านค่าตอบแทนพนักงาน

ปัญหาที่ทุกคนน่าจะรู้อยู่แล้วเกี่ยวกับ JD

  • บางบริษัทยังไม่เคยทำ JD เลย
  • มีเคยทำไว้นานแล้ว และไม่เคย update เลย
  • ทำไว้แต่ไม่ครบ เนื่องจากโอนย้าย หรือเปลี่ยนชื่อตำแหน่งงาน เป็นต้น
  • การทำ JD ซะเลิศเลอแต่ใช้ไม่ได้จริงๆ
  • เขียนหน้าที่งานเหมือนกันหมดตั้งแต่ระดับปฎิบัติการไปถึงผู้จัดการ
  • ทำไว้เพื่อให้ผู้ตรวจสอบ (Audit) ตรวจสอบว่ามี เพราะถูกบังคับจากข้อกำหนดของระบบคุณภาพ
  • ทำแล้วจัดเก็บเข้าไฟล์ ผู้เกี่ยวข้องเข้าถึงยาก

นำเสนอวิธีการแก้ปัญหา

เอาจริงๆ ภาระหน้าที่ในการทำ JD ก็หนักหนาพอสมควร เพราะต้องคอย ตรวจติดตาม (Monitor) การทำแต่ละครั้งมีการประสานงานผู้คุย และวิเคราะห์หลายๆ องค์ประกอบ ต้องใช้เวลาพอสมควร ถ้าเราสามารถจัดทำออกแบบ Smart JD ไว้ใช้ในองค์กรได้ก็คงดี เพราะจะทำให้การทบทวนตรวจสอบ และแจ้งเตือน HR ได้

รวดเร็ว ครบถ้วน และช่วยลดขั้นตอนการทำงาน

การใช้เครื่องมือ หรือหลักการ (ทฤษฎี) มาเป็นตัวกำหนดทิศทางในการกำหนด หน้าที่ ความรับผิดชอบ ตามลำดับของพนักงานให้ชัดเจน จะช่วยให้เราสามารถเขียนหน้าที่ตามพนักงานตั้งแต่ ระดับปฎิบัติการไปถึงผู้จัดการได้ (ถ้าเขียนอธิบายตรงนี้อีกคงอีก 1 หน้ากระดาษ หากต้องการอธิบายเพิ่มเติมก็ติดต่อขอเทคนิคมาได้ทาง EZY-HR ได้นะคะ)

ท้ายสุด แนะนำการนำ JD ไปใช้ในกระบวนการ HR ตั้งแต่ต้นน้ำยังปลายน้ำ ดังนี้

***ข้อสำคัญประการแรก สร้างความรู้ ความเข้าใจ การใช้ประโยชน์จาก JD ให้กับทุกคนในองค์กร ก่อนว่ามี impact ต่อตัวพนักงานอย่างไร ใช้แล้วเกิดคุณค่าอย่างไรต่อพนักงาน และองค์กร

Job description คืออะไร และมีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก

– คำบรรยายลักษณะงาน (Job Description) อ.ประคัลภ์ ปัณฑพลังกูร

– ตัวอย่างแบบฟอร์มใบกำหนดหน้าที่ (Job Description Form) จาก ISOTHAI.COM