ทำไม ต้อง ใช้ ยา อม ใต้ ลิ้น

ข้อควรทราบในการใช้ยาไนโตรกลีเซอริน Nitroglycerin ชนิดอมใต้ลิ้น
Nitroglycerin耐絞寧舌下錠藥物使用須知

By 藥劑部 Pharmacy | January, 2021

คณะกรรมการอาหารและยาเลขทะเบียนที่: 42

ชื่อยาภาษาจีนส่วนประกอบที่สำคัญชื่อยาภาษาอังกฤษปริมาณรูปลักษณ์ภายนอกของยา
ไน้เหย่าหนิงเสอเซี้ยะติ้ง Nitroglycerin ไนโตรกลีเซอริน ไนโตรสแตท อาร์ 0.6mg/เม็ด

ทำไม ต้อง ใช้ ยา อม ใต้ ลิ้น

สรรพคุณ

ยาไนโตรกลีเซอรินชนิดอมใต้ลิ้นช่วยในการขยายตัวของหลอดเลือด สามารถป้องกันหรือบรรเทาอาการจากหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ (เช่นอาการเจ็บหน้าอก ใจสั่น หรือหายใจยากลำบาก เป็นต้น)

วิธีการใช้

เมื่อเกิดอาการของหัวใจขาดเลือดชั่วขณะ ให้ใช้ยาไนโตรกลีเซอรีน อมไว้ใต้ลิ้น 1 เม็ด (ไม่วางบนลิ้น หรือ อมภายในแก้ม) หากใช้ยาไปแล้ว 5 นาทีอาการยังไม่ทุเลา ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว ในระหว่างทางไปพบแพทย์ ทุก 5 นาทีให้อมยาซ้ำครั้งละ1 เม็ด รวมยาเม็ดแรกที่ใช้อมใต้ลิ้นให้ใช้ยาต่อเนื่องได้มากสุด 3 เม็ดเท่านั้น และแจ้งให้แพทย์ทราบว่าท่านได้ใช้ยาไนโตรกลีเซอรีนชนิดอมใต้ลิ้นไปแล้ว

ข้อควรระวัง

  • ขณะอมยาไว้ใต้ลิ้นควรอยู่ในท่านั่งหรือยืนซึ่งจะส่งผลต่อฤทธิ์ยาได้มากที่สุด เพราะเมื่อยาออกฤทธิ์แล้วผู้ป่วยอาจมีอาการปวดหัว เวียนหัวขึ้นมาได้ แนะนำให้ผู้ป่วยขณะใช้ยาหากเป็นไปได้ควรอยู่ในท่านั่ง หากท่านอยู่ในท่านั่งแล้วแต่ยังคงมีอาการปวดหัว เวียนหัวอยู่ ให้หายใจเข้าลึกๆหลายครั้งจากนั้นให้เอนตัวไปข้างหน้า และก้มศรีษะให้อยู่ตรงกลางของหัวเข่าทั้งสองเพื่อบรรเทาอาการที่ไม่สบายนั้น
  • หากท่านเคยใช้ยาไนโตรกลีเซอรีนชนิดอมใต้ลิ้นแล้วเกิดอาการข้างเคียง กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนล่วงหน้า
  • สำหรับสตรีมีครรภ์ สตรีให้นมบุตร ผู้ป่วยความดันโลหิตต่ำ ผู้ป่วยโรคหัวใจล้มเหลว หรือผู้ป่วยโรคไต กรุณาแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนล่วงหน้า
  • หลังการใช้ยาอาจก่อให้เกิดอาการเวียนศรีษะ หรือปวดหัว เป็นปฏิกิริยาการตอบสนองของยาที่เห็นได้โดยทั่วไป เมื่อใช้ยาแล้วควรหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักร หรือขับรถยนต์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการทำงานที่ต้องใช้สมาธิเพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น
  • หลังการใช้ยาภายใน 5-10 นาที ห้ามรับประทานอาหาร เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสูบบุหรี่
  • ทุกครั้งที่เปิดขวดยานำยาออกมานั้น กรุณาอย่าเทยาออกมาครั้งละหลายๆเม็ด เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ยาเกิดความชื้น การวางยาไว้ในมือเป็นเวลานานเกินไป แล้วเทกลับเข้าไปในขวดยาใหม่ทำให้ฤทธิ์ยาเสื่อมสภาพได้ หลังจากนำยาออกมาใช้แล้วให้รีบปิดฝาให้สนิท
  • สำหรับยาอมใต้ลิ้นตัวนี้ห้ามใช้ร่วมกับยาตัวอื่น เช่น ยาไวอากร้า (Viagra®),ยาเลวิต้า (Levitra®) และยาเซียลิส(Cialis®)

หากในระหว่างการใช้ยาเกิดอาการข้างเคียงตามด้านล่างนี้ กรุณารีบกลับไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

เกิดอาการแพ้ เช่น เกิดผดผื่น ,ลมพิษ, บริเวณปากหรือลำคอมีความรู้สึกเจ็บแสบ และบวม ,หายใจลำบาก,

ริมฝีปากหรือเล็บเป็นสีฟ้า, ไม่รู้สึกตัว ,การมองเห็นพร่ามัว ,ปากแห้ง,เกิดอาการเจ็บหน้าอกรุนแรง หรือหัวใจเต้นช้าลง

หากในระหว่างการใช้ยาเกิดอาการข้างเคียงตามด้านล่างนี้ กรุณาแจ้งให้แพทย์ของท่านทราบ

เมื่อเกิดอาการหน้าแดงบนใบหน้าอย่างต่อเนื่อง คลื่นไส้ อาเจียน เป็นต้น กรุณาติดต่อแพทย์ ,เภสัชกรของท่าน

หรือรีบกลับไปพบแพทย์ให้เร็วที่สุด

วิธีการเก็บรักษายา

  • ยาไนโตรกลีเซอรินชนิดอมใต้ลิ้นควรเก็บไว้ในขวดยาเดิม อย่านำมาแบ่งเก็บไว้เองตามใจชอบ หากตัวยาสัมผัสเข้ากับอากาศ ความชื้น หรือความร้อนเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลให้ตัวยามีประสิทธิภาพลดลงได้ หากเปิดใช้งานแล้ว หลังการใช้ทุกครั้งขอให้รีบปิดฝาให้สนิท และเก็บไว้ในที่แห้งและเย็น เพื่อรักษาประสิทธิภาพของตัวยาไว้
  • ขอให้เก็บยาไว้ในอุณหภูมิห้องหลีกเลี่ยงจากแสงสว่าง ให้หลีกเลี่ยงการเก็บยาไว้ในตู้เย็น หรือตู้ยาในห้องน้ำ
  • ยาไนโตรกลีเซอรินชนิดอมใต้ลิ้นหากใช้ยาอย่างถูกต้องตามวิธีที่กล่าวมาข้างต้นและเก็บรักษายาได้อย่างเหมาะสมแล้ว ก็จะสามารถรักษาประสิทธิภาพของตัวยาได้ตามระยะเวลาที่ระบุไว้บนขวดยา
  • กรุณาเก็บยาไว้ในสถานที่ที่เด็กเอื้อมมือไปไม่ถึง

※ หากท่านมีปัญหาที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยา กรุณาสอบถามรายละเอียดได้ที่สายด่วนปรึกษาสอบถามการใช้ยา

หรือปรึกษากับเภสัชกรหรือแพทย์ที่รักษาท่าน

  • สายด่วนสอบถามปรึกษาการใช้ยา :
    •  โรงพยาบาลฉีเหม่ย : 06-2812811 (ต่อ53101-53102,53112)
    •  โรงพยาบาลหลิ่วอิ๋งฉีเหม่ย : 06-6226999 ( ต่อ 73101)
    •  โรงพยาบาลเจียหลี่ฉีเหม่ย : 06-7263333 (ต่อ 33111)
  • สายด่วนสอบถามปรึกษาการใช้ยา :
    •  Chi Mei Medical Center:
    •  Chi Mei Hospital, Liouying:
    •  Chi Mei Hospital, Chiali:
  •  เว็บไซต์ตรวจสอบการค้นหาเกียวกับยา 

~諮詢電話~

09 กรกฎาคม 2564, 15:21น.

ทำไม ต้อง ใช้ ยา อม ใต้ ลิ้น


            โรคหัวใจเป็นโรคที่พบมากในคนไทย ซึ่งในผู้ป่วยบางคนก็มีอาการรุนแรงจนแพทย์ต้องสั่งจ่ายยาอมใต้ลิ้นมาให้ ทว่ายาอมใต้ลิ้นคืออะไร และความเชื่อที่ว่ายาอมใต้ลิ้นป้องกันหัวใจหยุดเต้นได้จริงหรือไม่? ด้วยความห่วงใยจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) จึงจะเป็นผู้ออกมาอธิบายเกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจที่ถูกต้อง

ทำไม ต้อง ใช้ ยา อม ใต้ ลิ้น
            อาการของโรคหัวใจที่พบได้บ่อย

            สำหรับอาการของโรคหัวใจที่ส่วนใหญ่พบบ่อยก็จะมี อาการเจ็บแน่นบริเวณกึ่งกลางหน้าอก อาจเจ็บร้าวไปที่คอ หลังหรือแขนข้างใดข้างหนึ่ง หรือทั้งสองข้าง นอกจากนี้ ผู้ป่วยบางคนอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น หอบเหนื่อย ใจสั่น หัวใจเต้นผิดจังหวะ ขาบวม เป็นลมหรือวูบ

ทำไม ต้อง ใช้ ยา อม ใต้ ลิ้น
       ยาอมใต้ลิ้น “Nitroglycerin”

ช่วยชีวิตผู้ป่วยหัวใจหยุดเต้นได้จริงหรือ?

            ยาอมใต้ลิ้น Nitroglycerin (ไนโตรกลีเซอริน) คือ ยาขยายหลอดเลือด สามารถใช้ป้องกันอาการเจ็บหน้าอกจากภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดได้ ยานี้จะใช้ก็ต่อเมื่อมีอาการเจ็บแน่นหน้าอกเท่านั้น ส่วนความเชื่อที่ว่ายาอมใต้ลิ้นสามารถช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหัวใจหยุดเต้นได้นั้น “ไม่เป็นความจริง” เพราะยาอมใต้ลิ้นเป็นยาที่ใช้บรรเทาอาการแน่นหน้าอกเท่านั้น โดยวิธีการใช้ยามีดังต่อไปนี้

            1. เมื่อรู้สึกเจ็บแน่นหน้าอก ให้อมยา 1 เม็ด ไว้ใต้ลิ้นหรือในกระพุ้งแก้มให้ละลายในปาก

            2. ถ้าไม่ดีขึ้นใน 5 นาที ให้อมเม็ดที่ 2

            3. หากอมเม็ดที่ 2 แล้วรอประมาณ 5 นาที

หากอาการยังไม่ดีขึ้นอีก ให้อมยาเม็ดที่ 3 แล้วรีบนำส่งโรงพยาบาล

            ทั้งนี้ ยาอมใต้ลิ้น Nitroglycerin ห้ามเคี้ยว ห้ามกลืนยา หรือห้ามบ้วนน้ำลายขณะที่อมยาอยู่ และให้พกยาติดตัวอยู่ตลอดเวลา โดยยานี้มีผลข้างเคียงทำให้ความดันโลหิตต่ำได้ ดังนั้นการใช้ยาต้องอยู่การดูแลของแพทย์เท่านั้น

ทำไม ต้อง ใช้ ยา อม ใต้ ลิ้น
            นอกจากการกินยาตามที่แพทย์สั่งอย่างเคร่งครัดแล้ว การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมก็เป็นสิ่งสำคัญ แนะนำว่าให้นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ทำอารมณ์ให้แจ่มใส หมั่นควบคุมระดับน้ำตาล ไขมัน และความดันโลหิตให้อยู่ในระดับมาตรฐานเข้าไว้ ที่สำคัญควรออกกำลังกายอย่างเหมาะสม ไม่หักโหมเกินไป




ข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.)


ทำไมต้องอมยาอมใต้ลิ้น

การให้ยาอมใต้ลิ้นเป็นวิธีการบริหารยา โดยการวางยาไว้ใต้ลิ้นเพื่อให้ยาซึมผ่านหลอดเลือดฝอยบริเวณ เยื่อบุใต้ลิ้นเข้าสู่กระแสเลือดโดยตรงและรวดเร็ว วัตถุประสงค์ (Objective)เพื่อ ให้ผู้ป่วยได้รับยาอมใต้ลิ้นอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุดถูกต้องตามแผนการรักษา และปลอดภัยจาก ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นจากการได้รับยา

ยาอมใต้ลิ้นกินได้ไหม

ห้ามกลืนยาเด็ดขาด. ยาอมใต้ลิ้นต้องค่อยๆ ละลายซึมอยู่ใต้ลิ้น ถ้าเผลอกลืนไปอาจทำให้ยาไม่ครบโดสหรือดูดซึมผิดปกติ สรุปแล้วจะไม่เห็นผลเอา

ยาอมใต้ลิ้น ใช้ยังไง

ยาประเภทนี้ระบุมาให้อมใต้ลิ้น ให้ผู้ป่วยนั่งเก้าอี้พิงหลัง นำยาอมใต้ลิ้น 1 เม็ด วางไว้ใต้ลิ้น ปิดปากและอมยาไว้ปล่อยให้ยาละลายใต้ลิ้น อาการเจ็บหน้าอกจะหายภายใน 1-2 นาที ถ้าหลังจากอมยาไปแล้ว 5 นาทีอาการไม่ดีขึ้นให้อมยาเม็ดที่ 2 รอดูอาการสัก 5 นาทีถ้ายังเจ็บหน้าอกอยู่ให้อมยาเม็ดที่ 3 แล้วรีบไปโรงพยาบาล สังเกตว่าเวลาอมยา ...

เพราะเหตุใดบางครั้งแพทย์แนะนำให้ใช้ยาแก้ปวดบางชนิดอมใต้ลิ้นแทนการรับประทานตามปกติ

สำหรับอมใต้ลิ้น (Sublingual) เป็นทางในการบริหารยาเพื่อให้ยาออกฤทธิ์เร็วภายในเวลาไม่กี่นาที และหลีกเลี่ยงการเกิด hepatic first-pass metabolism ทั้งนี้เพื่อให้ระดับยาในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มี bioavaiability สูง เพื่อลดอาการเจ็บอกอย่างเฉียบพลัน ดังนั้นในกรณีต้องการใช้ยาเพื่อบรรเทาเจ็บเค้นหน้าอกเฉียบพลันนั้นไม่สามารถ ...