กฎบัตรการตรวจสอบภายใน บริษัท สิงห์ คอร์เปอเรชั่น จํากัด

วัตถุประสงค์

คณะกรรมการบริษัท เอ็ม บี เค จำกัด(มหาชน) ได้ตั้งคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน เพื่อให้ช่วยเสนอแนะนโยบาย รูปแบบและหลักเกณฑ์ การสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการ และผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ เพื่อให้การสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทน มีการปฏิบัติเป็นไปตามหลักการบรรษัทภิบาล อีกทั้งสอดคล้องกับวิสัยทัศน์และพันธกิจขององค์กร

Show

หลักการสรรหาและการกำหนดค่าตอบแทน

  • การสรรหากรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการและผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ จะต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องและตามข้อบังคับของหน่วยงานกำกับดูแลอย่างเคร่งครัด โดยคำนึงถึงคุณสมบัติที่มีความรู้ความสามารถ เหมาะสมกับวัฒนธรรม พันธกิจ วิสัยทัศน์ และค่านิยมขององค์กร
  • การจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการและผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ จะต้องสอดคล้องกับขอบเขต หน้าที่ความรับผิดชอบ และอยู่ในระดับที่เพียงพอที่จะดึงดูด รักษา และจูงใจ รวมทั้งสอดคล้องกับผลการปฏิบัติงาน
  • การสรรหาและจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการและผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ จะต้องมีขบวนการและขั้นตอนที่ชัดเจนโปร่งใส ปฏิบัติตามหลักของบรรษัทภิบาล สามารถตรวจสอบได้

โครงสร้างของคณะกรรมการฯ

  • ประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 3 คน โดยได้รับการแต่งตั้งจากคณะกรรมการบริษัทฯ
  • กรรมการเป็นกรรมการที่ไม่ใช่ผู้บริหาร และควรมีกรรมการอิสระเป็นส่วนใหญ่
  • เลขานุการคณะกรรมการฯ แต่งตั้งจากคณะกรรมการสรรหาและพิจารณาค่าตอบแทน

หน้าที่และความรับผิดชอบ

  • เสนอแนะนโยบายเกี่ยวกับการสรรหาและค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการและผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ต่อคณะกรรมการบริษัท
  • เสนอแนะรูปแบบและหลักเกณฑ์การสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการและผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ต่อคณะกรรมการบริษัท
  • กำหนดหลักเกณฑ์ในการประเมินผลการปฏิบัติงานของกรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการ และผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ เพื่อประกอบการพิจารณาผลตอบแทนประจำปี
  • พิจารณาคัดเลือกและกลั่นกรองบุคคลที่มีคุณสมบัติที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการและผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ เพื่อขออนุมัติต่อคณะกรรมการบริษัท หรือผู้ถือหุ้น (แล้วแต่กรณี)
  • เสนอค่าตอบแทนประจำปีของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการ และผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ตามรูปแบบและหลักเกณฑ์การจ่ายที่ได้กำหนดไว้
  • ทบทวนนโยบาย รูปแบบและหลักเกณฑ์การสรรหาและการจ่ายค่าตอบแทนของกรรมการ กรรมการในคณะกรรมการชุดย่อยต่างๆ กรรมการผู้อำนวยการ รองกรรมการผู้อำนวยการ และผู้ช่วยกรรมการผู้อำนวยการ ให้เหมาะสมกับหน้าที่ ความรับผิดชอบ และให้สอดคล้องกับภาวะตลาด
  • ติดตามและดูแลให้บริษัทฯ มีแผนการสืบทอดตำแหน่งและความต่อเนื่องในการบริหารที่เหมาะสม สำหรับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงและตำแหน่งที่สำคัญ ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
  • ติดตามและดูแลนโยบายการจ่ายผลตอบแทนของพนักงานให้เกิดความเป็นธรรม แข่งขันกับตลาดได้ และสามารถรักษาพนักงานที่มีคุณภาพและศักยภาพไว้ได้

การประชุมคณะกรรมการ

  • คณะกรรมการ จะต้องมีการจัดการประชุมอย่างน้อยปีละ 2 ครั้ง
  • กรรมการ เข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนคณะกรรมการ และจะต้องมีประธานกรรมการ เข้าร่วมประชุมด้วย ในกรณีที่ประธานกรรมการ ไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ให้กรรมการที่เหลือเสนอแต่งตั้งจากกรรมการอิสระเพื่อปฏิบัติหน้าที่ประธานที่ประชุมในครั้งนั้นๆ
  • มติที่ประชุมถือตามเสียงข้างมากของกรรมการ ที่มาประชุมครบองค์ประชุม โดยกรรมการ ผู้มีส่วนได้เสียจะไม่เข้าร่วมในการพิจารณาหรือลงมติในวาระที่มีส่วนเกี่ยวข้อง
  • เอกสารประกอบการประชุมจะต้องส่งให้แก่คณะกรรมการล่วงหน้า 7 วัน
  • ร่างรายงานการประชุมจะต้องดำเนินการส่งให้คณะกรรมการ ตรวจสอบความถูกต้องภายใน 14 วันนับจากการประชุม

การรายงานผลการปฏิบัติหน้าที่

  • กำหนดให้มีการรายงานผลการปฏิบัติงาน ตามขอบเขตความรับผิดชอบตามกฎบัตรต่อคณะกรรมการบริษัท ภายหลังการประชุมทุกครั้ง และรายงานสรุปในรายงานประจำปี

การเปิดเผยข้อมูล

  • กำหนดให้คณะกรรมการ รายงานและนำเสนอค่าตอบแทนกรรมการที่จ่ายในแต่ละปี ให้กับผู้ถือหุ้นทราบ
  • เปิดเผยหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการ
  • เปิดเผยจำนวนครั้งของการประชุม และจำนวนครั้งที่กรรมการแต่ละท่านเข้าร่วมประชุม
  • เปิดเผยรูปแบบหรือลักษณะของการจ่ายค่าตอบแทนกรรมการ

วัตถุประสงค์

คณะกรรมการบริษัท ได้มอบหมายให้คณะกรรมการตรวจสอบปฏิบัติหน้าที่เพื่อสนับสนุนด้านการกำกับดูแลกิจการ การสอบทานความถูกต้องเชื่อถือได้ของรายงานทางการเงิน ระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหารความเสี่ยง การตรวจสอบภายใน การปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้องรวมถึงการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของกลุ่มบริษัท ซึ่งหมายถึง บริษัท เอ็ม บี เค จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย/บริษัทร่วมที่มี อำนาจควบคุม เพื่อให้การบริหารจัดการงานต่างๆ ของกลุ่มบริษัท เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ประสิทธิผลและโปร่งใส โดยพิจารณาเห็นควรให้ยกเลิกปก.คกก.002/2561 เรื่องกฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2561 และให้ใช้ประกาศฉบับนี้แทน จนกว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่นโดยมีรายละเอียด ดังนี้

1. องค์ประกอบ

  1. คณะกรรมการบริษัท หรือ ผู้ถือหุ้นเป็นผู้แต่งตั้งประธานกรรมการตรวจสอบ และกรรมการตรวจสอบ ตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อบังคับของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  2. คณะกรรมการตรวจสอบประกอบด้วยกรรมการอย่างน้อย 3 ท่าน โดยเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์ เพียงพอในการทำหน้าที่สอบทานงบการเงินได้อย่างน้อย 1 ท่าน
  3. หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในเป็นเลขานุการของคณะกรรมการตรวจสอบ

2. คุณสมบัติ

  1. เป็นกรรมการอิสระตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และข้อบังคับที่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยกำหนดและ สามารถให้ความเห็นหรือรายงานผลการปฏิบัติงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างอิสระ
  2. สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเพียงพอในฐานะเป็นกรรมการตรวจสอบ

3. วาระการดำรงตำแหน่ง

ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการตรวจสอบ ดำรงตำแหน่งตามวาระการดำรงตำแหน่ง ของกรรมการบริษัท

4. หน้าที่ และความรับผิดชอบ

  1. การควบคุมภายใน และการตรวจสอบภายใน
    1. สอบทานให้บริษัทมีระบบการควบคุมภายใน (Internal control) และระบบการตรวจสอบภายใน ที่เหมาะสมและมีประสิทธิผล
    2. พิจารณาความเป็นอิสระของหน่วยงานตรวจสอบภายใน
    3. พิจารณาอนุมัติกฎบัตรหน่วยงานตรวจสอบภายใน
    4. พิจารณาอนุมัติแผนการตรวจสอบประจำปีของบริษัทร่วมกับหน่วยงานตรวจสอบภายใน รวมทั้ง งบประมาณที่ใช้ในกระบวนการตรวจสอบ โดยคำนึงถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้อง
    5. ดูแลให้ฝ่ายจัดการมีการแก้ไขข้อบกพร่องที่ตรวจสอบพบ และติดตามให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องแก้ไข ข้อบกพร่องนั้น เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
    6. สอบทานหลักฐาน หรือไต่สวนภายในเมื่อมีข้อสงสัยว่ามีการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อองค์กร อย่างมีนัยสำคัญ หรือมีข้อบกพร่อง หรือมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีผลต่อการดำเนินงาน หรือระบบการควบคุมภายใน และนำเสนอคณะกรรมการบริษัท พิจารณาต่อไป
    7. พิจารณาอนุมัติการแต่งตั้ง โยกย้าย เลิกจ้าง หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน
    8. ประเมินผลการปฏิบัติงานและพิจารณาอนุมัติค่าจ้าง โบนัส หรือค่าตอบแทนอื่นใดของบุคลากร หน่วยงานตรวจสอบภายใน
  2. รายงานงบการเงินและการเปิดเผยข้อมูล
    1. สอบทานให้บริษัทมีรายงานทางการเงินอย่างถูกต้อง เพียงพอ และเชื่อถือได้เป็นไปตามหลักการ บัญชีที่รับรองทั่วไป
    2. พิจารณารายการที่เกี่ยวโยง หรือรายการที่อาจมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ให้เป็นไปตาม กฎหมายและข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้มั่นใจว่ามีความสมเหตุสมผลและ เป็นประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท
    3. สอบทานหลักฐานหากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับการดำเนินการที่อาจมีผลกระทบต่อผลการดำเนินงาน ของบริษัท อย่างมีนัยสำคัญ หรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจมีผลกระทบต่อการดำเนินงาน ของบริษัท
  3. ผู้สอบบัญชี
    1. พิจารณาคัดเลือกหรือเลิกจ้าง เสนอค่าตอบแทน และเสนอแต่งตั้งบุคคลซึ่งมีความเป็นอิสระ เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้สอบบัญชีของบริษัท
    2. เข้าร่วมประชุมกับผู้สอบบัญชี โดยไม่มีฝ่ายจัดการเข้าร่วมประชุมด้วยอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
    3. เสนอแนะให้ผู้สอบบัญชีสอบทาน หรือตรวจสอบรายการที่เห็นว่าจำเป็นและเป็นเรื่องสำคัญ ในระหว่างการตรวจสอบบัญชีของบริษัทได้
  4. การปฏิบัติตามข้อกำหนดและกฎหมาย
    1. ตรวจสอบว่าบริษัทได้มีการปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎระเบียบ ของหน่วยงานราชการ
    2. สอบทานหลักฐาน กรณีมีข้อสงสัยว่ามีรายการหรือการกระทำใดๆ ที่อาจฝ่าฝืนกฎหมาย หรือ ข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎระเบียบของหน่วยราชการ ซึ่งมีหรืออาจมีผลกระทบต่อ ฐานะการเงิน และผลการดำเนินงานของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
  5. การบริหารความเสี่ยง

    สอบทานระบบการบริหารจัดการความเสี่ยง

  6. การกำกับดูแลกิจการ

    กำกับดูแลและสอบทานการควบคุมภายในที่เกี่ยวข้องกับการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมาตรการต่อต้าน การทุจริตคอร์รัปชัน

  7. การจัดหาผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน

    ในกรณีจำเป็นคณะกรรมการตรวจสอบอาจเสนอแนะคณะกรรมการบริษัทให้มีการว่าจ้าง หรือ นำผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านมาร่วมพิจารณาปรึกษาในการแก้ปัญหาของบริษัท

  8. ความรับผิดชอบอื่นๆ

    ปฏิบัติหน้าทื่อื่นตามที่กฎหมายกำหนด หรือคณะกรรมการบริษัทมอบหมาย ซึ่งคณะกรรมการตรวจสอบ เห็นชอบด้วย

5. การประชุม

  1. กำหนดให้มีการประชุมคณะกรรมการตรวจสอบอย่างน้อยเดือนละ 1 ครั้ง ทั้งนี้อาจมีการจัดการประชุม เพิ่มเติมจากที่กำหนดได้ตามที่เห็นสมควร
  2. องค์ประชุมคณะกรรมการตรวจสอบ ประกอบด้วยจำนวนผู้เข้าประชุมไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของกรรมการตรวจสอบ ทั้งหมด
  3. คณะกรรมการตรวจสอบมีอำนาจเชิญฝ่ายจัดการ หรือผู้ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุม ชี้แจงให้ความเห็นหรือ จัดส่งเอกสารที่เกี่ยวข้องตามความจำเป็นได้
  4. กรรมการตรวจสอบที่มีส่วนได้เสียในเรื่องใด กรรมการตรวจสอบท่านนั้นจะไม่เข้าร่วมประชุม หรือ งดการแสดงความเห็นในเรื่องดังกล่าว

6. การรายงาน

  1. รายงานต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไข กรณีที่มีการกระทำที่อาจมีผลกระทบต่อ องค์กรอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงิน ผลการดำเนินงาน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์การทุจริต ข้อบกพร่องที่สำคัญในระบบการควบคุมภายใน การปฏิบัติที่ขัดต่อกฎหมายหรือข้อกำหนดของ ตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎระเบียบของหน่วยงานราชการ
  2. จัดทำรายงานสรุปการปฏิบัติหน้าที่ และการกำกับดูแลกิจการของคณะกรรมการตรวจสอบ แสดงไว้ใน รายงานประจำปีของบริษัท

7. การประเมินผลการปฏิบัติงาน

คณะกรรมการตรวจสอบมีการประเมินตนเองสำหรับการปฏิบัติงานปีละ 1 ครั้ง

ด้วยคณะกรรมการตรวจสอบ กำหนดให้มีกฎบัตรสายตรวจสอบภายใน เพื่อใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติงานของ สายตรวจสอบภายใน ในการประเมินประสิทธิผลและความเพียงพอของระบบการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการ ระบบการบริหารความเสี่ยง การเสริมสร้างพัฒนาระบบงานของบริษัทให้มีประสิทธิภาพ รวมถึงการกำกับดูแล การปฏิบัติงานของบริษัทย่อยและบริษัทร่วม เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์และเกิดประโยชน์สูงสุดแก่องค์กร โดยพิจารณาทบทวนและเห็นควรให้ยกเลิกประกาศที่ปก.คกก.001/2562 เรื่องกฎบัตรสายตรวจสอบภายใน ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2562 และให้ใช้ฉบับนี้แทนโดยมีรายละเอียด ดังนี้

คำนิยาม

“การตรวจสอบภายใน” หมายถึง กิจกรรมการให้ความเชื่อมั่นและการให้คำปรึกษาอย่างเที่ยงธรรมและ เป็นอิสระ เพื่อเพิ่มคุณค่าและปรับปรุงการดำเนินงานขององค์กร และช่วยให้องค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ ด้วยการประเมินและปรับปรุงประสิทธิผลของกระบวนการบริหารความเสี่ยง การควบคุม และการกำกับดูแล อย่างเป็นระบบ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อช่วยคณะกรรมการบริษัท คณะกรรมการตรวจสอบและฝ่ายจัดการ ในการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของหน่วยงานต่างๆ ของบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
  2. เพื่อประเมินความเพียงพอประสิทธิภาพประสิทธิผลของระบบการควบคุมภายใน การบริหารความเสี่ยง และการกำกับ ดูแลกิจการของบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วม รวมทั้งวิเคราะห์ให้ความเห็นและให้ข้อเสนอแนะ หรือคำปรึกษา อย่างเป็นอิสระเพื่อให้เกิดความมั่นใจได้ว่า
    1. การดำเนินงานเกี่ยวกับข้อมูลทางการเงินและการบัญชีมีความน่าเชื่อถือ (Reliability) ถูกต้อง (Accurate) และ รวดเร็วทันเวลา (In-Time) รวมทั้งการบริหารงานมีการกำกับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance)
    2. การบริหารจัดการมีการถือปฏิบัติตามนโยบายของคณะกรรมการบริษัทและเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งปฏิบัติตามแผนการปฏิบัติงาน และขั้นตอนการปฏิบัติงานตามที่กำหนดไว้
    3. มีระบบป้องกันและดูแลรักษาทรัพย์สิน
  3. เพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานของหน่วยงานต่างๆ ในบริษัท บริษัทย่อยและบริษัทร่วม
    1. เสริมสร้างระบบการปฏิบัติงาน เพิ่มความมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
    2. นำเสนอวิธีการเพื่อป้องกันการดำเนินงานที่อาจผิดกฎหมาย การรั่วไหล หรือการทุจริตคอร์รัปชัน

ขอบเขตหน้าที่และความรับผิดชอบ

  1. จัดทำแผนการตรวจสอบประจำปี ให้ครอบคลุมถึงกิจกรรมที่ต้องตรวจสอบ โดยจัดลำดับความสำคัญและระดับ ความเสี่ยงของการควบคุมภายในของกิจกรรมนั้นๆ พร้อมทั้งจัดทำแผนอัตรากำลัง และแผนงบประมาณประจำปี
  2. สอบทานและประเมินการควบคุมภายในของระบบการปฏิบัติงานหน่วยงานในองค์กร ให้ปฏิบัติตามนโยบาย ระเบียบ ข้อบังคับของบริษัท รวมทั้งปฏิบัติตามข้อกำหนด กฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  3. สอบทานความเชื่อถือได้ของข้อมูลทางการเงิน และมิใช่ทางการเงินของบริษัท
  4. ประเมินความถูกต้องเชื่อถือได้และความเพียงพอของระบบงานต่างๆ และระบบสารสนเทศ รวมถึงความปลอดภัย ของระบบสารสนเทศให้มีการควบคุมภายในที่รัดกุมเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
  5. สอบทานความเพียงพอและเหมาะสมของการบันทึก การใช้ และการเก็บรักษาทรัพย์สิน
  6. สังเกตการณ์ ตรวจสอบ สอบทาน หรือ สอบสวนงานต่างๆ ที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการหรือผู้บริหารระดับสูง ในการหาข้อผิดพลาดในการปฏิบัติงาน ประเด็นทุจริตคอร์รัปชัน หรือความขัดแย้งทางผลประโยชน์
  7. สอบทานการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  8. ให้คำปรึกษา คำแนะนำ หรือข้อคิดเห็น ตลอดจนแนวปฏิบัติงานด้านระบบการควบคุมภายใน ระบบการบริหาร ความเสี่ยง การกำกับดูแลกิจการ และมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน
  9. ปฏิบัติงานอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย

อำนาจในการตรวจสอบ

สายตรวจสอบภายในได้รับอนุมัติและมีอำนาจในการเข้าถึงข้อมูล ระบบงาน และบุคคลของบริษัทบริษัทย่อยและบริษัทร่วม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติงานตรวจสอบ ตามความจำเป็นและเหมาะสม โดยผู้บริหารทุกระดับขององค์กร มีหน้าที่ในการช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติงานของสายตรวจสอบภายในบรรลุตามหน้าที่ วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบ และเป็นประโยชน์สูงสุดขององค์กร

มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพ

ผู้ตรวจสอบภายใน จะต้องดำรงตนประพฤติปฏิบัติยึดมั่นในกฎระเบียบของบริษัท และยึดหลักมาตรฐานวิชาชีพสากล และจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง

ความเป็นอิสระ

กิจกรรมการตรวจสอบ ต้องมีการดำเนินการอย่างเป็นอิสระจากอิทธิพลอื่นใด ทั้งในด้านขอบเขตการตรวจสอบ ขั้นตอน ระยะเวลา เนื้อหาของรายงาน เพื่อให้การปฏิบัติงานตรวจสอบเป็นไปโดยมีประสิทธิภาพบรรลุเป้าหมายและเป็นไปตามแผนการตรวจสอบที่วางไว้ ผู้ตรวจสอบภายในไม่มีหน้าที่รับผิดชอบในเรื่องการปฏิบัติงานประจำของบริษัท ที่มิใช่งานตรวจสอบ

ความสัมพันธ์กับฝ่ายบริหาร และผู้สอบบัญชี

ประสานงานกับผู้บริหาร ผู้สอบบัญชี เพื่อให้การตรวจสอบภายในครอบคลุมประเด็นที่สำคัญ และประเด็น ที่มีความเสี่ยง

การพัฒนาบุคลากร

  1. หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในรับผิดชอบการพิจารณาความเพียงพอของบุคลากร และคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบภายใน ว่ามีความรู้ความสามารถทักษะในการตรวจสอบต่างๆ ตลอดจนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และความเข้าใจในธุรกิจ ของบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วม
  2. หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในรับผิดชอบในการพิจารณาความดีความชอบ และผลตอบแทนของผู้ตรวจสอบภายใน ตามกรอบนโยบายและระเบียบของบริษัท และนำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบเพื่อพิจารณาอนุมัติ
  3. หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายในต้องส่งเสริมสนับสนุนและพัฒนาผู้ตรวจสอบภายในให้มีทักษะความรู้ ความสามารถ ทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

การรายงานผลการตรวจสอบ

หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน เสนอรายงานการตรวจสอบของบริษัท บริษัทย่อย และบริษัทร่วม โดยสรุปประเด็นที่สำคัญหรือประเด็นเร่งด่วนต่อผู้บริหารหน่วยงานต่างๆ คณะกรรมการตรวจสอบ คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการบริษัท และคณะกรรมการอื่นที่เกี่ยวข้อง

แนวทางการปฏิบัติงาน

  1. ปฏิบัติงานตรวจสอบตามแผนงานตรวจสอบประจำปีที่ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบ
  2. การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในเป็นไปในเชิงขอความร่วมมือในการปฏิบัติงาน (Human Relation Approach) เพื่อช่วยเหลือหน่วยงานที่ได้รับการตรวจสอบ รวมทั้งหามาตรการป้องกันและเสริมสร้างระบบการ ปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ
  3. เจ้าหน้าที่ตรวจสอบภายในมีหน้าที่ในการปฏิบัติงานเกี่ยวกับการขอข้อมูล เอกสาร หลักฐานที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบ รวมถึงข้อมูลในระบบสารสนเทศของทุกระบบงาน
  4. ผู้ตรวจสอบภายในจะต้องรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง รอบคอบด้วยมารยาทอันดีตลอดเวลา และปฏิบัติงานเยี่ยงผู้มีความรู้ความสามารถพึงกระทำ
  5. หัวหน้าหน่วยงานตรวจสอบภายใน ร่วมกับผู้บริหารหน่วยงานที่รับการตรวจสอบควรมีการหารือ แลกเปลี่ยน ความคิดเห็นเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่ตรวจพบและแนวทางปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง(ถ้ามี) ก่อนที่จะนำเสนอในรายงาน ผลการตรวจสอบ
  6. จัดทำรายงานผลการตรวจสอบเป็นลายลักษณ์อักษร อธิบายถึงวัตถุประสงค์ ขอบเขตของการตรวจสอบ ข้อบกพร่อง ที่ตรวจพบ และข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุงแก้ไข เพื่อนำเสนอคณะกรรมการตรวจสอบ และผู้บริหารที่เกี่ยวข้อง
  7. ผู้ตรวจสอบภายในต้องติดตามผลการปฏิบัติตามข้อเสนอแนะในรายงานผลการตรวจสอบและติดต่อประสานงานกับ ผู้รับการตรวจสอบ และให้คำแนะนำในการแก้ไขปรับปรุง
  8. หน่วยงานต่างๆ ต้องได้รับการตรวจสอบเป็นระยะๆ เพื่อพิจารณาว่าได้มีการปฏิบัติตามแผนงาน นโยบาย เป้าหมาย และวัตถุประสงค์ขององค์กร ตลอดจนระเบียบปฏิบัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
  9. ผู้ตรวจสอบภายในต้องปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต มีคุณธรรม มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีวางตนเป็นกลาง มีทัศนคติที่ดีต่อเพื่อนร่วมงาน ตามจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายในที่กำหนดโดยสมาคมผู้ตรวจสอบภายใน แห่งประเทศไทย

จรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบภายใน

1. ความซื่อสัตย์ (Integrity)

  1. ปฏิบัติหน้าที่ของตนด้วยความซื่อสัตย์ ขยันหมั่นเพียร และความรับผิดชอบ
  2. ปฏิบัติตามกฎหมายและเปิดเผยข้อมูลตามที่กฎหมายและวิชาชีพกำหนด
  3. ไม่มีส่วนร่วมโดยเจตนาในกิจกรรมที่ขัดต่อกฎหมายหรือการกระทำที่อาจเสื่อมเสียต่อวิชาชีพ การตรวจสอบภายใน หรือองค์กร
  4. เคารพและสนับสนุนวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรมขององค์กร

2. ความเที่ยงธรรม (Objectivity)

  1. ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมหรือความสัมพันธ์ใดๆ ที่อาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือเป็นเหตุ บั่นทอนในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมายอย่างเที่ยงธรรม
  2. ไม่รับสิ่งตอบแทนใดๆ ที่อาจก่อให้เกิดความไม่เที่ยงธรรมในการใช้วิจารณญาณเยี่ยงผู้ประกอบวิชาชีพพึงปฏิบัติ
  3. เปิดเผยข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญทั้งหมดที่ทราบ ซึ่งหากละเว้นไม่เปิดเผยแล้วอาจทำให้รายงาน ผลการตรวจสอบบิดเบือนไป หรือปิดบังการกระทำผิดทางกฎหมาย

3. การรักษาความลับ (Confidentiality)

  1. รอบคอบในการใช้ และเก็บรักษาข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่
  2. ไม่แสวงหาผลประโยชน์จากข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน หรือเพื่อการใดๆ ขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อวัตถุประสงค์ที่ถูกต้องตามกฎหมายและหลักจริยธรรมขององค์กร

4. ความสามารถในหน้าที่ (Competency)

  1. ปฏิบัติหน้าที่ในงานส่วนที่ตนมีความรู้ ทักษะ และประสบการณ์
  2. ปฏิบัติงานตรวจสอบภายในโดยยึดมาตรฐานสากลการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในเป็นหลัก
  3. พัฒนาศักยภาพ ความชำนาญ ประสิทธิภาพ และคุณภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างสม่ำเสมอ

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน มีอะไรบ้าง

กฎบัตรการตรวจสอบภายใน คือ เอกสารทางการที่กำหนดวัตถุประสงค์ อำนาจหน้าที่ และความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน ตรวจสอบภายใน ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดสถานภาพของหน่วยงานตรวจสอบภายในสายการรายงาน และความสัมพันธ์ของหัวหน้า

ใครเป็นอนุมัติกฎบัตรการตรวจสอบภายในขั้นสุดท้าย

กฎบัตรฯ นี้ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการตรวจสอบในการประชุมครั้งที่ 11/2564 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2564 โดยกฎบัตรฯ นี้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ มกราคม พ.ศ. 2565 เป็นต้นไป

การจัดทำกฎบัตรการตรวจสอบภายในเป็นหน้าที่ของใคร

(2) ผู้อำนวยการฝ่ายตรวจสอบภายใน ต้องจัดทำกฎบัตรของฝ่ายตรวจสอบภายใน และดำเนินการให้ กฎบัตรดังกล่าวได้รับความเห็นชอบจากผู้บริหารระดับสูง และได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการ

กฎบัตรของคณะกรรมการตรวจสอบคืออะไร

กฎบัตรคณะกรรมการตรวจสอบ (Audit Committee Charter) ได้จัดท าขึ้นเพื่อให้คณะกรรมการ ตรวจสอบมีความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุประสงค์ องค์ประกอบ คุณสมบัติ อ านาจ หน้าที่และความ รับผิดชอบ ในการสนับสนุนด้านการก ากับดูแลกิจการที่ดี (Good Corporate Governance) ด้าน กระบวนการรายงานทางการเงิน ระบบการควบคุมภายในและการตรวจสอบภายใน ระบบ ...