ใบงาน เรื่อง ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

ใบงาน

เฉลยใบงาน 

วิชา  สังคมศึกษา 3 ( ส 23101 ) ใบความรู้ที่ 1 หน่วยระบบเศรษฐกิจและกลไกราคา
ชั้น ม.3 เรื่อง  ระบบเศรษฐกิจ สาระ เศรษฐศาสตร์

                ระบบเศรษฐกิจ ( Economic  System) หมายถึง  ระบบการจัดการในเรื่องกรรมสิทธิ์และแนวทางการจัดสรรทรัพยากรการผลิต ได้แก่  ที่ดิน  ทุน  แรงงาน และ การประกอบการ  ให้สามารถทำงานร่วมกัน และมีแนวปฏิบัติในการประกอบกิจกรรมทางเศรษฐกิจไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้เกิดผลผลิตและกระจายผลผลิตไปสนองความต้องการของประชาชน สังคมในประเทศ โดยวิธีการใด วิธีการหนึ่ง

                ระบบเศรษฐกิจ ( Economic  System)  แบ่งเป็น 3  ประเภท  ได้แก่

1. ระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยม

ลักษณะสำคัญ ข้อดี ข้อเสีย
1. เอกชนเป็นเจ้าของปัจจัยการผลิตและทรัพย์สิน และ มีเสรีภาพในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

2. กิจกรรมทางเศรษฐกิจดำเนินไปโดยผ่านกลไกราคา

3. มีการแข่งขันระหว่างเอกชนสูงเพราะมีกำไรเป็นแรงจูงใจในการผลิต

4. รัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงกิจการเอกชนแต่จะให้มีการคุ้มครองกฎหมายและดูแลความเรียบร้อยเท่านั้น

1. ประชาชนมีโอกาสเลือกประกอบอาชีพตามที่ตนถนัด

2. เกิดประโยชน์ต่อผู้ผลิตเพราะมีการแข่งขันทางด้านการผลิต

3. เกิดประโยชน์ต่อผู้บริโภคเพราะได้บริโภคสินค้าที่มีคุณภาพดี ราคาถูก และหลากหลาย

4. ลดภาระของรัฐบาลในการเข้าไปดำเนินการในบางเรื่อง

1. เกิดความไม่เท่าเทียมกันในการกระจายรายได้

2. นายทุนมีอิทธิพลมาก เกิดความได้เปรียบ เสียเปรียบทางด้านธุรกิจ

3. ใช้ทรัพยากรสิ้นเปลือง

4. เกิดลัทธิวัตถุนิยมและบริโภคนิยม มีผลกระทบต่อสังคม

2. ระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม

ลักษณะสำคัญ ข้อดี ข้อเสีย
1. ประชาชนไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และไม่มีสิทธิ์ในการเลือกประกอบอาชีพ

2. รัฐเป็นผู้ดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ

3. มีการวางแผนจากส่วนกลาง

1. เกิดความเป็นธรรมทางสังคม

2. รัฐสามารถควบคุมการผลิตให้เป็นไปตามนโยบาย

3. สิ้นเปลืองทรัพยากรน้อย

1. ประชาชนไม่มีโอกาสเลือกประกอบอาชีพตามที่ตนชอบหรือถนัดได้

2. ประสิทธิภาพของงานไม่มีเพราะขาดแรงจูงใจ ขาดความกระตือรือร้น เนื่องจากไม่มีการแข่งขัน

3. ทำให้ทำงานได้ล่าช้าและอาจจะไม่สอดคล้องกับสภาพความเหมาะสมของแต่ละท้องถิ่น

 3. ระบบเศรษฐกิจแบบผสม

ลักษณะสำคัญ ข้อดี ข้อเสีย
1. เอกชนมีสิทธิ์ในปัจจัยการผลิตและทรัพย์สิน โดยมีรัฐเข้าไปควบคุมการใช้ทรัพยากรที่สำคัญๆ เช่น  ป่าไม้ แร่ธาตุ แหล่งน้ำ เป็นต้น

2. เอกชนมีสิทธิ์ในการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ แต่กิจการสาธารณูปโภคส่วนใหญ่ รัฐจะเป็นผู้ดำเนินการเอง

3. กลไกราคาและการแข่งขันยังคงมีอยู่ รัฐจะเข้ามาแทรกแซงกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางเรื่องเท่านั้น

1. ประชาชนมีเสรีภาพในการประกอบอาชีพ

2. รัฐเข้ามาคุ้มครองผลประโยชน์ให้กับประชาชน

3. รัฐเป็นผู้สร้างความเป็นธรรมให้กับประชาชน เช่น ออกกฎหมายป้องกันการผูกขาดการค้า ควบคุมราคาสินค้า

1. เป็นระบบเศรษฐกิจที่ยังเน้นไปทางทุนนิยม

2. การบริหารจัดการของรัฐบาลไม่แน่นอน ชัดเจนเฉพาะในบางโอกาส

3. ไม่สามารถสร้างความเป็นธรรมอย่างแท้จริงได้