เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

1. ระบอบการปกครอง 
          ระบอบการปกครอง หมายถึง รูปแบบในการดำเนินการปกครองประเทศ แบ่งเป็น 2 แบบ คือ
                    - ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย 
                    - ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ

          การปกครองแบบประชาธิปไตย เป็นระบอบการปกครองที่ประชาชนมีอำนาจสูงสุด
                    หลักการของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มีดังนี้
                              1. หลักอำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยบัญญัติว่า “ อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทยพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ ”

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน


                              2. หลักสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิเสรีภาพของมนุษย์ที่เกิดขึ้นจริงเป็นสิทธิเสรีภาพที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ที่จะกำหนดกฎหมายดังกล่าวคือประชาชน ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันของไทยบัญญัติว่า “การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กรต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้”

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                              3. หลักนิติธรรม มีหลัก 4 ประการ ได้แก่ อำนาจตามกฎหมาย ทุกคนเสมอภาคกันตามกฎหมาย ทุกคนที่ถูกกล่าวโทษจะต้องได้รับการพิจารณาไต่สวนตามกฎหมาย และตุลาการและศาลต้องมีฐานะเป็นอิสระจากอำนาจของฝ่ายบริหาร
                    รูปแบบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย จำแนกได้ตามหลักการจัดศูนย์กลางแห่งอำนาจและการมีส่วนร่วมของประชาชน ซึ่งรูปแบบของการมีส่วนร่วมของประชาชนมี 2 แบบ คือ
                              1. ระบอบประชาธิปไตยแบบทางตรง คือ ระบบที่ประชาชนมีส่วนร่วมโดยตรง
                              2. ระบอบประชาธิปไตยแบบตัวแทน คือ ระบบที่เลือกตัวแทนของประชาชนเข้าสู่รัฐสภาเพื่อทำหน้าที่แทน มี 3 รูปแบบ ดังนี้
                                        รูปแบบรัฐสภา อาจมีเฉพาะสภาผู้แทนราษฎรเพียงสภาเดียวหรือ 2 สภา มีทั้งที่มาจากการเลือกตั้งและจากการแต่งตั้ง ซึ่งระบบรัฐสภาจะมีการตรวจสอบควบคุมอำนาจกันและกัน เพื่อความโปร่งใส
                                        รูปแบบประธานาธิบดี ผู้ใช้อำนาจบริหารคือประธานาธิบดี โดยประธานาธิบดีจะแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ซึ่งอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการต่างเป็นอิสระและถ่วงดุลกัน
                                        รูปแบบผสมผสานกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดี ประธานาธิบดีจะทำหน้าที่เป็นทั้งประมุขของรัฐและผู้บริหารราชการแผ่นดินร่วมกับนายกรัฐมนตรี

          การปกครองแบบเผด็จการ
                    ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ เป็นระบอบการปกครองที่ให้ความสำคัญกับผู้ปกครองหรือรัฐบาลมากกว่าเสรีภาพของประชาชน และประชาชนต้องปฏิบัติตามคำสั่งหรือนโยบายอย่างเคร่งครัด โดยมีหลักการคือ การใช้กำลัง ซึ่งแนวคิดเบื้องต้นของระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีดังนี้
                              1. เผด็จการในแนวคิดทางการเมือง มีแนวคิดว่ารัฐเป็นเสมือนผู้ที่พร้อมด้วยคุณธรรม โดยมีผู้นำเพียงคนเดียว หรือเป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ซึ่งถ้าไม่ทำตามจะถือว่ามีความผิด
                              2. เผด็จการในรูปแบบทางการปกครอง เป็นการรวมอำนาจทางการปกครองเพื่อแสวงหาหรือยึดอำนาจรัฐ โดยใช้วิธีที่รุนแรง และออกกฎหมายจำกัดสิทธิเสรีภาพและการมีส่วนร่วมของประชาชน
                              3. เผด็จการในการดำเนินชีวิต ซึ่งผู้ที่ด้อยกว่าจึงต้องปฏิบัติตามผู้ที่เหนือกว่า
                    รูปแบบของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ แบ่งเป็น 2 รูปแบบ คือ
                              1. เผด็จการอำนาจนิยม รัฐจะให้สิทธิเสรีภาพในทางเศรษฐกิจและสังคมพอสมควร แต่จะลงโทษผู้กระทำผิดอย่างรุนแรง และการใช้อำนาจของผู้นำจะมีเฉพาะกลุ่มแคบ ๆ

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                              2. เผด็จการเบ็ดเสร็จ ผู้นำจะเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดและใช้อำนาจเด็ดขาดเพียงผู้เดียว โดยทุกอย่างจะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ และปลูกฝังค่านิยมให้เยาวชนยึดมั่นตามแนวคิดของผู้นำ ซึ่งต้นแบบของเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมที่เห็นได้ชัดเจน ได้แก่ ระบบเผด็จการนาซี ระบบเผด็จการฟาสซิสต์ และ ระบบเผด็จการคอมมิวนิสต์

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                    ความแตกต่างของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยกับระบอบการปกครองแบบเผด็จการ สรุปได้ดังนี้
                              1. อำนาจสูงสุดในการปกครอง การปกครองระบอบประชาธิปไตย อำนาจสูงสุดจะเป็นของประชาชน แต่ การปกครองแบบเผด็จการอำนาจจะอยู่ที่คนกลุ่มเดียว หรือ ผู้นำ
                              2. สิทธิเสรีภาพและความเสมอภาค ระบอบประชาธิปไตย ประชาชนจะมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกัน แต่ระบอบการปกครองแบบเผด็จการให้ความสำคัญกับคนกลุ่มเดียว หรือ ผู้นำ
                              3. นโยบายและการดำเนินการของรัฐบาล รัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยจะเป็นผู้กำหนดนโยบายและการดำเนินการเพื่อประชาชน แต่ระบอบการปกครองเผด็จการจะคำนึงถึงความมั่นคงและประโยชน์ของประเทศ
                              4. การบริหารประเทศ ในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยประชาชนเปลี่ยนคณะรัฐบาลได้ด้วยการเลือกตั้ง แต่ประชาชนในระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีสิทธิเลือกตั้งพรรคหรือกลุ่มรัฐกำหนดให้
          รูปแบบของรัฐ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ประเทศไทยเป็นรัฐเดี่ยว ซึ่งต่างจากรัฐรวมที่แบ่งแยกอำนาจต่างๆ ไปให้มลรัฐ
          รูปแบบการปกครอง ไทยมีรูปแบบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

          อำนาจอธิปไตย เป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ รัฐธรรมนูญกำหนดให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย
          อำนาจนิติบัญญัติหรือสถาบันนิติบัญญัติ ทำหน้าที่ออกกฎหมาย คือรัฐสภา ซึ่งมีรูปแบบเป็นสภาคู่ คือ
                    สภาผู้แทนราษฎร มีสมาชิก 500 คน มีอำนาจหน้าที่ในการออกกฎหมาย
                    วุฒิสภา มีสมาชิก 150 คน มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณากลั่นกรองพระราชบัญญัติโดยไม่ผูกพันกับฝ่าย รัฐบาล และแต่งตั้งหรือถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง และยังมีหน้าที่ต้องกระทำร่วมกับสภาผู้แทนราษฎรในที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา
          อำนาจบริหาร หรือ สถาบันบริหาร
                    องค์ประกอบของสถาบันบริหาร ประกอบด้วย
                              ข้าราชการการเมือง เป็นผู้บัญชาการสูงสุดของข้าราชการประจำ
                              ข้าราชการประจำ เป็นบุคลากรที่นำนโยบายและกฎหมายไปปฏิบัติตามสายการบังคับบัญชา
                    การบริหารราชการแผ่นดิน แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                               การบริหารราชการส่วนกลาง หมายถึง การบริหารราชการของนายกรัฐมนตรี กระทรวง ทบวง กรม และ หน่วยงานที่มีฐานะเทียบเท่ากรม

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                               การบริหารราชการส่วนภูมิภาค หมายถึง การที่ราชการส่วนกลางแบ่งอำนาจการบริหารบางส่วนให้ข้าราชการในส่วนภูมิภาค ส่งผลให้ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถแก้ไขปัญหาและริเริ่มนโยบายต่าง ๆ ตามกรอบและอำนาจที่ได้รับ

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                               การบริหารราชการส่วนท้องถิ่น หมายถึง การบริหารราชการที่อยู่ในความรับผิดชอบของหน่วยการปกครองท้องถิ่น มี 2 ประเภท คือ 
                                         รูปแบบทั่วไป ได้แก่ องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาลและองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนจังหวัด

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                                         รูปแบบพิเศษ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร และเมืองพัทยา

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

          อำนาจตุลาการ หมายถึง ศาลและผู้พิพากษาหรือตุลาการที่ปฏิบัติหน้าที่ในศาล ซึ่งอำนาจตุลาการตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญมีสาระสำคัญ 2 ประการ คือ
                    อำนาจตุลาการในระบอบประชาธิปไตย
                              ศาล มีอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดี ได้แก่
                                        ศาลรัฐธรรมนูญ
                                        ศาลยุติธรรม มี 3 ศาล คือ ศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์ และ ศาลฎีกา
                                        ศาลปกครอง
                                        ศาลทหาร

2. การปกครองของประเทศที่คล้ายคลึงและแตกต่างกับไทย
          ประเทศที่มีการปกครองคล้ายคลึงกับไทย ได้แก่
                    ประเทศสหราชอาณาจักร

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน


                              1. รูปแบบของรัฐ สหราชอาณาจักรเป็นรัฐเดี่ยว
                              2. รูปแบบการปกครอง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข
                              3. อำนาจอธิปไตย รัฐสภาของอังกฤษมีอำนาจในการตราหรือยกเลิกพระราชบัญญัติ พระราชบัญญัติที่รัฐสภาตราขึ้นถือเป็นกฎหมายสูงสุด ศาลไม่มีอำนาจพิพากษาว่าเป็นโมฆะ ทำได้เพียงตีความกฎหมายที่เป็นพระราชบัญญัติ และอำนาจอธิปไตยของสหราชอาณาจักรแบ่งเป็น 3 ส่วน ได้แก่ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                     ประเทศญี่ปุ่น
                              1. รูปแบบของรัฐ ญี่ปุ่นมีสถานะเป็นรัฐเดี่ยว
                              2. รูปแบบการปกครอง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีสมเด็จพระจักรพรรดิเป็นประมุข
                              3. อำนาจอธิปไตย แบ่งเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ

        ประเทศที่มีการปกครองระบอบประชาธิปไตยแตกต่างกับไทย

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                    ประเทศสหรัฐอเมริกา

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน


                              1. รูปแบบของรัฐ สหรัฐอเมริกามีการปกครองแบบรัฐรวมที่เป็นสหพันธรัฐ
                              2. รูปแบบการปกครอง ปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบประธานาธิบดี
                              3. อำนาจอธิปไตย แบ่งเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                    ประเทศสาธารณรัฐเกาหลี
                              1. รูปแบบของรัฐ สาธารณรัฐเกาหลีหรือเกาหลีใต้มีการปกครองแบบรัฐเดี่ยว
                              2. รูปแบบการปกครอง ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีที่มาจากการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นประมุข
                              3. อำนาจอธิปไตย แบ่งเป็น อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และ อำนาจตุลาการ

       การพัฒนาประชาธิปไตยของไทย
          ปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย ไทยมีรัฐธรรมนูญมากถึง 19 ฉบับ (ฉบับที่ 19 เป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557) เพราะพัฒนาการทางการเมืองของประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ซึ่งประเด็นปัญหาและอุปสรรคที่สำคัญได้แก่
                    1. ปัญหาวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย การตัดสินใจทางการเมืองของไทยจะขึ้นอยู่กับภาครัฐ ทำให้การพัฒนาประชาธิปไตยที่ผ่านมาไม่ก้าวหน้า
                    2. ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน เพราะ ประชาชนขาดความรู้ความเข้าใจในสิทธิและบทบาทหน้าที่ ขาดจิตสำนึก และมองว่าการเข้าไปมีส่วนร่วมไม่ทำให้ตนเองได้ผลประโยชน์

          แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย มีดังนี้
                    1. ด้านวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย
                              - ควรสนับสนุนให้มีโครงการพัฒนาการเรียนรู้ทางการเมืองภายในโรงเรียน
                              - สนับสนุนให้มีการสร้างกระบวนการเรียนรู้วิธีปฏิบัติประชาธิปไตย
                              - สภาพัฒนาการเมืองควรผลักดันให้หลักสูตรการเรียนรู้วัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย
                              - พรรคการเมืองควรจัดกิจกรรมทางการเมืองเสมอ
                              - การให้กองทุนพัฒนาการเมืองจัดสรรเงินเพื่อสนับสนุนกิจกรรมการเรียนรู้ที่ส่งเสริมวัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย
                              - จัดทำหลักสูตรการเรียนรู้วัฒนธรรมการเมืองแบบประชาธิปไตย
                    2. ด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน
                              ควรให้ประชาชนในพื้นที่ทราบถึงรายละเอียดของโครงการ ตลอดจนผลกระทบ
                              ปรึกษาหารือระหว่างผู้ดำเนินโครงการกับประชาชนที่มีส่วนได้ส่วนเสีย
                              การประชุมรับฟังความคิดเห็น ได้แก่ การประชุมในระดับชุมชน และ การประชุมรับฟังความคิดเห็นทางวิชาการ
                              การร่วมตัดสินใจ
                              การใช้กลไกทางกฎหมาย ประชาชนเรียกร้องสิทธิหรือการใช้สิทธิได้เมื่อเห็นว่าเกิดความไม่เป็นธรรม
                              การกดดันรัฐบาล

3. รัฐธรรมนูญ

          การเลือกตั้ง
                    ความหมายของการเลือกตั้ง หมายถึง การที่ราษฎรใช้สิทธิของตนลงคะแนนเสียงเลือกผู้แทนเพื่อทำหน้าที่แทนตนในการปกครองแต่ละระดับของประเทศ ปัจจุบันการเลือกตั้งในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
                              1. การเลือกตั้งระดับท้องถิ่น เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นและผู้บริหารท้องถิ่น
                              2. การเลือกตั้งระดับชาติ เป็นการเลือกตั้งผู้แทนของประชาชนเข้าไปเป็นสมาชิกรัฐสภา
                    หลักการของการเลือกตั้ง มีดังนี้
ิ                              1. หลักการเลือกตั้งอิสระ
                              2. หลักการเลือกตั้งตามกำหนดเวลา ต้องมีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุก 4 ปี
                              3. หลักการเลือกตั้งอย่างบริสุทธิ์ยุติธรรม
                              4. หลักการเลือกตั้งอย่างเสมอภาค ทุกคนมีสิทธิลงคะแนนเสียงได้คนละ 1 เสียงเท่ากัน
                              5. หลักการออกเสียงทั่วไป ทุกคนมีสิทธิออกเสียง เว้นแต่มีข้อจำกัดซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วไป
                              6. หลักการลงคะแนนอย่างสะดวก
          คณะกรรมการการเลือกตั้ง มีอำนาจหน้าที่ดังนี้

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                    - ควบคุมและดำเนินการจัดการเลือกตั้งและออกเสียง
                    - ออกประกาศหรือวางระเบียบที่จำเป็น
                    - วางระเบียบ ข้อห้ามในการปฏิบัติหน้าที่ของคณะรัฐมนตรีรักษาการ
                    - กำหนดมาตรฐานและควบคุมเกี่ยวกับการเงินของพรรคการเมืองและผู้สมัครรับเลือกตั้ง
                    - มีคำสั่งให้บุคลากรของรัฐปฏิบัติการตามที่กฎหมายให้อำนาจ
                    - สืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริงและวินิจฉัยชี้ขาดปัญหาหรือข้อโต้แย้งเกี่ยวกับการเลือกตั้ง
                    - สั่งให้มีการเลือกตั้งใหม่หรือออกเสียงประชามติใหม่ หากพบว่ามีการทุจริต
                    - ประกาศผลการเลือกตั้ง ผลการสรรหา และผลการออกเสียง
                    - ส่งเสริมและสนับสนุนหรือประสานงานกับหน่วยงานฝ่ายรัฐ และ องค์กรเอกชน
          การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา

เฉลย ใบ งานที่ 32 เรื่อง รูป แบบ การปกครองในยุคปัจจุบัน

                    1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งแบบผสม คือ มีการเลือกตั้ง 2 แบบ ได้แก่
                              ส.ส. แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
                              ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ
                    2. การเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา คุณสมบัติของผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีดังนี้
                              มีสัญชาติไทย หากแปลงสัญชาติต้องไม่น้อยกว่า 5 ปี
                              อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปีบริบูรณ์
                              มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านในเขตเลือกตั้ง ไม่น้อยกว่า 90 วัน
                              ไม่มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้ง
         การเลือกตั้งสมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่น การปกครองส่วนท้องถิ่นของไทยมีผู้บริหารท้องถิ่นที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนดังรายละเอียดต่อไปนี้
                   1. การเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดจะใช้เขตพื้นที่จังหวัดเป็นเขตเลือกตั้ง จะแบ่งเขตเลือกตั้งเท่ากับจำนวนสมาชิก อบจ.ที่มีในอำเภอนั้น ซึ่งผู้มีสิทธิเลือกตั้งเลือกสมาชิกสภา อบจ. ได้ 1 คน
                   2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลและนายกเทศมนตรี มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลตำบลแบ่งเป็น 2 เขตเลือกตั้ง ส่วนเทศบาลเมืองแบ่งเป็น 3 เขตเลือกตั้ง และ เทศบาลนครแบ่งเป็น 4 เขตเลือกตั้ง แต่ละเขตมีนายกเทศมนตรีได้ 1 คน
                   3. การเลือกตั้งสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลและนายกองค์การบริหารส่วนตำบลจะใช้หมู่บ้านเป็นเขตเลือกตั้ง ผู้มีสิทธิเลือกตั้งต้องลงคะแนนให้ผู้สมัครเท่ากับจำนวนสมาชิกที่พึงมีได้ในเขตนั้น เลือกได้ตำบลละ 1 คน
                   4. การเลือกตั้งสมาชิกสภากรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร กำหนดให้เขตปกครองเป็นเขตเลือกตั้งตามเกณฑ์จำนวนราษฎร 100,000 คน หากเกิน 150,000 คน ให้เพิ่มได้อีก 1เขต ส่วนผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครจะมีเขตกรุงเทพมหานครเป็นเขตเลือกตั้งเลือกได้เพียง 1 คน
                   5. การเลือกตั้งสมาชิกสภาเมืองพัทยาและนายกเมืองพัทยา กำหนดให้มีการแบ่งเขตเมืองพัทยาออกเป็น 4 เขตเลือกตั้ง แต่ละเขตมีสมาชิกเมืองพัทยาได้เขตละ 6 คน การเลือกตั้งนายกเมืองพัทยาจะใช้เขตเมืองพัทยาเป็นเขตเลือกตั้ง โดยเลือกได้ 1 คน
          การมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครอง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 กำหนดให้ประชาชนมีส่วนร่วมในกิจกรรม 2 ประเภท ดังนี้
                    1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน ได้แก่
                               การเสนอกฎหมาย ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 10,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานรัฐสภา
                               การถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา
                               การออกเสียงประชามติ กรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่าเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของประเทศชาติหรือประชาชน
                    2. การมีส่วนร่วมของประชาชนตามแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ประชาชนต้องได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนจากรัฐตามแนวนโยบายพื้นฐาน ดังนี้
                              - การกำหนดนโยบายและวางแผนพัฒนาประเทศ
                              - การตัดสินใจทางการเมือง
                              - การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ
                              - การรวมตัวกันของกลุ่มประชาชน
                              - การใช้สิทธิเลือกตั้ง

          การตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ รัฐธรรมนูญกำหนดให้มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในเรื่องต่อไปนี้
                    การตรวจสอบทรัพย์สิน โดยมีขั้นตอนดังนี้
                              1. การยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
                              2. การกำหนดเวลาในการยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
                              3. การเปิดเผยบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สิน
                              4. กรณีผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพ้นจากตำแหน่งหรือตาย
                              5. กรณีไม่ยื่นบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินหรือยื่นแต่เป็นเท็จหรือปกปิดข้อเท็จจริง
          การขัดกันแห่งผลประโยชน์ รัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมีเจตนารมณ์จะป้องกันไม่ให้รัฐเสียหายหรือเกิดการแสวงหาผลประโยชน์โดยมิชอบระหว่างปฏิบัติหน้าที่ของสมาชิกรัฐสภาโดยมีข้อห้าม 5 ประการ ดังนี้
                             1. การกระทำต้องห้ามของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา สมาชิกต้องไม่ดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับรัฐ และ ต้องไม่เป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นสื่อต่าง ทั้งในนามของตนเองหรือให้ผู้อื่นเป็นเจ้าของกิจการหรือถือหุ้นแทน
                             2. ข้อห้ามไม่ให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภาแทรกแซงการปฏิบัติราชการและกระบวนการบริหารงานบุคคลของหน่วยงานรัฐ
                             3. การกระทำต้องห้ามของรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีดำรงตำแหน่งในองค์การที่ดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งหาผลกำไรหรือรายได้มาแบ่งปันกันไม่ได้ และ เป็นลูกจ้างไม่ได้
                             4. ข้อห้ามไม่ให้รัฐมนตรีแทรกแซงการปฏิบัติราชการและกระบวนการบริหารงานบุคคลภาครัฐ
                             5. การเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทของรัฐมนตรี คณะรัฐมนตรีต้องไม่เป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท
          การถอดถอนออกจากตำแหน่ง เป็นวิธีที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้เพื่อตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐของผู้ดำรงตำแหน่งระดับสูงตามที่กฎหมายกำหนด โดยมอบหมายให้วุฒิสภามีอำนาจดำเนินการถอดถอนผู้ที่มีพฤติกรรมร่ำรวยผิดปกติ และ กระทำผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ หรือ ใช้อำนาจในทางที่ผิด
                    วิธีการดำเนินการถอดถอนบุคคลออกจากตำแหน่ง มีดังนี้
                              1. สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาของแต่ละสภาจำนวนไม่น้อยกว่า 1 ใน 4 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด หรือประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่า 20,000 คน มีสิทธิเข้าชื่อร้องขอต่อประธานวุฒิสภา
                              2. หลังจากประธานวุฒิสภาได้รับคำร้อง ให้ดำเนินการตรวจสอบและส่งเรื่องให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติไต่สวน
                              3. หลังจากไต่สวนเสร็จ ให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทำรายงานเสนอต่อวุฒิสภา กรณีที่มีมติว่าข้อมูลดังกล่าวมีมูล ให้ผู้ดำรงตำแหน่งที่ถูกกล่าวหายุติการปฏิบัติหน้าที่ก่อน และให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติส่งเรื่องให้ประธานวุฒิสภาพิจารณา และส่งเรื่องให้อัยการสูงสุดดำเนินการ
                              4. ให้ถือมติของที่ประชุมวุฒิสภาไม่น้อยกว่า 3 ใน 5 ของจำนวนสมาชิกทั้งหมด โดยวิธีลงคะแนนลับ มติดังกล่าวถือเป็นที่สุดและให้บุคคลพ้นจากตำแหน่ง และตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี

          การดำเนินคดีอาญากับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง มีกระบวนการดังนี้
                    1. ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองที่จะถูกดำเนินคดีอาญา ได้แก่ นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และตำแหน่งข้าราชการทางการเมือง ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองมี 5 ประเภทตามตำแหน่งทางการเมืองดังกล่าว และยังใช้บังคับกรณีที่บุคคลเป็นตัวการ ผู้ใช้ หรือผู้สนับสนุน หรือบุคคลที่ทำให้เกิดการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่
                    2. ฐานความผิดที่ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะถูกดำเนินคดีอาญา มี 3 ฐานความผิด คือ การร่ำรวยผิดปกติ การกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการตามประมวลกฎหมายอาญา การกระทำผิดต่อหน้าที่หรือทุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมายอื่น
                    3. ผู้พิจารณาคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองจะเป็นผู้พิจารณาพิพากษา
                    4. ผู้ดำเนินคดีอาญาในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องดำเนินการผ่านคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (คณะกรรมการ ป.ป.ช.) แต่หากคณะกรรมการ ป.ป.ช. กระทำความผิดเอง ประธานวุฒิสภาจะส่งให้ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเป็นผู้พิจารณา

รัฐบาล
          อำนาจหน้าที่ของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
                    1. กำหนดนโยบายและบริหารราชการแผ่นดิน
                    2. ออกกฎหมายที่จำเป็นในการบริหารประเทศ
                    3. ประกาศสงคราม ตามที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา
                    4. ทำหนังสือสัญญาต่าง ๆ
          บทบาทสำคัญของรัฐบาลในการบริหารราชการแผ่นดิน ได้แก่
                    1. กำหนดนโยบายและบริหารประเทศให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้
                    2. ริเริ่มเสนอกฎหมายมาใช้ปกครองประเทศ
                    3. ประสานงานราชการ เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างสัมพันธ์กัน
                    4. แก้ปัญหาของประเทศ
                    5. รักษาความมั่นคงและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของประเทศ
                    6. ให้บริการสาธารณะแก่ประชาชน
                    7. ดำเนินกิจการด้านการพาณิชย์ เพราะกิจการบางอย่างถ้าให้เอกชนดำเนินการอาจมีข้อขัดข้อง

          ความจำเป็นในการมีรัฐบาลตามระบอบประชาธิปไตย รัฐบาลเป็นองค์ประกอบหนึ่งช่วยบริหารประเทศให้การบริการแก่ประชาชน และป้องกันการรุกรานจากภายนอก