ใบงานที่ 1.2 เรื่อง พระอัสสชิ

พระกีสาโคตมีเถรี เดิมมีชื่อว่า กีสา เพราะรูปร่างผอมบาง ส่วนโคตมีเป็นชื่อโคตร (ตระกูล) ท่านเป็นธิดาของตระกูลที่เก่าแก่ตระกูลหนึ่งในกรุงสาวัตถี วันหนึ่งนางเดินไปที่ตลาดได้เหลือบไปเห็นพ่อค้าคนหนึ่งนำเอาทองมากองไว้ นั่งเฝ้าดังหนึ่งจะขายให้แก่คนทั่วไป นางจึงเข้าไปถามด้วยคำว่า “คุณพ่อ คนอื่นเขาขายผ้า ขายน้ำผึ้ง น้ำอ้อย เป็นต้น แต่ทำไมคุณพ่อนำทองมาขาย “ ด้วยคำพูดของนางทำให้พ่อค้าที่ถูกเรียกว่า “คุณพ่อ” ตื่นเต้นเป็นการใหญ่ เนื่องจากพ่อค้าคนนี้เดิมเป็นเศรษฐีในเมืองสาวัตถี จู่ ๆ วันหนึ่ง ทองที่มีทั้งหมดได้กลายเป็นถ่านซึ่งอาจเกิดจากผลแห่งบาปกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งของเศรษฐีเอง จึงสร้างความตกใจและความโศกเศร้าแก่เศรษฐีเป็นอย่างยิ่ง

เมื่อเพื่อนเศรษฐีที่รู้เรื่องราวก็พากันมาปลอบโยนและแนะนำให้เศรษฐีให้ลองเอาถ่านทั้งหมดไปกองไว้ที่ตลาดที่คนเดิน
ผ่านไปมา หากคนที่ผ่านไปมามองเห็น ว่าเป็นถ่านจะพูดอย่างไรก็ไม่ต้องไปสนใจ แต่เผื่อมีใครสักคนมองเห็นแล้วพูดว่าทอง
ก็ให้คน ๆ นั้นจับถ่านเหล่านี้แล้ว ถ่านก็อาจกลายเป็นทองได้ เศรษฐีจึงได้ทำตามคำแนะนำของเพื่อน เมื่อนางกีสาโคตมีมาพบและพูดทักว่าทำไมเอาทองมากองดังหนึ่งจะขายดังกล่าวมาข้างต้นเศรษฐีจึงมีความตื่นเต้นเป็นอย่างยิ่งจึงให้นางลองหยิบให้ดู เมื่อนางหยิบถ่านขึ้นมาก้อนหนึ่ง ถ่านก็กลายเป็นทองจริง ๆ และเมื่อนางหยิบก้อนถ่านทั้งหมด ก้อนถ่านเหล่านั้นก็กลายเป็นทองตามเดิม เศรษฐีรู้ว่านางยังไม่แต่งงาน จึงไปสู่ขอพ่อแม่ของนางแต่งงานกับบุตรชายของตนและรับนางมาอยู่ที่ตระกูลสามี

อยู่มาไม่นาน นางก็ให้กำเนิดบุตรน่ารักคนหนึ่ง ยังความปลาบปลื้มแก่สมาชิกในตระกูลเป็นอย่างยิ่ง แต่อยู่ได้ไม่นาน บุตรน้อยของนางก็เสียชีวิตกระทันหัน นางร่ำไห้เสียใจเป็นอย่างมาก จนสติฟั่นเฟือนครึ่งบ้า ไม่ยอมให้ใครเผาศพลูกชาย คิดเข้าข้างตัวว่าลูกชายของตนยังไม่ตาย เพียงสลบไปเท่านั้น มิไยใครเขาจะบอกว่าลูกของนางตายแล้วก็ไม่ฟัง นางเที่ยวเสาะหาคนที่จะสามารถรักษาลูกชายของนางให้กลับฟื้นได้จนมีผู้แนะนำให้นางไปเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อให้พระพุทธองค์รักษา นางดีใจเป็นอย่างยิ่งจึงได้อุ้มศพบุตรชายรีบไปเฝ้าพระพุทธเจ้าซึ่งประทับอยู่ที่พระวิหารเชตวัน นอกเมืองสาวัตถีเมื่อเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าแล้ว นางได้กราบทูลให้พระพุทธองค์รักษาบุตรน้อยพระพุทธองค์ตรัสให้นางไปเอาเมล็ดพันธุ์ผักกาดมาสักกำมือหนึ่ง และเมล็ดพันธุ์ผักกาดนั้นจะต้องเอามาจากบ้านเรือนที่ไม่มีใครตาย เมื่อได้มาแล้วพระองค์จะทำยาให้
นางกีสาโคตมีอุ้มลูกน้อยไปเที่ยวขอเมล็ดพันธุ์ผักกาดจากชาวบ้านทั่วทุกครัวเรือน ไม่ได้แม้แต่เมล็ดเดียว เนื่องจากแต่ละครัวเรือนก็มีคนตายมาแล้วทั้งสิ้น จนในที่สุดนางก็ได้สติกลับคืนมาและคิดได้ว่าความตายนั้นไม่ใช่ตายเฉพาะลูกเราคนเดียว คนอื่นก็ตายด้วย สักวันหนึ่งเราเองก็จะต้องตายเหมือนกัน ความตายเป็นสัจจะแห่งชีวิต สิ่งใดมีการเกิดขึ้น สิ่งนั้นก็มีการแตกดับไปในที่สุด เมื่อคิดได้ดังนี้ แสงสว่างแห่งปัญญาก็โพลงขึ้นกลางใจ ความเศร้าโศกที่แบกรับมาจนหนักอึ้งก็ผ่อนคลายเบาบาง จิตใจสดชื่น โปร่งโล่งสบาย นางจัดการเผาศพลูกชายตนเอง แล้วเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ก็ได้ตรัสโลกธรรมสั้น ๆ ให้ฟังว่า“มฤตยูย่อมพาชีวิตของคนที่ยึดติดมัวเมาในบุตรและในทรัพย์สินไป ดุจเดียวกับกระแสน้ำหลากมาพัดพาเอาชีวิตของประชาชนผู้นอนหลับไหลไป ฉะนั้น”

สิ้นสุดพระธรรมเทศนาสั้น ๆ นางกีสาโคตมีก็ได้บรรลุโสดาปัตติผล กราบทูลขออุปสมบทเป็นพระภิกษุณี พระองค์ทรงส่งนางไปบวชในสำนักภิกษุณีสงฆ์ เมื่อบวชแล้วได้นามตามเดิมว่า “พระกีสาโคตมีเถรี” วันหนึ่ง ขณะพระเถรีตามประทีปให้สว่างในวิหาร เห็นเปลวประทีบลุกแล้วหรี่ลง ลุกแล้วหรี่ลง เช่นนี้ตลอด ได้กำหนดเอาแสงประทีปเป็นอารมณ์กรรมฐาน แล้วเกิดความรู้ขึ้นว่า ชีวิตสัตว์ทั้งหลายดุจเดียวกับแสงประทีป เกิดขึ้นแล้วก็ดับ ดับแล้วก็เกิดใหม่ เวียนว่ายอยู่ในวงจรแห่งการเกิดดับอยู่ ไม่รู้นานเท่าไร จนกว่าจะบรรลุพระนิพพานนั้นแหละ จึงจะหยุดวงจรแห่งการเกิดดับนี้ได้ ฉับพลันนั้นเองได้ปรากฏแสงสว่างเรืองรองประหนึ่งพระพุทธเจ้าเสด็จมาประทับต่อหน้านาง พระสุรเสียงกังวานแว่วมาว่า “ถูกแล้ว กีสาโคตมี ผู้ใดเห็นแจ้งในพระนิพพาน แม้จะมีชีวิตอยู่เพียงวันเดียว ก็ยังประเสริฐกว่าผู้มีอายุตั้งร้อยปีแต่ไม่เห็นแจ้ง” เมื่อสิ้นสุดพระพุทธภาษิต พระกีสาโคตมีเถรีก็ได้บรรลุพระอรหันตผลพร้อมปฏิสัมภิทาพระกีสาโคตมีเถรีได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะ (ความเป็นเลิศกว่าผู้อื่น) ในทางทรงจีวรเศร้าหมอง เป็นผู้ถือธุดงควัตรเคร่งครัด มีความเป็นอยู่เรียบง่ายอย่างยิ่ง เป็นสตรีที่มีบทบาทในการจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างดียิ่งท่านหนึ่ง

คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. พระกีสาโคตมีเถรี ได้ผ่านประสบการณ์ชีวิตอันขมขื่นมาแล้ว รู้รสชาติแห่งความทุกข์เพราะวิปโยค เมื่อมาอยู่ในร่มเงาพระพุทธศาสนา ได้พบสุขที่แท้จริงแล้ว ก็มีความสงสารเห็นใจผู้ยังอยู่ในห้วงทุกข์นั้น จึงมักเทศน์สั่งสอนผู้คนผู้กำลังทุกข์ ให้หาทางแก้ทุกข์ในทางที่ถูกต้อง วิธีเอาชนะทุกข์ได้เด็ดขาด คือหันหน้ามาเผชิญกับความทุกข์ รับรู้ความจริงว่ามันเป็นทุกข์เพราะเหตุใด แล้วพยายามแก้ไขที่ต้นเหตุด้วยวิธีนี้เท่านั้นจึงจะแก้ทุกข์ได้
2. พระกีสาโคตมีเถรี ท่านได้รับยกย่องจากพระพุทธเจ้าว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงจีวรเศร้าหมอง เป็นผู้ถือธุดงควัตรเคร่งครัด มีความเป็นอยู่เรียบง่าย จึงมีผู้เลื่อมใสศรัทธาในตัวท่านและพระพุทธศาสนาเป็นจำนวนมาก นับได้ว่าท่านเป็นผู้มีบทบาทในการจรรโลงพระพุทธศาสนาอย่างดีท่านหนึ่ง

พระนางมัลลิกา

ใบงานที่ 1.2 เรื่อง พระอัสสชิ

พระนางมัลลิกา ทรงเป็นธิดาของนายมาลาการ (ช่างทำดอกไม้) นางมีหน้าที่ออกไปเก็บดอกไม้ในสวนเพื่อนำมาให้บิดาทำ
พวงมาลัยทุกวันหรือไม่ก็จัดดอกไปให้เป็นระเบียบเพื่อไว้ขายเป็นประจำ นอกจากนี้นางยังได้ถวายดอกไม้และได้ฟังพระธรรมเทศนา
จากพระพุทธเจ้าจนได้บรรลุโสดาปัตติผลเป็นพระอริยบุคคลตั้งแต่อายุยังน้อย
เมื่อนางมีอายุประมาณ 16 ปี ขณะเก็บดอกไม้ นางได้ร้องเพลงไปพลางเก็บดอกไม้ไปพลางอย่างมีความสุข และในขณะนั้นเองพระเจ้าปเสนทิโกศล ได้ปลอมพระองค์เป็นสามัญชน ได้ฟังเพลงที่นางขับร้องได้อย่างไพเราะจับใจจึงปรากฏพระองค์ขึ้นและสนทนากับนาง ก็รู้สึกพอพระทัยมากขึ้น ต่อมาอีกสองสามวัน พระองค์จึงส่งเจ้าหน้าที่ให้ไปรับนางมาไว้ในพระราชวัง นางจึงรู้ความจริงว่า บุรุษที่นางสนทนาด้วยในวันก่อนนั้นเป็นพระราชาพระนามว่า ปเสนทิโกศล และพระเจ้าปเสนทิโกศลก็ทรงอภิเษกสมรสกับนาง และทรงสถาปนาให้เป็นพระมเหสีด้วย
พระนางมัลลิกาเป็นสตรีที่มีความเฉลียวฉลาด มีปฏิภาณไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ดีทรงเป็นที่รักและชื่นชมของพระสวามีเป็นอย่างมากพระเจ้าปเสนทิโกศลถึงแม้ว่าในระยะหลังนี้พระองค์จะหันมาสนใจในพระพุทธศาสนาก็ยังมีความเชื่อลัทธิดั้งเดิมบางอย่างอยู่ เช่น เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของพิธีบูชายัญ ครั้งหนึ่ง พระองค์รับสั่งให้ตระเตรียมพิธีบูชายิ่งใหญ่ มีการฆ่าสัตว์อย่างละ 700 ตัว เซ่นสรวงด้วย พระนางมัลลิกาทรงทัดทานมิให้พระองค์ทำบาป และได้แนะนำให้พระองค์เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อขอรับคำแนะนำซึ่งพระองค์ก็ทรงทำตาม และยกเลิกพิธีบูชายัญ
อนึ่ง เมื่อพระเจ้าปเสนทิโกศลแข่งกับชาวเมืองทำบุญกัน ประชาชนมักจะทำทานอันประณีตและมโหฬาร พระเจ้าปเสนทิโกศลจนพระทัยไม่รู้จะทำประการใด จึงจะทำให้ทานของพระองค์มโหฬารและแปลกใหม่กว่าประชาชน จึงขอรับคำแนะนำจากพระนางมัลลิกา ซึ่งพระนางมัลลิกาก็แนะนำให้พระองค์ทรงทำ “อสทิสทาน” (ทานที่ไม่มีใครเหมือน) และพระองค์ก็ทรงทำตาม นับว่าเป็นความเฉลียวฉลาดอันเกิดจากสติปัญญาของพระนางมัลลิกาอย่างแท้จริง
พระนางมัลลิกาไม่มีพระราชโอรส เมื่อพระนางพระครรภ์แก่ จวนจะมีประสูติกาล พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงมีความปรารถนา
อยากได้พระราชโอรส ทรงตั้งความหวังไว้ในพระทัยไว้มาก แต่เมื่อพระนางมัลลิกาประสูติพระราชธิดา ทำให้พระองค์เสียพระทัยมาก จึงเข้าเฝ้าพระพุทธเจ้าเพื่อปรับทุกข์พระพุทธเจ้าตรัสปลอบพระทัยว่า ธิดาหรือโอรสไม่สำคัญ เพศมิใช่เป็นเครื่องแบ่งหรือบอกความแตกต่างในด้านความรู้ความสามารถ สตรีที่มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ประพฤติธรรม และเป็นมารดาของบุคคลสำคัญ ย่อมประเสริฐกว่าบุรุษ ด้วยพระดำรัสนี้ ทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงพอพระทัยเป็นอย่างยิ่ง
ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลตรัสถามพระนางมัลลิกาว่า พระนางรักพระองค์ไหม รักมาเพียงใด แต่พระนางมัลลิกากลับตอบว่า พระนางรักตนเองมากกว่าสิ่งใด ด้วยคำตอบของพระนางทำให้พระเจ้าปเสนทิโกศลทรงน้อยพระทัยด้วยทรงคิดว่าพระมเหสีไม่รักพระองค์เสมอเหมือนชีวิตของนาง เมื่อมีโอกาสเหมาะจึงกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทรงทราบถึงเรื่องดังกล่าว พระพุทธเจ้ากลับตรัสว่า “มัลลิกาพูดถูกแล้วมหาบพิตร เพราะบรรดาความรักทั้งหลายในโลกนี้ ไม่มีความรักใดจะเท่ากับความรักตนเอง มัลลิกาพูดคำจริงตรงกับใจเธอ มหาบพิตรควรจะชื่นชมมเหสีที่ยึดมั่นในสัจจะ (ความจริง) เช่นนี้”พระเจ้าปเสนทิโกศลได้ฟังพระดำรัสนี้แล้วจึงค่อยคลายความน้อยพระทัยลงได้

พระนางมัลลิกาเป็นพุทธสาวิกาผู้มั่นคงในธรรม และช่วยคนอื่นให้เข้าถึงธรรมด้วย ในฐานะพระมเหสีของพระราชา พระนางเป็น
พระสาวิกาพึ่งตัวเองได้ในทางธรรมและช่วยให้ผู้อื่นโดยเฉพาะพระสวามีพึ่งตัวเองได้ด้วย พระนางจึงทรงเป็นสตรีตัวอย่างที่ดีท่านหนึ่งในประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา
คุณธรรมที่ควรถือเป็นแบบอย่าง
1. พระนางมัลลิกาเป็นผู้กตัญญูกตเวที กล่าวคือ เมื่อพระนางยังเป็นเด็กสาวธิดาของนายมาลาการนั้น พระนางได้ช่วยบิดาเก็บดอกไม้ในสวนและจัดให้เป็นระเบียบเพื่อนำไปขายทุกวั้น นับว่าพระนางเป็นผู้กตัญญูช่วยเหลือกิจการของบิดาและมีความขยันเป็นอย่างยิ่ง
2. พระนางมัลลิกาเป็นผู้มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด ทรงทัดทานพระเจ้าปเสนทิโกศลผู้เป็นพระสวามีมิให้กระทำบาป
ด้วยการฆ่าสัตว์บูชายัญ และทรงแนะนำให้พระสวามีให้พึ่งตนเองด้วยการปฏิบัติธรรมและยึดมั่นอยู่ในคุณธรรมความดี พระนางจึงทรงเป็นที่รักและโปรดปรานของพระสวามีเป็นอย่างยิ่ง
3. พระนางมัลลิกาทรงเป็นพุทธสาวิกาผู้มั่นคงในพระพุทธศาสนา และช่วยคนอื่นให้เข้าถึงธรรมในพระพุทธศาสนาด้วย

หมอชีวกโกมารภัจจ์

ใบงานที่ 1.2 เรื่อง พระอัสสชิ

หมอชีวกโกมารภัจจ์ เป็นบุตรของนางสาลวดี หญิงนครโสเภณี ในเมืองราชคฤห์ ตำแหน่งหญิงนครโสเภณีนั้นเป็นนามตำแหน่งที่
ทางราชการบ้านเมืองของแต่ละเมืองแต่งตั้งให้ สำหรับคุณสมบัติของสตรีที่จะได้รับการแต่งตั้งเป็นหญิงนครโสเภณีนั้น จะต้องมีรูปร่างสวยงามที่สุดเล่นดนตรีได้ ขับร้องได้ ฉลาดในการรับแขก และต้องได้รับการคัดเลือกจากบรรดาเศรษฐีคหบดีและเจ้านายชั้นสูง

ธรรมเนียมของหญิงนครโสเภณีนั้น เมื่อมีครรภ์จะงดรับแขกจนกว่าจะคลอดลูก และหากคลอดลูกเป็นหญิงจะเลี้ยงไว้เพื่อสืบทายาท หากเป็นชายจะให้คนอื่นเลี้ยงหรือนำไปทิ้งที่ใดที่หนึ่งเพื่อให้คนทั่วไปได้พบเห็นและเก็บเอาไปเลี้ยง

เมื่อนางสาลวดีคลอดบุตรเป็นชาย จึงให้คนนำไปทิ้งที่กองขยะ เจ้าชายอภัยราชกุมาร ผู้เป็นโอรสของพระเจ้าพิมพิสารทราบข่าวจึงเก็บมาเลี้ยงไว้ และตั้งชื่อว่า ชีวก (ผู้มีชีวิตอยู่) และมีนามต่อท้ายว่า โกมารภัจจ์ (ผู้ที่พระราชกุมารนำไปเลี้ยงไว้)ชีวก

โกมารภัจจ์ได้ศึกษาวิชาแพทย์ที่สำนักทิศาปาโมกข์ เมืองตักกศิลาใช้เวลาศึกษาอยู่นานถึง 7 ปี จนสำเร็จวิชาแพทย์ ได้กลับมายังเมืองราชคฤห์ ระหว่างทางที่จะกลับ ได้ทำการรักษาเศรษฐี คหบดี และคนทั่วไป จนคนเหล่านั้นหายจากโรคภัยไข้เจ็บ ได้รับค่าตอบแทนเป็นจำนวนมาก เมื่อท่านกลับมาถึงเมืองราชคฤห์ ก็ได้นำรางวัลค่าตอบแทนที่ได้รับถวายเจ้าชายอภัย ผู้ทรงเป็นบิดาเลี้ยงซึ่งเจ้าชายก็มอบคืนให้พร้อมกับสร้างบ้านพักแก่ชีวก โกมารภัจจ์ในพระราชวังนั้นเอง