ทำไม ต่าง ชาติ เรียน ภาษา ไทย

สงสัยไหมว่าทำไมชาวต่างชาติจึงเลือกเรียนภาษาไทย? แล้วเราสอนอะไรให้ชาวต่างชาติบ้าง? เรื่องใดสอนยาก เรื่องใดสอนง่าย?

ครูหนุ่ย (คุณฑีฆายุ เจียมจวนขาว)

ผู้ช่วยครูใหญ่ จาก ศุมา สถาบันภาษาและวัฒนธรรม

จะมาบอกเล่าประสบการณ์การสอนภาษาไทยให้ชาวต่างชาติให้เราฟังกัน

ทำไมชาวต่างชาติเรียนภาษาไทย

ชาวต่างชาติเรียนภาษาไทยเพื่อใช้ภาษาไทยสื่อสารกับคนไทย มีเหตุผลต่างๆ เช่น

  • เหตุผลส่วนตัว
  • แต่งงานกับคนไทย
  • ทำธุรกิจที่ประเทศไทย
  • อยากเรียนภาษาไทย ชอบภาษาไทย

สอนอะไรให้ชาวต่างชาติบ้าง

  • พูด ฟัง เขียน สะกด สนทนา
  • วัฒนธรรมไทย สังคม ประเพณี ศาสนา

เรื่องที่สอนง่ายและเรื่องที่สอนยาก

  • ขึ้นอยู่กับพื้นฐานของนักเรียน
  • เรื่องที่ยาก เช่น ความเข้าใจทางสังคม ศาสนา การเมือง
  • บางคนเข้าใจง่ายเพราะมีพื้นฐานคล้ายคนไทย เช่น เป็นคนเอเชีย นับถือศาสนาพุทธ หรือมีสถาบันพระมหากษัตริย์

ทำไม ต่าง ชาติ เรียน ภาษา ไทย

Written by : Nattapol  Klanwari

เราจะสังเกตเห็นได้ว่าชาวต่างชาติมาทำงานหรือมาอยู่ในประเทศไทยพักเดียวสามารถพูดภาษาไทยได้ อาจไม่ชัด 100% แต่ก็เรียกว่าไม่อดตายก็แล้วกัน แต่สำหรับคนไทยแล้ว การพูดภาษาต่างประเทศดูจะยากเอาการ

ผมได้อ่านบทความหนึ่งแต่จำไม่ได้แล้วว่าจากแหล่งไหนซึ่งได้เขียนไว้อย่างน่าสนใจทีเดียวว่า ประเทศไทยเป็นประเทศที่สามารถทำให้ลูกหลานชาวต่างชาติที่มาอาศัยอยู่ในประเทศไทยพูดภาษาดั้งเดิมของตนเองไม่ได้ เช่น คนจีนที่มาอยู่ในประเทศไทย รุ่นอาม่า อากง หรือเตี่ยก็ยังพูดภาษาจีนกันไม่ว่าจะเป็นจีนกลาง จีนไหหลำ จีนแต้จิ๋ว จีนแคะ ฯลฯ แล้วแต่แหล่งที่คนจีนนี้เดินทางมา แต่พอรุ่นลูกหลาน เหลน กลายเป็นว่าพูดจีนกันไม่ได้แล้ว จะต่างจากครอบครัวจีนที่เดินทางไปอยู่ประเทศอื่นที่ยังคงพูดภาษาจีนในครอบครัวกันต่อเนื่อง เป็นจุดหนึ่งที่ประเทศที่มีชาวจีนไปตั้งรกรากงงกันใหญ่หาว่าประเทศไทยกลืนภาษาอื่นไปได้อย่างไร (ผมเองก็เป็นคนหนึ่งที่พูดจีนแต้จิ๋วไม่ค่อยได้แล้ว ตั้งแต่อาม่าไม่อยู่)

นอกจากนั้นเราพยายามที่จะจ้างครูชาวต่างชาติเข้ามาสอนภาษาต่างชาติโดยเฉพาะภาษาอังกฤษ ซึ่งหวังว่าชาวต่างชาติที่พูดภาษาไทยไม่ได้จะได้นำพาให้นักเรียนไทยพูดภาษาอังกฤษได้ กึ่งๆ บีบบังคับไปในตัว แต่เหตุการณ์กลับตรงกันข้าม เพราะพอสอนได้สักพักเพียงไม่กี่เดือน ทั้งครูชาวต่างชาติและเด็กไทยพูดภาษาไทยกันเฉยเลย กลายเป็นว่าครูต่างชาติเก่งภาษาไทยเด็กไทยพูดภาษาอังกฤษไม่ดีขึ้นเท่าที่ครูต่างชาติพูดภาษาไทย

จากที่ผมได้มีโอกาสสัมผัสกับการเรียนภาษาต่างประเทศมาบ้าง ที่มากหน่อยก็คือภาษาอังกฤษและภาษาญี่ปุ่น เรียนภาษาฝรั่งเศสเพียงนิดหน่อย ก็เลยลองวิเคราะห์แยกแยะความแตกต่างของภาษาไทยเทียบกับภาษาอื่นๆ ที่พอมีประสบการณ์เกี่ยวข้อง ผมเน้นที่ภาษาพูดง่ายๆ ก็แล้วกันเพราะผมไม่ใช่นักภาษาศาสตร์

การพูดภาษาไทยเป็นการพูดเฉพาะคำตรงๆ ไม่มีการผันรูป พูดตัดเป็นคำๆ เช่น คำว่า "กิน" ไม่มีการเปลี่ยนรูปใดๆ

     "กินแล้ว" ก็เติมคำว่า "แล้ว" ต่อท้าย
     "ไม่กิน" ก็เติมคำว่า "ไม่" หน้าคำว่ากิน

ภาษาไทยพูดตัดเป็นคำๆ ไม่มีการลากเสียงมาเชื่อมกัน เช่น "ฉัน กิน ข้าว" ถึงแม้จะมีคำสมาส เช่น ประวัติ + ศาสตร์ = ประวัติศาสตร์ ก็อ่านแยกเป็นคำๆ "ประ-หวัด-ติ-สาด"  หรือคำสนธิ เช่น มหา + อรรณพ = มหรรณพ ก็อ่าน "มะ-หัน-นบ" ซึ่งก็เป็นคำที่มีให้สำเร็จรูปแล้วไม่ต้องมาทำการสมาสหรือสนธิด้วยตัวเอง

สำหรับภาษาอังกฤษมีการผันรูปของคำกริยา เช่น

     กิน = eat หรือ eats ตามประธานนำหน้า เช่น I, He, You เป็นต้น
     กินแล้ว = ate
     ไม่กิน = do not eat หรือ does not eat ตามประธานนำหน้า เช่น I, He, You เป็นต้น

การออกเสียงในภาษาอังกฤษมีการเชื่อมลากเสียงต่อกัน เช่น It is ฝรั่งก็มักพูดออกเสียงว่า "อิท..ทีส" เป็นต้น นี่ยังไม่รวมการแปลงในรูปถูกกระทำ เช่น ถูกกิน (be eaten) ฯลฯ

ผมขอชวนท่านผู้อ่านไปร่วมสนุกกับภาษาญี่ปุ่นสักนิดหน่อย ซึ่งผมมีโอกาสได้เรียนภาษาญี่ปุ่นตอนที่อยู่ที่ประเทศญี่ปุ่น 4 ปี แต่ผมเรียนกับเซนเซ หรือคุณครูที่เป็นอาสาสมัครสอนตามที่ทำการเทศบาล โดยในชั้นผมจะเป็นรุ่นเดอะเลยเพราะนักเรียนคนอื่นจะเป็นนักศึกษาต่างชาติที่เข้าไปเรียนมหาวิทยาลัยแล้วใช้วันเวลาว่างไปเรียน (อายเด็กๆ เหมือนกันครับ แต่ต้องอดทน)

 

ทำไม ต่าง ชาติ เรียน ภาษา ไทย

ทำไม ต่าง ชาติ เรียน ภาษา ไทย

ตัวอย่างหนังสือที่ผมใช้ประกอบการเรียนภาษาญี่ปุ่น นักเรียนคนอื่นเรียนกันรอบเดียวหรือครั้งเดียว ผมลงเรียน 3 รอบซ้ำกันเลย

ขอยกตัวอย่างคำกริยาที่หมายถึง "กิน" เพื่อให้ไปในแนวทางเดียวกับที่เริ่มภาษาไทยและอังกฤษไว้ในตอนต้น คำกริยาจะมีการผันรูปในการใช้เยอะมาก ลองไปดูกัน   

     たべる          taberu        กิน (ในรูปดิกชันนารี)
     たべます       tabemasu    กินหรือจะกิน
     たべません    tabemasen  ไม่กิน
     หรือ たべない tabenai       ไม่กิน
     たべた          tabeta        กินแล้ว    
     たべませんでした tabemasendeshita  ไม่กินในอดีต
     หรือ たべなかった tabenakatta   ไม่กินในอดีต
     たべたい       tabetai        อยากกิน
     たべたくない tabetakunai  ไม่อยากกิน
     たべたくなかった tabetakunakatta ไม่อยากกินในอดีต
     たべられます taberaremasu กินได้ (สามารถกินได้)
     たべられません taberaremasen กินไม่ได้
     たべて          tabete         กำลังกิน
     たべよう       tabeyo         กินกันเถอะ (แสดงความตั้งใจ)
     たべろ          tabero         กินซะ (สั่ง)
     たべれべ       tabereba      ถ้ากิน (เงื่อนไข)
     たべさせます tabesasemasu ให้กิน (ให้กระทำ)

คำคุณศัพท์หรือ Adjective ก็มีการผันรูปในการใช้ในแต่ละกรณีอีก คงไม่ต้องแปลกใจที่ผมเรียนซ้ำซะ 3 รอบ

ตัวอักษรที่เห็นข้างบนเป็นแบบ Hirakana ยังมีแบบ Katakana ที่ใช้เขียนคำที่มาจากภาษาต่างชาติ เช่น McDonald = マクドナルド พูดออกเสียงว่า "มา-กุ-โด-นา-รุ-โดะ"  และยังมีตัวอักษรแบบ Kanji อีกก็คือตัวอักษรที่ยากๆ แบบตัวหนังสือจีน เช่น   娘  อ่านว่า むすめ - mu su me แปลว่าลูกสาว ผมจะอ่านเขียนได้เพียงแค่ Hirakana และ Katakana

สนามกอล์ฟแห่งหนึ่งที่มีนักกอล์ฟเป็นชาวญี่ปุ่นมาก ก็พยายามสอนให้พนักงาพูดภาษาญึ่ปุ่น เริ่มเรียนไปสักเดือน นักกอล์ฟชาวญี่ปุ่นที่เพิ่งเข้ามาไทย พูดไทยที่จำเป็นได้ภายในไม่ถึงเดือน ตกลงไม่ต้องเรียนกันแล้ว เดี๋ยวคนญี่ปุ่นก็พูดไทยเอง

เป็นไงครับ นี่อาจเป็นเหตุผลหนึ่งที่ว่าทำไมชาวต่างชาติมาเมืองไทยได้พักเดียวถึงได้พูดภาษาไทยได้เร็ว ขณะที่คนไทยพูดภาษาต่างชาติกันได้ยากหน่อย แต่ก็อย่าเพิ่งท้อนะครับ สู้ๆ กันต่อไป การเรียนรู้หรือ Learning ต้องอยู่กับชีวิตเราตลอดเวลาตราบใดที่ยังหายใจอยู่

ทำไม ต่าง ชาติ เรียน ภาษา ไทย

หลังเลิกเรียนทั้ง Sensei และนักเรียนก็ไป Kampai กัน

 

ทำไม ต่าง ชาติ เรียน ภาษา ไทย

こさこだせんせい และภรรยา ที่สอนภาษาญี่ปุ่นผม สอนจนกลายเป็นญาติสนิทไปเลย เดินทางมาเที่ยวหาผมที่กรุงเทพสองครั้งแล้ว ผมมีโอกาสไปเยี่ยมท่านที่ฟุกุโอกะหนึ่งครั้ง เดี๋ยวจะหาโอกาสไปเที่ยวหาท่านอีก ภรรยาท่านจะมีกิจกรรมไปอ่านหนังสือนิทานให้เด็กๆ ฟังที่โรงเรียนประถมใกล้ๆ บ้าน แบบจิตอาสา รวมทั้ง Sensei ที่สอนภาษาญี่ปุ่นด้วย และนี่ก็เป็นตัวอย่างหนึ่งที่ผมคิดมาช่วยแนะแนวทางให้คุณครูสอนหรือจัดกิจกรรมให้นักเรียน นักศึกษาพูดสื่อสารภาษาต่างประเทศให้ได้แทนที่จะเรียนหลักไวยากรณ์เพียงอย่างเดียว

よろしくおねがいします