ปัญญา ภิ วั ฒ น์ EEC อยู่ ที่ไหน

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ เร่ง ขยายสถาบันการศึกษาเปิดวิทยาเขต EEC แห่งแรกของไทย รองรับภาคแรงงานด้วยการสร้างบัณฑิตกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) เร่ง ขยายสถาบันการศึกษาเปิดวิทยาเขตในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) แห่งแรกของประเทศไทย รองรับภาคแรงงานด้วยการสร้างบัณฑิตกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve

นางปาริชาต บัวขาว ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและการตลาดสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) กล่าวว่า คาดการณ์ระหว่างปี 2562-2566 ในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จะมีความต้องการจ้างงานใหม่ประมาณ 475,668 อัตรา ประกอบด้วย กลุ่มงานด้านดิจิทัลมีความต้องการสัดส่วนสูงที่สุดถึง 116,222 อัตรา // ด้านโลจิสติกส์ 109,910 อัตรา // ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 58,228 อัตรา // ด้านยานยนต์แห่งอนาคต 53,738 อัตรา // ด้านหุ่นยนต์ 37,526 อัตรา // ด้านการบิน-อากาศยาน 32,836 อัตรา // การขนส่งระบบราง 24,246 อัตรา // ด้านการท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 16,920 อัตรา // ด้านการพาณิชย์นาวี 14,630 อัตรา และด้านการแพทย์ครบวงจร 11,412 อัตรา ทำให้สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) จะเร่งสร้างบัณฑิตที่มีความรู้ความสามารถตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ 4.0 ด้วยการสร้างสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทยาเขต อีอีซี (พีไอเอ็ม อีอีซี) แห่งแรกของประเทศ เพื่อสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันให้กับประเทศไทยผ่านการสร้างคนที่มีทั้งความรู้ความสามารถ การควบคุมดูและการบริหารจัดการสำหรับธุรกิจเกี่ยวกับระบบราง ซึ่งปัจจุบันยังขาดแคลนบุคลากรมากในกลุ่มประเทศอาเซียน และเป็นการเตรียมบุคลากรมืออาชีพที่มีความพร้อมทำงานในยุคดิจิทัล โดยมุ่งสร้างพื้นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมพร้อมเป็นต้นแบบการสร้างคนแห่งอนาคต ควบคู่กับพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยี สนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งเสริมให้เกิดแหล่งความรู้ทางธุรกิจ การท่องเที่ยว อาหาร การเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อรองรับการขยายธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคตด้วย

ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและการตลาดสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) กล่าวย้ำว่า สถาบันแห่งใหม่นี้จะเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย คณะนวัตกรรมและเทคโนโลยี 2 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอัตโนมัติ เน้นการเรียนการสอนเรื่องการออกแบบและติดตั้งระบบอัตโนมัติ ระบบเทคโนโลยีรถไฟ ระบบเทคโนโลยีค้าปลีก สำหรับภาคอุตสาหกรรมและบริการสมัยใหม่ เช่น อุตสาหกรรม 4.0 เมืองอัจฉริยะ (Smart City) เกษตรกรรมสมัยใหม่ (Smart Farming) และหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหลักสูตรที่เรียนรู้ IoT, Big Data, Machine Learning และ AI นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง ถือว่ามีความจำเป็นต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านปัญญาประดิษฐ์ และความมั่นคงของระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Cyber Security) เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติงานจริง สามารถนำความรู้และประสบการณ์ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการภาคบริการทั่วประเทศ

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : ปิยาพรรณ ยังเทียน / สวท.

ผู้เรียบเรียง : กัลยา คงยั่งยืน / สวท.

แหล่งที่มา : สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ (PIM) ชี้ความต้องการจ้างงานใหม่ ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) สูงถึง 475,668 อัตรา ตอกย้ำการเติบโตต่อเนื่อง ลุยเปิดวิทยาเขต “PIM EEC” แห่งแรกของไทย ชูหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอัตโนมัติ และหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล หวังผลิตบัณฑิตคุณภาพป้อนกลุ่มอุตสาหกรรม S-Curve สร้างการเติบโตของประเทศอย่างยั่งยืน คาดก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2563

เกาะติดข่าว กดติดตาม ข่าวสด

ปัญญา ภิ วั ฒ น์ EEC อยู่ ที่ไหน

ปาริชาต บัวขาว

นางปาริชาต บัวขาว ผู้ช่วยอธิการบดี ฝ่ายสื่อสารองค์กรและการตลาดสถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลได้ผลักดันการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเป้าหมายที่ใช้เทคโนโลยีสูงและกิจกรรมทางเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ต้องมีเทคโนโลยีขั้นสูงเข้ามาเกี่ยวข้อง เพื่ออนาคตที่ยั่งยืนของประเทศไทยในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ประกอบด้วยจังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรีและระยอง

ปัจจัยเหล่านี้ทำให้เกิดความต้องการแรงงานในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มขึ้น คาดการณ์ว่าระหว่างปี 2562-2566 จะมีความต้องการจ้างงานใหม่ประมาณ 475,668 อัตรา ประกอบด้วย กลุ่มงานด้านดิจิทัลมีความต้องการสัดส่วนสูงที่สุดถึง 24% คิดเป็น 116,222 อัตรา ด้านโลจิสติกส์ 23% คิดเป็น 109,910 อัตรา ด้านอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ 12% คิดเป็น 58,228 อัตรา ด้านยานยนต์แห่งอนาคต 11% คิดเป็น 53,738 อัตรา ด้านหุ่นยนต์ 8% คิดเป็น 37,526 อัตรา

ด้านการบิน-อากาศยาน 7% คิดเป็น 32,836 อัตรา การขนส่งระบบราง 5% คิดเป็น 24,246 อัตรา การท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ 4% คิดเป็น 16,920 อัตรา การพาณิชย์นาวี 3% คิดเป็น 14,630 อัตรา และการแพทย์ครบวงจร 2% คิดเป็น 11,412 อัตรา

ปัญญา ภิ วั ฒ น์ EEC อยู่ ที่ไหน

ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ ซึ่งเป็นสถาบันอุดมศึกษาภายใต้บริษัท บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ซึ่งก่อตั้งขึ้นตามดำริของ นายก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศักดิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) มุ่งมั่นที่จะสร้างบัณฑิตที่มีทั้งความรู้ความสามารถให้ตอบสนองยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0 โดยเฉพาะในพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) จึงจัดตั้ง สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทยาเขต อีอีซี (พีไอเอ็ม อีอีซี) เพื่อสนับสนุนการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับประเทศไทย

ผ่านการสร้างคนที่มีทั้งความรู้ความสามารถ การควบคุมดูและการบริหารจัดการสำหรับธุรกิจเกี่ยวกับระบบราง ที่ปัจจุบันยังขาดแคลนบุคลากรมากในกลุ่มประเทศอาเซียน อีกทั้งเป็นการเตรียมบุคลากรมืออาชีพที่มีความพร้อมทำงานในยุคดิจิทัล โดยมุ่งสร้างพื้นฐานของการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม พร้อมเป็นต้นแบบการสร้างคนแห่งอนาคต นอกจากนี้สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทยาเขต อีอีซี (พีไอเอ็ม อีอีซี) แห่งนี้ยังมีเป้าหมายเพื่อพัฒนางานวิจัยและเทคโนโลยี รวมถึงสนับสนุนอุตสาหกรรมเป้าหมาย ส่งเสริมให้เกิดแหล่งความรู้ทางธุรกิจ การท่องเที่ยว อาหาร การเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน รองรับการขยายธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งในปัจจุบันและอนาคตอีกด้วย

ปัญญา ภิ วั ฒ น์ EEC อยู่ ที่ไหน

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ วิทยาเขตอีอีซี (พีไอเอ็ม อีอีซี) จะเปิดการเรียนการสอนในระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย คณะนวัตกรรมและเทคโนโลยี จำนวน 2 หลักสูตร คือ 1.หลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอัตโนมัติ เน้นการเรียนการสอนเรื่องการออกแบบและติดตั้งระบบอัตโนมัติ ระบบเทคโนโลยีรถไฟ ระบบเทคโนโลยีค้าปลีก สำหรับภาคอุตสาหกรรมและบริการสมัยใหม่

และ 2.หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีดิจิทัล เป็นหลักสูตรที่เรียนรู้ IoT, Big Data, Machine Learning และ AI นำเอาเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติจริง ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการพัฒนาธุรกิจและอุตสาหกรรม โดยมีเนื้อหาครอบคลุมเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านปัญญาประดิษฐ์ และความมั่นคงของระบบเทคโนโลยีดิจิทัล (Cyber Security)

ปัญญา ภิ วั ฒ น์ EEC อยู่ ที่ไหน

ทั้ง 2 หลักสูตรออกแบบห้องปฏิบัติการโดยนำเครื่องมือ และเทคโนโลยีต่างๆ ที่ใช้จริงในสถานประกอบการมาใช้ในการเรียนการสอน อาทิ ระบบเทคโนโลยีควบคุมอัตโนมัติสำหรับระบบแคมปัสอัจฉริยะ (Smart Campus) และระบบฟาร์มอัจฉริยะ (Smart Farming) เพื่อให้นักศึกษาได้รับความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติงานจริง สามารถนำความรู้และประสบการณ์ดังกล่าว ไปประยุกต์ใช้กับการทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมและสถานประกอบการภาคบริการทั่วประเทศ

นอกจากนี้ยังได้เปิดการเรียนการสอน คณะนวัตกรรมการจัดการ หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจดิจิทัล เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่นักศึกษา โดยหลักสูตรดังกล่าวเป็นสาขาวิชาชีพที่มีความต้องการของตลาดแรงงานในพื้นที่ EEC ในระดับสูง

สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์มีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง ด้วยแผนการขยายสถาบันฯ ในระยะยาว รวมถึงมีการพัฒนาและปรับตัวอยู่เสมอ เพื่อสร้างหลักสูตรการเรียนการสอน ที่มุ่งเน้นให้สามารถรองรับความต้องการของผู้เรียน และตอบโจทย์ตลาดแรงงานในอนาคต เราพร้อมเป็นหนึ่งกำลังสำคัญในการผลักดันศักยภาพการศึกษาไทย