คณะ วิทยาการจัดการ สาขาบัญชี เรียนเกี่ยวกับอะไร

หลักสูตรที่เปิดสอน

(ภาษาไทย)       หลักสูตรบัญชีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี  
(ภาษาอังกฤษ)   Bachelor  of  Accountancy  Program  in  Accounting

สาระสำคัญของหลักสูตร

          หลักสูตรบัญชีบัณฑิตเป็นหลักสูตรที่มีมาตรฐานวิชาการและวิชาชีพในระดับอุดมศึกษา มุ่งสร้างนักบัญชีที่มีความรู้ด้านบัญชี มีทักษะในวิชาชีพ มีจรรยาบรรณ สามารถนำความรู้ไปใช้ประกอบวิชาชีพบัญชี และยังสามารถประกอบอาชีพได้หลากหลายอาชีพทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนนอกจากนี้ยังเป็นวิชาที่จะเปิดเสรีประชาคมอาเซียนจึงทำให้ได้รับความสนใจและสนับสนุนจากทุกภาคส่วนทั้งหน่วยงานภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ส่งผลให้บัณฑิตได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เป็นบัณฑิตที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของสถานประกอบการต่าง ๆ

คุณสมบัติของผู้เข้าศึกษา
          1) ต้องสำเร็จการศึกษาไม่ต่ำกว่ามัธยมตอนปลาย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพ  (ปวช.) หรือเทียบเท่า หรือ
          2) สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาอื่น จากสถาบันอุดมศึกษาที่กระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.)ให้ใบรับรอง
          3) ผ่านการคัดเลือกตามเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการอุดมศึกษา/หรือเป็นไปตามระเบียบข้อบังคับการคัดเลือกของมหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์ เป็นผู้กำหนด

โครงสร้างของหลักสูตรหลักสูตร 4 ปี ไม่น้อยกว่า 139หน่วยกิต
จุดเด่นของหลักสูตร
          1) เป็นหลักสูตรที่มีสภาวิชาชีพให้การรับรอง
          2) เป็นหลักสูตรที่สามารถรองรับกับการเปิดเสรีประชาคมอาเซียน
          3) เป็นหลักสูตรที่มีความทันสมัย และการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายทำให้ผลิตบัณฑิตตรงกับความต้องการของผู้ประกอบการ
          4) มีอาชีพรองรับเมื่อสำเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพได้

วัตถุประสงค์ของหลักสูตร
          1) เพื่อผลิตบัณฑิตด้านบัญชีที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ ในระดับวิชาชีพและนำไปสู่การประกอบอาชีพได้
          2) เพี่อผลิตบัณฑิตที่มีเจตคติที่ดี มีจรรยาบรรณและทักษะเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจอย่างมีประสิทธิภาพ และพัฒนาตนเองให้มีความรับผิดชอบต่อสังคม
          3) เพื่อสร้างบัณฑิตที่สนองต่อความต้องการของตลาดแรงงาน สอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
          4) เพื่อให้บัณฑิตสามารถเรียนรู้และมีประสบการณ์ไปเป็นแนวทางในการศึกษาในระดับสูงต่อไป

แนวทางประกอบอาชีพ

          ผู้สำเร็จการศึกษา สามารถประกอบอาชีพได้ตามพระราชบัญญัติบัญชี พ.ศ. 2543 และพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ.2547 และวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในลักษณะการประกอบวิชาชีพอิสระและการเข้าทำงานในองค์กรหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนดังต่อไปนี้

1) การทำบัญชี
2) การสอบบัญชี
3) บัญชีบริหาร
4) การภาษีอากร
5) การวางระบบบัญชี
6) การศึกษาและเทคโนโลยีทางการบัญชี
7) การตรวจสอบภายใน
8) การให้คำปรึกษาทางการเงินและการบัญชี
9) ด้านการประกอบวิชาชีพอิสระ
10) ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

อาจารย์ประจำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต  สาขาวิชาการบัญชี  (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2560) 

ลำดับที่ ชื่อ-สกุล
1 อาจารย์ดวงฤดี    จำรัสธนสาร
2 อาจารย์พิมพ์จันทร์   อารยเมธาเลิศ
3 อาจารย์สิริวรรณ    ชวลิตเมธา
4 อาจารย์อัจนา   ปราชญากุล
5 นายกฤชชัย    สุขเสวี

ค่าธรรมเนียมการศึกษา

ทำความรู้จักสาขาบัญชี สาขาน่าเรียนสำหรับคนชอบเลข

หน้าหลัก » ทำความรู้จักสาขาบัญชี สาขาน่าเรียนสำหรับคนชอบเลข

  • May 28, 2019

คณะ วิทยาการจัดการ สาขาบัญชี เรียนเกี่ยวกับอะไร

สวัสดีค่ะน้องทุกคน เมื่อไม่นานมานี้ พี่วีวี่เคยแนะนำ 3 อาชีพสุดรุ่งสำหรับคนชอบเรียนเลขไป วันนี้พี่วีวี่อยากจะพาน้อง ๆ ไปทำความรู้จักกับสาขาบัญชี ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งที่มีคนเรียนจำนวนมาก และเป็นสาขาน่าเรียนสำหรับคนชอบเลข เพราะสาขานี้ น้องจะได้เรียนเลขแบบจุใจเลย สาขาบัญชีต้องเรียนอะไร ต้องเตรียมตัวสอบอย่างไร และจบมาทำงานอะไร บทความนี้มีคำตอบให้แล้วค่ะ

คณะ วิทยาการจัดการ สาขาบัญชี เรียนเกี่ยวกับอะไร

  • สาขาบัญชีเรียนอะไรบ้าง

การเรียนการสอนในสาขาบัญชีนั่น เนื้อหาจะครอบคลุมทั้งเนื้อหาพื้นฐานและเนื้อหาที่เข้มข้นเกี่ยวกับการทำบัญชี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์และปรับใช้ในโลกการทำงานจริงได้
เนื้อหาที่เรียน อาทิ ระบบฐานข้อมูลบัญชี ภาษี การวิเคราะห์การเงิน การเงินธุรกิจ การบัญชีชั้นกลางและชั้นสูง การจัดการบัญชี การสอบบัญชี การตรวจสอบการฉ้อโกง การวางแผนภาษี เป็นต้น
เพื่อที่จะให้น้อง ๆ เห็นภาพมากขึ้นว่า สาขาบัญชีเรียนอะไรบ้าง พี่วีวี่จึงนำหลักสูตรบัญชีบัณฑิต ระดับปริญาตรี ของคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มาให้น้อง ๆ ดูเป็นตัวอย่างว่าตลอด 4 ปี น้องจะต้องเรียนอะไรบ้าง

  • การสอบเข้าสาขาบัญชีในระบบ TCAS

เมื่อรู้แล้วว่าสาขาบัญชีเรียนอะไรบ้าง พี่วีวี่ก็จะพาน้อง ๆ ไปดูต่อว่า ถ้าอยากเข้าสาขาบัญชี ในระบบ TCAS ต้องสอบและยื่นคะแนนวิชาอะไรบ้าง โดยพี่วีวี่จะขอยกตัวอย่าง การสอบเข้าในระบบ TCAS รอบ 3 รับตรงร่วมกัน และรอบ 4 แอดมิชชั่น นะคะ

  สาขาบัญชี ในระบบ TCASรอบ 3
สำหรับ TCAS รอบ 3 นั่น สาขาบัญชีของแต่ละมหาวิทยาลัย ใช้คะแนน GAT/PAT หรือ 9 วิชาสามัญ แตกต่างกันไป บางที่ใช้เฉพาะคะแนน GAT/PAT และบางที่ใช้ทั้งคะแนน GAT/PAT และ 9 วิชาสามัญ ดังนั้นแล้วน้อง ๆ ที่จะยื่นรอบ 3 ต้องติดตามระเบียบการของมหาวิทยาลัยที่น้องจะยื่นให้ดี ในที่นี้ พี่วีวี่ขอยกตัวอย่างค่าน้ำหนักคะแนน คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี หลักสูตรบัญชีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาให้ดูเป็นตัวอย่างค่ะ

                                                                           ค่าน้ำหนักคะแนน (%)
GAT PAT 1
 40 % 60 %

 
สาขาบัญชี ในระบบ TCAS รอบ 4
มาต่อกันที่ TCAS รอบ 4 สำหรับสาขาบัญชี คะแนนที่ใช้ของแต่ละมหาวิทยาลัยจะเหมือนกัน เพราะใช้ค่าน้ำหนักคะแนนจากส่วนกลางของทปอ. โดยค่าน้ำหนักคะแนนจากส่วนกลางที่ใช้ คือ

                                                                              ค่าน้ำหนักคะแนน (%)
GPAX O-NET GAT PAT 1
 20 % 30 % 30 % 20 %

 
อย่างไรก็ตาม ทั้งรอบ 3 และรอบ 4 น้อง ๆ ควรติดตามระเบียบการเต็มจากมหาวิทยาลัยที่น้องจะสมัครอีกทีนะคะ เผื่อมีการเปลี่ยนเกณฑ์คะแนน หรือเงื่อนไขต่าง ๆ

  • ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดรับในระบบ TCAS

หลังจากดูค่าน้ำหนักคะแนนแล้ว ก็มาต่อกันที่มหาวิทยาลัยที่เปิดรับสาขาบัญชี ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัย สาขาบัญชีอาจถูกจัดให้อยู่คณะบริหารธุรกิจ หรือคณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี ตัวอย่างมหาวิทยาลัยที่เปิดรับสาขาบัญชี เช่น
 

  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • คณะบริหารธุรกิจเพื่อสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะพาณิชยศาสตร์และการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
  • คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

  • เรียนบัญชีจบมาทำงานอะไร

มาถึงตรงนี้แล้ว น้อง ๆ หลายคงคนอยากรู้แล้วว่า คนที่จบสาขาบัญชี สามารถทำงานอะไรได้บ้าง คำตอบก็คือ คนที่จบบัญชีสามารถทำงานได้หลากหลายสาขาอาชีพ อาทิ

  • นักบัญชี / พนักงานบัญชีอยู่ในสำนักงานบัญชี (มีหน้าที่ดูแลบัญชีต่าง ๆ ของบริษัทที่มาจ้าง ซึ่งหนึ่งคนอาจจะดูแลบัญชีมากกว่า 1 บริษัท)
  • ที่ปรึกษาทางบัญชี /ผู้ตรวจสอบบัญชี / ผู้สอบภาษี
  • ผู้วางระบบหรือเขียนโปรแกรมบัญชี
  • นักวิเคราะห์ต้นทุน
  • เจ้าหน้าที่ทางการเงิน / เจ้าหน้าที่ทางการตลาด
  • เจ้าหน้าที่ของธนาคาร / เจ้าหน้าที่บริษัทหลักทรัพย์หรือตลาดหลักทรัพย์
  • วิทยากร / ผู้สอน วิชาบัญชี
  • ภาษีอากร
  • นักการตลาด / นักวิจัยการตลาด / นักลงทุน และอื่น ๆ

คณะ วิทยาการจัดการ สาขาบัญชี เรียนเกี่ยวกับอะไร

พี่วีวี่เชื่อว่าน้อง ๆ หลายคนเริ่มสนใจที่จะเรียนสาขาบัญชีกันแล้ว ถ้าน้องคนไหนสนใจที่จะเรียนสาขาบัญชี ก็ต้องวางแผนอ่านหนังสือกันให้ดีนะคะ โดยเฉพาะ PAT 1 คณิตศาสตร์ ซึ่งคิดเป็นสัดส่วนคะแนนเยอะมากสำหรับคนที่จะเข้าบัญชี พี่วีวี่เชื่อว่า ถ้าน้อง ๆ ตั้งใจอ่านหนังสือและฝึกทำโจทย์ข้อสอบเก่า การสอบติดสาขาบัญชีก็ไม่ใช่เรื่องยากแน่นอนค่ะ 🙂

บทความที่เกี่ยวข้อง

คณะวิทยาการจัดการสาขาการบัญชีเรียนอะไรบ้าง

สาขาบัญชีเรียนอะไรบ้าง เนื้อหาที่เรียน อาทิ ระบบฐานข้อมูลบัญชี ภาษี การวิเคราะห์การเงิน การเงินธุรกิจ การบัญชีชั้นกลางและชั้นสูง การจัดการบัญชี การสอบบัญชี การตรวจสอบการฉ้อโกง การวางแผนภาษี เป็นต้น

สาขาการบัญชี ทํางานอะไรได้บ้าง

เรียนจบแล้วทำงานอะไรได้บ้าง.
นักบัญชี เจ้าหน้าที่ทางการเงิน (Accountant).
ผู้เชี่ยวชาญด้านภาษี (Tax Specialist).
ผู้ตรวจสอบบัญชี (Auditor).
ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต (CPA).
ที่ปรึกษาทางบัญชี.
ธุรกิจส่วนตัว.
คุณครู อาจารย์ หรือติวเตอร์ด้านบัญชี.

คณะเกี่ยวกับบัญชีมีอะไรบ้าง

คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาการบริหารการเงิน คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาการบัญชี คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คณะการบัญชีและการจัดการ สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศทางธุรกิจ

คณะบัญชีจุฬาฯเรียนอะไรบ้าง

คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชีประกอบด้วย 5 ภาควิชา ได้แก่.
การบัญชี (Accounting).
พาณิชยศาสตร์ (Commerce).
การธนาคารและการเงิน (Banking and Finance).
การตลาด (Marketing).
สถิติ (Statistics).