มศว คณะวิทยาศาสตร์

ข้อมูลและระเบียบการสมัคร TCAS ของคณะวิทยาศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ อัพเดตปี 66
  • เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมและทรัพยากร (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • คณิตศาสตร์ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • จุลชีววิทยา - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาจุลชีววิทยา (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • ชีววิทยา - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาชีววิทยา (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • ฟิสิกส์ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาฟิสิกส์ (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • วัสดุศาสตร์ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • สถิติ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสถิติ (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • เคมี - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเคมี (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ (ภาษาไทย ภาคพิเศษ)
  • วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์และภูมิสารสนเทศ (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • นวัตกรรม - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมอาหารและธุรกิจ (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • เทคโนโลยีการอาหาร - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิทยาศาสตร์การอาหารและโภชนาการ (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • เทคโนโลยีชีวภาพ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพและผลิตภัณฑ์การเกษตร (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • เทคโนโลยีพอลิเมอร์ - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานวัตกรรมพอลิเมอร์และการจัดการ (ภาษาไทย ภาคปกติ)
  • อัญมณี - หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาอัญมณีและเครื่องประดับ (สองภาษา)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ชื่ออังกฤษFaculty of Science, Srinakharinwirot University
ที่อยู่114 สุขุมวิท 23 แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร 10110
วันก่อตั้ง16 กันยายน พ.ศ. 2497
คณบดีรองศาสตราจารย์ ดร.ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร
เว็บไซต์science.swu.ac.th

คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เป็นหนึ่งในสิบหกคณะของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 ในชื่อ "คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร" โดยในตอนนั้นอยู่ภายใต้สังกัดกรมการฝึกหัดครูของกระทรวงศึกษาธิการ และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "คณะวิทยาศาสตร์" ใน พ.ศ. 2517 ซึ่งเป็นปีเดียวกันกับที่มหาวิทยาลัยได้รับพระราชทานนามว่า "มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ"

ในปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ที่วิทยาเขตประสานมิตร ในพื้นที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ใช้สอย 48,175.95 ตารางเมตร ประกอบไปด้วยภาควิชาทั้งหมด 9 ภาควิชา และศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษา

ประวัติ[แก้]

ในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2497 ได้ก่อตั้ง "คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ วิทยาลัยวิชาการศึกษา ประสานมิตร" โดยอยู่ภายใต้สังกัดกรมการฝึกหัดครูของกระทรวงศึกษาธิการ มีผู้บริหารสูงสุดในตำแหน่ง "หัวหน้าคณะวิชา" แผนกวิชาเริ่มแรกมีทั้งหมด 5 วิชา ก่อนที่จะเปิดแผนกวิชาเพิ่มในปีถัด ๆ มา ต่อมาใน พ.ศ. 2517 วิทยาลัยวิชาการศึกษาได้รับนามพระราชทาน "ศรีนครินทรวิโรฒ" พร้อมกับการยกฐานะขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย ทำให้คณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์เปลี่ยนชื่อเป็น "คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ"[1]

รายนามคณบดี[แก้]

พระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ พ.ศ. 2541 ได้กำหนดให้คณบดีดำรงตำแหน่งวาระละ 4 ปี และอยู่ในตำแหน่งติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ[1]

ลำดับชื่อ-สกุลของคณบดีปีที่ดำรงตำแหน่ง (พ.ศ.)
1 รองศาสตราจารย์ ดร.ประยงค์ พงษ์ทองเจริญ 2518–2526
2 รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิงสุมณฑา พรหมบุญ 2526–2530
3 ศาสตราจารย์ ดร.สุทัศน์ ยกส้าน 2530–2532
4 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดาภรณ์ วีรสาร 2532–2536
5 รองศาสตราจารย์ ดร.บุญเอิญ มิลินทสูต 2536–2538
6 รองศาสตราจารย์ ดร.สุเทพ ทองอยู่ 2538–2540
7 รองศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร มากตุ่น 2540–2544
8 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ยุวดี นาคะผดุงรัตน์ 2544–2548
9 ศาสตราจารย์ ดร.วิเชียร มากตุ่น 2548–2557
10 ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ศิรินุช เทียนรุ่งโรจน์ 2557–2561
11 รองศาสตราจารย์ ดร.ปรินทร์ ชัยวิสุทธางกูร 2561–

หลักสูตร[แก้]

ภาควิชา[แก้]

ในปีแรกของการก่อตั้งคณะวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ มีแผนกวิชาทั้งหมด 5 วิชา ได้แก่ คณิตศาสตร์, คหกรรมศาสตร์, เคมี, ชีววิทยา และฟิสิกส์ ต่อมาใน พ.ศ. 2508 ได้เปิดแผนกวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป[1]

ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์ประกอบไปด้วย 8 ภาควิชา และ 1 ศูนย์ ได้แก่ 1. ภาควิชาคณิคศาสตร์ 2. ภาควิชาชีววิทยา 3. ภาควิชาเคมี 4. ภาควิชาฟิสิกส์ 5. ภาควิชาจุลชีววิทยา 6. ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 7. ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 8. ภาควิชาวัสดุศาสตร์ 9. ศูนย์วิทยาศาสตร์ศึกษา

ระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโท ระดับปริญญาเอก

วิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) 4 ปี

  • สาขาเคมี
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาวิชาสถิติ
  • สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยา
  • สาขาวิชาวัสดุศาสตร์

การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) 4 ปี [2]

  • สาขาเคมี
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป

วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.)

  • สาขาเคมี
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีชีวภาพ
  • สาขาวิชาวิทยาการข้อมูล
  • สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  • สาขาวิชาวัสดุศาสตร์
  • สาขาวิชาจุลชีววิทยาประยุกต์

การศึกษามหาบัณฑิต (กศ.ม.)

  • สาขาเคมี
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาชีววิทยา
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา

ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.)

  • สาขาคณิตศาสตร์
  • สาขาเคมีประยุกต์
  • สาขาฟิสิกส์
  • สาขาเทคโนโลยีชีวภาพ

การศึกษาดุษฎีบัณฑิต (กศ.ด.)

  • สาขาวิชาคณิตศาสตร์
  • สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา

อาคารสถานที่[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ ตั้งอยู่ที่วิทยาเขตประสานมิตร ในพื้นที่แขวงคลองเตยเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร มีพื้นที่ใช้สอย 48,175.95 ตารางเมตร และมีอาคารหลักทั้งหมด 3 อาคาร ได้แก่ อาคาร 10, อาคาร 15 และอาคาร 19[1] นอกจากนี้ ยังมีพิพิธภัณฑ์หิน แร่ และอัญมณี ซึ่งตั้งอยู่บนชั้นที่ 17 ของอาคาร 19[3] พิพิธภัณฑ์นี้ก่อตั้งขึ้นใน พ.ศ. 2543 ตามแนวคิดของรองศาสตราจารย์ ดร.เสรีวัฒน์ สมินทร์ปัญญา และคณาจารย์ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป[4]

งานวิจัย[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ มีการผลิตงานวิจัยที่สำคัญหลายงาน อาทิ ภาควิชาคณิตศาสตร์ มีการผลิตงานวิจัยทั้งในสาขาคณิตศาสตร์และสาขาสถิติ,[5] ภาควิชาเคมี มีการผลิตงานวิจัยออกมาเป็นประจำทุกปี รวมถึงงานวิจัยการพัฒนาระบบการนิเทศแนวใหม่ซึ่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้นำเอาไปปรับใช้,[6] ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป และภาควิชาจุลชีววิทยา มีการตีพิมพ์งานวิจัยทั้งในภาษาไทยและภาษาอังกฤษ[7][8] นอกจากนี้ ในภาควิชาฟิสิกส์ มีหน่วยวิจัยฟิสิกส์ประสานมิตร ซึ่งทำงานวิจัยด้านทฤษฎีตัวนำยวดยิ่ง[9] และหน่วยวิจัยฟิสิกส์ทฤษฎีพลังงานสูงและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (THEPA) ซึ่งศึกษาในด้านอนุภาค แม่เหล็กไฟฟ้า และจักรวาล[10] ภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็มีหน่วยงานวิจัยวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นของตนเองเช่นเดียวกัน[11]

วารสาร[แก้]

คณะวิทยาศาสตร์ ได้ตีพิมพ์วารสาร "วิทยาศาสตร์ มศว" (Srinakharinwirot Science Journal) เป็นประจำทุกปี ปีละสองครั้ง ในเดือนมิถุนายนและธันวาคม ซึ่งสามารถอ่านได้ทั้งแบบเล่มและแบบออนไลน์[12]

อ้างอิง[แก้]

  1. ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 "ประวัติคณะวิทยาศาสตร์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  2. "หลักสูตรคณะวิทยาศาสตร์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  3. "พิพิธภัณฑ์ หิน แร่ และอัญมณี". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  4. "เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์ หิน แร่ และอัญมณี". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  5. "งานวิจัยของภาควิชาคณิตศาสตร์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  6. "งานวิจัยที่นำไปใช้ประโยชน์ของภาควิชาเคมี". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  7. "บทความวิจัยที่ตีพิมพ์ (Publications) ของภาควิชาจุลชีววิทยา". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  8. "งานวิจัย ภาควิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป ประจำปี 2563". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  9. "หน่วยวิจัยฟิสิกส์ประสานมิตร ภาควิชาฟิสิกส์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  10. "หน่วยวิจัยฟิสิกส์ทฤษฎีพลังงานสูงและฟิสิกส์ดาราศาสตร์ (THEPA) ภาควิชาฟิสิกส์". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  11. "หน่วยวิจัยวิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-05-01. สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.
  12. "วารสารวิทยาศาสตร์ มศว (Srinakharinwirot Science Journal)". สืบค้นเมื่อ 24 เมษายน 2562.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • เว็บไซต์อย่างเป็นทางการของมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ