ขอหนังสือรับรองความประพฤติที่ไหน

การขอหนังสือรับรองความประพฤติ (Police Clearance Certificate) จากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ

การจัดเตรียมเอกสารในการยื่นคํารองขอหนังสือรับรองความประพฤติสําหรับบุคคลสัญชาติไทย

กรณีบุคคลที่พํานักอยู่ในประเทศไทย

เอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการยื่นคําร้องมีดังนี้

  1. หนังสือเดินทาง (Passport) ที่ยังไม่หมดอายุ (อย่างน้อยก่อนหมดอายุ 6 เดือน และสําเนาต้องเห็นรูปถ่ายชัดเจน)

  2. บัตรประจําตัวประชาชน (สําเนาต้องเห็นรูปถ่ายชัดเจน)

  3. ทะเบียนบ้าน

  4. หลักฐานการเปลี่ยนชื่อ / นามสกุล (กรณีการเปลี่ยนชื่อ – สกุล)

  5. ใบสําคัญการสมรส / หย่า กรณีหญิงมีการสมรส/หย่า

  6. หลักฐานทางการทหารของชาย สัญชาติไทย อายุตั้งแต่ 17 - 45 ปี (สด.8 ,สด.9, สด.43, ใบ รด. หรือ

  7. หนังสือผ่อนผันทหาร ฯลฯ )

  8. หนังสือส่งตัวขอตรวจสอบประวัติจากสถานทูต หรือเอกสารที่แสดงว่าได้ยื่นคํารองขอวีซ่าจากสถานทูตแล้ว เช่น Request for Record check .checklist for case Number, ใบสมัครที่เจ้าหน้าที่สถานทูต ไดรับเรื่องไว้แล้ว หรือเอกสารใบเสร็จรับเงินค่าธรรมเนียมการขอวีซ่า ฯลฯ)

   9. หนังสือแสดงความยินยอมจากผู้ปกครองกรณีเป็นผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปี)

       เอกสารสําคัญที่ต้องยื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบตามวัตถุประสงค์มีดังนี้

       9.1 กรณีศึกษาต่อ (Apply for Education)

             *หนังสือตอบรับจากสถาบันศึกษาต่างประเทศ (Confirmation Letter from University) และคุณวุฒิการศึกษาปัจจุบัน

       9.2 กรณีที่ศึกษาอยู่แล้วมีความประสงค์จะต่อวีซ่า ให้แนบสําเนาหน้าวีซ่านักเรียนปัจจุบัน (Student Visa) พร้อมหนังสือรับรองการขอตรวจสอบประวัติจากสถานศึกษา หรือหนังสือตอบรับจากสถานศึกษาที่ผู้ร้องประสงค์จะเข้าศึกษา (Confirmation Letter from university) และหนังสือตรวจสอบประวัติพร้อมใบพิมพ์ลายนิ้วมือฉบับจริงจากสถานีตํารวจในประเทศที่ศึกษาอยู่

หมายเหตุ :

   ในการยื่นคํารองขอหนังสือรับรองความประพฤติทุกกรณี ผู้ร้องจะต้อง

  1. ยื่นใบคําร้องด้วยตนเองพร้อมสําเนาหลักฐานทุกฉบับและรับรองความถูกต้อง

  2. ชําระค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบประวัติ จํานวน 100 บาท เริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555

  3. เป็นต้นไป

  4. กรณีดําเนินการโดยผ่านบริษัท นายหน้า หรือบุคคลอื่น จะต้องมีหนังสือมอบอํานาจ โดยต้องแนบ

  •       สําเนาบัตรประชาชน/สําเนาหนังสือเดินทางของทั้งผู้มอบอํานาจและผูรับมอบอํานาจ หนังสือรับรองบริษัทฯ (กรณีเป็นนิติบุคคล) พร้อมติดอากรแสตมป์ จํานวน 10 บาท (A Letter of Power of Attorney must be submitted with a copy of ID Card/Passport of Grantor of Authorization and Authorization Representative, a copy of company’s registration and revenue stamp amount 10 baht)

   5. กรณีผู้ร้องยื่นเอกสารครบถ้วน และตรวจสอบไม่พบประวัติการกระทําความผิดหรือไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง จะพิจารณาอนุมัติออกหนังสือรับรองความประพฤติใหภายในระยะเวลา 30 วันทําการ (A certificate processing period is approximately 30 business days)

    6. กรณีเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นประกอบคําร้องเป็นภาษาตางประเทศ ใหแปลเป็นภาษาไทย โดยรับรองการแปลจากหน่วยงานหรือสถาบันการแปลภาษาที่น่าเชื่อถือ (All required documents must be translated in Thai/English language by a qualified translator)

อ้างอิงข้อมูลจาก : ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ Police Clearance Service Center THAILAND

ศูนย์บริการออกหนังสือรับรองความประพฤติ Police Clearance Service Center THAILAND

ที่อยู่ : ชั้น 1 อาคาร 24 สํานักงานตํารวจแห่งชาติ ถนนพระรามที่ 1 เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
Building 24, Royal Thai Police, Rama I, Pathumwan, Bangkok 10330 Thailand


โทรศัพท์ : 0-2205-2168- 9 / โทรสาร 0-2205-1295
Website

แผนที่

For English version, kindly CLICK

การจัดเตรียมเอกสารในการยื่นคําร้องขอหนังสือรับรองความประพฤติสําหรับบุคคลสัญชาติไทย

เอกสารที่ต้องจัดเตรียมในการยื่นคําร้อง ดังนี้

1.สําเนาหนังสือเดินทาง(Passport) ที่ยังไม่หมดอายุ (อย่างน้อยก่อนหมดอายุ 6 เดือนและสําเนารูปถ่ายต้องชัดเจน)

2.สําเนาบัตรประชาชน (กรณีบัตรประชาชนหมดอายุ ให้นําเอกสารบันทึกสอบปากคํา ณ กงสุลไทยมาประกอบ)

3.สําเนาทะเบียนบ้าน

4.สําเนาหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ / นามสกล (กรณีมีการเปลี่ยนชื่อ – นามสกุล)

5.ใบสําคัญการสมรส / หย่า (กรณีหญิงมีการสมรส/หย่า)

6.สําเนาหลักฐานทางทหารของชาย สัญชาติไทย( สด.8 , สด. 9 ,สด. 43, ใบ รด.หรือหนังสือผ่อนผันทหาร ฯลฯ ) 7.รับรองความถูกต้องของสําเนาทุกฉบับ

8.รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว หรือ 2 นิ้ว จํานวน 2 รูป

9.แผ่นพิมพ์ลายนิ้วมือจํานวน 2 แผ่น (สามารถติดต่อขอพิมพ์ลายนิ้วมือได้ที่สถานทูตไทยหรือ สถานกงสุลไทยประจําประเทศนั้นๆ หรือ สถานีตํารวจในประเทศที่พํานักอยู่)

10.หนังสือมอบอํานาจให้บุคคลอื่นดําเนินการแทน (เอกสารฉบับจริงพร้อมติดอากรณ์แสตมป์)

11.เอกสารสําคัญที่ต้องยื่นเพิ่มเติมเพื่อประกอบตามวัตถุประสงค์

  1. กรณีทํางาน (Apply For Work)ต้องจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • สําเนาหนังสือเดินทางของนายจ้าง (A copy of employer’s passport)
    • การต่อวีซ่าทํางาน ให้แนบสําเนาหน้าวีซ่าทํางานปัจจุบัน (Visa Work Permit) พร้อมทั้งหนังสือรับรองการขอตรวจสอบประวัติจากบริษัท/นายจ้างมาประกอบ
    • การทํางานแห่งใหม่ ให้แนบสําเนาสัญญาการจ้างงานที่ลงนามโดยถูกต้องสมบูรณ์แล้ว(Work Contract)หรือหนังสือรับรองจากบริษัทผู้จ้างงานในต่างประเทศที่เสนอจะว่าจ้าง(Confirmation Letter from a Company/Job Offer) ระบุชื่อบุคคลพร้อมรายละเอียด การว่าจ้างและลงนามโดยสมบูรณ์ ( ดูรายละเอียดเพิ่มเติมในการจัดเตรียมเอกสารประกอบคําร้อง กรณีทํางานที่นอกเหนือจากวัตถุประสงค์นี้)
    • สําเนาหนังสือจดทะเบียนรับรองบริษัท หรือ ร้านค้าที่ว่าจ้าง (ทะเบียนการค้า)(A Company’s Registration)
  2. กรณีศึกษาต่อ (Apply for Education)ต้องจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • สําเนาหน้าวีซ่านักเรียนปัจจุบัน (Visa Student)
    • หนังสือรับรองการขอตรวจสอบประวัติจากสถานศึกษาหรือหนังสือตอบรับจากสถานศึกษาที่ผู้ร้องประสงค์จะเข้าศึกษา ( Confirmation Letter from University)
    • กรณีที่ศึกษาอยู่แล้วมีความประสงค์จะต้อวีซ่าให้แนบสําเนาหน้าวีซ่านักเรียนปัจจุบัน(Visa Student) พร้อมหนังสือรับรองการขอตรวจสอบประวัติจากสถานศึกษาหรือ หนังสือตอบรับจากสถานศึกษาที่ผู้ร้อง ประสงค์จะเข้าศึกษา (Confirmation Letter from university) และหนังสือตรวจสอบประวัติพร้อมใบพิมพ์ลายนิ้วมือฉบับจริง จากสถานีตํารวจในประเทศที่ศึกษาอยู่
  3. กรณีขอมีถิ่นที่อยู่(Apply for Resident)ต้องจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • ให้แนบหน้าสําเนาเอกสารการมีถิ่นที่อยู่ (Resident Visa ) หรือเอกสารอื่นๆ แสดงถึงสถานะการมีถิ่นที่อยู่ของท่านในปัจจุบัน หรือเอกสารการขอมีถิ่นที่อยู่จากสถานทูต(Request for further information)
    • สําเนาทะเบียนบ้านหรือหลักฐานการมีถิ่นที่อยู่ที่ต่างประเทศ (A copy of House Registration)
    • สําเนาหนังสือเดินทางของผู้ยื่นคําร้องต้อสถานทูตเพื่อขอมีถิ่นที่อยู่ให้กับทายาท หรือบุคคลในครอบครัว(กรณีไม่ใช่ทายาท หรือบุคคลในครอบครัว ต้องแนบหนังสือแสดงความเป็นโสด ประกอบการพิจารณา)
  4. กรณีสมรส (Apply for Marriage)ต้องจัดเตรียมเอกสารเพิ่มเติม ดังนี้
    • ให้แนบสําเนาหนังสือรับรองพร้อมเอกสารประจําตัวคู่สมรส /วีซ่าคู่หมั้น หรือ เอกสารการขอสมรสจากสถานทูต
    • กรณี มีทะเบียนสมรส
      • กรณีการไปแต่งงานในต่างประเทศ หากคู่สมรสไม่มีสัญชาติของประเทศนั้น ๆ ให้นําหลักฐานแสดงถึงการมีถิ่นที่อยู่ หรือ เอกสารรับรองการทํางานในประเทศนั้น ๆ ด้วย
      • ใบสําคัญการสมรส (พร้อมสําเนา 1 ชุด)
      • หลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 ต้องใช้ทะเบียนสมรส(คร.2)(พร้อมสําเนา 1ชุด)
      • ให้แนบหนังสือรับรองพร้อมเอกสารประจําตัวคู่สมรส / วีซ่าคู่หมั้น หรือ เอกสารการขอสมรส จากสถานทูต
      • สําเนาหนังสือเดินทางของคู่สมรส (A copy of spouse’s passport)
      • หนังสือส่งตัวจากสถานทูตพร้อมตราประทับรับรองจากสถานทูต
    • กรณีไม่มีทะเบียนสมรส
      • หลักฐานแสดงตนหรือหนังสือแสดง สถานภาพ (เช่น ใบหย่า คู่สมรสเสียชีวิต เป็นต้น)
      • หนังสือเชิญที่จะไปสมรสจากคู่สมรส (Marriage Invitation Letter)
      • หนังสือเดินทางหรือเอกสารประจําตัวของคู่สมรส (สําเนา passportของคู่สมรส)
      • หนังสือแสดงความเป็นโสด
      • หนังสือสืงตัวจากสถานทูตพร้อมตราประทับรับรองจากสถานทูต
      • กรณีการไปแต่งงานในต่างประเทศ หากคู่สมรสไม่มีสัญชาติของประเทศนั้น ๆ ให้นําหลักฐานแสดงถึงการมีถิ่นที่อยู่ หรือ เอกสารรับรองการทํางานในประเทศนั้น ๆ ด้วย
    • กรณีหย่าและต้องการไปสมรส
      • ใบสําคัญการหย่า (พร้อมสําเนา 1 ชุด)
      • หลังจากวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2551ต้องใช้ทะเบียนหย่า (คร.6)
  5. กรณีอื่น ๆ (Others)
    1. การขอรับบุตรบุญธรรม (Adoption)จะต้องมีหนังสือส่งตัวจากศูนย์รับบุตรบุญธรรม ฯ พร้อมสําเนาเอกสารประจําตัวของผู้ขอรับบุตรบุญธรรม
    2. กรณีติดตามคู่สมรสจะต้องมีเอกสารประจําตัวคู่สมรสและสําเนาทะเบียนสมรส พร้อมเอกสารประกอบตามวัตถุประสงค์ของคู่สมรส ( แปลเป็นไทย กรณีเป็นภาษาต่างประเทศ )

หมายเหตุ : ในการยื่นคําร้องขอหนังสือรับรองความประพฤติทุกกรณี ผู้ร้องจะต้อง

  1. ยื่นใบคําร้องด้วยตนเองพร้อมสําเนาหลักฐานทุกฉบับและรับรองความถูกต้อง
  2. ชําระค่าธรรมเนียมในการขอตรวจสอบประวัติ จํานวน 100 บาทเริ่มตั้งแต่ 1 ตุลาคม 2555 เป็นต้นไป (แนบเงินสดส่งไปพร้อมกับไปรษณีย์ในกรณีที่ส่งทางไปรษณีย์)
  3. กรณีดําเนินการโดยผ่านบริษัทนายหน้าหรือบุคคลอื่นจะต้องมีหนังสือมอบอํานาจโดยต้องแนบสําเนาบัตรประชาชน/สําเนาหนังสือเดินทางของทั้งผู้มอบอํานาจและผู้รับมอบอํานาจ หนังสือรับรองบริษัทฯ (กรณีเป็นนิติบุคคล) พร้อมติดอากรแสตมป์ จํานวน 10 บาท(A Letter of Power of Attorney must be submitted with a copy of ID Card/Passport of Grantor of Authorization and Authorization Representative, a copy of company’s registration and revenue stamp amount 10 baht)
  4. กรณีผู้ร้องยื่นเอกสารครบถ้วนและตรวจสอบไม่พบประวัติการกระทําความผิดหรือไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคงจะพิจารณาอนุมัติออกหนังสือรับรองความประพฤติให้ภายในระยะเวลา 15วัน ทํา การ (A certificate processing period is approximately 15 business days)
  5. กรณีเอกสารที่ต้องใช้ในการยื่นประกอบคําร้องเป็นภาษาต่างประเทศ ให้แปลเป็นภาษาไทย โดยรับรองการแปลจากหน่วยงานหรือสถาบันการแปลภาษาที่น่าเชื่อถือ (All required documents must be translated in Thai/English language by a qualified translator)

อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่ CLICK

Download Application Form แบบฟอร์มการขอหนังสือรับรองความประพฤติได้ที่นี่ CLICK

ขอหนังสือรับรองความประพฤติที่ไหน

ขอหนังสือรับรองความประพฤติที่ไหน

ขอใบรับรองความประพฤติ คืออะไร

หนังสือรับรองความประพฤติหรือหนังสือรับรองประวัติอาชญากรรม คือ หนังสือที่ออกจากหน่วยงานราชการ เป็นเอกสารในการพิสูจน์ตัวบุคคลว่า ไม่มีประวัติอาชญากรรม หรือมีคดีอาญาใดๆติดตัว และไม่มีภัยต่อความมั่นคง เพื่อยื่นต่อสถานทูตต่างประเทศที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย หรือหน่วยงานอื่นในต่างประเทศ เพื่อใช้ในการดำเนินการตามความจำเป็นบาง ...

หนังสือรับรองความประพฤติใช้อะไรบ้าง

หนังสือรับรองความประพฤติ.
สำเนาหนังสือเดินทางไทย (มีอายุมากกว่า 6 เดือน พร้อมทั้งเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง).
สำเนาบัตรประชาชนไทย (กรณีบัตรประชาชนหมดอายุ ให้กรอกเอกสารบันทึกสอบปากคำ ณ สถานกงสุลใหญ่เพิ่มเติมด้วย พร้อมทั้งเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง).
สำเนาทะเบียนบ้าน (ถ้ามี พร้อมทั้งเซ็นต์รับรองสำเนาถูกต้อง).

ขอหนังสือรับรองความประพฤติกี่วันได้

5. กรณีผู้ร้องยื่นเอกสารครบถ้วน และตรวจสอบไม่พบประวัติการกระทําความผิดหรือไม่มีพฤติการณ์ที่เป็นภัยต่อความมั่นคง จะพิจารณาอนุมัติออกหนังสือรับรองความประพฤติใหภายในระยะเวลา 30 วันทําการ (A certificate processing period is approximately 30 business days)

หนังสือรับรองความประพฤติ มีอายุกี่ปี

หัวหน้ากลุ่มบริหารงานกิจการนักเรียน หมายเหตุ ใบรับรองความประพฤตินี้มีอายุ 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ออกให้ )