รูปแบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

9.5 รูปแบบการทำธุรกิจของ E-Commerce


1. ธุรกิจกับธุรกิจ (Business to Business: B2B) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการให้บริการแก่ผู้ประกอบการด้วยกัน ตัวอย่างเช่นผู้ประกอบการในระดับเดียวกัน หรือต่างระดับกันก็ได้ หรือผู้ผลิตกับผู้ผลิต ผู้ผลิตกับผู้ส่งออก ผู้ผลิตกับผู้นำเข้าผู้ผลิตกับผู้ค้าส่งและค้าปลีก เป็นต้น ซึ่งในปัจจุบันพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ประเภทนี้มีความสำคัญมากที่สุด ตัวอย่าง Website เช่น
บริษัทไมโครซอฟต์เป็นบริษัทซอฟต์แวร์ผู้ผลิตซอฟต์แวร์ (www.micorsoft.com) บริษัทซิสโกเป็นบริษัทขายอุปกรณ์เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต และอุปกรณ์ทางด้านเครือข่ายอื่นๆ โดยขายผ่านเว็บแบบธุรกิจต่อธุรกิจ (www.cisco.com) ขายส่งสินค้าอุปโภคบริโภค (http://www.tesco.co.th/th/index.html) ขายสินค้าทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ(http://www.value.co.th/th/main.asp) และ ตลาดซื้อขายออนไลน์ (http://www.b2bthai.com/) เป็นต้น


2. ธุรกิจกับผู้บริโภค (Business to Consumer: B2C) หมายถึง ธุรกิจที่มุ่งเน้นการบริการกับลูกค้าหรือผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ (electronic retailing) เราสามารถแบ่งระดับของกิจกรรมของ คือ การค้าปลีกอิเล็กทรอนิกส์ออกเป็น 5 ระดับดังต่อไปนี้คือ การโฆษณาและแสดงสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic showcase) เพียงอย่างเดียว, การสั่งซื้อสินค้าทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic ordering) สามารถสั่งซื้อได้, การชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic payment) สามารถชำระเงินได้, การจัดส่งและบริการหลังการขายด้วยอินเทอร์เน็ต (Electronic delivery and service) สามารถจัดส่งและบริการหลังการขายได้ และ การทำธุรกรรมและการแลกเปลี่ยนทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic transaction) สามารถทำการแลกเปลี่ยนได้ ตัวอย่าง Website เช่น
บริการผู้ขายปลีกสินค้าผ่านเว็บไซต์โดยทำการขายหนังสือไปทั่วโลก (www.amazon.com) บริการการจองตั๋วเครื่องบินของบริษัทการบินไทยผ่านเว็บไซต์ (www.thaiair.com) ขายเครื่องประดับ (http://www.abcjewelry.com/) และ ขายอาหาร(http://www.pizza.co.th/) ขายหนังสือ (http://www.se-ed.com)เป็นต้น


3. ธุรกิจกับรัฐบาล (Business to Government: B2G) หมายถึง ธุรกิจการบริหารการค้าของประเทศเพื่อเน้นการบริหารการจัดการที่ดีของรัฐบาล ตัวอย่างเช่น การเผยแพร่ข้อมูลเพื่อการเปิดประมูลผ่านทางเครือข่ายเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของรัฐ (government procurement), การจดทะเบียนการค้า, การรายงานผลการประกอบการประจำปี, การสืบค้นเครื่องหมายการค้า หรือสิทธิบัตรผ่านทางเครือข่าย เป็นต้น ตัวอย่าง Website เช่น
การประกาศจัดจ้างของภาครัฐในเว็บไซต์ (www.mahadthai.com) และ ระบบอีดีไอในพิธีการกรมศุลกากร (www.customs.go.th)


4. ผู้บริโภคกับผู้บริโภค (Consumer to Consumer: C2C) หมายถึง ธุรกิจระหว่างผู้บริโภคกับผู้บริโภค ซึ่งเป็นการค้ารายย่อย อาทิ การขายของเก่าให้กับบุคคลอื่นๆ ผ่านทางอินเตอร์เน็ต ตัวอย่าง Website เช่น
เป็นแหล่งที่ผู้ขายมาเสนอขายและผู้ซื้อประมูลซื้อแข่งกันผู้ซื้อและผู้ขายติดต่อกันผ่านอีเมล์ (www.ebay.com) ประกาศขายสินค้าเกี่ยวกับอุปกรณ์ทางด้านคอมพิวเตอร์ มีการลงทะเบียนเป็นสมาชิก สามารถจัดส่งสินค้าได้ (www.pantipmarket.com) และขายของมือสอง (http://www.thaisecondhand.com) เป็นต้น

รูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

     แบ่งกันตามความสัมพันธ์ทางการตลาดได้ 3 รูปแบบดังนี้

        1. แบบธุรกิจกับธุรกิจ (B2B : Business to Business) เป็นธุรกรรมระหว่างผู้ดำเนินธุรกิจด้วยกันเอง ส่วนใหญ่เป็นการตกลงซื้อขายสินค้าบริการปริมาณมาก 

รูปแบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

ภาพแสดงความสัมพันธ์ ธุรกิจแบบ (B2B : Business to Business)

ที่มา : http://www.logisticsexchange.net/th/register.php

        2. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (C2C : Consumer to Consumer) ผู้ชื่อและผู้ขายจำนวนมากจะเข้ามาเพื่อติดต่อแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ ส่วนใหญ่จะเป็นสินค้ามือสองหรือการประมูล

รูปแบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

ภาพแสดงความสัมพันธ์ ธุรกิจแบบ (C2C : Consumer to Consumer)

http://www.boardofinnovation.com/business-model-examples/the-broker

        3. แบบธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C:Business to Consumer) เป็นการทำธุรกรรมกันระหว่างผู้ประกอบการกับผู้บริโภค ไม่ต้องผ่านพ่อค้าคนกลาง เช่นการจองที่พักโรงแรม เสื้อผ้า

รูปแบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

การติดต่อระหว่าง ผู้ประกอบการกับผู้บริโภค

ที่มา : http://www.b2ccreation.com/images/B2C-eCommerce.jpg

ขั้นตอนการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์

     •ขั้นตอนที่ 1 ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์

        •ออกแบบด้วยรูปลักษณ์ที่สวยงาม น่าสนใจ

        •ออกแบบขั้นตอนวิธีที่ใช้ง่ายและสะดวก

        •ออกแบบเว็บให้ทันสมัยและเป็นปัจจุบัน

        • ออกแบบด้วยการสร้างความแตกต่าง

     •ขั้นตอนที่ 2 การโฆษณาออนไลน์

        •ลงประกาศตามกระดานข่าว

        •จัดทำป้ายโฆษณาออนไลน์

        •โฆษณาผ่านอีเมล์

        •แผยแพร่ผ่านสื่ออื่นๆ

        •ลงทะเบียนกับผู้ให้บริการค้นหาข้อมูล

        •การลงทะเบียนเพื่อโฆษณาเว็บไซต์

     •ขั้นตอนที่ 3 การทำรายการซื้อขาย

        •ต้องรักษาความลับได้

        •เชื่อถือได้

        •พิสูจน์ทราบตัวตนจริงๆของทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย

     •ขั้นตอนที่ 4 การส่งมอบสินค้า

        •สินค้าที่จับต้องได้ (Hard goods)

        •สินค้าที่จับต้องไม่ได้(Soft goods)

           •software,รูปภาพ และเพลง ,บริการข้อมูลข่าวสาร

     •ขั้นตอนที่ 5 การบริการหลังการขาย 

รูปแบบการทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มีกี่รูปแบบอะไรบ้าง

แผนภาพ แสดงการค้าแบบอิเล็กทรอนิกส์

ที่มา : http://www.ecommerce.or.th/newsletter/dec1999.html

แหล่งข้อมูล : http://std.kku.ac.th/5030503533/e-commerce.htm

                    : http://www.guru-ict.com/guru/index.php?option=com_content&task=view&id=53&Itemid=26

                    : http://std.eng.src.ku.ac.th/~korawit/file/204112/12.ppt

                    : http://bananaclick.com/pd1113806484.htm

การทำธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์มี 2 รูปแบบคืออะไรบ้าง

ลักษณะของธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์.
การทาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่มีผลทางสัญญา เช่น การแลกเปลี่ยนข้อมูล การให้ข้อมูลระหว่างกัน การรับส่งข้อมูลด้วยจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ ftp โดยผู้รับส่งไม่ต้องการให้มีผลทางสัญญา.
การทาธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลทางสัญญา การทาธุรกรรมในลักษณะนี้ย่อมก่อให้เกิดสัญญาและใช้เป็นหลักฐานได้.

การทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ มีอะไรบ้าง

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การ ...

ข้อใดคือรูปแบบของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

e-Commerce (Electronic Commerce) คือ อีคอมเมิร์ซ, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุก ...

G2C คืออะไร และให้ยกตัวอย่าง

5. G2C (Government to Customer) การบริการของภาครัฐสู่ประชาชนผ่านสื่ออิเล็กทรอนิคส์ เช่นการเสียภาษีผ่านอินเตอร์เน็ต การให้บริการบริการข้อมูลสู่ประชาชนผ่านอินเตอร์เน็ต เป็นต้น