กฎหมายใดบ้างที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา

1.การประกันคุณภาพหมายความว่าอย่างไร ?

   กิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งได้รับการวางแผนและจัดระบบแล้วในกระบวนการบริหารคุณภาพ ที่ช่วยสร้างความมั่นใจว่าจะได้คุณภาพตามที่กำหนดไว้

2.การประกันคุณภาพการศึกษาหมายความว่าอย่างไร ?

   การทำกิจกรรมหรือการปฏิบัติภารกิจหลักอย่างเป็นระบบตามแบบแผนที่กำหนดไว้โดยมีการควบคุมคุณภาพ  การตรวจสอบคุณภาพ  และการประเมินคุณภาพ 

 จนทำให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานของดัชนีชี้วัดระบบและกระบวนการผลิต ผลผลิตและผลลัพธ์ของการจัดการศึกษา

3.กฎหมายและมาตราใดที่ทำให้เกิดระบบการประกันคุณภาพการศึกษา ?

   กฎหมายรัฐธรรมนูญ และพระราชบัญญัติการศึกษา พ.ศ.2542 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545

มาตรา 47 ให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบการประกันคุณภาพภายในและระบบการประกันคุณภาพภายนอก ระบบ  หลักเกณฑ์  และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา  ให้เป็นไปตามที่กำหนดในกฎกระทรวง

   มาตรา 48 ให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาและให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งขอ

กระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง  โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัด  หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  และเปิดเผยต่อสาธารณชน  เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาและเพื่อรองรับการประกันคุณภาพภายนอก

   มาตรา 49 ให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์การมหาชนทำหน้าที่พัฒนาเกณฑ์  วิธีการประเมินคุณภาพภายนอก

และทำการประเมินผลการจัดการศึกษาเพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา  โดยคำนึงถึงความมุ่งหมายและหลักการ  และแนวการจัดการศึกษาในแต่ละระดับตามที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้

มาตรา 50 ให้สถานศึกษาให้ความร่วมมือในการจัดเตรียมเอกสารหลักฐานต่างๆ ที่มีข้อมูลเกี่ยวข้องกับสถานศึกษา  ตลอดจนให้บุคลากรคณะกรรมการของ

สถานศึกษา  รวมทั้งผู้ปกครองและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสถานศึกษาให้ข้อมูลเพิ่มเติมในส่วนที่พิจารณาเห็นว่าเกี่ยวข้องกับการปฏิบัติภารกิจของสถานศึกษา ตามคำร้องขอของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สำนักงานดังกล่าวรับรองที่ทำการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษานั้น

   มาตรา 51 ในกรณีที่ผลการประเมินภายนอกของสถานศึกษาใดไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนด ให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาจัดทำ

ข้อเสนอแนะการปรับปรุงแก้ไขต่อหน่วยงานต้นสังกัด เพื่อให้สถานศึกษาปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่กำหนด หากมิได้ดำเนินการดังกล่าวให้สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษารายงานต่อคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานหรือคณะกรรมการการอุดมศึกษาเพื่อดำเนินการให้มีการปรับปรุงแก้ไข

4.การประกันคุณภาพการศึกษา มีประโยชน์อย่างไรบ้าง ?

1.ผู้เรียนและผู้ปกครองมีหลักประกันและความมั่นใจว่าสถานศึกษาจะจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด

    2.ครูได้ทำงานอย่างมืออาชีพ มีการทำงานที่เป็นระบบ โปร่งใส มีความรับผิดชอบที่ตรวจสอบได้ มีประสิทธิภาพ และเน้นคุณภาพ ได้พัฒนาตนเองและผู้เรียนอย่างต่อเนื่องทำให้เป็น ที่ยอมรับของผู้ปกครองและชุมชน

    3.ผู้บริหารได้ใช้ภาวะผู้นำและความรู้ ความสามารถในการบริหารงานอย่างเป็นระบบและมีความโปร่งใส เพื่อพัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ เป็นที่ยอมรับและนิยมชมชอบของผู้ปกครองและชุมชน ตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจและเป็นประโยชน์ต่อสังคม

    4.กรรมการสถานศึกษาได้ทำงานตามบทบาทหน้าที่อย่างเหมาะสม เป็นผู้ที่ทำประโยชน์และมีส่วนพัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพทางการศึกษาให้แก่เยาวชนและชุมชนร่วมกับผู้บริหารและครู สมควรที่ได้รับความไว้วางใจให้มาเป็นกรรมการสถานศึกษา

    5.หน่วยงานที่กำกับดูแล ได้สถานศึกษาที่มีคุณภาพและศักยภาพในการพัฒนาตนเอง ซึ่งจะช่วยแบ่งเบาภาระในการกำกับ ดูแลสถานศึกษา และก่อให้เกิดความมั่นใจในคุณภาพทางการศึกษาและคุณภาพของสถานศึกษา

    6.ชุมชนและสังคมประเทศชาติ ได้เยาวชนและคนที่ดี มีคุณภาพและศักยภาพที่จะช่วยพัฒนาองค์กร ชุมชน และสังคมประเทศชาติต่อไป

    7.ผู้รับบริการได้รับความพึงพอใจจากการให้บริการของหน่วยงาน 

5.insure กับ Assure แตกต่างกันอย่างไร ?

   insure ภาษาไทยใช้คำว่า ประกัน โดยมุ่งที่ประกันชีวิต ประกันอุบัติเหตุ ประกันวินาศภัย

   Assure ภาษาไทยใช้คำว่า ประกัน เช่นกัน แต่มุ่งที่ให้ความมั่นใจแก่เจ้าของเงินว่า ผลผลิตของหน่วยงานน่าจะมีคุณภาพ

6.ระบบการประกันคุณภาพ มีกี่ขั้นตอน อะไรบ้าง ?

   ระบบการประกันคุณภาพ มีกี่ 3 ขั้นตอน ดังนี้

           1.การควบคุมคุณภาพ เป็นการกำหนดมาตรฐานคุณภาพ การพัฒนาสถานศึกษาให้เข้าสู่มาตรฐาน

           2.การตรวจสอบคุณภาพ เป็นการตรวจสอบและติดตามผลการดำเนินงาน

           3.การประเมินคุณภาพ เป็นการประเมินคุณภาพของสถานศึกษา โดยหน่วยงานที่กำกับดูแลในเขตพื้นที่

7.การควบคุมคุณภาพ หมายความว่าอย่างไร ?

   การมีระบบและกลไกในแต่ละองค์ประกอบ คุณภาพเพื่อกำกับการดำเนินงานของสถาบันให้ได้ผลตามดัชนีบ่งชี้คุณภาพที่กำหนด

8.การตรวจสอบคุณภาพ หมายความว่าอย่างไร ?

   กระบวนการในการศึกษาวิเคราะห์ว่าสถาบันมี ระบบ และกลไกควบคุมคุณภาพ และได้ปฏิบัติ ตลอดจนมีผลการปฏิบัติตามระบบ และกลไกดังกล่าว

9.การประเมินคุณภาพ หมายความว่าอย่างไร ?

   กระบวนการวิเคราะห์และเปรียบเทียบผลการ ดำเนินงานของสถาบันว่า ส่งผลต่อคุณภาพตามดัชนีบ่งชี้

10.การประเมินคุณภาพภายในกับการประเมินคุณภาพภายนอกแตกต่างกันอย่างไร ? จงบอกความแตกต่างมาอย่างน้อย 2 ประการ

     1.การประกันคุณภาพภายใน เป็นการตรวจสอบ การควบคุม การติดตาม ประเมินผลคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถาบันการศึกษานั้นทั้งหมด หรือโดยหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กำกับดูแลสถาบันการศึกษานั้น ผลจากการตรวจสอบคุณภาพภายใน คือ มีการวางระบบงานที่มีระบบและกลไกที่ชัดเจน มีการดำเนินงานรวมทั้งมีการพัฒนาฐานข้อมูลในด้านต่างๆ ส่วนการประกันคุณภาพภายนอกเป็นการประเมินคุณภาพการจัดการศึกษา การติดตาม การตรวจสอบ คุณภาพและมาตร ฐานการศึกษาของสถาบันการศึกษาซึ่งกระทำโดยหน่วยงานภายนอก หรือผู้ประเมินภายนอก เพื่อมุ่งให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถาบันการศึกษาให้ดียิ่งขึ้น 

     2.การประกันคุณภาพภายใน จะเน้นการตรวจสอบและประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาด้านต่างๆ ของปัจจัยนำเข้า (Input) และกระบวนการ (Process) ส่วนการประกันคุณภาพภายนอก จะเน้นการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาในด้านต่างๆของผลผลิต (Output) และผลลัพธ์ (Outcome)

1. พุทธปรัชญากับการประกันคุณภาพการศึกษา

    พระพุทธเจ้าตรัสรู้

        -กฏแห่งกรรม  กฏแห่งการกระทำ ใครกระทำกรรมอันใดไว้ ดีหรือชั่วก็ตาม บุคคลผู้กระทำนั้นจักต้องเป็นผู้รับผลของกรรมนั้นๆ เสมอ และไม่มีใครมารับผลของ                                  กรรมแทนบุคคลอื่นได้ เช่น ทำดีได้ดี  ทำชั่วได้ชั่ว

        -กฏไตรลักษณ์  สรรพสิ่งมีการเปลี่ยนแปลงนิรันดร (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา ) ไม่เที่ยง ไม่ทน ไม่มีตัวตน  

               อนิจจัง คือ ทุกสิ่งทุกอย่างไม่เที่ยง เป็นอนิจจัง ซึ่งเป็นกฎของธรรมชาติ ไม่ว่าอะไรก็ไม่ยืนยงคงอยู่ เช่น โลกที่เราอยู่นี้ก็เปลี่ยนสภาพมา

                                หลายครั้งหลายครา ที่เคยเป็นภูเขาก็กลายเป็นทะเลจมอยู่ใต้น้ำ

               ทุกขัง คือ   ทุกสิ่งเป็นทุกข์ ในส่วนของความสุขเองก็มีทุกข์แฝงอยู่ กลัวจะไม่ยั่งยืน เปลี่ยนแปรไป ซึ่งเรื่องของทุกข์นี้ได้เขียนไว้แล้ว ทุกข์จึงเป็นองค์                                        ประธานของพุทธศาสนาเพราะเป็นกฎของธรรมชาติ

               อนัตตา คือ ไม่มีตัวตน

        -กฏอริยสัจสี่  (ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค) ความจริงอันประเสริฐ

               ทุกข์ คือ สภาพที่ทนได้ยาก

              สมุทัย คือ สาเหตุที่ทำให้เกิดทุกข์

              นิโรธ คือ ความดับทุกข์ 

              มรรค คือ แนวปฏิบัติที่นำไปสู่หรือนำไปถึงความดับทุกข์ 

        -กฏปฏิจจสมุบาทอิทัปจจัยตา ( เหตุปัจจโย ) ไม่มีอะไรบังเอิญ...ไม่มีอะไรที่เกิดขึ้นมาลอยๆ 

                ทุกอย่างมีเหตุให้เกิดขึ้น....จึงเกิดขึ้น... 

                มีเหตุให้ตั้งอยู่.... จึงตั้งอยู่.....

                มีเหตุให้แตกสลาย..... จึงแตกสลาย......

1.ธูปดอกเดียว เป็นปริศนาอะไร

   ธูป 1 ดอก หมายความถึงชีวิตของคน…แต่ละคนมี 1 ชีวิตเท่ากัน ธูปส่วนที่ถูกเผาหมายถึงช่วงเวลาที่ดำเนินชีวิตมาแล้ว ส่วนธูปที่เหลือคือช่วงเวลาที่เหลืออยู่

2.ทำไมต้องใช้ดอกไม้สดทำพวงหรีด

3.ทำไมต้องรดน้ำศพ

   เป็นธรรมเนียมอย่างหนึ่งในพิธีทำศพ ซึ่งจะทำกันก่อนนำศพใส่โลง เหตุที่ต้องมี การอาบนํ้าศพ เพราะต้องการให้ร่างกายของคนตายสะอาดบริสุทธิ์ เช่นเดียวกับ พวกพราหมณ์ ในอินเดีย ลงอาบนํ้าชำระบาปในแม่นํ้า 

   การรดนํ้าศพเป็นปริศนาธรรม ให้เห็นว่า คนเราเมื่อตายไปแล้ว แม้นำของหอมหรือนํ้าอบ นํ้ามนต์ใดๆ มารด ก็ไม่อาจที่จะฟื้นคืนชีพมาได้ ผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ไม่ควรประมาท ควรเร่งขวนขวาย สร้างกุศล และคุณงามความดีไว้ เพราะท่านยังมีโอกาสได้กระทำ ส่วนคนที่ตายไปแล้วนั้น หมดโอกาสแล้ว

4.มาตราสังข์

5.สวดพระอภิธรรม

   พระอภิธรรม คือ สภาพธรรมที่มีจริง ที่แสดงถึง สภาพธรรมที่ไม่มีสัตว์ บุคคล ที่เป็นจิต เจตสิก รูป ซึ่ง อุบายที่มีการสวดพระอภิธรรมในงานศพ เพราะด้วยหตุผลประการหนึ่ง คือ พระอภิธรรม จะอันตรธานก่อนจึงให้มีการจัดสวด เพื่อการทรงจำของพระภิกษุและพุทธบริษัทไว้ และ อีกประการหนึ่ง เพื่อแสดงถึงความจริงของสภาพธรรมที่มีจริงว่าเป็นแต่เพียงธรรมไ่ม่ใช่เรา เพื่อคลายโศกว่าไม่มีใครมีแต่สภาธรรมที่เกิดขึ้นและดับไป 

2. การศึกษาศตวรรษที่ 21

      เป้าหมายการศึกษา ตามพุทธศาสนา

           พุทธิศึกษา

           จริยศึกษา

           หัตถศึกษา

           พลศึกษา

CAP

   C-Cognitive Domain        พุทธิพิสัย

   A-Affective Domain          จิตพิสัย

   P-Psychomotor Domain   ทักษะพิสัย

 

กฎหมายใดบ้างที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา

กฎหมายใดบ้างที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา


        ปัจจุบันโลกแห่งการศึกษาได้ก้าวหน้าและพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ รูปแบบการเรียนรู้ก็ต้องปรับปรุงไปเรื่อยๆเพื่อให้เข้ากับยุคสมัย โดยเด็กนักเรียนจะมีการเรียนรู้ที่ยืดหยุ่น สร้างสรรค์ และท้าทาย มองเห็นปัญหาเป็นโจทย์ให้นักเรียนได้เรียนรู้วิธีการแก้ไข ซึ่งทักษะที่จำเป็นในการเรียนรู้ในศตวรรษที่21 คือ 3R8C โดยมี

รายละเอียดดังนี้

อย่างแรกคือ 3R คือทักษะพื้นฐานที่จำเป็นต่อผู้เรียนทุกคน มีดังนี้

1. Reading คือ สามารถอ่านออก

2. (W)Riteing คือ สามารถเขียนได้

3. (A)Rithmatic คือ มีทักษะในการคำนวณ

และอีกอย่างที่สำคัญไม่แพ้ 3R คือ 8C ซึ่งเป็นทักษะต่างๆที่จำเป็นเช่นกัน ซึ่งทุกทักษะสามารถนำไปปรับใช้ในการเรียนรู้ได้ทุกวิชา มีดังนี้

1. Critical thinking and problem solving คือ มีทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสามารถแก้ไขปัญหาได้

2. Creativity and innovation คือ การคิดอย่างสร้างสรรค์และคิดเชิงนวัตกรรม

3. Cross-cultural understanding คือ ความเข้าใจในความแตกต่างของวัฒนธรรมและกระบวนการคิดข้ามวัฒนธรรม

4. Collaboration teamwork and leadership คือ ความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม และภาวะความเป็นผู้นำ

5. Communication information and media literacy คือ มีทักษะในการสื่อสารและการรู้เท่าทันสื่อ

6. Computing and IT literacy คือ มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์และรู้เท่าทันเทคโนโลยี

7. Career and learning skills คือ มีทักษะอาชีพและการเรียนรู้

8. Compassion คือ มีความเมตตากรุณา มีคุณธรรม และมีระเบียบวินัย

ทักษะทั้งหมดที่ได้กล่าวมาเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับนักเรียนในยุคการเรียนรู้แห่งศตวรรษที่ 21 เป็นอย่างมาก ซึ่งมีความแตกต่างจากการเรียนรู้ในสมัยก่อน 
ทำให้การเรียนรู้ของนักเรียนในศตวรรษที่ 21 มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น

3. แนวทางการจัดการศึกษาศตวรรษที่ 21

      คำสัญญา "1996" เพื่อความสำเร็จ "2023"

          Life Long Learning

      แนวการจัดการศึกษา

          The Four pillars of Learning

      เป้าหมายของการศึกษา

          ( Taxonomy of Education Objectives )

      คุณลักษณะและศักยภาพคนในศตวรรษที่ 21

กฎหมายใดบ้างที่สำคัญและเกี่ยวข้องกับการประกันคุณภาพการศึกษา

การเรียนรู้ประกอบด้วย 4 เสาหลักแห่งการเรียนรู้ คือ

-Learning to know เป็นการเรียนเพื่อรู้

เรียนวิธีการแสวงหาความรู้

การต่อยอดความรู้ที่มีอยู่

การสร้างองค์ความรู้ใหม่

-Learning to do เป็นการเรียนเพื่อนำไปใช้งาน

เน้นการปฏิบัติ

การทำงานร่วมกับผู้อื่น

ปฏิบัติเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคม

-Learning to live together เป็นการเรียนรู้เพื่ออยู่ร่วมกันอย่างสันติ

เรียนรู้ผ่านโครงงาน

พึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน

มีความรู้ความเข้าใจในผู้อื่น

-Learning to be เป็นการเรียนรู้เพื่อความเป็นมนุษย์

อิสระทางด้านควาามคิด

มีความรับผิดชอบ

รู้จักการตัดสินใจ

ส่งเสริมศักยภาพของบุคคล

มุ่งมั่นสู่ความสำเร็จ

4. ความหวังของการศึกษาไทย

เคยถามว่า...การศึกษา...ใยไม่เป็นดังที่หวัง

เพื่อร่วมชีวิต... บอกว่า... สักวันหนึ่ง...ต้องเป็นดังที่หวัง

หลายคน...ผิดหวัง

หลายคน...สิ้นหวัง

หลายคน...ฝากความหวัง

หลายคน....ไม่มีโอกาสทำสิ่งที่หวัง

วันนี้...เรามีโอกาสทำสิ่งที่หวัง

เรา...คือ...ตัวแทนแห่งความหวัง

เรา...คือ...ความหวังของแผ่นดิน

มาตรฐานและการประกันคุณภาพการศึกษา

มาตรา 47  กำหนดให้มีระบบการประกันคุณภาพการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาทุกระดับ ประกอบด้วย ระบบประกันคุณภาพภายใน และระบบการประกันคุณภาพภายนอก 

มาตรา 48  กำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง โดยมีการจัดทำรายงานประจำปีเสนอต่อหน่วยงานต้นสังกัดหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษา และเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพภายนอก

มาตรา  49  กำหนดให้มีสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษามีฐานะเป็นองค์กรมหาชน เพื่อให้มีการตรวจสอบคุณภาพของสถานศึกษา ในพระราชบัญญัติการศึกษากำหนดไว้ให้มีการประเมินคุณภาพภายนอกของสถานศึกษาทุกแห่งอย่างน้อยหนึ่งครั้งในทุกห้าปี