สรุป พร บ จัดหา งานและคุ้มครองคนหางาน

สรุป พร บ จัดหา งานและคุ้มครองคนหางาน

  1. ใครคือผู้รักษาการตามพระราชบัญญัตินี้
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวง
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวง

ตอบ    ก. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

  1.  “ตัวแทนจัดหางาน” หมายความว่าอย่างไร
  • ผู้รับใบอนุญาตจัดหางานตามพระ ราชบัญญัตินี้
  • บุคคลซึ่งประสงค์จะทำงาน โดย เรียกหรือรับค่าจ้างเป็นเงินหรือประโยชน์อย่างอื่น
  • ผู้ซึ่งผู้รับอนุญาตจดทะเบียนให้ เป็นตัวแทนจัดหางานตามพระราชบัญญัตินี้
  • ไม่มีข้อถูก

ตอบ   ค.ผู้ซึ่งผู้รับอนุญาตจดทะเบียนให้ เป็นตัวแทนจัดหางานตามพระราชบัญญัตินี้

  1. พระราชบัญญัติจัดหางานและคุ้มครองคนหางาน พ.ศ. 2528  มีกี่หมวด กี่มาตรา
  • 6 หมวด  69  มาตรา  1 บทเฉพาะกาล
  • 7 หมวด  69  มาตรา  1 บทเฉพาะกาล
  • 6 หมวด  96  มาตรา  1 บทเฉพาะกาล
  • 7 หมวด  96  มาตรา  1 บทเฉพาะกาล

ตอบ    ง. 7   หมวด  96  มาตรา  1 บทเฉพาะกาล  

  1. การจัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นในกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรียกว่าอะไร
  • กรมการจัดหางาน
  • สำนักจัดหางาน กรมการ จัดหางาน
  • บริษัทจัดหางาน
  • สำนักจัดหางาน

ตอบ  ข. สำนักจัดหางาน กรมการ จัดหางาน

มาตรา 7 ให้จัดตั้งสำนักงานจัดหางานขึ้นในกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม เรียกว่า “สำนักจัดหางาน กรมการ จัดหางาน” มีหน้าที่จัดหางานให้แก่ประชาชนโดยไม่คิดค่าบริการ

  1. ห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานทำงานในประเทศ เว้น แต่จะได้รับใบอนุญาตจากใคร
  • นายทะเบียน
  • คณะกรรมการกองทุน
  • อธิบดีกรมการจัดหางาน
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

ตอบ   ก. นายทะเบียน       

  1. การจัดตั้งสำนักงานทะเบียนจัดหางานกลางขึ้นในกรมการจัด หางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม  ใครเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่พระราชบัญญัตินี้
  • นายทะเบียนจัดหางานกลาง
  • ทะเบียนจัดหางานจังหวัด
  • อธิบดีกรมการจัดหางาน
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

ตอบ  ก.นายทะเบียนจัดหางานกลาง

                มาตรา 6 ให้จัดตั้งสำนักงานทะเบียนจัดหางานกลางขึ้นในกรมการจัด หางาน กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม โดยมีนายทะเบียนจัดหางาน กลางเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่พระราชบัญญัตินี้
ในจังหวัดอื่นนอกจากกรุงเทพมหานคร จะจัดตั้งสำนักงานทะเบียนจัดหา งานจังหวัดขึ้นตรงต่อสำนักงานทะเบียนจัดหางานกลางก็ได้ โดยมีนาย ทะเบียนจัดหางานจังหวัดเป็นผู้มีอำนาจและหน้าที่ตามพระราชบัญญัตินี้

  1. ข้อใด ไม่ใช่ คุณสมบัติของผู้ขออนุญาตจัดหางานในประเทศ
  • มีอายุไม่ต่ำกว่า  18  ปีบริบูรณ์
  • ไม่เป็นผู้รับอนุญาตจัดหางาน
  • ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน
  • ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้รับ อนุญาตจัดหางาน

ตอบ   ก. มีอายุไม่ต่ำกว่า  18  ปีบริบูรณ์

มาตรา 9 ผู้ขออนุญาตจัดหางานในประเทศต้องมีคุณสมบัติ และไม่มี ลักษณะต้องห้ามดังนี้
(1) มีสัญชาติไทย
(2) มีอายุไม่ต่ำกว่ายี่สิบปีบริบูรณ์
(3) ไม่เป็นผู้รับอนุญาตจัดหางาน
(4) ไม่เป็นผู้อยู่ในระหว่างถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตจัดหางาน
(5) ไม่เคยถูกเพิกถอนใบอนุญาตจัดหางาน
(6) ไม่เป็นคนไร้ความสามารถหรือคนเสมือนไร้ความสามารถ
(7) ไม่เป็นผู้มีหรือเคยมีความประพฤติเสื่อมเสียหรือบกพร่องในศีล ธรรมอันดี
(8) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคลซึ่งเป็นผู้รับ อนุญาตจัดหางาน
(9) ไม่เป็นกรรมการ หุ้นส่วน หรือผู้จัดการของนิติบุคคลซึ่งถูกเพิกถอน ใบอนุญาตจัดหา

งานหรืออยู่ในระหว่างใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต จัดหางาน
(10) ไม่เคยได้รับโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดหรือคำสั่งที่ชอบด้วย กฎหมายให้จำคุก

ในความผิดที่กฎหมายบัญญัติให้ถือเอาการกระทำโดยทุจริต เป็นองค์ประกอบ หรือใน

ความผิดตามพระราชบัญญัตินี้
(11) มีหลักประกันเป็นจำนวนเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวงแต่ต้องไม่ น้อยกว่าหนึ่ง

แสนบาทวางไว้กับนายทะเบียน เพื่อเป็นหลักประกันการปฏิบัติ ตามพระราชบัญญัตินี้

  1. ใบอนุญาตจัดหางาน มีอายุกี่ปี
  • 2 ปี                                                                                ค. 4  ปี
  • 3 ปี                                                                                ง. 5  ปี

ตอบ    ก.2  ปี       

มาตรา 10 ใบอนุญาตให้ใช้ได้ภายในเขตจังหวัดที่นายทะเบียนระบุไว้ ในใบอนุญาตมีกำหนดสองปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต

  1. ถ้าผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศประสงค์จะขอต่ออายุใบอนุญาต ให้ ยื่นคำขอก่อนใบอนุญาตสิ้นอายุไม่น้อยกว่ากี่วัน
  • 20 วัน                                                           ค. 45  วัน
  • 30 วัน                                                           ง. 60  วัน

ตอบ   ข.30  วัน

  1. การอนุญาตหรือไม่อนุญาตจะต้องกระทำให้เสร็จ ภายในกี่วันนับแต่ วันที่ได้รับคำขอซึ่งมีรายละเอียดถูกต้องและครบถ้วน ตามที่กำหนดในกฎ กระทรวง
  • 20 วัน                                                           ค. 45  วัน
  • 30 วัน                                                           ง. 60  วัน

ตอบ   ข.30  วัน

  1. ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศประสงค์จะขอย้าย สำนักงานหรือขอตั้งสำนักงานชั่วคราวนอกเขตท้องที่ที่ได้รับอนุญาตให้ยื่นคำขอ ต่อใคร
  • นายทะเบียน
  • คณะกรรมการกองทุน
  • อธิบดีกรมการจัดหางาน
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

ตอบ   ก. นายทะเบียน

                มาตรา 12 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศประสงค์จะขอย้าย สำนักงานหรือขอตั้งสำนักงานชั่วคราวนอกเขตท้องที่ที่ได้รับอนุญาตให้ยื่นคำขอ ต่อนายทะเบียน

                มาตรา 13 ในกรณีที่ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศประสงค์จะเปลี่ยน ผู้จัดการให้ยื่นคำขอต่อนายทะเบียน

สรุป พร บ จัดหา งานและคุ้มครองคนหางาน

  1. ในกรณีที่นายทะเบียนไม่ออกใบอนุญาต ไม่ต่ออายุใบอนุญาต ไม่อนุญาตให้ย้ายสำนักงาน ไม่อนุญาตให้จัดตั้งสำนักงานชั่วคราวหรือไม่ อนุญาตให้เปลี่ยนผู้จัดการ ผู้ขออนุญาตหรือผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศมี สิทธ์อุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีได้ภายในกี่วันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งการไม่อนุญาต
  • 60 วัน                                                                           ค. 45  วัน
  • 90 วัน                                                                           ง. 30  วัน

ตอบ   ง. 30  วัน

  1. ผู้จัดการ ลูกจ้าง หรือตัวแทนจัดหางาน ซึ่งพ้นจากความ เป็นผู้จัดการลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางาน ต้องส่งคืนบัตรประจำตัวแก่นาย ทะเบียนหรือผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศ ภายในกี่วัน
  • 15 วัน                                                                           ค. 10  วัน
  • 30 วัน                                                                           ง. 7  วัน

ตอบ   ง. 7  วัน

มาตรา 21 ผู้จัดการ ลูกจ้าง หรือตัวแทนจัดหางาน ซึ่งพ้นจากความ เป็นผู้จัดการลูกจ้างหรือตัวแทนจัดหางาน ต้องส่งคืนบัตรประจำตัวแก่นาย ทะเบียนหรือผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศ ภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่พ้นจาก ความเป็นผู้จัดการ ลูกจ้าง หรือตัวแทนจัดหางาน

  1. ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือบัตรประจำตัวสูญหายหรือถูกทำลาย ให้ผู้รับอนุญาตจัดหางาน

ยื่นคำขอภายในกี่วัน

  • 15 วัน ค. 45  วัน
  • 30 วัน                                                                           ง. 20  วัน

ตอบ   ก.15 วัน

มาตรา 22 ในกรณีที่ใบอนุญาตหรือบัตรประจำตัวสูญหายหรือถูกทำลาย ให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานในประเทศยื่นคำขอใบแทนใบอนุญาต หรือบัตรประจำ ตัว แล้วแต่กรณีภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบการสูญหายหรือถูกทำลาย

  1. ห้ามมิให้ผู้ใดจัดหางานให้คนหางานเพื่อไปทำงานในต่าง ประเทศเว้นแต่จะได้รับใบอนุญาตจากใคร
  • นายทะเบียนจัดหางานกลาง
  • ทะเบียนจัดหางานจังหวัด
  • อธิบดีกรมการจัดหางาน
  • รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม

ตอบ  ก. นายทะเบียนจัดหางานกลาง

  1. ผู้ขออนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ ต้อง เป็นบริษัทประเภทใด
  • บริษัทจำกัด                                  ค. ประเภทใดก็ได้
  • บริษัทมหาชนจำกัด ง. ถูกทั้ง  ก และ  ข

ตอบ   ง. ถูกทั้ง  ก และ  ข

  1. ข้อใดคือคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ
  • มีทุนจดทะเบียนและชำระแล้วตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ ต้องไม่น้อยกว่าหนึ่งล้านบาท
  • มีทุนเป็นของผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของจำนวน ทุนทั้งหมด และจะต้องมีจำนวนผู้ถือหุ้นที่มีสัญชาติไทย ไม่น้อยกว่าสามในสี่ของ จำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมด
  • มีหลักประกันเป็นจำนวนเงินตามที่กำหนดในกฎกระทรวง แต่ต้อง ไม่น้อยกว่าห้าแสนบาทวางไว้กับนายทะเบียนจัดหางานกลาง เพื่อเป็นหลัก ประกันการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง. ถูกทุกข้อ

ในกรณีเลิกประกอบธุรกิจจัดหางาน ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงาน ในต่างประเทศจะขอรับคืนหลักประกันที่วางไว้ตาม มาตรา 31 (7) ได้ก็ ต่อเมื่อได้ชำระหนี้ที่เกิดขึ้นตามพระราชบัญญัตินี้เสร็จสิ้นแล้ว แต่ถ้า หนี้ที่เหลือมีจำนวนน้อยกว่าหลักประกันที่วางไว้ ให้นายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้ ลดหลักประกันลงให้เหลือเท่ากับหนี้ที่จะพึงรับผิดชอบได้

  1. หลักประกันจะตกเป็นของกองทุนในกรณีที่ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศไม่ขอรับหลัก ประกันคืนภายในกี่ปี   นับแต่วันที่ผู้รับอนุญาตเลิกประกอบธุรกิจ จัดหางาน
  • 1 ปี                                                                ค. 4  ปี
  • 2 ปี                                                               ง. 5  ปี

ตอบ   ง. 5  ปี

  1. ในการจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ผู้รับ อนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศต้องปฏิบัติอย่างไร
  • ส่งสัญญาจัดหางานที่ผู้รับอนุญาตจัดหางานในต่างประเทศ หรือตัว แทนจัดหางานทำกับคนหางานต่ออธิบดี
  • ส่งคนหางานเข้ารับการตรวจสุขภาพตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ณ สถานพยาบาลที่อธิบดีประกาศกำหนด
  • ส่งคนหางานเข้ารับการทดสอบฝีมือตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมพัฒนา ฝีมือแรงงานประกาศกำหนด
  • ถูกทุกข้อ

ตอบ   ง.ถูกทุกข้อ

มาตรา 36 ในการจัดส่งคนหางานไปทำงานในต่างประเทศ ผู้รับ อนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศต้องปฏิบัติดังต่อไปนี้

(1) ส่งสัญญาจัดหางานที่ผู้รับอนุญาตจัดหางานในต่างประเทศ หรือตัว แทนจัดหางานทำกับคนหางานต่ออธิบดี ตลอดจนเงื่อนไขการจ้างแรงงานที่ นายจ้างในต่างประเทศ หรือตัวแทนซึ่งได้รับมอบอำนาจจากนายจ้างดังกล่าว ทำกับคนหางาน และหลักฐานอื่นที่อธิบดีประกาศกำหนดเพื่อพิจารณาอนุญาต ก่อนส่งคนหางานไปต่างประเทศ

(2) ส่งคนหางานเข้ารับการตรวจสุขภาพตามหลักเกณฑ์ และวิธีการ ณ สถานพยาบาลที่อธิบดีประกาศกำหนด

(3) ส่งคนหางานเข้ารับการทดสอบฝีมือตามหลักเกณฑ์ที่อธิบดีกรมพัฒนา ฝีมือแรงงานประกาศกำหนด

(4) ส่งคนหางานที่ผ่านการคัดเลือก และทดสอบฝีมือแล้วเข้ารับการ อบรมเกี่ยวกับกฎหมายและขนบธรรมเนียนประเพณีของประเทศที่คนหางานจะ ไปทำงาน ตลอดจนสภาพการจ้าง ณ สำนักงานทะเบียนจัดหางานกลาง สำนักงานทะเบียนจัดหางานจังหวัด หรือสถาบันอื่นใดที่อธิบดีประกาศกำหนด

(5) ส่งบัญชีรายชื่อและสถานที่ทำงานในต่างประเทศของคนหางาน พร้อมทั้งสำเนาสัญญาว่าจ้างแรงงานให้แก่นายทะเบียนจัดหางานกลางภายใน เจ็ดวันนับแต่วันที่คนหางานออกเดินทาง

(6) แจ้งเป็นหนังสือโดยแนบบัญชีรายชื่อ และสถานที่ทำงานในต่างประ เทศของคนหางานตาม (5) ให้สำนักงานแรงงานไทยในประเทศที่คนหางาน ไปทำงานทราบภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่คนหางานเดินทางไปถึง ในกรณีที่ไม่ มีสำนักงานแรงงานไทยในประเทศดังกล่าว ให้แจ้งเป็นหนังสือให้สถานทูต ไทยหรือสถานกงสุลไทยในประเทศนั้น หรือสถานทูตไทยหรือสถานกงสุลไทย หรือผู้ที่รับผิดชอบในการดูแลคนไทยในประเทศนั้น ทราบภายในระยะเวลา ดังกล่าว

(7) รายงานให้นายทะเบียนจัดหางานกลางทราบ ภายในวันที่สิบของ เดือนถัดไปเป็นประจำทุกเดือน ในกรณีที่ยังมีคนหางานไม่ได้เดินทางไปทำ งานตามสัญญาจัดหางาน

  1. ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เรียกหรือรับค่าบริการจากคนหางาน ไว้เป็นการล่วงหน้าเกินกี่วัน  ก่อนเดินทาง
  • 15 วัน                                                           ค. 30  วัน
  • 20 วัน                                                           ง. 45  วัน

ตอบ   ค. 30  วัน

                มาตรา 38 ห้ามมิให้ผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่างประเทศ เรียกหรือรับค่าบริการจากคนหางาน ไว้เป็นการล่วงหน้าเกินสามสิบวันก่อน เดินทาง ในกรณีที่มีเหตุจำเป็นผู้รับอนุญาตจัดหางานเพื่อไปทำงานในต่าง ประเทศอาจร้องขอต่อนายทะเบียนจัดหางานกลาง เพื่อขอขยายระยะเวลา ดังกล่าวได้ แต่การขยายระยะเวลาให้กระทำได้เพียงครั้งเดียวมีกำหนด เวลาไม่เกินสามสิบวัน

สรุป พร บ จัดหา งานและคุ้มครองคนหางาน