ราชกิจจานุเบกษา มีอะไรบ้าง

ตลอดเวลาที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษา ถือว่าเป็นประกาศของทางการที่มีบทบาท และอยู่ในความสนใจของผู้คนในสังคมเป็นอย่างมาก บ่อยครั้ง ประกาศสำคัญที่มีผลในทางกฎหมาย และเรื่องที่เกี่ยวพันกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทยก็จะถูกประกาศผ่านเอกสารฉบับนี้ อย่าง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ตลอดจนข้อกฎหมายสำคัญๆ แต่จริงๆ แล้วรายละเอียดของประกาศทางการยังมีอะไรให้ค้นหาอีกมาก กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ สรุปเรื่องราวเกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษาที่น่าสนใจ และใกล้ตัวเรา ดังนี้

ราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือลงประกาศใช้กฎหมายและข่าวสำคัญต่างๆ ของชาติบ้านเมือง เริ่มจัดพิมพ์ขึ้นในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เพื่อประกาศข่าวสารป้องกันความเข้าใจที่คลาดเคลื่อน ตามพระราชปรารภ ที่ปรากฏตามประกาศเรื่องออกหนังสือ ราชกิจจานุเบกษา ฉบับแรก เมื่อ วันจันทร์ เดือนห้า ขึ้นค่ำ 1  ปีมะเมีย จุลศักราช 1219 หรือ ตรงกับวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2401 ความว่า

“ถ้าเหตุแลการในราชการแผ่นดินประการใดๆ เกิดขึ้น พระบาท สมเด็จพระเจ้าแผ่นดิน แลเสนาบดีพร้อมกันบังคับไปอย่างไร บางทีก็จะเล่า ความนั้นใส่มาในราชกิจจานุเบกษานี้บ้าง เพื่อจะได้รู้ทั่วกัน มิให้เล่าลือผิดๆ ไปต่างๆ ขาดๆ เกินๆ เป็นเหตุให้เสียราชการและเสียพระเกียรติยศแผ่นดินได้”

ราชกิจจานุเบกษา มีอะไรบ้าง

หนังสือราชกิจจานุเบกษา นั้น เป็นภาษาสันสกฤต แปลว่า หนังสือเป็นที่เพ่งดู ราชกิจ เป็นรูปพระมหามงกุฎ แลฉัตรกระหนาบสองข้างดวงใหญ่ ตีในเส้นดำ กับตัวหนังสือนำหน้าเป็นตัวอักษรตัวใหญ่ว่า ราชกิจจานุเบกษา อยู่เบื้องบน ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ บางกอกรีคอเดอ ของหมอบลัดเลย์ เป็นเอกสารหลักในการแจ้งประกาศ กฎหมาย และคำสั่งทางราชการให้ประชาชนทราบอย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน

ถือเป็นสิ่งพิมพ์ของไทยที่มีอายุยาวนานที่สุด ซึ่งมีการตีพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน โดยมี สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบจัดพิมพ์ และเผยแพร่เป็นรายสัปดาห์

  • ราชกิจจานุเบกษามีกี่ประเภท

ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประกาศเรื่องใน ราชกิจจานุเบกษา พ.ศ. 2549 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป ได้กำหนดให้ราชกิจจานุเบกษาแบ่งออกเป็นประเภทต่าง ๆ โดยประเภท ข และ ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อไปจากเดิม ดังนี้

1. ประเภท ก ฉบับกฤษฎีกา เป็นการประกาศเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา พระบรมราชโองการที่เป็นกฎ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่ง ของหน่วยงานหรือองค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นอนุบัญญัติ ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการอนุมัติหรือไม่อนุมัติพระราชกำหนด และเรื่องสำคัญที่ประชาชนทั่วไปควรได้รับทราบ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ คำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเลือกตั้ง คำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง คำพิพากษา ของศาลปกครองอันถึงที่สุดให้เพิกถอนกฎ

ราชกิจจานุเบกษา มีอะไรบ้าง

2. ประเภท ข ฉบับทะเบียนฐานันดร หมายกำหนดการ และข่าวในพระราชสำนัก เป็นการประกาศเกี่ยวกับสถาปนาและถอดถอนสมณศักดิ์ รายชื่อผู้ที่ได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เหรียญราชการ หรือยศ รายชื่อผู้ถูกเรียกคืนเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือถูกถอดยศ และรายชื่อผู้ได้รับพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์หรือเหรียญตราต่างประเทศ หมายกำหนดการพระราชพิธี ต่าง ๆ และข่าวในพระราชสำนัก

3. ประเภท ค ฉบับทะเบียนการค้า เป็นการประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนห้างหุ้นส่วน บริษัทจำกัด และบริษัทมหาชนจำกัด การเปลี่ยนแปลง และการเพิกถอนทางทะเบียน

4. ประเภท ง ฉบับประกาศและงานทั่วไป เป็นการประกาศเรื่องอื่น ๆ นอกเหนือจากที่ระบุในประเภท ก ประเภท ข และประเภท ค

  • การบอกรับสมาชิกราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา มีการเปิดรับสมัครสมาชิก โดยจะเริ่มเปิดรับสมัครตั้งแต่เดือนกันยายนถึง 30 พฤศจิกายน ของทุกปี โดยแยกเป็น 2 ส่วนหลักๆ คือ การสมัครเป็นสมาชิกบอกรับราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกานั้นจะต้องติดต่อที่กลุ่มงานราชกิจจุนเบกษา สำนักนิติธรรม สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ขณะที่ การสมัครเป็นสมาชิกบอกรับหนังสือราชกิจจานุเบกษาประเภท ข ค และ งจะอยู่ในความรับผิดชอบของ กลุ่มงานพิมพ์บริการ สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา โดยมี หลักเกณฑ์คร่าวๆ ดังนี้

  • การบอกรับต้องบอกรับเต็มปี (มกราคม - ธันวาคม) หรือครึ่งปี (มกราคม - มิถุนายน หรือ กรกฎาคม - ธันวาคม) จะรับคาบปี หรือคาบครึ่งปีไม่ได้
  • การบอกรับหรือซื้อปลีกต้องชำระเงินล่วงหน้า
  • หนังสือราชกิจจานุเบกษาตอนใด ถ้าไม่ได้รับให้แจ้งขอภายใน กำหนด 2 เดือน เกินกำหนดจะไม่รับพิจารณา

โดยในปัจจุบัน เราสามารถเข้าไปสืบค้น ราชกิจจานุเบกษาได้ที่ เว็บไซต์ของราชกิจจานุเบกษา หรือ คลิกที่นี่ ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง 

ราชกิจจานุเบกษา มีอะไรบ้าง

  • สาระสำคัญเกี่ยวกับราชกิจจานุเบกษา

นับตั้งแต่มีการออกประกาศราชกิจจานุเบกษามาตั้งแต่แรกจนถึงปัจจุบันนั้น เนื้อหาที่ปรากฏในหนังสือเล่มดังกล่าวแบ่งได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ การบอกข้อราชการและ ข่าวต่างๆ ประเภทหนึ่ง ส่วนอีกประเภทหนึ่ง ได้แก่ แจ้งความ ประกาศ พระราชบัญญัติ และกฎหมายต่างๆ โดยมีลักษณะสำคัญด้านประวัติศาสตร์ไทยในแง่ของการ เป็นบทบันทึกเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งใน และนอกราชสำนัก การเมืองการปกครอง ขนบธรรมเนียมประเพณี ไปจนถึงเรื่องของวิวัฒนการการทางภาษา และการพิมพ์

ยิ่งไปกว่านั้น ราชกิจจานุเบกษายังใช้เป็นหลักฐานในกระบวนการ ตุลาการ และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงกับหน่วยราชการ เพราะมีการพิมพ์ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน อาจกล่าวได้ว่า เมื่อเปรียบเทียบกับตำนานจดหมายเหตุและพงศาวดารของ ประเทศไทยในสมัยก่อนแล้ว ราชกิจจานุเบกษาก็จัดอยู่ในหนังสือประเภท เดียวกัน แต่ให้ข้อมูลที่ละเอียดและมีความถูกต้องแม่นยำมากกว่า

ประกาศราชกิจจานุเบกษา มีกี่ประเภท

มีประเภท ได้แก่ ฉบับกฤษฎีกา หรือประเภท ก ได้แก่ พระราชบัญัติ พระราชกฤษฎีกา หรือ พระราชกำหนด ฉบับทะเบียนฐานันดร หรือประเภท ข ได้แก่ ข่าวพระราชสำนัก การพระราช

ราชกิจจานุเบกษา เป็นสื่ออะไร

ตอบ ราชกิจจานุเบกษา เป็นหนังสือของทางราชการที่ออกเป็นรายสัปดาห์โดยสำนักงานราชกิจจานุเบกษา สำนักงานเลขาธิการคณะรัฐมนตรี สำหรับลงประกาศเกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ตลอดจนประกาศของกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ รวมทั้งประกาศเกี่ยวกับการจดทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท

หน่วยงานใดดูแลเอกสารราชกิจจานุเบกษา

ราชกิจจานุเบกษา” หมายความว่า หนังสือของทางราชการซึ่งสำนักเลขาธิการ คณะรัฐมนตรีจัดทำขึ้นโดยเฉพาะเพื่อการเผยแพร่เกี่ยวกับกฎหมาย กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกำหนด ประกาศ หรือคำสั่งของหน่วยงานเจ้าของเรื่อง เรื่องที่ต้องประกาศตามกฎหมาย

กฎหมายใดต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา

คำตอบ รัฐธรรมนูญ และกฎหมายระดับ พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญ , พ.ร.บ., พ.ร.ก. และอนุบัญญัติชั้น พ.ร.ฎ. และกฎกระทรวงทุกฉบับ ต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษา สำหรับอนุบัญญัติอื่น ๆ จะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาในกรณี ดังต่อไปนี้