การอ่านร้อยแก้วและร้อยกรองแตกต่างอย่างไร

การอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรอง

หลักในการอ่านออกเสียงบทร้อยกรอง

  1. ศึกษาลักษณะบังคับของคำประพันธ์ เช่น การแบ่งจังหวะจำนวนคำสัมผัสเสียง วรรณยุกต์เสียง

หนักเบา

  1. อ่านให้ถูกต้องตามลักษณะบังคับของคำประพันธ์ โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย
  2. อ่านตามบังคับสัมผัส เช่น กัด-ตะ-เว-ที เพื่อให้สัมผัสกับ สัตย์
  3. อ่านออกเสียง ร ล คำควบกล้ำให้ชัดเจน
  4. อ่านออกเสียงดังให้ผู้ฟังได้ยินทั่วถึง ไม่ดังหรือเบาจนเกินไป
  5. คำที่รับสัมผัสกันต้องอ่านเน้นเสียงให้ชัดเจน ถ้าเป็นสัมผัสนอกต้องทอดเสียงให้มีจังหวะยาวกว่าธรรมดา
  6. มีศิลปะในการใช้เสียง เอื้อนเสียง หรือหลบเสียง และทอดจังหวะให้ช้าจนจบบท
  7. ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยกรอง

การอ่านบทร้อยกรอง หรือทำนองเสนาะ ให้ไพเราะและประทับใจผู้ฟังมีข้อควรปฏิบัติ ดังนี้

  1. ก่อนอ่านทำนองเสนาะควรรักษาสุขภาพให้ดี มีความพร้อมทั้งกายและใจ จะช่วยให้มั่นใจมากขึ้น
  2. ตั้งสติให้มั่นคง ไม่หวั่นไหว ตื่นเต้น ตกใจ หรือประหม่า ควรมีสมาธิก่อนอ่านและขณะกำลังอ่านเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด
  3. ก่อนอ่านควรตรวจดูบทอ่านอย่างคร่าวๆ และรวดเร็วเพื่อพิจารณาคำยาก หรือการผันวรรณยุกต์
  4. พิจารณาบทที่จะอ่าน เพื่อตัดสินใจ เลือกใส่อารมณ์ในบทอ่านให้เหมาะสมสอดคล้องกับเนื้อความ
  5. หมั่นศึกษาและฝึกฝนการอ่านทำนองเสนาะจากผู้รู้เกี่ยวกับกลวิธีต่าง ๆ อยู่เสมอจึงจะทำให้สามารถอ่านทำนองเสนาะได้อย่างไพเราะ

ที่มา : https://www.dltv.ac.th/teachplan/episode/22471

การอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

ความหมายของการอ่านออกเสียง

การอ่านออกเสียง คือ การเปล่งเสียงตามอักษรถ้อยคำ และเครื่องหมายต่างๆ ที่กำหนดไว้ให้ถูกต้องชัดเจน เป็นที่เข้าใจแก่ผู้ฟัง

หลักเกณฑ์ในการอ่านออกเสียงบทร้อยแก้ว

  1. ก่อนอ่านควรศึกษาเรื่องที่อ่าน
    • ศึกษาเนื้อหา
    • ศึกษาประเภทของเรื่องที่อ่าน
  1. อ่านออกเสียงดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง
  2. อ่านให้คล่อง ฟังรื่นหู และออกเสียงให้ถูกต้อง ตามอักขรวิธี
    • อักขรวิธีในที่นี้ คือตัวอักษร สระ วรรณยุกต์
  1. อ่านออกเสียงให้เป็นเสียงพูดอย่างธรรมชาติที่สุด
  2. อ่านออกเสียงให้เหมาะกับประเภทของเรื่อง
  3. การอ่านในที่ประชุมต้องจับหรือถือบทอ่าน

ข้อควรคำนึงในการอ่านบทร้อยแก้ว

  1. เรื่องที่อ่านสื่ออารมณ์และวัตถุประสงค์ของผู้เขียน
  2. อ่านคำภาษาไทยให้ถูกต้องตามอักขรวิธี
  3. แบ่งวรรคตอนในการอ่าน
  4. อ่านออกเสียงดังพอประมาณ ไม่ตะโกนหรือเสียงเบา
  5. มีสมาธิในการอ่าน

ที่มา : https://www.clearnotebooks.com/th/notebooks/1213900

หลังจากที่เราได้เรียนรู้เรื่องการบทร้อยกรองไปแล้ว วันนี้เราจะมาพูดถึงบทร้อยแก้วกันบ้าง ซึ่งน้อง ๆ หลายคนคงจะรู้จักบทร้อยแก้วกันดีอยู่แล้ว เพราะเป็นสิ่งที่อยู่ในชีวิตประจำวัน แต่น้อง ๆ ทราบไหมคะว่า การอ่านบทร้อยแก้ว ก็มีวิธีอ่านที่ถูกต้องเหมือนกัน เพราะการที่เราอ่านไม่ถูกต้องนั้นก็อาจจะทำให้ไม่น่าฟัง น่าเบื่อ รวมไปถึงอาจทำให้ใจความที่ผู้แต่งต้องการจะสื่อสารคลาดเคลื่อนได้อีกด้วย ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีหลักเกณฑ์และวิธีอ่านอย่างไร ไปเรียนรู้เรื่องนี้พร้อมกันเลยค่ะ

ร้อยแก้วคืออะไร ?

บทข้อความทั่วๆ ไป ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยต้องเขียนเป็นประโยค ข้อความติดต่อกัน ตามปกติ มีประธาน กริยา กรรม เรียงร้อยข้อความไปตามเจตนาของผู้พูดหรือผู้เขียน ไม่มีสัมผัสเหมือนบทร้อยกรอง

การอ่านร้อยแก้วและร้อยกรองแตกต่างอย่างไร

การอ่านบทร้อยแก้ว

การอ่านบทร้อยแก้ว หมายถึง การอ่านถ้อยคำที่มีผู้เรียบเรียงหรือประพันธ์ไว้ โดยเปล่งเสียง และวางจังหวะเสียงให้เป็นไปตามความนิยมและเหมาะสมกับเรื่องที่อ่าน โดยสามารถแสดงลีลาการอ่านให้เข้าถึงอารมณ์ตามเจตนาของผู้ประพันธ์ได้เพื่อให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับการฟังบทประพันธ์ที่อ่าน

หลักเกณฑ์ในการอ่านบทร้อยแก้ว

การอ่านร้อยแก้วและร้อยกรองแตกต่างอย่างไร

หลักเกณฑ์ทั่วไปในการอ่านบทร้อยแก้วมีดังนี้

  1. การยืนต้องยืนตรงแต่ไม่เกร็ง เท้าทั้งสองห่างกันพอสมควร น้ำหนักตัวตกอยู่ที่ฝ่าเท้าทั้ง 2 ข้าง ถ้านั่งก็ต้องนั่งให้เรียบร้อย หลังตรงแต่ไม่แข็งทื่อ ขาวางแนบกัน ไม่ควรนั่งไขว่ห้าง ยกเว้นแต่ว่าผู้ฟังจะเป็นเพื่อนที่สนิทสนมและอยู่ในสถานที่ที่มีแต่คนสนิทกันเอง
  2. การจับหนังสือ จับหนังสือให้มั่น ให้ช่วงสายตากับตัวหนังสืออยู่ในระดับที่เหมาะสม
  3. ควรศึกษาเรื่องที่อ่านให้เข้าใจโดยศึกษาสาระสำคัญของเรื่องและข้อความทุกข้อความ เพื่อจะแบ่งวรรคตอนในการอ่านได้อย่างเหมาะสม
  4. นำเนื้อหาที่จะอ่านมาแบ่งวรรคตอนเพื่อที่ตอนอ่าน จะอ่านได้อย่างลื่นไหล ไม่ติดขัด ไม่ตะกุกตะกัก
  5. อ่านออกเสียงให้ดังพอเหมาะกับสถานที่และจำนวนผู้ฟัง ให้ผู้ฟังได้ยินทั่วกัน ไม่ดังหรือค่อยจนเกินไป
  6. อ่านให้คล่อง และออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิถีและชัดเจน โดยเฉพาะตัว ร ล และคำควบกล้ำ
  7. อ่านออกเสียงให้เป็นธรรมชาติที่สุด
  8. เน้นเสียงและถ้อยคำตามน้ำหนักความสำคัญของใจความและจังหวะให้เป็นไปตามเนื้อเรื่อง เช่น ถ้าเนื้อเรื่องตัวละครกำลังโกรธ ก็ควรออกเสียงให้ดุดัน เพื่อให้ผู้ฟังเข้าถึงอารมณ์ไปด้วย
  9. ไม่ก้มหน้าก้มตาอ่าน ควรมองตาผู้ฟังบ้างระหว่างเล่า

วิธีแบ่งจังหวะในการอ่านบทร้อยแก้ว

การฝึกอ่านร้อยแก้ว จะใช้เครื่องหมายแบ่งวรรคตอนในการอ่านเพื่อเป็นการเว้นช่วงจังหวะการอ่าน

การอ่านร้อยแก้วและร้อยกรองแตกต่างอย่างไร

วิธีการอ่านบทร้อยแก้วแบบต่าง ๆ

การอ่านร้อยแก้วและร้อยกรองแตกต่างอย่างไร

  1. วิธีการอ่านแบบบรรยาย ออกเสียงให้ถูกต้อง ชัดถ้อยชัดคำ เว้นวรรคตอนให้เหมาะสม เน้นเสียงและถ้อยคำตามน้ำหนักความสำคัญของใจความ
  2. วิธีการอ่านแบบพรรณนาให้เห็นภาพ ควรออกเสียงให้เป็นเสียงพูดอย่างธรรมชาติที่สุด ใช้น้ำเสียงและอารมณ์ให้เหมาะกับเนื้อความ บทสนทนา และบทบรรยาย ใช้น้ำเสียงแตกต่างกัน แต่ให้เปลี่ยนไปตามอารมณ์ของตัวละครที่พูด

ตัวอย่าง

การอ่านร้อยแก้วและร้อยกรองแตกต่างอย่างไร

การอ่านร้อยแก้วและร้อยกรองแตกต่างอย่างไร

ถึงแม้ว่าการอ่านบทร้อยแก้ว จะเป็นการอ่านที่เราพบเจอในชีวิตประจำวันบ่อยที่สุด และดูเหมือนจะไม่มีอะไรซับซ้อน แต่ก็ประมาทไม่ได้นะคะ เพราะถึงจะเป็นบทร้อยแก้วไม่ใช่บทร้อยกรอง เราก็ต้องแบ่งจังหวะการอ่านให้พอดี มิเช่นนั้นจะดูเหมือนเป็นการท่องจำ อาจทำให้ฟังดูแล้วน่าเบื่อได้ค่ะ สุดท้ายนี้น้อง ๆ สามารถไปดูคลิปการสอนของครูอุ้มได้นะคะ จะมีการอธิบายเกี่ยวกับบทร้อยแก้วไว้ รับรองว่าทั้งสนุก เพลิดเพลิน และได้ความรู้อีกด้วยค่ะ ไปดูกันเลย

อย่าพลาดการติดตามบทความภาษาไทยจาก nockacademy