ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเมิน ได้ จาก ข้อใด 1 คะแนน

แบบทดสอบประเมินความรู้และการคิดท้ายหน่วยที่ 1

คำชี้แจง ให้ทำเครื่องหมาย X ทับตัวอักษรหน้าคำตอบที่ถูกต้องที่สุดเพียงข้อเดียว

ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเมิน ได้ จาก ข้อใด 1 คะแนน

ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ประเมิน ได้ จาก ข้อใด 1 คะแนน

1. เราสามารถศึกษาเรื่องราวของมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์ได้จากสิ่งใด *

2.    นักเรียนสามารถศึกษาเรื่องราวที่ว่ากรุงศรีอยุธยาตกเป็นเมืองขึ้นของพม่าถึง 2 ครั้ง ได้จากใดบ้าง *

ข. พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา

3.    การวิเคราะห์ตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ถูกต้อง คือข้อใด *

ก. วิเคราะห์หรือตีความหลักฐานที่หลากหลายให้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กัน

ข. วิเคราะห์หรือตีความหลักฐานเพียงอย่างเดียวที่คิดว่าดีที่สุด

ค. วิเคราะห์หรือตีความหลักฐานอาศัยความรู้เท่านั้น

ง. วิเคราะห์หรือตีความหลักฐานโดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์เพียงอย่างเดียว

4. บันทึกความทรงจำต่างจากจดหมายเหตุอย่างไร *

ก. เป็นการบันทึกในวันเวลาที่มีเหตุการณ์เกิดขึ้น

ข. เป็นการบันทึกเหตุการณ์ย้อนหลัง

ค. เป็นเรื่องที่ใช้บอกเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ในสังคม

ง. เป็นเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับองค์พระมหากษัตริย์

5.  ข้อใดไม่ใช่ความหมายของหลักฐานทางประวัติศาสตร *

ก. ร่องรอยที่แสดงถึงการกระทำของมนุษย์ในอดีต

ข. สิ่งที่แสดงถึงอารมณ์ ความคิด ความเชื่อหรือสิ่งที่มนุษย์จับต้องและทิ้งร่องรอยไว้

ค. สิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องราวหรือเหตุการณ์ในอดีต

ง. สิ่งที่ต้องได้รับการพิสูจน์แหล่งที่มาอย่างชัดเจน

6. หลักฐานประเภทพงศาวดาร เป็นบันทึกประเภทใด *

ก. บันทึกเรื่องราวการเดินทางไปยังสถานที่สำคัญต่างๆ

ข. บักทึกเรื่องราวความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไป

ค. บันทึกเรื่องราวที่เกิดขึ้นในราชสำนัก

ง. บันทึกข้อความโต้ตอบระหว่างบุคคลสำคัญในอดีต

7. ข้อใดไม่ใช่ลักษณะที่ถูกต้องของการวิเคราะห์ข้อมูลและการตีความทางประวัติศาสตร์ *

ก. อ้างอิงหลักการวิเคราะห์และตีความจากค่านิยมในปัจจุบัน

ข. การวิเคราะห์และตีความไปตามเรื่องราวที่ปรากฏอยู่ในหลักฐาน

ค. ทำใจเป็นกลาง ไม่ลำเอียงหรือเข้าข้างตนเอง

ง. สามารถแยกแยะระหว่างข้อมูล ความคิดเห็น และข้อเท็จจริงได้

8. การศึกษาหลักฐานประเภทจดหมายเหตุ ควรคำนึงถึงสิ่งใด *

ก. การตรวจสอบช่วงเวลาในหลักฐานเพราะอาจถูกบิดเบือน

ข. ยึดเอาความคิดและความเข้าใจของผู้บันทึกเป็นหลัก

ค. การประเมินความน่าเชื่อถือ ด้วยการเทียบเคียงกับหลักฐานอื่นๆควบคู่ไปด้วย

9. ข้อใดคือหลักฐานชั้นปฐมภูม *

10. หากต้องการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานที่เป็นผลงานทางศิลปกรรม ต้องพิจารณาอย่างไร *

ก. พิจารณาว่าลักษณะของภาพที่ปรากฏในหลักฐานมีความสอดคล้องกับยุคสมัยนั้นหรือไม

ข. พิจารณาว่าวัสดุที่ใช้มีความเก่าแก่หรือเพิ่งทำขึ้นใหม่

ค. พิจารณาว่าลักษณะทางศิลปะตรงกับยุคสมัยนั้นหรือไม

ห้ามส่งรหัสผ่านใน Google ฟอร์ม

การประเมินคุณค่าของหลักฐาน

การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน

           การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. การประเมินภายนอก

          การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

          1. อายุของหลักฐาน การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ

          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่

          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเมินความน่าเชื่อถือได้ เช่น โคลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงด้านลบของพระมหากษัตริย์องค์นั้น จากหลักฐานที่ยกตัวอย่างมานั้น เมื่อนำมาใช้จะต้องแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาให้ได้

          4. รูปเดิมของหลักฐาน หลักฐานเป็นจำนวนมาไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆ กันมาจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มีการชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

2. การประเมินภายใน

           เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง

           ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

          พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติช มิวเซียม และ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าสร้างเมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (ตรงกับพ.ศ. 1991)

          พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างเมื่อศักราช 826 วอกศก (ตรงกับพ.ศ. 2007)

          จะเห็นว่า หลักฐานชิ้นหลังระบุเวลาห่างจากหลักฐาน 2 ชิ้นแรก 16 ปี

          หลักฐานทั้งหมดที่ยกมาเป็นหลักฐานชั้นรอง ควรหาหลักฐานชั้นต้นมาเทียบ คือ ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ปรากฏว่าจารึกระบุว่า พระวิหารวัดจุฬามณีสร้างเมื่อ “ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร” ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ

          หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง นำส่วนที่เป็นจริงไปใช้ได้ ส่วนหลักฐานที่เป็นเท็จทั้งหมดไม่นำไปใช้ในการศึกษา

ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเมินได้จากสิ่งใด

๑.๑ ช่วงระยะเวลาของเหตุการณ์และการบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้น ๑.๒ จุดมุ่งหมายของผู้บันทึกบางคนตั้งใจบันทึกได้ทันเหตุการณ์ความถูกต้องย่อมมีมากขึ้นเท่านั้น ๑.๓ ผู้บันทึกรู้ในเรื่องราวนั้นจริงหรือไม่ เรื่องราวที่อ้างอิงมาจากบุคคลอื่นหรือเป็นคำพูดของผู้บันทึกเอง

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร

1. หลักฐานชั้นต้นหรือหลักฐานปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง ดังนั้นหลักฐานช่วงต้น จึงเป็นหลักฐานที่มีความสำคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ ...

ข้อใดคือความสําคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์

หลักฐานทางประวัติศาสตร์ เป็นข้อมูลในอดีตที่ยังคงปรากฏให้เห็นและนำมาใช้เป็นข้อมูลใน การศึกษา เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีตและหาข้อสรุปที่ใกล้ความจริงมากที่สุด จัดแบ่งได้เป็นหลายประเภท เช่น การแบ่งตามยุคสมัย (หลักฐานก่อนประวัติศาสตร์ หลักฐานสมัยประวัติศาสตร์)

เอกสารหลักฐานในข้อใดที่เชื่อถือได้มากที่สุด

1. หลักฐำนชั้นต้นหรือหลักฐำนปฐมภูมิ เป็นหลักฐานที่มาจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสมัยนั้นจริงๆ โดยมีการบันทึกของผู้ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์โดยตรง หรือผู้ที่รู้เหตุการณ์นั้นด้วยตนเอง ดังนั้นหลักฐานช่วง ต้น จึงเป็นหลักฐานที่มีความสาคัญและน่าเชื่อถือมากที่สุด เพราะบันทึกของบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ หรือผู้อยู่ในเหตุการณ์ ...

ความน่าเชื่อถือของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประเมินได้จากสิ่งใด หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่มีความน่าเชื่อถือควรมีลักษณะอย่างไร ข้อใดคือความสําคัญของหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เอกสารหลักฐานในข้อใดที่เชื่อถือได้มากที่สุด บุคคลใดนำเสนอข้อมูลทางประวัติศาสตร์ได้อย่าง เหมาะสม การประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐาน ภายนอก ใบงานที่ 1.1 การประเมินคุณค่าของหลักฐาน ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนได้แสดงความคิดเห็นในเรื่องราวที่บันทึกข้อมูล เรียกว่าอะไร ถ้าเราไม่ทราบอายุของหลักฐานจะเป็นอุปสรรคต่อการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานหรือไม่ อย่างไร ข้อควรระวังในการตีความหลักฐาน มีอะไรบ้าง ตรงกับวิธีการทางประวัติศาสตร์ขั้นใด