การนําเสนอมีความสำคัญอย่างไร

นางสาลิตา   ศรีแสงอ่อน
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่บริหารงานทั่วไป

เนื้อหาโดยสรุป

การนำเสนอเป็นรูปแบบหนึ่งของการสื่อสารเพื่อสร้างความเข้าใจที่ชัดเจนแก่ผู้ฟังโดยการพูดประกอบสื่อในระยะเวลาสั้น ๆ องค์ประกอบของการนำเสนอประกอบด้วย ผู้นำเสนอ (Presenter) เนื้อหา (Content) ผู้ฟัง (Audlence) ผู้นำเสนอจะต้องมีบุคลิกภาพ ความเชื่อมั่น ประสบการณ์ การเตรียมตัว ความรู้ ความสามารถ สไตล์การนำเสนอ  เนื้อหาการสำเสนอ จะต้องประกอบด้วย วัตถุประสงค์ รูปแบบ ขั้นตอน ความยากง่าย ความน่าสนใจ สื่อประกอบ โสตทัศนูปกรณ์ ผู้ฟัง (Audlence) จะต้องมีความสนใจ ความรู้ ความเข้าใจ ความเกี่ยวข้อง ทัศนคติ การยอมรับ การเรียนรู้

การนำเสนอที่ดี จะต้องเรียนรู้จากข้อเท็จจริง เรียนรู้จากจำนวนตัวเลข เรียนรู้จากรูปภาพและวีดีโอ เรียนรู้จากคำอธิบาย เรียนรู้จากการแสดงการสาธิต เรียนรู้จากตัวอย่างหรือแบบจำลอง เรียนรู้จากการอภิปรายซักถาม เรียนรู้จากการวิเคราะห์ด้วยตนเอง

ขั้นตอนแบบรายงานข้อมูล (Information Format) ประกอบด้วย

1. กำหนดหัวข้อการนำเสนอ 2. กล่าวความเป็นมา 3. เนื้อหาที่จะนำเสนอ (Outline) 4. นำเสนอข้อมูล  5. ลำดับเหตุการณ์  6.  ยกตัวอย่างประกอบ  7.  สร้างความเข้าใจแบบง่าย ๆ  8. ใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบ 9. สรุปสาระสำคัญ

สื่อประกอบการนำเสนอ ได้แก่ แผ่นใส สไลด์ วีดีโอเทป ภาพยนตร์ โปรแกรมคอมพิวเตอร์คู่มือ-เอกสารประกอบ โปสเตอร์ แผ่นพับ หุ่นจำลอง ตัวอย่างของจริง

โสตทัศนูปกรณ์ ประกอบด้วย โปรเจคเตอร์ (PROJECTOR) เครื่องฉายสไลด์ เครื่องฉายวีดีโอเทป  เครื่องฉายภาพยนตร์  เครื่องคอมพิวเตอร์ & LCD Projector   กระดานขาว (WHITE BOARD) ฟลิปชาร์ท (FLIP CHART)  เครื่องเสียง

ข้อแนะนำในการใช้ Power Point Presentation

ไม่ควรใช้จำนวน Slide มากเกินไป ระมัดระวังการใช้ Animation ให้เหมาะสม   ใช้ภาพประกอบหรือ Clip Arts สร้างความน่าสนใจ  ไม่ใส่เนื้อหาแน่นเกินไป ซ่อนบาง Slide ไว้ เพื่อใช้ประกอบเมื่อจำเป็น Slide Show ให้เต็มจอ กด “B” ทำ

ขั้นตอนการเตรียมการนำเสนอ

  1. กำหนดวัตถุประสงค์
  2. วิเคราะห์ผู้ฟังและสถานการณ์
  3. กำหนดรูปแบบ (FORMAT)
  4. รวบรวมข้อมูลและหลักฐานอ้างอิง
  5. วางโครงการนำเสนอ
  6. เรียบเรียงเนื้อหา
  7. จัดทำสื่อประกอบการนำเสนอ
  8. เตรียมบท (SCRIPTS)
  9. ตรวจสอบโสตทัศนูปกรณ์
  10. ซักซ้อมให้จอมืด หรือ “W” ทำให้จอสว่าง

ขั้นตอนการนำเสนอ

  1. ปรากฏตัวบนเวที
  2. ตรวจสอบความเรียบร้อย
  3. ทักทายและเกริ่นนำ
  4. นำเสนอ
  5. เปิดโอกาสให้ซักถาม
  6. สรุปและจบการนำเสนอ

การเริ่มต้นนำเสนอทางธุรกิจมีหลายรูปแบบแล้วแต่ความเหมาะสม

  1. เริ่มต้นโดยเกริ่นนำถึงผลประโยชน์ (Benefits Approach)
  2. เริ่มต้นโดยการพูดถึงปัญหาและทางแก้(Problems & Solutions)
  3. เริ่มต้นโดยกระตุ้นความอยากรู้ (Curiosity Stimulating)
  4. เริ่มต้นโดยกล่าวถึงข้อมูลสำคัญ (Information Giving)
  5. เริ่มต้นโดยการสาธิตที่น่าสนใจ (Dramatic Demonstration)

เนื้อหาการนำเสนอที่น่าสนใจ  จะต้อง เห็นภาพ (Visualization) น่าสนใจ  ใกล้ตัว  เป็นไปได้  แปลกใหม่ มองเห็นประโยชน์   สร้างอารมณ์ร่วม   มีหลักฐาน ตัวอย่าง   ข้อมูลชัดเจน

การจบการนำเสนอ (Closing for Business Presentation)

  1. สรุปเนื้อหาสำคัญ
  2. เน้นยํ้าประโยชน์ที่จะได้รับ
  3. กระตุ้นการตัดสินใจ
  4. สร้างความมั่นใจในการแก้ปัญหา
  5. กล่าวถึงขั้นต่อไป (Next Steps)

ประเภทคำถาม

คำถามที่พบส่วนมากมีดังนี้  สงสัยไม่เข้าใจ  เพิ่มเติมรายละเอียด  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับตนเอง ไม่เห็นด้วย  คำถามเสนอความเห็น  ลองภูมิปัญญา  จ้องจับผิด  ต้องการมีส่วนร่วม  ถามนำ สร้างแนวร่วม  ถามแบบสนุก ๆ

เทคนิคการตอบคำถาม

เทคนิคในการตอถาม จะต้องแสดงความสนใจคำถาม  ชมผู้ถามตามความเหมาะสม  ทวนคำถามยํ้าประเด็น ตอบคำถามให้ตรงประเด็น  ตอบคำถามกับทุกคน  ควบคุมอารมณ์และระมัดระวังการใช้คำพูด  หากเป็นคำถามตอบยากและท้าทายให้หาแนวร่วม  ควบคุมสถานการณ์และเวลา

ประโยชน์ที่ได้รับ

ได้รับความรู้ในเกี่ยวกับรูปแบบ เทคนิค วิธีการนำเสนอ การเตรียมความพร้อมในการนำเสนอที่มีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้นำเสนอจะต้องมีทักษะและความเชื่อมั่นในการพูดการนำเสนอ โดยมีการวิเคราะห์และกำหนดประเด็นให้สอดคล้องความสนใจของผู้ฟัง ประกอบด้วย เตรียมตัวและเตรียมการให้พร้อม กำหนดรูปแบบ (Format) ที่เหมาะสม  ใช้หลักฐานอ้างอิง (Evidence) ที่มีนํ้าหนัก จัดทำสื่อประกอบการนำเสนออย่างเหมาะสม นำเสนออย่างมีรูปแบบขั้นตอน ตอบคำถามหรือข้อสงสัยได้อย่างชัดเจน

ความหมายการนำเสนอข้อมูล

                ราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของคำต่าง ๆ ในพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554 ไว้ดังนี้

                คำว่า เสนอ” จากหน้า 1253 ให้ความหมายไว้ว่า  เสนอ  หมายถึง  ยื่นเรื่องราว ความเห็น ญัตติ เพื่อให้ทราบ ให้พิจารณาหรือสั่งการ เช่น เสนอรายงานการเดินทางให้ผู้บังคับบัญชาทราบ  เสนอโครงการให้พิจารณา  เสนอบันทึกความเห็นเพื่อพิจารณาสั่งการ

               คำว่า ข้อมูล” จากหน้า 178 ให้ความหมายไว้ว่า  ข้อมูล  หมายถึง  ข้อเท็จจริง หรือสิ่งที่ถือหรือยอมรับว่าเป็นข้อเท็จจริง สำหรับใช้เป็นหลักอนุมานหาความจริงหรือการคำนวณ

               สมิต ลัชฌุกร ( 2547 : 63 ) กล่าวว่า การนำเสนอ เป็นกระบวนการสื่อสารทั้งในลักษณะที่เป็นการสื่อสารด้วยการเขียนและการพูด มีหลากหลายรูปแบบ ใช้ทักษะหลายด้านและในการนำเสนอต้องใช้โสตทัศนูปกรณ์

                สรุปได้ว่า  การนำเสนอข้อมูล  หมายถึง  การเสนอเรื่องราว ความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริงเพื่อให้ทราบ  หรือให้พิจารณา โดยใช้โสตทัศนูปกรณ์ประกอบการนำเสนอ


จุดมุ่งหมายในการนำเสนอข้อมูล

  1. เพื่อบอกเล่า  เป็นการนำเสนอความจริงและความคิดที่ควรจะเป็น  เพื่อบอกเล่าเรื่องที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟังอย่างถูกต้องและชัดเจน
  2. เพื่อจูงใจ  เป็นการนำเสนอข้อมูลด้วยการกระตุ้นความรู้สึกและอารมณ์ของผู้ฟัง  ตามความต้องขั้นพื้นฐานของมนุษย์  กระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกว่า  สิ่งที่นำเสนอนั้นกำลังเป็นที่ต้องการของผู้ฟัง  ทำให้ผู้ฟังอยากรู้อยากเห็น
  3. เพื่อให้ข้อเท็จจริง  เป็นการนำเสนอข้อมูลที่คำนึงถึงเนื้อหาเป็นหลัก  เสนอด้วยหลักการและเหตุผลอย่างตรงไปตรงมา
  4. เพื่อให้ข้อคิดเห็น  เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นความคิดเห็น  ผู้ฟังอาจเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยก็ได้
  5. เพื่อให้ความรู้  เป็นการนำเสนอข้อมูลที่เป็นความรู้ใหม่ทางวิชาการหรือความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ฟัง
  6. เพื่อให้ความเข้าใจ  เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับกฎระเบียบ  หรือแนวปฏิบัติที่จำเป็นเพื่อให้ทุกคนมีความเข้าใจตรงกันและปฏิบัติอย่างถูกต้อง
  7. เพื่อให้พิจารณา  เป็นการนำเสนอข้อมูล  เกี่ยวกับงานในหน้าที่ที่ปฏิบัติเพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องได้พิจารณาร่วมกัน

ประเภทของข้อมูลที่นำเสนอ

                ข้อมูลที่นำเสนอแยกได้เป็น  3  ประเภท  ดังนี้

1. ข้อมูลข้อเท็จจริง คือ ข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงความจริงต่าง ๆ ที่มีอยู่ในโลก สามารถตรวจสอบและพิสูจน์ได้ ถ้าตรวจสอบแล้วไม่เป็นความจริงตามที่นำเสนอ ข้อมูลนั้นอาจเป็นข้อเท็จแต่ถ้าตรวจสอบแล้ว ข้อมูลนั้นเป็นความจริง ข้อมูลนั้นก็เป็นความจริงหรือถูกต้อง

2. ข้อมูลข้อคิดเห็น คือ ข้อมูลที่เกิดขึ้นในใจ หรือในสมองของผู้นำเสนอข้อมูล อาจเป็น ความเชื่อ ความคิด ความรู้สึก หรือข้อสังเกต ที่แสดงออกมา แต่ไม่สามารถตรวจสอบได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ เพราะเป็นข้อวินิจฉัยของบุคคลเท่านั้น  ดังนั้นในการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับข้อคิดเห็น จริงแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทดังนี้

2.1 ข้อคิดเห็นเชิงเหตุผล  เป็นการนำเสนอข้อมูลที่อ้างเหตุผล ข้อเปรียบเทียบที่เชื่อถือได้ ด้วยความมีเหตุมีผลต่อกัน โดยผู้นำเสนอข้อมูลชี้ให้ผู้ฟังเห็นว่า ควรทำเช่นนี้เพราะเหตุใด ถ้าทำเช่นนั้นมีผลตามมาอย่างไร เช่น การพิจารณาเลือกประเภทของการทำโครงงาน ผู้นำเสนอข้อมูลได้เปรียบเทียบให้เห็นความเหมือน และความแตกต่างระหว่างการทำโครงงานอย่างมีเหตุผล

2.2 ข้อคิดเห็นเชิงแนะนำ  เป็นการนำเสนอข้อมูลชี้แจงให้ผู้ฟังควรทำหรือปฏิบัติ เป็นการบอกให้ทราบว่า สิ่งใดควรทำหรือควรปฏิบัติ และควรทำหรือปฏิบัติอย่างไร พร้อมกล่าวเหตุผลในการปฏิบัตินั้น เช่น ในการแข่งขันการกล่าวสุนทรพจน์ของนักศึกษา ได้เสนอและแนะนำว่าควรใช้ตารางแบบประเมินผลการพูด เพื่อความยุติธรรมในการให้คะแนน โดยให้นักศึกษาได้มีส่วนประเมินด้วย

2.3 ข้อคิดเห็นเชิงตัดสินใจ  เป็นการสรุปข้อคิดเห็นตามหลักการหรือตามข้อสงสัยแล้วเรียบเรียงเรื่องราว เป็นการตัดสินใจให้ผู้ฟังได้ทราบโดยทั่วกันเพื่อนำไปปฏิบัติ เช่น ผู้อำนวยการวิทยาลัยฯ มอบหมายให้ ฝ่ายวิชาการจัดทำแบบประเมินผลการสอน เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้ประเมินผลการสอนของครู เป็นรายบุคคล

3. ข้อมูล  ข้อเสนอแนะ  เป็นการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติในเรื่องราวต่าง ๆ ของบุคคลหรือกลุ่มบุคคล ที่มีความประสงค์จะเผยแพร่เพื่อให้บุคคลทั่วไป หรือกลุ่มบุคคลได้รับรู้และพิจารณา นำไปใช้ประโยชน์ตามความเหมาะสม เช่น การเสนอแนะ การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ ให้พิจารณาสื่อตามความเหมาะสม


การเตรียมการนำเสนอข้อมูล

1. เตรียมเรื่องที่จะนำเสนอ  เมื่อจะนำเสนอข้อมูลเรื่องใด ผู้นำเสนอต้องมีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ เป็นอย่างดี ข้อมูลที่นำเสนอต้องมีหลักฐานอ้างอิง มีน้ำหนัก น่าเชื่อถือ

2. กำหนดจุดมุ่งหมายในการนำเสนอ  การนำเสนอข้อมูลทุกครั้ง ต้องกำหนดจุดมุ่งหมายให้ชัดเจนว่า นำเสนอข้อมูลเพื่ออะไร เช่น นำเสนอเพื่อบอกเล่า ให้ความรู้หรือให้ข้อเท็จจริง

3. วิเคราะห์ผู้ฟังและโอกาสที่พูด  ผู้นำเสนอต้องทราบว่าผู้ฟังเป็นใคร  มีความรู้และความสนใจในอาชีพใด นำเสนอในโอกาสใด สถานที่เป็นอย่างไร นำเสนอช่วงใด ใช้เวลานานเท่าใดเพื่อจะได้นำเสนอให้ถูกต้อง เหมาะสมกับเวลา

4. จัดโครงเรื่องให้ครบถ้วน  ในการนำเสนอข้อมูลทุกครั้ง ผู้นำเสนอต้องเสนอข้อมูลให้ครบถ้วน สมบรูณ์ ตามลักษณะโครงสร้างของการนำเสนอ ซึ่งประกอบด้วย

4.1 บทนำหรือเริ่มเรื่อง ผู้นำเสนอต้องเริ่มเรื่องเร้าความสนใจผู้ฟัง ให้ผู้ฟังต้องการติดตามเนื้อหาที่นำเสนอ

4.2 เนื้อเรื่องหรือการดำเนินเรื่อง ผู้นำเสนอต้องเสนอข้อมูลที่ถูกต้องครบถ้วน ให้ผู้ฟังเข้าใจในเนื้อหาการนำเสนอมากที่สุด

4.3 บทสรุป ผู้นำเสนอต้องเลือกสรรถ้อยคำที่กะทัดรัด มีความหมายชัดเจน ให้ผู้ฟังได้พิจารณา ตัดสินใจ หรือเห็นด้วยกับข้อมูลที่นำเสนอ

5. เตรียมตัวให้พร้อม  ผู้นำเสนอข้อมูลควรมีการเตรียมความพร้อมในเรื่องต่อไปนี้

5.1 การเตรียมร่างกาย ผู้นำเสนอข้อมูลต้องมีร่างกายแข็งแรง พักผ่อนให้เพียงพอก่อนการนำเสนอ มีบุคลิกภาพที่สง่าผ่าเผย กระตือรือร้น กระฉับกระเฉง แต่งกายสะอาดเรียบร้อย เหมาะสมกับกาลเทศะ

5.2 การเตรียมใจ ผู้นำเสนอข้อมูลต้องทำจิตใจให้อยู่ในสภาพปกติ มีอารมณ์ร่าเริง ยิ้มแย้มแจ่มใส จิตใจมั่นคง ไม่วิตกกังวล

5.3 การเตรียมความรู้  ผู้นำเสนอข้อมูลต้องมีความรอบรู้ในเรื่องที่นำเสนอ ข้อมูลที่นำเสนอทันสมัย ทันเหตุการณ์ และอยู่ในความสนใจของผู้ฟัง จะทำให้ผู้ฟังมีความกระตือรือร้นต้องการฟังเรื่องราวที่นำเสนอ ตลอดการนำเสนอ

6. การสร้างบรรยากาศในการนำเสนอ  ผู้นำเสนอข้อมูล ควรสร้างบรรยากาศในการนำเสนอให้น่าสนใจ สิ่งที่จะช่วยให้บรรยากาศในการนำเสนอให้น่าสนใจมีดังนี้

6.1 การใช้ถ้อยคำภาษา  ผู้นำเสนอข้อมูลต้องใช้ถ้อยคำอย่างมีศิลปะ ใช้ถ้อยคำที่ทำให้ผู้ฟังชื่นชม มีความรู้สึกในทางที่ดี และเลือกใช้ถ้อยคำให้เหมาะสมกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลที่สละสลวย กะทัดรัด

6.2 การใช้สายตาและท่าทางประกอบ  ผู้นำเสนอข้อมูลต้องใช้สายตามองผู้ฟังให้ทั่วถึง ใช้กิริยาท่าทางประกอบการนำเสนออย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับถ้อยคำและความหมาย

6.3 การใช้น้ำเสียง  ผู้นำเสนอข้อมูลต้องใช้น้ำเสียงให้เป็นธรรมชาติ น้ำเสียงนุ่มนวล มีจังหวะของการพูดพอดี ไม่ช้าหรือเร็วจนเกินไป ปรับน้ำเสียงให้เข้ากับความหมายและใช้เสียงให้ได้ยินอย่างทั่วถึง

6.4 มีมนุษยสัมพันธ์กับผู้ฟัง  ผู้นำเสนอข้อมูลต้องสร้างมิตรภาพกับผู้ฟังด้วยความจริงใจ ด้วยการสบตาผู้ฟัง ยิ้มแย้มแจ่มใส และมองผู้ฟังด้วยสายตาที่แสดงความเป็นมิตร กวาดสายตามองผู้ฟังอย่างทั่วถึง


การนำเสนอข้อมูลก่อนถึงเวลานำเสนอข้อมูล

                 ผู้นำเสนอข้อมูลควรตรวจสอบและประสานงานในเรื่องต่อไปนี้

1. การจัดสถานที่  ตกแต่งห้องในการนำเสนอข้อมูลอย่างเหมาะสม โดยให้มีความพร้อมดังนี้

1.1 มีป้ายข้อความบอกเรื่องที่จะนำเสนอข้อมูล

1.2 ต้นไม้ประดับห้อง ดอกไม้ประดับโต๊ะ หรือแท่นในการนำเสนอ

1.3 โต๊ะเก้าอี้สำหรับแขกรับเชิญ หรือแขกคนสำคัญ

1.4 โต๊ะเก้าอี้สำหรับผู้ฟังให้เพียงพอกับจำนวนผู้ฟัง

1.5 โต๊ะวางอุปกรณ์ประกอบการนำเสนอ

1.6 โต๊ะสำหรับนั่งพูดในการนำเสนอ

1.7 แท่นสำหรับยืนพูดในการนำเสนอ

1.8 ระบบระบายอากาศอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี

2. ระบบเสียงและแสงสว่าง  ระบบเสียงมีความดังชัดเจน ไมค์อยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดี ห้องที่นำเสนอต้องมีแสงสว่างเพียงพอ สามารถปรับแสงให้ทึบหรือสลัว ให้เหมาะกับการใช้งานเมื่อมีการฉายสไลด์ วีดิทัศน์ หรือภาพยนตร์

3. มีมารยาททางสังคม  เมื่อจะเริ่มนำเสนอข้อมูลควรคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้

3.1 ทักทายที่ประชุม เป็นการให้เกียรติและเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟัง ด้วยถ้อยคำที่สุภาพ

3.2 แนะนำตัวเอง ในกรณีที่ไม่มีผู้ใดแนะนำตัว ผู้นำเสนอข้อมูลต้องแนะนำตัวเอง โดยการบอกชื่อและนามสกุล ตำแหน่งหรือสถานที่ทำงาน โดยกล่าวเพียงสั้น ๆ ปรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์

4. เริ่มนำเสนอข้อมูล  นำเสนอข้อมูลที่ได้เตรียมมาพร้อมแล้ว โดยใช้สื่อหรืออุปกรณ์ช่วยในการนำเสนอ ตั้งแต่ต้นจนจบการนำเสนอ แล้วเปิดโอกาสให้ผู้ฟังซักถาม ตัวอย่างเช่น การนำเสนอข้อมูล ลำดับขั้นตอนในการทำโครงงานภาษาไทย


วิดีโอนำเสนอ การนำเสนอข้อมูล

การนําเสนอมีวัตถุประสงค์เพื่ออะไร

1. กำหนดวัตถุประสงค์ในการนำเสนอ 1.1 เพื่อให้ความรู้หรือข้อมูลข่าวสารใหม่ๆ (To inform) 1.2 เพื่อปลุกใจหรือเป็นแรงบันดาลใจ (To convince) 1.3 เพื่อเรียกร้องให้ผู้รับมีปฏิกิริยาตอบสนอง (To request for action)

สิ่งสําคัญในการนําเสนอผลงาน มีอะไรบ้าง

ลักษณะการนำเสนอที่ดี.
1. มีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน กล่าวคือ มีความต้องการที่แน่ชัดว่า เสนอเพื่ออะไร โดย ... .
2. มีรูปแบบการนำเสนอเหมาะสม กล่าวคือ มีความกระทัดรัดได้ใจความ เรียง ... .
3. เนื้อหาสาระดี กล่าวคือ มีความน่าเชื่อถือ เที่ยงตรง ถูกต้อง สมบูรณ์ครบถ้วน ... .
4. มี ข้อเสนอที่ดี กล่าวคือ มีข้อเสนอที่สมเหตูสมผล มีข้อพิจารณาเปรียบเทียบ.

การพูดนำเสนอผลงานมีความสำคัญอย่างไร

ความสำคัญของการพูดนำเสนองาน การนำเสนอผลงานเป็นทักษะการสื่อสารที่จำเป็น เนื่องจากบ่อยครั้งที่เรา ต้องเผชิญกับการพูดต่อหน้าผู้อื่น เช่นการเสนอโครงการ เพื่อดำเนินงาน ต่าง ๆ การนำเสนอข้อมูลจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนั้นทุกคนจึงควรฝึกฝน ทักษะในการนำเสนอผลงาน เพื่อให้เกิดความชำนาญและเกิดประสิทธิภาพ

ปัจจุบันการนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรต่างๆ อย่างไร อธิบาย

ใน ปัจจุบันนี้การนำเสนอเข้ามามีบทบาทสำคัญในองค์กรทางธุรกิจ ทางการเมือง ทางการศึกษา หรือแม้แต่หน่วยงานของรัฐทุกแห่ง ก็ต้องอาศัยวิธีการนำเสนอเพื่อสื่อสารข้อมูล เสนอความเห็น เสนอขออนุมัติ หรือเสนอข้อสรุปผลการดำเนินงานต่างๆ ผู้มีหน้าที่เกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์ การแนะนำเพื่อการเยี่ยมชม การฝึกอบรม การประชุม หรือผู้ที่เป็น ...