การพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

แนวทางปฏิบัติการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

โลกของเราเกิดขึ้นมาจากองค์ประกอบหลาย ๆ องค์ประกอบร่วมกัน จนกระทั่งกลายมาเป็นโลกที่มีความสมบูรณ์แบบมากที่สุด ธรรมชาติได้สร้างสรรค์สิ่งต่าง ๆ ขึ้นมา เพื่อทำให้โลกของเรานั้น มีความเหมาะสมต่อการเติบโต อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต รวมทั้งการเจริญเติบโตของพืชพันธุ์ต่าง ๆ แต่แล้วจากความเจริญก้าวหน้าของมนุษยชาติ จึงทำให้ธรรมชาติเหล่านั้นถูกทำลายลงอย่างต่อเนื่อง รวมถึงปัญหาการปล่อยควันพิษ อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น การขับรถจากการใช้น้ำมันดีเซลเป็นเชื้อเพลิง, การปล่อยควันเสียออกจากโรงงาน, การทิ้งขยะมูลฝอยลงในแม่น้ำลำคลองต่าง  ๆซึ่งส่งผลกระทบต่อทั้งสิ่งมีชีวิตสัตว์น้ำ และพืชน้ำ เพราะฉะนั้นโลกในยุคปัจจุบันนี้จึงถึงคราวตื่นตัว หันมาดูแลใส่ใจอนุรักษ์ธรรมชาติกันมากยิ่งขึ้น โดยทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมได้ทั้งนั้น

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน เพื่อโลกของเรา

การรักษาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน จะต้องประกอบด้วยองค์ประกอบหลาย ๆ ด้านรวมเข้าด้วยกัน เริ่มจากต้องมีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่แล้วให้มีต่อไป และมีมากขึ้นในอนาคต ควบคุมการปล่อยของเสียสู่ธรรมชาติ ใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และรู้คุณค่า ควบคุมจำนวนประชากรคนรุ่นใหม่ และคนรุ่นใหม่ที่เกิดมานั้นจะต้องมีคุณภาพ ได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อทำให้เกิดความเข้าใจในเรื่องของการดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การควบคุมจำนวนประชากร ก็ยังเป็นการควบคุมการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ ของมนุษย์อีกด้วย ลดการใช้สารเคมีในการปลูกผัก และให้หันมาศึกษาวิธีทางธรรมชาติ เพื่อนำมาใช้ในการกำจัดศัตรูพืชแทน

แนวทางการปฏิบัติในการดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติ ให้มีความเหมาะสม ได้แก่…

  • การอนุรักษ์ คือ การทำนุบำรุงรักษาสิ่งแวดล้อมธรรมชาติต่าง ๆ ที่มีอยู่แล้ว ให้คงอยู่สืบต่อไป เช่น ป้องกันการตัดไม้ทำลายป่า ส่วนการสร้างกระดาษที่เป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักนั้น จะมีพื้นที่ที่ทางเอกชนจัดตั้งขึ้นมา เพื่อนำมาใช้ปลูกต้นไม้และนำไปผลิตกระดาษโดยเฉพาะ ทำให้ไม่ได้ใช้ต้นไม้จากธรรมชาติที่มีอยู่แล้วนำมาปลูกกระดาษ
  • วางแผนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติอย่างยั่งยืน จำเป็นจะต้องคำนึงถึงในเรื่องของเศรษฐกิจ สังคม การเมืองรวมทั้งชีวิตของประชากรในสังคมอีกด้วย เพราะว่าองค์ประกอบเหล่านี้ จำเป็นที่จะต้องดำเนินควบคู่ไปพร้อม ๆ กัน ไม่อาจที่จะมีองค์ประกอบใดองค์ประกอบหนึ่ง มากกว่าองค์ประกอบอื่น เพราะก็อาจจะทำให้เกิดการเสียสมดุล
  • ปลูกฝังความรักในสิ่งแวดล้อม และทำให้ผู้คนในสังคมเกิดความตระหนักรู้ แท้จริงแล้วธรรมชาตินั้นเป็นสิ่งที่อยู่ผูกพันกับมนุษย์มาตั้งแต่ครั้งโบราณ และจะต้องอยู่ผูกพันต่อไปในอนาคตอีกยาวไกล เพราะฉะนั้นควรปลูกฝังตั้งแต่ประชากรยังเป็นเด็ก โดยบุคคลในครอบครัว ก็จำเป็นที่ต้องปลูกฝังด้วยเช่นกัน เช่น สอนการคัดแยกขยะ, สอนการใช้พลังงานไฟฟ้าให้มีความคุ้มค่า, สอนการใช้พลังงานน้ำให้มีความคุ้มค่า, ลดละเลิกการใช้ถุงพลาสติกไม่จำเป็น หันมาใช้ถุงผ้า หรือเลือกใช้หลอดทำจากยาง, เยื่อไม้ไผ่ และอื่น ๆ เป็นต้น รวมทั้งปลูกจิตสำนึกทางสังคม เช่น ไม่ทิ้งขยะมั่วซั่ว, ไม่ทิ้งขยะลงทะเล ถึงแม้ว่าอาจจะดูเป็นเพียงเรื่องเล็ก ๆ แต่ถ้าทุกคนร่วมแรงร่วมใจพร้อมใจกันทำ จะทำให้ธรรมชาตินั้นค่อย ๆ ฟื้นฟูตัวเองและกลับมาเป็นธรรมชาติอันสมบูรณ์ betflik123

สุดท้าย คือ ทำให้ผู้คนเกิดความตระหนักรู้ว่า แท้จริงแล้วส่วนหนึ่งของชีวิตมนุษย์ จำเป็นที่จะต้องพึ่งพาอาศัยความสำคัญของธรรมชาติ บางครั้งมนุษย์อาจหลงลืมรากเหง้าความเป็นมา จึงทำให้คิดว่าตนเองนั้นต้องเอาชนะธรรมชาติเท่านั้น แต่จากประสบการณ์ที่ผ่านมาทำให้เราได้รู้แล้วว่า การดำเนินชีวิตให้มีความสมดุล กลมกลืนผสมผสานเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ที่สามารถดำเนินไปพร้อม ๆ กับรักษาธรรมชาติ เป็นสิ่งที่สมควรทำเป็นอย่างยิ่ง และในอนาคตอันใกล้เราคงจะเห็นนวัตกรรมใหม่ ๆ สร้างขึ้นมาเพื่ออนุรักษ์ธรรมชาติโดยแท้

    แนวคิดในการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นผลสืบมาจากการเกิดสภาวะความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ที่นับวันจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคนเราเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้
   ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 
     - การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นคำที่มีรากฐานมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการใช้หรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รู้จักถนอมในการใช้ เพื่อให้มีไว้ใช้ เพื่อใช้มีอย่างยาวนานจนถึงคนรุ่นหลัง
     - การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลัง 
 แนวทางในการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    - ประชาชนและภาครัฐต้องช่วยกันควบคุมปล่อยของเสียที่สร้างขึ้นให้ออกสู่ธรรมชาติน้อยลง
    - ประชาชนและภาครัฐต้องรู้จักวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
    - ประชาชนทุกคนต้องเกิดจิตสำนึกร่วมกัน  โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากร
ธรรมชาติให้เหมาะสม
    - ภาครัฐควรวางมาตรการการประจายรายได้ออกไปสู่ภาคประชาชนในทุกกลุ่มทุกอาชีพ 
เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
    - ภาครัฐควรวางมาตรการในการควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร 
                   นโยบายและวิธีการจัดการด้านทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลไทย
รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา มีนโยบายให้จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ  มาจัดวางระเบียบการจับจองที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก  และจัดวางแผนส่งเสริมชลประทาน
รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช มีนโยบายเร่งดำเนินโครงการชลประทานขนาดเล็กส่งเสริมการประมงและปศุสัตว์จนสามารถเป็นสินค้าออก  และป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของส่วนรวมรัฐจะอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้ให้คงสภาพและเกิดความสมบูรณ์เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธาร รัฐบาลพลเอกสุจินดา  คราประยูร มีนโยบายในการที่จะอนุรักษ์คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน  ป่าไม้  และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆและให้ประชาชนในพื้นที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรฯให้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้จะกวดขันให้เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพยากรฯอย่างเข้มงวดโดยใช้ภาพจากดาวเทียมในการควบคุม รัฐบาลนายชวน  หลีกภัย มีนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์เพื่อกระจายสิทธิ์การถือครองที่ดินให้แด่เกษตรกรผู้ยากไร้ เพื่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร มีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  เกิดความสมดุลในการพัฒนา
   แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับรูปแบบและแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 
     - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) เป็นแผนพัฒนาฯที่เน้นพัฒนาประเทศให้ก้าวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่สะสมมาจากแผนพัฒนาฯฉบับที่ผ่านมาเน้นการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างมีคุณภาพ  และเน้นเศรษฐกิจ  การเมืองสังคม ให้มีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)  เป็นแผนพัฒนาฯที่มุ่งให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณคุณภาพและความเป็นธรรมในสังคมเน้นการกระจายรายได้และความรู้ไปสู่ภูมิภาค  เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คุณภาพชีวิตและการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)  เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
และแท้จริง  โดยกำหนดการพัฒนาคนเป็นวัตถุประสงค์หลัก  และในส่วนของการจัดการทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อม  มีการวางแผนจัดการเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และเกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศวิทยาและให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)  เป็นแผนพัฒนาที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ  เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลมีคุณภาพ

การพัฒนาสิ่งแวดล้อม คืออะไร

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน หมายถึง การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่คำนึงถึงความเสียหาย มีการป้องกันปัญหาที่เกิดแก่สิ่งแวดล้อม หรือเกิดความเสียหายน้อยที่สุด โดยคำนึงถึงความต้องการพื้นฐานของประชากรในประเทศด้วย

โครงการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อม มีอะไรบ้าง

การพัฒนาด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ... .
โครงการพัฒนาพื้นที่ลุ่มน้ำปากพนัง ... .
เขื่อนคลองท่าด่าน ... .
อุโมงค์ผันน้ำลำพะยังภูมิพัฒน์ ... .
โครงการพระราชดำริ แก้มลิง ... .
โครงการระบายน้ำออกจากพื้นที่ท่วมขังบริเวณฝั่งตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ... .
โครงการน้ำดีไล่น้ำเสียตามคลองต่าง ๆ ในกรุงเทพ.

การอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อมมีอะไรบ้าง

9 วิธีอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรแบบง่ายๆ ที่คุณเองก็ทำได้.
ตระหนัก.
ส่งเสริม.
สนับสนุน.
1. ประหยัดการใช้สิ่งต่างๆ ในบ้าน.
2. ใช้ซ้ำ สำหรับสิ่งของที่สามารถใช้ได้.
3. รีไซเคิลวัสดุต่างๆ ให้เกิดประโยชน์สูงสุด.
4. ซ่อมแซมสิ่งที่ชำรุด ถ้าไม่เสียอย่าเพิ่งทิ้ง.
5. ทดแทนวัสดุที่เป็นมลพิษด้วยของจากธรรมชาติ.

การพัฒนาสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของใคร

ปัจจุบันองค์กรที่ดำเนินการโดยตรงคือ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสงวนอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การจัดการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน และราชการอื่นตามที่มีกฎหมาย หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมได้ ...