การตั้งประเด็นปัญหา คืออะไร

การกำหนดปัญหางานวิจัย คืออะไร

การกำหนดปัญหางานวิจัย คือ การพิจารณาถึงปัญหาหรือหัวข้อที่เราสนใจต้องการจะศึกษา ว่าหัวข้อนั้นเกี่ยวข้องกับเรื่องอะไร ต้องการทดสอบหรือหาคำตอบเรื่องอะไร เพื่อเป็นการระบุชื่อเรื่องงานวิจัยให้ชัดเจน และเข้าใจตรงกันว่าจะศึกษาเรื่องใด ซึ่งถือว่าเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญที่สุดในกระบวนการวิจัย เพราะผู้วิจัยต้องกำหนดปัญหาของงานวิจัย ให้สามารถได้มาซึ่งคำตอบของสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการศึกษาค้นคว้า ซึ่งการกำหนดปัญหาของงานวิจัยควรมีการศึกษาสิ่งต่าง ๆ ดังนี้

  • ศึกษาลักษณะและความเป็นมา ผู้วิจัยจะต้องศึกษาเนื้อหาลักษณะของความเป็นมาของเรื่องที่เป็นปัญหาในการวิจัย

  • ศึกษาโครงสร้างขององค์การที่กําหนดเป็นเรื่องการทําวิจัย บางครั้งจําเป็นต้อง ศึกษาโครงสร้างขององค์การที่ใช้กําหนดเป็นหัวเรื่องของการวิจัย ตัวอยาง เช่น การดําเนินงาน การบริหาร การเงิน เป็นต้น

  • ศึกษาเอกสารและกิจกรรมที่ เกี่ยวของกับหัวเรื่องที่วิจัย ทั้งนี้เพื่อให้ทราบว่า หัวข้อวิจัยนั้นเป็นปัญหาที่ผู้อื่นได้ศึกษาไว้กอ่นหน้านี้รวมทั้งปัญหาอื่นๆ ที่มีอยู่

  • ศึกษาและปรึกษากับผูที่มีความรูโดยเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ หรือผู้มีประสบการณในเรื่องที่จะศึกษาวิจัย

  • ศึกษากรอบและทฤษฎี ซึ่งจะทําใหผู้วิจัยสามารถเห็นความสัมพันธ์ระหว่างหัวเรื่อง ปัญหา ข้อมูล ลักษณะของปัญหา
     

โดยทั่วไปแล้วปัญหาของการวิจัยควรมีคุณสมบัติ ดังนี้

  1. จะต้องเป็นปัญหาที่ชัดเจนไม่คลุมเครือ ไม่กำกวม เข้าใจง่าย สามารถอ่านแล้วเข้าใจตรงกัน

  2. ปัญหาที่กำหนดต้องไม่กว้างหรือแคบจนเกินไป

  3. ควรเป็นปัญหาที่มีความหมาย ง่ายต่อการศึกษาวิจัย

  4. จะต้องเหมาะสมกับเวลา ค่าใช้จ่าย และความรู้ความสามารถของผู้วิจัย

เกณฑ์การประเมินปัญหาการวิจัย

การเลือกปัญหาการวิจัยจะเหมาะสมหรือไม่ ควรที่นักวิจัยจะได้ประเมินหัวข้อปัญหาการวิจัยนั้นโดยอาศัยเกณฑ์ต่อไปนี้พิจารณา

1.ควรเป็นปัญหาที่ผู้วิจัยสนใจซึ่งมีลักษณะ ดังนี้

1.1 มีความอยากรู้  อยากเห็นอยากทราบคำตอบโดยไม่มีอคติ

1.2 เป็นความสนใจที่เกิดจากแรงจูงใจภายนอกมากระตุ้น

1.3 เป็นปัญหาที่แสดงความคิดริเริ่มของผู้วิจัยเอง

2.ควรเป็นปัญหาที่มีคุณค่า ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้  

2.1 ก่อให้เกิดความรู้  ความจริงใหม่ๆ ไม่ซ้ำซ้อนกับผู้อื่น

2.2. ก่อใหเกิดสติปัญญาและพัฒนาความคิด

2.3 นำไปแก้ไขปรับปรุงงานที่ทำอยู่ได้

3.ควรคานึงถึงความสามารถของผู้วิจัยในประเด็นต่อไปนี้  

3.1 มีความรู้  ความสามารถพอที่จะทำงานวิจัยเรื่องนั้น

3.2 มีเวลา กำลังงาน และกำลังทรัพย์พอที่จะทำได้สำเร็จ

3.3 สามารถเก็บข้อมูลได้อย่างเที่ยงตรงและมีประสิทธิภาพ

4.ควรคำนึงถึงสิ่งที่จะเอื้ออำนวยให้การวิจัยสำเร็จได้แก่

4.1 มีแหล่งวิชาการที่จะค้นคว้าได้สะดวกและเพียงพอ

4.2 มีอุปกรณ์เครื่องมือ และเครื่องช่วยในการวิเคราะห์ข้อมูล

4.3 ได้รับความสนับสนุนและร่วมมือจากผู้เกี่ยวข้องด้วยดี

อ้างอิง

https://www.scribd.com/doc/23466202/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5-3-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%B3%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%94%E0%B8%9B%E0%B8%B1%E0%B8%8D%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%A2

http://e-book.ram.edu/e-book/t/TO405(51)/TO405-3.pdf

ตัวอย่างประเด็นคำถาม                                 

1. สถานการณ์, เหตุการณ์ ประเด็น ตัวอย่าง

ชีวิตกับความเหงา สิ่งที่ต้องการหรือไม่ต้องการ :ผู้หญิงคนหนึ่งอาศัยอยู่คนเดียว(IS3:ดูแลคนชรา)

การตั้งคำถาม   –   การอาศัยอยู่คนเดียวลำบากหรือไม่

  • ทุกคนสามารถอาศัยอยู่คนเดียวได้หรือไม่
  • การอยู่บ้านคนเดียวสบายหรือลำบาก
  • การอยู่คนเดียวดีหรือไม่
  • “การอยู่คนเดียว” เหมือนหรือต่างกับ “การอยู่อย่างว้าเหว่”
  • ผู้หญิง หรือผู้ชาย ที่อยู่คนเดียวว้าเหว่ หรือไม่

ของที่ระลึก ความหมายที่ลึกกว่าสิ่งของ:วิจิตรให้ดอกมะลิ ดอกกุหลาบหรือของที่ระลึกแก่เพื่อนบ้าน

การตั้งคำถาม – มีเหตุผลอะไรบ้างที่เราต้องให้ของขวัญกันและกัน

  • การให้ของขวัญในโอกาสต่าง ๆ มีความจำเป็นหรือไม่ มีเหตุผลสำคัญอะไรบ้างที่สามารถใช้สนับสนุนการกระทำเช่นนี้
  • การเป็นมิตรหรือเพื่อนกันเหมือนกับการให้ของขวัญหรือไม่แบบใด และอย่างไร
  • เหตุสำคัญใดบ้างที่นักเรียนต้องเป็นมิตรกับเพื่อนทุกคน ตัวอย่างของการคบมิตรที่สมควรศึกษาเป็นแบบอย่างที่ควรยึดถือมาใช้กับชีวิตของเรา
  • สัตว์ป่านานาชนิดที่อาศัยอยู่ในป่าต้องทำอะไรหรือไม่เพื่อสร้างความเป็นเพื่อน/มิตรกับสัตว์อื่น แสดงตัวอย่างที่เกิดขึ้นเพื่อใช้สนับสนุน

งานฉลองของคนไทย : มณีแก้วเชิญเพื่อนบ้าน ทั้งผู้ใหญ่และเด็กมาร่วมฉลองวันปีใหม่ วันสงกรานต์ วันคริสต์มาส

การตั้งคำถาม  –  การฉลองวันสำคัญต่าง ๆ สำคัญ เละก่อให้เกิดผลอย่างไรบ้าง

  • การฉลองวันสำคัญต้องรู้ขนบธรรมเนียมประเพณีนั้น อย่างไร
  • วันสำคัญต่าง ๆของไทยที่สามารถจัดงานฉลองกันได้และไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสิ่งใดบ้าง
  • : ศาลโลกกำลังพิจารณาคดีเขาพระวิหาร

การตั้งคำถาม  – เขาพระวิหารสำคัญอย่างไร เป็นของชาติใด

  • ศาลโลกมีขอบเขตของอำนาจการพิจารณาคดีอย่างไร
  • ประเด็นสำคัญอะไรบ้างที่ทำให้เกิดข้อขัดแย้งเขาพระวิหาร
  • ถ้านักเรียนเป็นชาติยื่นฟ้องต่อศาลโลกจะต้องใช้ประจักษ์พยานสำคัญอะไร
  • ถ้านักเรียนเป็นชาติที่ถูกฟ้องจะต้องเตรียมประจักษ์พยานใดต่อสู้คดี
  • ปัญหานี้เหมือนหรือต่างกับการสร้างบ้านไปรุกล้ำที่บ้านใกล้เคียงอย่างไร

:  ธงชาติของทุกประเทศในอาเซียนจะมีรูปสัญลักษณ์ต่าง ๆที่ปรากฏบนผืนธง

การตั้งคำถาม   – ธงชาติของแต่ละชาติมีสัญลักษณ์ใดบ้าง

  • แถบสีบนผืนธงชาติของชาติในอาเซียนเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
  • แถบสี และรูปสัญลักษณ์บนผืนธงชาติมีความหมายเหมือนหรือต่างกันอย่างไร
  • ธงชาติไทยมีแถบสี รูปสัญลักษณ์เหมือน หรือต่างจากธงชาติประเทศอาเซียนอย่างไร

ใบกิจกรรมการตั้งประเด็นคำถาม

คำถามระดับพื้นฐาน หมายถึง อะไร

การตั้งคำถามมี ๒ ระดับ คือ คำถามระดับพื้นฐานและคำถามระดับสูง ซึ่ง มีรายละเอียดดังนี้ ๑. คำถามระดับพื้นฐาน เป็นการถามความรู้ ความจำ เป็นคำถามที่ใช้ ความคิดทั่วไป หรือความคิดระดับต่ำ ใช้พื้นฐานความรู้เดิมหรือสิ่งที่ประจักษ์ใน การตอบ เนื่องจากเป็นคำถามที่ฝึกให้เกิดความคล่องตัวในการตอบ

การตั้งประเด็นปัญหามีกี่ระดับ ประกอบด้วยอะไรบ้าง

การตั้งคำถามมีระดับ คือ คำถามระดับพื้นฐานและคำถามระดับสูง ซึ่ง มีรายละเอียดดังนี้ ๑. คำถามระดับพื้นฐาน เป็นการถามความรู้ ความจำ เป็นคำถามที่ใช้ ความคิดทั่วไป หรือความคิดระดับต่ำ ใช้พื้นฐานความรู้เดิมหรือสิ่งที่ประจักษ์ใน การตอบ เนื่องจากเป็นคำถามที่ฝึกให้เกิดความคล่องตัวในการตอบ

การตั้งปัญหามีประโยชน์อย่างไร

6 คุณประโยชน์ ที่เกิดขึ้นจาก “การตั้งคำถาม”.
1. เราเรียนรู้ชีวิตผ่านการตั้งคำถาม ... .
2. ยิ่งถามมาก ยิ่งได้มาก ... .
3. คุณภาพชีวิตที่ดี ล้วนขึ้นอยู่กับคำถามที่เราถาม ... .
4. การตั้งคำถามทำให้คุณเปิดใจและพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ ... .
5. การตั้งคำถามทำให้เราฉลาดขึ้น ... .
6. การถามให้ถูกจุด ก่อให้เกิดความสุขได้ ... .
5 สิ่งที่คุณควรทำเมื่อขาดแรงบันดาลใจ.

คําถามให้สังเกตมีอะไรบ้าง

1.1) คำถามให้สังเกต เป็นคำถามที่ให้ผู้เรียนคิดตอบจากการสังเกต เป็นคำถามที่ต้องการให้ผู้เรียนใช้ประสาทสัมผัสทั้งห้าในการสืบค้นหาคำตอบ คือ ใช้ตาดู มือสัมผัส จมูกดมกลิ่น ลิ้นชิมรส และหูฟังเสียง ตัวอย่างคำถามเช่น æ เมื่อนักเรียนฟังเพลงนี้แล้วรู้สึกอย่างไร æ ภาพนี้มีลักษณะอย่างไร æ สารเคมีใน 2 บีกเกอร์ ต่างกันอย่างไร