จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว ทํางานอะไร

จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว ทํางานอะไร

สวัสดีค่ะน้องๆ  สำหรับ TCAS Coach  วันนี้ พี่แนนนี่จะพาไปทำความรู้จักกับอาชีพที่ถือว่าเป็นที่นิยม และได้รับความสนใจค่อนข้างมาก อย่าง "นักจิตวิทยา"  แต่ก็ยังเป็นอาชีพที่ใครหลายคนสับสน หรือเข้าใจผิดเกี่ยวกับการทำงานอยู่ ดังนั้นใครที่สนใจจะทำงานในด้านนี้ตามไปดูกันว่าแท้จริงแล้ว นักจิตวิทยาทำงานอะไร แล้วจะต้องเรียนที่ไหนถึงจะได้เป็นนักจิตวิทยา

จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว ทํางานอะไร
เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ "นักจิตวิทยา"

เจาะลึกคณะที่ใช่ สู่อาชีพที่ชอบ"นักจิตวิทยา"

แนะนำอาชีพ

จิตวิทยา (psychology) เป็นศาสตร์แห่งการศึกษาพฤติกรรมของมนุษย์ คือจะเป็นการเรียนรู้ และทำความเข้าใจพฤติกรรม และความแตกต่างของมนุษย์ที่จะครอบคลุมทุกด้าน ทั้งทางจิต อารมณ์  ความรู้สึกนึกคิด สติปัญญา ประสาทสัมผัส การรับรู้  รวมไปถึงท่าทาง บุคลิกภาพ และความสัมพันธ์ต่างๆ 

ดังนั้น นักจิตวิทยา หรือ Psychologists ก็จะทำหน้าที่ดูแล ให้คำปรึกษา และบำบัดรักษา ผู้ที่มีปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับจิตใจ อารมณ์ ความรู้สึก โดยจะต้องค้นหาสาเหตุ และ แต่จะไม่สามารถจ่ายยาได้ 

สำหรับในประเทศไทยเรานั้นสามารถแบ่งสาขาวิชาทางจิตวิทยาได้คร่าวๆ  ดังนี้

  • จิตวิทยาคลินิก : เป็นสาขาวิชาที่คล้ายกับ "จิตแพทย์" มากที่สุด เพราะจะมีเรียนการตรวจ วินิจฉัย และวิธีการรักษาแบบเฉพาะทาง โดยจะเน้นวิเคราะห์พฤติกรรม สิ่งแวดล้อมต่างๆ เพื่อช่วยเหลือบุคคลที่มีสุขภาพจิตผิดปกติให้คืนสู่สภาพจิตใจที่สมบูรณ์ และปรับตัวได้ นอกจากนี้ยังเป็น จิตวิทยา สาขาวิชาเดียวในประเทศไทย ที่ต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ หรือใบประกอบโรคศิลปะ
  • จิตวิทยาพัฒนาการ : เน้นการส่งเสริมพัฒนาการของมนุษย์ในแต่ละช่วงวัย (ตั้งแต่เกิด-เสียชีวิต) ทั้งทางด้านร่างกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคม
  • จิตวิทยาสังคม : เน้นศึกษาพฤติกรรม ความคิด ความรู้สึกของคนเรา ที่ได้รับอิทธิพลจากคนอื่น ๆ รอบตัวเรา โดยศึกษาว่า รูปร่างท่าทาง การกระทำต่าง ๆ การแสดงออกของคนเหล่านั้น ส่งผลต่อการตอบสนองของเราอย่างไร ในทางกลับกัน ท่าที และการกระทำของเราส่งผลอย่างไรต่อคนรอบข้างเรา
  • จิตวิทยาชุมชน : เน้นศึกษาพฤติกรรมของบุคคลในชุมชน กลวิธีต่างๆ ในการป้องกันและส่งเสริมสุขภาพกายและจิตใจ ปัจจัยต่างๆ ที่เอื้อต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตและพัฒนาทรัพยากรบุคคลเพื่อความเข้มแข็งของชุมชน
  • จิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ : เน้นประยุกต์แนวคิดและทฤษฎีทางจิตวิทยา เพื่ออธิบายพฤติกรรมมนุษย์ในบริบทการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน ส่งเสริมสุขภาวะขององค์การ และคนในองค์การ
  • จิตวิทยาการปรึกษา : เน้นให้คำปรึกษาเพื่อให้เข้าใจปัญหาของตนเองได้อย่างชัดเจน ผ่านการสำรวจภายในตนเอง จนสามารถตระหนักรู้ในตนเอง และปัญหาต่าง ๆ ที่มี และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคคล ซึ่งจะใกล้เคียงกับ "จิตวิทยาคลินิก" มากที่สุด
  • จิตวิทยาการแนะแนว : เน้นให้คำปรึกษาด้านการแนะแนวการศึกษา โดยจะมีการประเมินความถนัด ศักยภาพ หรือความสามารถในการศึกษาต่อ หรือการดำเนินชีวิต

ขอบคุณข้อมูลจาก
เว็บไซต์คณะจิตวิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเว็บไซต์ภาควิชาจิตวิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คุณสมบัติของคนที่จะทำอาชีพนี้

  • เป็นคนละเอียดรอบคอบ ช่างสังเกต และมีเหตุผล
  • เป็นคนที่รับฟังผู้อื่น ชอบแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
  • เหมาะกับคนที่สามารถให้คำปรึกษา ช่างพูดช่างเจรจา
  • เหมาะกับคนที่สามารถเก็บความลับได้ มีจรรยาบรรณในอาชีพ

ต้องจบคณะ/สาขา อะไร

ถ้าต้องการเป็น "นักจิตวิทยา" สาขาวิชาไหน ก็จะต้องเรียนจบจากสาขานั้น  โดยในประเทศไทยมีเพียงจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เปิดสอนอยู่ในคณะจิตวิทยา (วิทยาศาสตรบัณฑิต) และไม่มีการแยกสาขา แยกเอกใดใด  ส่วนมหาวิทยาลัยอื่นๆ "จิตวิทยา" จะเป็นสาขาวิชาอยู่ในหลากหลายคณะ ซึ่งแต่ละคณะก็ได้รับวุฒิการศึกษาที่แตกต่างกันออกไป ตามสาขาวิชา ซึ่งก็จะมีทั้งวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) และครุศาสตรบัณิต (ค.บ.) / การศึกษาบัณฑิต (กศ.บ.) / ศึกษาศาสตรบัณฑิต (ศษ.บ.)

แต่สำหรับใครที่สนใจเป็น "นักจิตวิทยาคลินิก" ก็จะต้องจบจาก "สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก" และจะต้องสอบใบประกอบวิชาชีพ หรือใบประกอบโรคศิลปะก่อนที่จะไปทำงานด้วย

มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน

วิทยาศาสตรบัณฑิต

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • คณะจิตวิทยา
      • สาขาวิชาจิตวิทยา
      • สาขาวิชาวิทยาศาสตร์จิตวิทยา นานาชาติ (double degree)
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
    • คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา
      • เอกจิตวิทยาคลินิก
      • เอกจิตวิทยาพัฒนาการ
      • เอกจิตวิทยาชุมชน
      • เอกจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
    • คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา
      • เอกจิตวิทยาคลินิก
      • เอกจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    • คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    • คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี
    • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาคลินิก
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศึกษา สาขาวิชาจิตวิทยา
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
    • คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
    • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา
  • วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
    • คณะจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยา

สำหรับผู้ที่จะสอบใบประกอบโรคศิลปะ สาขาจิตวิทยาคลินิก จะต้องจบจากสถาบันที่ได้รับการรองรับจากคณะกรรมการวิชาชีพก่อน ซึ่งระดับปริญญาตรีมีอยู่ 7 แห่งดังนี้

  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี
  • วิทยาลัยเซนต์หลุยส์

ศิลปศาสตรบัณฑิต

  • มหาวิทยาลัยศิลปากร
    • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา
  • มหาวิทยาลัยสวนดุสิต
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่
    • คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว
    • คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาองค์การ
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
    • คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
    • วิทยาลัยการฝึกหัดครู สาขาวิชาจิตวิทยาที่ปรึกษาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลยัราชภัฏวไลยอลงกรณ์ฯ
    • คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
    • คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยา

ครุศาสตรบัณฑิต/ศึกษาศาสตรบัณฑิต/การศึกษาบัณฑิต

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    • สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษา การแนะแนว และการศึกษาพิเศษ
      • เอกการปรึกษาและแนะแนว
      • เอกการศึกษาพิเศษ
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
    • คณะศึกษาศาสตร์
      • เอกจิตวิทยาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี
    • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลัยบูรพา
    • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาารประถมศึกษา จิตวิทยาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลัยทักษิณ
    • คณะศึกษาศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาการศึกษาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
    • คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา
    • คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
    • คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาประถมศึกษา-จิตวิทยาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลยัราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา
    • คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาจิตวิทยาและการแนะแนว
  • มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
    • คณะจิตวิทยา สาขาวิชาจิตวิทยา

หมายเหตุ : บางมหาวิทยาลัยเปิดรับสมัครแบบเข้าสาขาวิชา/เอกนั้นๆ โดยตรง แต่บางมหาวิทยาลัยก็รับรวม และแบ่งสาขาวิชาภายหลัง

ค่าเทอมของคณะนี้

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (วท.บ.-ภาษาไทย) 26,500 บ. / ภาคการศึกษา
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 12,900 บ. / ภาคการศึกษา
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 15,300 บ. / ภาคการศึกษา
  • มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ 15,000 บ. / ภาคการศึกษา
  • มหาวิทยาลัยบูรพา  15,000 บ. / ภาคการศึกษา
  • มหาวิทยาลัยมหาสารคาม 13,000 บ. / ภาคการศึกษา
  • มหาวิทยาลัยนเรศวร 15,000 บ. / ภาคการศึกษา
  • มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วท.บ.) 15,000 (กศ.บ) 20,000 บ. / ภาคการศึกษา
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 16,000 บ. / ภาคการศึกษา
  • มหาวิทยาลยัราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา 15,000 บ. / ภาคการศึกษา

วิชาที่น่าจะเกี่ยวข้อง

ถ้าอ้างอิงจากการพิจารณาคัดเลือกของ TCAS65 แล้ว ในการยื่นสมัครสาขาวิชาจิตวิทยา  จะมีการใช้คะแนน  GAT, PAT1, PAT2 หรือวิชาสามัญ  ภาษาไทย, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์, ชีววิทยา

แอบกระซิบว่า TCAS66 ม.ธรรมศาสตร์ จะเปิดรับรอบ Admission แค่รอบเดียวเท่านั้น โดยจะคะแนน A-Level ภาษาไทย, สังคมศึกษา, ภาษาอังกฤษ, คณิต1+ชีววิทยา หรือ คณิต2/ภาษาต่างประเทศ

ย้ำอีกครั้งว่า นักจิตวิทยา ไม่ใช่ จิตแพทย์ ซึ่งจะสามารถประยุกต์การทำงานได้หลากหลายมากกว่า ถ้าใครสนใจเป็นจิตแพทย์ จะต้องไปยื่นสมัครเข้าแพทยศาสตรบัณฑิตก่อน และเลือกเรียนเฉพาะทางด้านจิตเวชต่อไป

  • #TCAS66
  • #TCAS
  • #นักจิตวิทยา
  • #กลุ่มคณะจิตวิทยา
  • #กลุ่มคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์

จิตวิทยาการปรึกษาและการแนะแนว ทํางานอะไร

พี่แนนนี่ - Columnist เด็กเอกไทย คลั่งไคล้มิกกี้(เม้าส์) หลงใหลอิตาลี คอยเฝ้าลงพื้นที่ ตามข่าว TCAS

จิตวิทยาและการแนะแนว ทํางานอะไร

10.จิตวิทยาการแนะแนว คล้ายกับสาขาจิตวิทยาการปรึกษา แต่จะศึกษาเกี่ยวกับการให้คำปรึกษาเชิงแนะแนวการศึกษา เช่น การแนะแนวเพื่อพัฒนานักเรียน การความเข้าใจเกี่ยวกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ เพื่อช่วยเหลือและพัฒนาได้อย่างเหมาะสม วิธีการและเทคนิคต่างๆ ที่ใช้ในงานแนะแนว เป็นต้น โดยส่วนใหญ่สาขานี้จะซ่อนอยู่ในคณะศึกษาศาตร์เพราะ ...

สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ ทํางานอะไร

จิตวิทยาอุตสาหกรรม และองค์การเป็นสาขาของจิตวิทยาที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาพฤติกรรมในที่ทำงาน การบริหารทรัพยากรมนุษย์ถือเป็นสายย่อยของงานนี้ ซึ่งเกี่ยวข้องกับการคัดกรอง และคัดเลือกผู้สมัคร นักจิตวิทยาเหล่านี้มักทำงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบข้อสอบคัดกรอง และเป็นที่ปรึกษาเกี่ยวกับการจัดหาบุคลากรที่เหมาะสมกับตำแหน่งงานใน ...

นักจิตวิทยาการปรึกษา ทํางานอะไร

การทำงานของนักจิตวิทยาการปรึกษา เป็นกระบวนการที่นักจิตวิทยาการปรึกษาทำหน้าที่ในฐานะผู้เอื้ออำนวยให้บุคคลที่มารับบริการ ได้เข้าใจปัญหาของตนเองได้อย่างชัดเจน ผ่านกระบวนการสำรวจภายในตนเอง จนสามารถตระหนักรู้ในตนเองตลอดจนปัญหาต่าง ๆ ที่ตนมี และนำไปสู่การพัฒนาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคคล

จิตวิทยาการแนะแนวเรียนเกี่ยวกับอะไร

แบ่งออกเป็น 2 เอก คือ เอกจิตวิทยาการปรึกษา และแนะแนว เรียนเกี่ยวกับวิชาที่จำเป็นทั้งหมดที่จะไปเป็นครูแนะแนว มีเรียนวิชาจิตวิทยาการสอน จิตวิทยาการพัฒนาผู้เรียน จิตวิทยาการจูงใจ การให้บริการแนะแนว การจัดกิจกรรม จัดโปรแกรมการแนะแนว หลักการแนะแนว และการให้คำปรึกษา และเอกการศึกษาพิเศษ ซึ่งจะเรียนเกี่ยวกับการสอนนักเรียนที่มี ...