สมบูรณาญาสิทธิราชย์อ่านว่าอะไร

คำแปล

ตัวอย่างภาษาเดียว

In slow freezing, he explained, ice crystals form and these cause damage; vitrification is so rapid there are no crystals.

For egg vitrification, the exposure to the equilibration solution is usually about 15 minutes, and it is broken up into four steps.

These eggs are frozen via vitrification, a more efficient and successful method of freezing developed relatively recently.

Vitrification is a cryopreservation technique that provides excellent survivability of embryos and oocytes through dehydration and ultra-rapid cooling.

These antifreeze-like agents are intended to prevent the formation of damaging ice crystals in cells, in a process known as vitrification.

มากกว่า

     สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (Absolute Monarchy) คือ ระบอบการปกครองที่มีกษัตริย์เป็นผู้ปกครองและมีสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ  ในระบอบการปกครองนี้พระมหากษัตริย์ก็คือกฎหมาย  กล่าวคือที่มาของกฎหมายทั้งปวงอยู่ที่กษัตริย์ คำสั่ง ความต้องการต่างๆ ล้วนมีผลเป็นกฎหมาย  กษัตริย์มีอำนาจในการปกครองแผ่นดินและพลเมืองโดยอิสระ  โดยไม่มีกฎหมายหรือองค์กรตามกฎหมายใดๆ จะห้ามปรามได้  แม้องค์กรทางศาสนาอาจทัดทานกษัตริย์จากการกระทำบางอย่างและองค์รัฏฐาธิปัตย์ (กษัตริย์) นั้น  จะถูกคาดหวังว่าจะปฏิบัติตามธรรมเนียม  แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้น  ไม่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายใดๆ ที่จะอยู่เหนือกว่าคำชี้ขาดของรัฏฐาธิปัตย์  ตามทฤษฎีพลเมืองนั้น  ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มอบความไว้วางใจทั้งหมด  ให้กับพระเจ้าแผ่นดินที่ดีพร้อมทางสายเลือด  และได้รับการเลี้ยงดูฝึกฝนมาอย่างดีตั้งแต่เกิดในทางทฤษฎี  กษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะมีอำนาจทั้งหมดเหนือประชาชนและแผ่นดิน  รวมทั้งเหนืออภิชนและบางครั้งก็เหนือคณะสงฆ์ด้วย  ส่วนในทางปฏิบัติกษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มักจะถูกจำกัดอำนาจโดยทั่วไป  โดยกลุ่มที่กล่าวมาหรือกลุ่มอื่นกษัตริย์บางพระองค์  (เช่น จักรวรรดิเยอรมนี ค.ศ. 1871 – 1918)  มีรัฐสภาที่ไม่มีอำนาจหรือเป็นเพียงสัญลักษณ์  และมีองค์กรบริหารอื่นๆ ที่กษัตริย์สามารถเปลี่ยนแปลงหรือยุบเลิกได้ตามต้องการ  แม้จะมีผลเท่ากับระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  แต่โดยทางเทคนิคที่เป็นไปได้แล้ว  นี่คือราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ (constitutional monarchy)  เนื่องจากการมีอยู่ของรัฐธรรมนูญและกฎหมายพื้นฐานของประเทศ  ประเทศที่ใช้ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ในปัจจุบันคือ ซาอุดิอาระเบีย บรูไน โอมาน รวมทั้ง นครรัฐวาติกัน ด้วย

สมบูรณาญาสิทธิราชย์อ่านว่าอะไร

     ประเทศไทยเคยปกครองด้วยระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์  พระมหากษัตริย์มีอำนาจสิทธิ์เด็ดขาดในการปกครองแผ่นดิน  ดังคำกล่าวที่ว่า "พระบรมราชานุภาพของพระเจ้าแผ่นดินกรุงสยามนี้  ไม่ได้ปรากฏในกฎหมายอันหนึ่งอันใด  ด้วยเหตุที่ถือว่าเป็นที่ล้นพ้น  ไม่มีข้อสั่งอันใดจะเป็นผู้บังคับขัดขวางได้"

สมบูรณาญาสิทธิราชย์อ่านว่าอะไร

     เมื่อมีการปฏิวัติยึดอำนาจจากรัชกาลที่ 7  และเปลี่ยนแปลงการปกครองจากสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นระบอบประชาธิปไตยใน พ.ศ. 2475 แล้ว  ในทางนิตินัยพระราชอำนาจที่เคยมีมาอย่างล้นพ้น  ได้ถูกจำกัดลงให้อยู่ในกรอบของรัฐธรรมนูญ

สมบูรณาญาสิทธิราชย์อ่านว่าอะไร

สมบูรณาญาสิทธิราชย์อ่านว่าอะไร

          http://jpo.moj.go.th/index.php/2013-08-17-04-20-06/องค์ความรู้-2/item/ระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์.html

สมบูรณาญาสิทธิราชย์อ่านว่าอะไร

สมบูรณาญาสิทธิราชย์อ่านว่าอะไร

สมบูรณาญาสิทธิราชย์

อ่านว่า สม-บู-ระ-นา-ยา-สิด-ทิ-ราด

ประกอบด้วย สมบูรณ + อาญา + สิทธิ + ราชย์

(๑) “สมบูรณ

บาลีเป็น “สมฺปูรณ” (สำ-ปู-ระ-นะ) รากศัพท์มาจาก สํ (พร้อมกัน, ร่วมกัน) แปลงนิคหิตเป็น มฺ + ปูรฺ (ธาตุ = เต็ม, ทำให้เต็ม) + ยุ ปัจจัย, แปลง ยุ เป็น อน, แปลง อน เป็น อณ

: สํ > สมฺ + ปูรฺ = สมฺปูร + ยุ > อน = สมฺปูรน > สมฺปูรณ แปลตามศัพท์ว่า “ความเต็มพร้อม” “การทำให้เต็มพร้อม” คือ เต็มหมดทุกอย่าง, มีพร้อมหมดทุกอย่าง

สมฺปูรณ ใช้ในภาษาไทยว่า “สมบูรณ์” (สม-บูน)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมบูรณ์ : (คำกริยา) บริบูรณ์ เช่น สมบูรณ์ด้วยโภคสมบัติ สมบูรณ์ด้วยข้าทาสบริวาร, ครบถ้วน เช่น หลักฐานยังไม่สมบูรณ์; อ้วนท้วน, แข็งแรง, เช่น เขาสมบูรณ์ขึ้น เดี๋ยวนี้สุขภาพเขาสมบูรณ์ดีแล้ว. (คำวิเศษณ์) มีคุณสมบัติหรือคุณลักษณะครบถ้วน เช่น มีคุณสมบัติสมบูรณ์ตามที่กำหนด; อ้วนท้วน, แข็งแรง, เช่น มีร่างกายสมบูรณ์ สุขภาพสมบูรณ์. (ส.).”

(๒) “อาญา

บาลีเป็น “อาณา” (อา-นา) รากศัพท์มาจาก อาณฺ (ธาตุ = ส่งไป) + ปัจจัย + อา ปัจจัยเครื่องหมายอิตถีลิงค์

: อาณฺ + = อาณ + อา = อาณา แปลตามศัพท์ว่า “เครื่องส่งไป” ขยายความว่า “ส่งคำสั่งไปประกาศให้รู้และให้ปฏิบัติตาม” หมายถึง คำสั่ง, ข้อบังคับ, การบังคับบัญชา, การสั่ง, อำนาจ (order, command, authority)

อาณา” สันสกฤตเป็น “อาชฺญา” อ่านว่า อาด-ยา (เสียงที่น่าจะใกล้เคียงที่สุดคือ อาด-เชีย) เอามาใช้ในภาษาไทยจึงมักออกเสียงตามสะดวกลิ้นไทยว่า อาด-ชะ-ยา

นอกจากปรับเสียงแล้วเรายังปรับรูปเป็น “อาญา” อีกรูปหนึ่ง ในภาษาไทยจึงมีใช้ทั้ง อาญา อาณา และ อาชญา

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

อาญา : (คำนาม) อํานาจ; โทษ (มักใช้สําหรับพระเจ้าแผ่นดินหรือเจ้านาย) เช่น พระราชอาญา. (ป. อาณา; ส. อาชฺญา); (คำที่ใช้ในกฎหมาย) คดีที่เกี่ยวกับการกระทําความผิดตามกฎหมายอาญา เรียกว่า คดีอาญา แตกต่างกับคดีที่ฟ้องร้องเกี่ยวกับสิทธิส่วนเอกชน ซึ่งเรียกว่า คดีแพ่ง.”

(๓) “สิทธิ

บาลีเขียน “สิทฺธิ” (มีจุดใต้ ทฺ, อ่านว่า สิด-ทิ) รากศัพท์มาจาก สิธฺ (ธาตุ = สำเร็จ) + ติ ปัจจัย, แปลง ติ เป็น ทฺธิ, ลบ ธฺ ที่สุดธาตุ

: สิธฺ > สิ + ติ > ทฺธิ = สิทฺธิ แปลตามศัพท์ว่า “ความสำเร็จ” หมายถึง การกระทำสำเร็จ, ความสำเร็จ, ความรุ่งเรือง (accomplishment, success, prosperity)

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สิทธิ : (คำนาม) อำนาจอันชอบธรรม เช่น บุคคลมีสิทธิและหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญ เขามีสิทธิ์ในที่ดินแปลงนี้; (คำที่ใช้ในกฎหมาย) อํานาจที่จะกระทําการใด ๆ ได้อย่างอิสระ โดยได้รับการรับรองจากกฎหมาย (อ. right)”

ภาษาไทยเอาคำว่า “อาญา” กับ “สิทธิ์” (สิด) มาสมาสกันเป็น “อาญาสิทธิ์” (อา-ยา-สิด) แปลตามศัพท์ว่า “ความสำเร็จที่เกิดจากอำนาจ” แต่ใช้ตามความหมายในภาษาไทยดังที่ พจน.54 บอกไว้ว่า –

อาญาสิทธิ์ : (คำนาม) อํานาจเด็ดขาด คือ สิทธิที่แม่ทัพได้รับพระราชทานจากพระเจ้าแผ่นดินในเวลาไปสงครามเป็นต้น, อาชญาสิทธิ์ ก็ว่า, โดยมีสิ่งสําคัญคือพระแสงดาบเป็นเครื่องหมาย เรียกว่า พระแสงอาญาสิทธิ์ หรือ พระแสงอาชญาสิทธิ์.”

(๔) “ราชย์

คำเดิมมาจาก “ราช” (รา-ชะ) รากศัพท์มาจาก :

(1) ราชฺ (ธาตุ = รุ่งเรือง) + (ปัจจัย) = ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้รุ่งเรืองโดยยิ่งเพราะมีเดชานุภาพมาก” หมายความว่า ผู้เป็นพระราชาย่อมมีเดชานุภาพมากกว่าคนทั้งหลาย

(2) รญฺชฺ (ธาตุ = ยินดี, พอใจ) + ปัจจัย, ลบ , ลบ , แผลง เป็น รา

: รญฺชฺ + = รญฺชณ > รชณ > รช >ราช แปลตามศัพท์ว่า “ผู้ยังคนทั้งหลายให้ยินดี” หมายความว่า เป็นผู้อำนวยความสุขให้ทวยราษฎร์ จนคนทั้งหลายร้องออกมาว่า “ราชา ราชา” (พอใจ พอใจ)

ราช” หมายถึง พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน

ราช + ณฺย ปัจจัย, รัสสะ อา ที่ รา-(ช) เป็น ะ, แปลง ณฺย กับ เป็น ชฺช

: ราช + ณฺย = ราชณฺย > ราชฺช > รชฺช แปลตามศัพท์ว่า “ความเป็นพระราชา” “ภาวะแห่งพระราชา” “ภาวะแห่งผู้มีอำนาจ”

รชฺช ในบาลี เป็น “ราชฺย” ในสันสกฤต (โปรดสังเกตขั้นตอนหนึ่งในบาลีที่เป็น “ราชณฺย” จะเห็นว่าใกล้เคียงกับ “ราชฺย”)

สํสกฤต-ไท-อังกฤษ อภิธาน บอกไว้ว่า –

ราชฺย : (คำนาม) ‘ราชย์,’ อาธิปัตย์, ราชอาณา; การปกครอง; a kingdom; administration of sovereignty or government.”

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

ราชย์ : (คำนาม) ความเป็นพระราชา, ราชสมบัติ, เช่น ขึ้นครองราชย์ เสวยราชย์. (ส.; ป. รชฺช).”

สมบูรณ + อาญาสิทธิ + ราชย์ = สมบูรณาญาสิทธิราชย์

เป็นคำที่บัญญัติเทียบคำอังกฤษว่า absolute monarchy

พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2554 บอกไว้ว่า –

สมบูรณาญาสิทธิราชย์ : (คำนาม) ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์มีอํานาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ.”

: เผด็จการที่ครองธรรม

: ดีกว่าประชาธิปไตยระยำครองอำนาจ

————–

(ตามคำเสนอของพระคุณท่าน ศุภกิจ โกมินทร์)

25-6-58

ต้นฉบับ

จำนวนผู้เข้าชม : 72