อาการปวดหัวบริเวณท้ายทอยเกิดจากอะไร

  • ความรู้สุขภาพ
  • ปวดท้ายทอย อาการกวนใจ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

  1. อ่านบทความ
  2. อยู่ดี กินดี
  3. ความรู้สุขภาพ
  4. ปวดท้ายทอย อาการกวนใจ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

อาการปวดหัวบริเวณท้ายทอยเกิดจากอะไร

เขียนโดย

กองบรรณาธิการ HD

ตรวจสอบความถูกต้องโดย

ทีมแพทย์ HD

ตรวจสอบความถูกต้องแล้ว

ปวดท้ายทอย อาการกวนใจ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

ปวดท้ายทอย อาการกวนใจ เกิดจากอะไรได้บ้าง?

เผยแพร่ครั้งแรก 26 ต.ค. 2018 อัปเดตล่าสุด 4 ก.พ. 2021 ตรวจสอบความถูกต้อง 6 มี.ค. 2019 เวลาอ่านประมาณ 3 นาที

แชร์บทความนี้

อาการปวดหัวบริเวณท้ายทอยเกิดจากอะไร

อาการปวดหัวบริเวณท้ายทอยเกิดจากอะไร

เรื่องควรรู้

ขยาย

ปิด

  • อาการปวดท้ายทอย เป็นอาการที่พบได้บ่อยในผู้คนตั้งแต่วัยรุ่นไปจนถึงวัยสูงอายุ โดยมักมีสาเหตุมาจากความเครียด และกล้ามเนื้อที่ตึงตัว ซึ่งเกิดจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด และภาวะกดดันในชีวิตประจำวัน
  • อาการปวดท้ายทอยเป็นอาการที่เกิดอย่างแพร่หลายมากขึ้นในผู้คนปัจจุบัน เนื่องจากพฤติกรรมติดเล่นโทรศัพท์มือถือ และต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์บ่อยๆ จนกล้ามเนื้อหดเกร็ง
  • แต่อาการปวดกล้ามเนื้อก็สามารถหายเองได้ หากคุณรู้จักยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ หรือลุกไปเคลื่อนไหวยืดเส้นยืดบ้าง นอกจากนี้ ยังมีวิธีรักษาอาการปวดท้ายทอยอีกหลายวิธี โดยขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการด้วย เช่น พักผ่อนให้เพียงพอเสมอ รับประทานยาแก้ปวด ประคบร้อน นวดกดจุด
  • การหมั่นออกกำลังกาย ไม่นั่งอยู่กับที่นานๆ และไม่เครียดจนเกินไป คือ ตัวอย่างวิธีป้องกันอาการปวดท้ายทอยที่ทำได้ง่าย อีกทั้งยังทำให้กล้ามเนื้อต้นคอ และท้ายทอยแข็งแรงยืดหยุ่นมากขึ้นด้วย
  • แต่หากอาการปวดท้ายทอยรุนแรงมากๆ คุณก็อาจต้องเข้ารับการผ่าตัดหมอนรองกระดูกเพื่อรักษา ซึ่งทางที่ดี หากคุณมีอาการปวดท้ายทอยเรื้อรังไม่ยอมหาย ก็ควรไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยอาการ และรักษาตั้งแต่เนิ่นๆ (ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพกับแพทย์โดยตรง ทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัยได้ที่นี่)

อาการปวดท้ายทอย หรือปวดคอ (Neck pain) อาจมีอาการปวดร้าวจากศีรษะลงมาถึงท้ายทอย ปวดตุบๆ หรือปวดจี๊ดๆ และเป็นอาการที่พบบ่อยทั้งในวัยรุ่น หนุ่มสาว วัยกลางคน ไปจนถึงผู้สูงอายุ ซึ่งอาการอาจแตกต่างกันออกไป 

ทั้งนี้อาการปวดท้ายทอยนั้นเกิดได้จากหลายสาเหตุ และบ่งบอกถึงความผิดปกติหรือสภาวะร่างกายที่ต่างกันไป มาดูกันว่าอาการปวดท้ายทอย ที่เราเป็น น่าจะเกิดจากอะไรได้บ้าง

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

อาการปวดหัวบริเวณท้ายทอยเกิดจากอะไร

อาการปวดท้ายทอยจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัว (Tension headache)

เป็นสาเหตุที่พบบ่อยมาก ซึ่งเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อรอบศีรษะ ทำให้มีอาการปวดศีรษะอย่างรุนแรงและปวดร้าวลงมาถึงท้ายทอย ไหล่ บ่า รวมถึงอาจมีอาการปวดเบ้าตาและคลื่นไส้อาเจียนร่วมด้วย 

สาเหตุของอาการปวดจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัว เกิดจาก

  • การพักผ่อนไม่เพียงพอ 
  • นอนน้อย 
  • อยู่ในภาวะเครียด 
  • กดดัน 
  • บางคนอาจมีอาการหลังดื่มแอลกอฮอล์ด้วย

นอกจากนี้ การออกแรงมากๆ เช่น ยกของหนัก หรือการวิ่ง จะทำให้อาการปวดท้ายทอยแย่ลงได้

อาการปวดท้ายทอยเส้นประสาทต้นคอ (Occipital neuralgia)

เป็นสาเหตุที่พบบ่อยในผู้สูงอายุ โดยอาจเป็นผลมาจากสาเหตุต่างๆ ดังนี้

  • หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทบริเวณต้นคอ 
  • กล้ามเนื้อหลังคอยึดตึง 
  • มีเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อและเส้นประสาทที่ท้ายทอยไม่เพียงพอ 
  • มีโรคประจำตัวอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน ทำให้เส้นประสาทเสียหาย 
  • การนอนตกหมอน หรือนอนผิดท่า 

โดยสาเหตุเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการปวดเส้นประสาทต้นคอได้ทั้งสิ้น 

อาการที่พบได้ คือ รู้สึกปวดจี๊ดๆ อย่างรุนแรงที่ท้ายทอย คล้ายมีเข็มมาทิ่ม หรือมีกระแสไฟฟ้าวิ่งผ่าน อาการปวดจะรุนแรงขึ้นเมื่อหันคอ และอาจปวดท้ายทอยลามไปถึงศีรษะด้านใดด้านหนึ่งและกระบอกตาด้วย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

อาการปวดหัวบริเวณท้ายทอยเกิดจากอะไร

อาการปวดท้ายทอยจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง (Muscle pain syndrome)

เป็นสาเหตุที่พบได้ในคนทุกวัย โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานในท่าก้มๆ เงยๆ ใช้คอมพิวเตอร์ หรือเล่นโทรศัพท์เป็นประจำ ซึ่งหากทำกิจกรรมเหล่านี้ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม หรืออยู่ในอิริยาบถเดิมนานๆ โดยไม่หยุดพัก ก็อาจทำให้กล้ามเนื้อบริเวณท้ายทอยและต้นคอหดเกร็งจนรู้สึกปวดท้ายทอยตุบๆ ได้ 

อาการปวดสามารถหายเองได้ หากพักใช้กล้ามเนื้อ และทำการยืดกล้ามเนื้อบ่อยๆ แต่หากปล่อยกล้ามเนื้อหดเกร็งต่อเนื่องนานๆ อาจเกิดกล้ามเนื้ออักเสบเรื้อรัง จนกลายเป็นพังผืด และเกิดเป็น ‘จุดกดเจ็บ’ (Trigger point) หรือปมกล้ามเนื้อที่หดเกร็งตัวและไม่คลายออก ทำให้เลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อไม่พอ เมื่อกดโดนจะรู้สึกเจ็บปวดท้ายทอย และทำให้กล้ามเนื้อบริเวณข้างเคียงอ่อนแรงได้

การรักษาอาการปวดท้ายทอย

การรักษาอาการปวดท้ายทอยอาจแตกต่างกันไปตามสาเหตุของอาการ แต่โดยทั่วไปแล้ว มีแนวทางการบรรเทาอาการและรักษา ดังนี้

1. ใช้ยาแก้ปวด

หากมีอาการปวดรุนแรงมาก สามารถรับประทานยาแก้ปวด เช่น พาราเซตามอล หรือยาคลายกล้ามเนื้อบางชนิด แต่ยาแก้ปวดสามารถบรรเทาอาการได้ชั่วคราวเท่านั้น และไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินไป โดยเฉพาะในผู้ที่มีอาการปวดแบบเรื้อรัง การใช้ในระยะยาวอาจส่งผลกับตับและไตได้

2. การประคบร้อน

ความร้อนจะช่วยให้เลือดไหลเวียนได้ดี ทำให้มีออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ และช่วยระบายของเสียที่คั่งค้างในกล้ามเนื้อบริเวณที่ปวดได้ วิธีทำ คือ ให้ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่น ถุงประคบร้อน หรือลูกประคบ มาวางบนท้ายทอยส่วนที่ปวดและกดเบาๆ ค้างไว้ ประมาณ 10 - 15 นาที จะช่วยให้อาการปวดดีขึ้น

3. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้เหมาะสม

หากมีอาการปวดท้ายทอยจากความเครียดและกล้ามเนื้อตึงตัว ควรพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงความเครียด หรือหากเกิดอาการปวดจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง ควรพักใช้กล้ามเนื้อ ใช้การยืดเส้นบ่อยๆ และหลีกเลี่ยงท่าทางก้มๆ เงยๆ จนกว่าอาการปวดจะหาย

แพ็กเกจที่คุณอาจสนใจ

ทำเลสิกวันนี้ ที่คลินิกหรือรพ. ใกล้บ้านคุณ เริ่มต้นที่ 0 บาท ลดสูงสุด 25650 บาท

จองผ่าน HD ประหยัดกว่า / จ่ายทีหลังได้ / ผ่อน 0% ได้ / พร้อมแอดมินคอยตอบทุกคำถาม!

กด

อาการปวดหัวบริเวณท้ายทอยเกิดจากอะไร

4. การนวด กดจุด

เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการปวดท้ายทอยจากกล้ามเนื้อหดเกร็ง ซึ่งการนวดและกดจุดอย่างถูกวิธี จะช่วยคลายกล้ามเนื้อ กระตุ้นการไหลเวียนเลือดไปเลี้ยงกล้ามเนื้อ ช่วยลดการตึง และการหดเกร็งตัวของกล้ามเนื้อได้ โดยเฉพาะในคนที่มีอาการปวดเมื่อยเรื้อรัง หรือเกิดจุดกดเจ็บที่กล้ามเนื้อ แต่ไม่แนะนำในผู้ป่วยที่เพิ่งมีการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อแบบฉับพลัน เพราะอาจทำให้อักเสบได้

5. การผ่าตัด

เป็นวิธีที่ใช้รักษาภาวะหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ในกรณีที่มีอาการปวดท้ายทอยรุนแรงจริงๆ และรักษาด้วยวิธีอื่นไม่ได้ผลเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 - 8 เดือน หรือมีอาการอ่อนแรงมากขึ้น โดยจะต้องตรวจวินิจฉัยให้แน่นอน เช่น ทำ MRI เพื่อดูการกดของเส้นประสาท ซึ่งการผ่าตัดต้องทำโดยศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และอาจมีความเสี่ยงภาวะแทรกซ้อน เช่น การติดเชื้อหรือเส้นประสาทบริเวณข้างเคียงเสียหาย เป็นต้น

6. รักษาด้วยวิธีอื่นๆ

การฝังเข็ม หรือทำกายภาพบำบัด ซึ่งเป็นวิธีที่ให้ผลดีพอสมควร ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของอาการปวดท้ายทอยด้วย

การป้องกันอาการปวดท้ายทอย

  • หลีกเลี่ยงการก้มหรือเงยคอต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นต้องทำงานในท่าทางเดิมซ้ำๆ เช่น ใช้คอมพิวเตอร์เป็นประจำ ควรหาเวลาพัก เปลี่ยนอิริยาบถและยืดเส้นยืดสาย เพื่อป้องกันกล้ามเนื้อหดเกร็งและอักเสบเรื้อรังอันเนื่องมาจากการทำงาน
  • นอนพักผ่อนให้เพียงพอ และหาเวลาผ่อนคลายเพื่อไม่ให้รู้สึกเครียดมากเกินไป
  • ออกกำลังกายเป็นประจำ เพื่อบริหารกล้ามเนื้อต้นคอและท้ายทอยให้แข็งแรง ยืดหยุ่น ซึ่งจะช่วยป้องกันไม่ให้กล้ามเนื้อเกิดการอักเสบหรือบาดเจ็บได้ง่าย

ดูแพ็กเกจตรวจสุขภาพกับแพทย์โดยตรง ทั้งผู้หญิง และผู้ชายทุกวัย เปรียบเทียบราคา โปรโมชั่นล่าสุดจากโรงพยาบาลและคลินิกชั้นนำได้ที่นี่ หรือไม่พลาดทุกการอัปเดตแพ็กเกจต่างๆ เมื่อกดเป็นเพื่อนทางไลน์ @hdcoth และกดดาวน์โหลดแอป iOS และ Android


2 แหล่งข้อมูล

กองบรรณาธิการ HD มุ่งมั่นตั้งใจให้ผู้อ่านได้รับข้อมูลที่ถูกต้อง โดยทำงานร่วมกับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ รวมถึงเลือกใช้ข้อมูลอ้างอิงที่น่าเชื่อถือจากสถาบันต่างๆ คุณสามารถอ่านหลักการทำงานของกองบรรณาธิการ HD ได้ที่นี่

วันทนา วีระถาวร, กลุ่มอาการปวดพังผืดกล้ามเนื้อ (Myofascial Pain Syndrome) (https://med.mahidol.ac.th/orth...)

Myofascial Pain Syndrome (http://www.ped.si.mahidol.ac.t...)


บทความนี้มีจุดประสงค์เพื่อให้ความรู้แก่ผู้อ่าน และไม่สามารถแทนการแนะนำของแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาได้ ผู้อ่านควรพบแพทย์เพื่อให้แพทย์ตรวจที่สถานพยาบาลทุกครั้ง และไม่ควรตีความเองหรือวางแผนการรักษาด้วยตัวเองจากการอ่านบทความนี้ ทาง HD พยายามอัปเดตข้อมูลให้ครบถ้วนถูกต้องอยู่เสมอ คุณสามารถส่งคำแนะนำได้ที่ https://honestdocs.typeform.com/to/kkohc7

ผู้เขียนและผู้รีวิวบทความไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสินค้าหรือบริการที่นำเสนอแต่อย่างใด เว้นแต่จะระบุในเนื้อหา การแนะนำสินค้าและบริการแสดงขึ้นอัตโนมัติจากระบบของเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชัน

ขอบคุณที่อ่านค่ะ คุณคิดว่าบทความนี้มีประโยชน์มากแค่ไหนคะ
(1 ดาว - น้อย / 5 ดาว - มาก)

ขอบคุณสำหรับการให้คะแนนค่ะ

แชร์บทความนี้

ตั้งกระทู้ถามหมอ

เราจะไม่เปิดเผยชื่อและข้อมูลส่วนตัวของคุณ


แนบไฟล์ (รูปหรือวิดีโอ)

เช่น ประวัติการรักษา รอยโรค (ถ้ามี) *

เช่น ประวัติการรักษา รูปของอาการ (ถ้ามี) ไม่ต้องห่วง! เราเก็บไฟล์ของคุณเป็นความลับ มีแค่คุณกับคุณหมอเท่านั้นที่ดูไฟล์ได้

* ไม่ต้องห่วง! เราเก็บไฟล์ของคุณเป็นความลับ มีแค่คุณกับคุณหมอเท่านั้นที่เข้าถึงได้

คำตอบที่คุณจะได้เป็นเพียงความเห็นจากแพทย์ ไม่สามารถแทนการวินิจฉัยโรค โปรดพบแพทย์ที่สถานพยาบาลเพื่อการรักษาที่ถูกต้อง เหตุฉุกเฉิน โทร. 1669

รับทราบและถามคำถาม

วันนี้คุณอยากจะถามคุณหมอแบบไหน

ถามปกติ ได้คำตอบภายใน 12 ชั่วโมง

ค่าบริการ 100 แต้ม

คุณหมอตอบภายใน 12 ชั่วโมง คุณจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านแอปและ SMS เมื่อคุณหมอตอบ

หากคุณหมอไม่ตอบภายใน 12 ชั่วโมง เราคืนแต้มให้ทั้งหมด (ไม่คิดค่าบริการ)

ถามด่วน ได้คำตอบภายใน 1 ชั่วโมง

ค่าบริการ แต้ม

คุณหมอตอบภายใน 1 ชั่วโมง คุณจะได้รับการแจ้งเตือนผ่านแอปและ SMS เมื่อคุณหมอตอบ

หากคุณหมอไม่ตอบภายใน 1 ชั่วโมง เราคืนแต้มให้ 100 แต้ม และคำถามจะถูกปรับเป็นคำถามปกติ ซึ่งจะได้คำตอบภายใน 12 ชั่วโมง

หากคุณหมอไม่ตอบภายใน 12 ชั่วโมง เราคืนแต้มให้ทั้งหมด (ไม่คิดค่าบริการ)

คำถามของคุณจะถูกแสดงเป็นลำดับแรกๆ ในหน้าถามหมอเป็นเวลา 2 วัน เพื่อเพิ่มโอกาสให้ได้รับความคิดเห็นจากคุณหมอหลายๆ ท่าน