สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศคือข้อใด

เศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจไทย-สหรัฐฯ

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศคือข้อใด

สนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์

ไทยและสหรัฐฯ มีสนธิสัญญาไมตรีและการพาณิชย์ตั้งแต่ปี 2376 (The U.S.-Thai Treaty of Amity and Economic Relations of 1833 – Treaty of Amity) นับถึงปัจจุบันมีทั้งสิ้น 5 ฉบับ ฉบับปัจจุบันได้ลงนามเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2509 มีขอบเขตความร่วมมือครอบคลุมกว้างขวางทางด้านมิตรภาพ การพาณิชย์ และการเดินเรือ ครอบคลุมธุรกิจบริการทั้งหมด ยกเว้นธุรกิจ 6 ประเภท ได้แก่ การสื่อสาร การขนส่ง การดูแลทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น การธนาคารที่เกี่ยวข้องกับการรับฝากเงิน การค้าภายในที่เกี่ยวกับผลิตผลทางการเกษตรพื้นเมือง และการแสวงหาผลประโยชน์จากที่ดินและทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆ โดยสนธิสัญญาฉบับ 2509 นี้ให้ผลประโยชน์หลักแก่นักลงทุนต่างชาติ 2 ประการ ได้แก่

  • บริษัทสหรัฐฯ จะได้รับอนุญาตให้ดำรงสิทธิ์การถือหุ้นรายใหญ่ หรือถือหุ้นทั้งหมดของบริษัท สำนักงานสาขา หรือสำนักงานตัวแทนที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย
  • บริษัทสหรัฐฯ จะได้รับการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (national treatment) โดยบริษัทสหรัฐฯ จะสามารถประกอบธุรกิจได้ในลักษณะเดียวกับบริษัทไทย และได้รับยกเว้นจากข้อจำกัดส่วนใหญ่ในการลงทุนจากต่างประเทศที่กำหนดโดยกฎหมายธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2515 (Alien Business Law of 1972)

กรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน

ไทยและสหรัฐฯ ได้ลงนามกรอบความตกลงด้านการค้าและการลงทุน (Trade and Investment Framework Agreement – TIFA) เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2545 ในระหว่างการประชุมเอเปคที่ประเทศเม็กซิโก และได้มี การจัดตั้ง Joint Council (JC) เพื่อติดตามการดำเนินงานของความตกลง TIFA โดยผู้แทนการค้าสหรัฐฯ (US Trade Representative – USTR) เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายสหรัฐฯ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เป็นหัวหน้าคณะฝ่ายไทย

กรอบการเจรจา – ครอบคลุมเรื่องการเปิดเสรีด้านการค้าสินค้า การค้าบริการ และการลงทุน รวมทั้งความร่วมมือทางเศรษฐกิจในสาขาต่างๆ โดยการเจรจาแบ่งออกเป็น 22 กลุ่ม ได้แก่ (1) การเปิดตลาดสินค้าเกษตร (2) การเปิดตลาดสินค้าอุตสาหกรรม (3) การเปิดตลาดสิ่งทอและเสื้อผ้าสำเร็จรูป (4) กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า (5) การค้าบริการ (6) การลงทุน (7) โทรคมนาคม (8) การเปิดเสรีภาคการเงิน (9) พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (10) ระเบียบพิธีศุลกากร (11) มาตรการสุขอนามัย (12) มาตรการเยียวยาทางการค้า (13) ความโปร่งใส (14) การระงับข้อพิพาท (15) การจัดซื้อโดยรัฐ (16) นโยบายการแข่งขัน (17) วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (18) วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (19) ทรัพย์สินทางปัญญา (20) อุปสรรคทางเทคนิคต่อการค้า (21) การสร้างขีดความสามารถทางการค้า (22) แรงงานและสิ่งแวดล้อม

แนวนโยบายของไทยต่อสหรัฐฯ

  • ไทยต้องการแสวงหาช่องทางใหม่ๆ ในการส่งเสริม/ผลักดันการส่งออกกับคู่ค้าหลักและตลาดสำคัญในภูมิภาค เสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันการค้าให้แก่ภาคเอกชนไทย โดยเน้นเรื่องคุณภาพและมาตรฐาน รวมทั้งภาพลักษณ์ (CSR, safety, environment) การเข้าถึงแหล่งกระจายสินค้า supermarket chain และการพัฒนาด้านโลจิสติกส์
  • ไทยยังคงต้องการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน โดยเฉพาะในเรื่องเสถียรภาพทางการเมืองและเศรษฐกิจ รวมทั้งพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานและสาธารณูปโภค เพื่อเพิ่มความน่าสนใจและศักยภาพในการเป็นศูนย์กลางทางการค้า การลงทุน การคมนาคมในภูมิภาค
  • ส่งเสริมการลงทุนในธุรกิจบริการในสหรัฐฯ โดยเฉพาะในด้านร้านอาหารไทย ธุรกิจสุขภาพ/สปา และส่งเสริมการดำเนินกิจกรรมเชิงวัฒนธรรม เพื่อสร้างทัศนคติและความเข้าใจเกี่ยวกับประเทศไทย อันจะมีส่วนช่วยสนับสนุนผลประโยชน์ด้านเศรษฐกิจ ทั้งในด้านการท่องเที่ยวและอาหารไทย
  • การสร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้ และการเสริมสร้างขีดความสามารถในการแข่งขัน และส่งเสริมความร่วมมือในด้านต่างๆ แสวงหา niche knowledge เพื่อช่วยพัฒนาและเสริมสร้างผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์ด้านการค้า-การลงทุน

สาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศคือข้อใด

การค้า

ในปี 2563 การค้ารวมไทยกับสหรัฐฯ มีมูลค่า  48.77 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยส่งออกมูลค่า 37.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 11.17 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ  ได้ดุลการค้ากับสหรัฐฯ 26.43 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และสหรัฐฯ เป็นคู่ค้าอันดับที่ 3 (ที่เป็นรายประเทศ) ของไทย สินค้าที่ไทยนำเข้ามาจากสหรัฐฯ 5 อันดับแรก ได้แก่ น้ำมัน ยานพาหนะ แผงวงจรไฟฟ้า อากาศยาน และสินค้าเกษตร และสินค้าไทยที่ส่งออกไปยังสหรัฐฯ 5 อันดับแรก ได้แก่ เครื่องประมวลผลอัตโนมัติ ยาง อุปกรณ์ไฟฟ้า ยานพาหนะ และไดโอดและทรานซิสเตอร์

สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร

สหรัฐอเมริกาได้มีโครงการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalized System of Preference หรือ GSP) แก่ประเทศกำลังพัฒนาและด้อยพัฒนา โดยประเทศไทยเป็นหนึ่งในกลุ่มประเทศเหล่านี้ด้วย จุดมุ่งหมายของ GSP ก็เพื่อการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าที่ได้รับสิทธิอีกทั้งยังสนับสนุนเศรษฐกิจของสหรัฐฯ เอง ประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP นี้ สหรัฐฯ จะยกเว้นภาษีนำเข้าสินค้าเป็นจำนวนไม่เกิน 5,000 รายการ เพื่อเปิดโอกาสให้สินค้าจากประเทศที่ได้รับสิทธิ GSP สามารถเข้าไปแข่งขันในตลาดสหรัฐฯ ได้ ซึ่งสินค้าส่วนใหญ่ตามข้อตกลง GSP จะเป็นสินค้าอุตสาหกรรมรวมไปถึงสินค้าอื่นๆ เช่น สินค้าทางเคมีต่างๆ แร่ธาตุและหินก่อสร้าง เครื่องประดับ พรม สินค้าทางการเกษตร และการประมงบางประเภท ส่วนสินค้าตัวอย่างที่ไม่อยู่ในระบบสิทธิพิเศษนี้ได้แก่ เสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม นาฬิกา รองเท้า กระเป๋าถือ และกระเป๋าเดินทาง เป็นต้น

สหรัฐฯ เริ่มต้นโครงการสิทธิพิเศษทางศุลกากรนี้มาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2519 โดยล่าสุด สหรัฐฯ อยู่ระหว่างดำเนินขั้นตอนเพื่อต่ออายุโครงการฯ โดยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2564 ผู้ประกอบการที่นำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิ GSP จะต้องชำระภาษีในอัตรา MFN ปกติ อย่างไรก็ตาม ในการนำเข้าสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ ผู้นำเข้าจะต้องกรอก Special program indicator (SPI) for GSP (A) เมื่อนำเข้าสินค้าเข้าสหรัฐฯ เพื่อให้สามารถรับคืนภาษี หากสหรัฐฯ ประกาศต่ออายุโครงการฯ และให้มีผลย้อนหลังไปถึงวันที่โครงการสิ้นสุดอายุ

การลงทุน

  • การลงทุนโดยตรงจากสหรัฐอเมริกา (FDI) ในประเทศไทย (หุ้น) มีมูลค่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีพ.ศ. 2562 เพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2561 ร้อยละ 4.6 การลงทุนในประเทศไทยโดยบริษัทสหรัฐฯ ส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต ค้าส่ง และการธนาคาร
  • การลงทุนของประเทศไทยในสหรัฐฯ (หุ้น) มีมูลค่า 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปีพ.ศ. 2562 ลดลงร้อยละ 10.9 จากปี พ.ศ. 2561 การลงทุนในสหรัฐฯ โดยบริษัทไทยส่วนใหญ่อยู่ในภาคการผลิต ค้าส่ง และการธนาคาร
  • การขายบริการสินค้าในประเทศไทยโดยบริษัทเอกชนสหรัฐฯ ส่วนใหญ่มีมูลค่า 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี พ.ศ. 2560 ในขณะที่การขายบริการสินค้าในสหรัฐฯ โดยบริษัทที่คนไทยเป็นเจ้าของ มีมูลค่า 189 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
  • ธุรกิจไทยในสหรัฐฯ(ข้อมูลจาก: ศูนย์ข้อมูลเพื่อเศรษฐกิจไทยในสหรัฐฯ)
  • ธุรกิจสหรัฐฯ ในประเทศไทย (ข้อมูลจาก: หอการค้าสหรัฐฯ ในประเทศไทย)

แหล่งข้อมูล

  • http://www.ustr.gov/countries-regions/southeast-asia-pacific/thailand
  • https://www.state.gov/u-s-relations-with-thailand/
  • https://www.commercethaiusa.org/
  • https://www.thaibicusa.com/

ปรับปรุงข้อมูลล่าสุด: สิงหาคม 2564