ส่วน เนื้อหา ของโครงงานวิทยาศาสตร์ มี กี่ บท อะไรบ้าง

สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ชั้น ม.1   

ใบความรู้ เรื่อง

โครงงานวิทยาศาสตร์

วิทยาศาสตร์พื้นฐานรหัส ว 21102      

            โครงงาน คือ รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนรู้ ศึกษาค้นคว้าสิ่งที่สนใจ โดยใช้วิธีการอย่างเป็นระบบ

            โครงงานวิทยาศาสตร์เป็นการเรียนรู้ที่เกิดจากความต้องการของนักเรียน ซึ่งเป็นความต้องการค้นคว้าหาคำตอบเมื่อเกิดความสงสัยหรือเกิดปัญหาเรื่องใดเรื่องหนึ่งทางวิทยาศาสตร์โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ในการค้นคว้า  ซึ่งประกอบด้วย

ส่วน เนื้อหา ของโครงงานวิทยาศาสตร์ มี กี่ บท อะไรบ้าง

  1. ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์หรือวิธีการทางวิทยาศาสตร์ มีขั้นตอนดังนี้

1.1  การตั้งปัญหา       1.2  การตั้งสมมติฐาน

1.3  การตรวจสอบสมมติฐาน(ออกแบบรวบรวมข้อมูลหรือออกแบบทดลองและ

ทำการทดลอง)

1.4  การวิเคราะห์และสรุปผล

 2. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ คือความชำนาญในการใช้ความคิดในการสังเกต

การคำนวณ การจัดกระทำข้อมูล การสื่อความหมาย การออกแบบการทดลอง ตลอดจนการสรุปผลการทดลอง ซึ่งทักษะเหล่านี้จะนำไปสู่การค้นคว้าหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์และความรู้ในสาขาวิชาต่างๆ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ

       2.1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นพื้นฐาน ได้แก่

            2.1.1  ทักษะการสังเกต      2.1.2  ทักษะการวัด

            2.1.3  ทักษะในการใช้เลขจำนวนหรือการคำนวณ

            2.1.4  ทักษะในการจำแนกประเภท

            2.1.5  ทักษะการหาความสัมพันธ์ระหว่างสเปสกับสเปสและสเปสกับเวลา

            2.1.6  ทักษะการลงความเห็นจากข้อมูล

            2.1.7  ทักษะการจัดกระทำและสื่อความหมายข้อมูล

            2.1.8  ทักษะการทำนาย

 2.2  ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ขั้นผสม ได้แก่

           2.2.1  ทักษะการกำหนดและควบคุมตัวแปร

           2.2.2  ทักษะการตั้งสมมติฐาน

           2.2.3  ทักษะการกำหนดนิยามเชิงปฏิบัติการ   

ส่วน เนื้อหา ของโครงงานวิทยาศาสตร์ มี กี่ บท อะไรบ้าง

           2.2.4  ทักษะการทดลอง

           2.2.5   ทักษะการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป

                   3. เจตคติ คุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมทางวิทยาศาสตร์
                             3.1. ความสนใจใฝ่รู้
                             3.2 ความมุ่งมั่น อดทน รอบคอบ
                             3.3  ความซื่อสัตย์ ประหยัด
                             3.4. การร่วมแสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
                             3.5. ความมีเหตุผล
                             3.6. การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างสร้างสรรค์
                             3.7. มีความพอใจ ความซาบซึ้ง ความสุขในการสืบเสาะหาความรู้และรักที่จะเรียนรู้ต่อเนื่องตลอดชีวิต
                             3.8. ตระหนักถึงความสำคัญและประโยชน์ของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ใช้ในการดำรงชีวิตและการประกอบอาชีพ
                             3.9. ตระหนักว่าการใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีผลต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม
                             3.10. แสดงความชื่นชมยกย่องและเคารพในสิทธิของผลงานที่ผู้อื่นและตนเองคิดขึ้น
                             3.11. แสดงความซาบซึ้งในความงามและตระหนักถึงความสำคัญของทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม    เข้าร่วมกิจกรรมที่เกี่ยวกับการอนุรักษ์   พัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนและในท้องถิ่น
                              3.12. ตระหนักและยอมรับความสำคัญของการใช้เทคโนโลยีในการเรียนรู้และการทำงานต่างๆ

ประเภทของโครงงานวิทยาศาสตร์

  1. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสำรวจ เป็นโครงงานที่สำรวจรวบรวมข้อมูลต่างๆ
  2. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททดลอง เป็นโครงงานที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ทดลองค้นคว้า
  3. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภทสิ่งประดิษฐ์ เป็นโครงงานที่ออกแบบสร้างสิ่งประดิษฐ์แล้วนำไปทดลองใช้เปรียบเทียบกับของเดิมที่มีอยู่หรือวิธีการเดิมที่ใช้อยู่ เพื่อศึกษาประสิทธิภาพ
  4. โครงงานวิทยาศาสตร์ประเภททฤษฎี เป็นโครงงานที่นำเสนอผลงานเชิงทฤษฎีที่ศึกษาค้นคว้า

การเขียนรายงานโครงงานวิทยาศาสตร์

                    รายงานโครงงานวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วยส่วนและหัวข้อต่างๆดังต่อไปนี้

  1. ปกนอก
  2. ปกใน
  3. บทคัดย่อ
  4. กิตติกรรมประกาศ     
  5. สารบัญ
  6. สารบัญตาราง
    ส่วน เนื้อหา ของโครงงานวิทยาศาสตร์ มี กี่ บท อะไรบ้าง
  7. สารบัญกราฟ
  8. สารบัญรูปภาพ
  9. บทที่ 1 บทนำ
  10.  บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง
  11.  บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีการทดลอง
  12. บทที่ 4  ผลการทดลอง
  13. บทที่ 5  สรุปและอภิปรายผลการทดลอง
  14. บรรณานุกรม(เอกสารอ้างอิง)
  15. ภาคผนวก(ถ้ามี)

หมายเหตุ ภาคผนวกคือส่วนเสริมของรายงาน เป็นสิ่งที่ไม่ต้องการให้อยู่ในบทใดบทหนึ่ง

ของรายงาน เพราะจะเป็นรายละเอียดเกินไป  จึงเขียนแยกออกมา โดยขึ้นหน้าใหม่ต่อจากบรรณานุกรม เช่น คำอธิบายบางอย่าง วิธีการใช้เครื่องมือบางอย่าง เป็นต้น ภาคผนวกอาจไม่ต้องมีก็ได้ถ้าไม่จำเป็น

คำอธิบายรายละเอียดการเขียนรายงาน

  1. ปกนอก ประกอบด้วย

                                             1.1  ชื่อโครงงาน  

                                             1.2  ชื่อผู้จัดทำ

                      

ส่วน เนื้อหา ของโครงงานวิทยาศาสตร์ มี กี่ บท อะไรบ้าง
                       1.3  สถานศึกษา

                                            1.4  รายละเอียดของการประกวด ดังตัวอย่าง

รายงานฉบับนี้เป็นส่วนประกอบของโครงงานวิทยาศาสตร์ ระดับชั้นมัธยมศึกษา

ตอนต้น  ประเภท ……………..ประกอบการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

โรงเรียนศรีสุขวิทยา

            วันที่……………เดือน………………..พ.ศ…………

  1. ปกใน ประกอบด้วย

2.1 ชื่อโครงงาน

2.2  ชื่อผู้จัดทำ

2.3  ชื่ออาจารย์ที่ปรึกษา

3.      บทคัดย่อ 

       เขียนเกี่ยวกับความสำคัญของโครงงานโดยย่อ เช่น วัตถุประสงค์ วิธีดำเนินการ และผลสรุปของการศึกษา ความยาวไม่ควรเกิน 1 หน้า

4.      กิตติกรรมประกาศ 

คำขอบคุณผู้มีส่วนช่วยในการทำโครงงานวิทยาศาสตร์

5. สารบัญ ประกอบด้วย

5.1  สารบัญ

5.2  สารบัญตาราง

5.3  สารบัญกราฟ

5.4  สารบัญรูปภาพ

6. เนื้อเรื่องโครงงาน

บทที่ 1 บทนำ

      ที่มาและความสำคัญ

                  (กล่าวถึงความเป็นมา เหตุจูงใจ หรือปัญหาที่ศึกษา)

      จุดมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้า

                  (ระบุจุดประสงค์ของการศึกษาค้นคว้าหรือปัญหาที่ต้องการศึกษาเพื่อให้ได้คำตอบ)

      สมมติฐานของการศึกษา

                  (ข้อความที่แสดงการคาดคะเนคำตอบล่วงหน้าก่อนการทดลอง  มีพื้นฐานจากการศึกษาค้นคว้าจากเอกสารและข้อมูลอื่น ๆ   ถ้าเป็นโครงงานประเภทสำรวจก็ไม่ต้องระบุสมมติฐาน)

      ตัวแปรที่เกี่ยวข้อง

                  (มีตัวแปรต้น……………., ตัวแปราตาม………………, ตัวแปรควบคุม……….)

      ขอบเขตของการศึกษาค้นคว้า

                  (ระบุให้ชัดเจนว่าโครงงานนี้ทำกว้างแค่ไหน)

      ข้อตกลงเบื้องต้นและศัพท์เทคนิค

                  (ระบุความหมายของคำบางคำให้ชัดเจน)

บทที่ 2 เอกสารที่เกี่ยวข้อง

      (กล่าวถึงข้อมูลสำคัญที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่ศึกษาจากเอกสาร ตำรา วารสาร หรือสิ่งพิมพ์อื่นๆ เพื่อให้ได้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการ หลักการทางวิทยาศาสตร์ที่ต้องนำมาใช้และเป็นแนวทางของการตั้งสมมติฐาน)

บทที่ 3 อุปกรณ์และวิธีดำเนินการทดลอง

      วัสดุ-อุปกรณ์และสารเคมี

                  (ให้ระบุว่าใช้วัสดุอุปกรณ์และสารเคมีใดบ้าง)

      วิธีดำเนินการทดลอง

                  (อธิบายวิธีการศึกษาค้นคว้าทุกขั้นตอนโดยละเอียด เช่นการออกแบบการทดลอง วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล การคิดตัวเลขทางสถิติ)

บทที่ 4 ผลการทดลอง

      (ระบุผลที่ได้จากการเก็บรวบรวมข้อมูลที่ได้จากการดำเนินการทดลอง ควรนำเสนอในรูปตาราง กราฟ หรือรูปภาพ)

บทที่ 5 สรุปและอภิปรายผลการทดลอง

      (การสรุปอาจสรุปเป็นตอน ๆ หรือสรุปเป็นความเรียงเดียวก็ได้      เนื้อหาการสรุปต้องสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของการศึกษาที่ตั้งไว้    การอภิปรายผลการทดลองให้ยึดหลักภาษาสำนวนที่ผู้อ่านจะเห็นคล้อยตามด้วย)

7.      ข้อเสนอแนะ

(กล่าวถึงข้อคิดเห็นที่ได้จากการทำโครงงาน เช่น จะนำผลของการศึกษาไปใช้ประโยชน์

อะไรได้บ้าง และข้อคิดเห็นของการศึกษาค้นคว้าเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคต)

หมายเหตุ  อาจแยกเป็นหัวข้อก็ได้ เช่น

            –      อุปสรรค (กล่าวถึงอุปสรรคในการศึกษาค้นคว้า)

–          ข้อเสนอแนะ(กล่าวถึงข้อคิดเห็นสำหรับการศึกษาเรื่องทำนองนี้ต่อไปในอนาคต)

–          ประโยชน์ของการศึกษา(กล่าวถึงการนำผลกรศึกษาไปใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง)8.      บรรณานุกรม (เอกสารอ้างอิง)

(ระบุชื่อหนังสือ เอกสาร ตำราต่างๆที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าในการทำโครงงาน ควรเขียนให้ถูกต้องตามหลักการเขียนเอกสารอ้างอิงด้วย)

หลักการเขียนเอกสารอ้างอิง มีดังนี้

–          ชื่อและนามสกุลผู้แต่ง. ชื่อหนังสือ. พิมพ์ครั้งที่. ชื่อโรงพิมพ์. จังหวัดที่ทำการพิมพ์. เลขพ.ศ. ที่พิมพ์

–          เอกสารอ้างอิงเล่มหนึ่งๆหากต้องเขียนถึง 2 บรรทัด บรรทัดที่ 2 ต้องย่อหน้าเข้ามาประมาณ 8  ตัวอักษร

–          หากมีหนังสืออ้างอิงหลายเล่ม ให้เรียงตามตัวอักษร ก ข ค ง …..ของชื่อผู้แต่ง

–          หากมีข้อสงสัยให้ถามบรรณารักษ์หรือเจ้าหน้าที่ห้องสมุด

ตัวอย่างการเขียนเอกสารอ้างอิง

บุญพฤกษ์  จาฏามระ. แบบเรียนเคมีบรรยาย. พิมพ์ครั้งที่ 4. อักษรเจริญทัศน์.

               กรุงเทพมหานคร. 2536.

วโรฬส   นรินทร. “การป้องกันและลดความสูญเสียจากภัยธรรมชาติ” วารสารชัยพฤกษ์

               วิทยาศาสตร์, ฉบับที่ 272 (กุมภาพันธ์, 2536) 28-29

9.      ในกรณีที่เป็นโครงงานสิ่งประดิษฐ์   

ต้องมีภาพแสดงโครงสร้างของเครื่องมือด้วย พร้อมทั้งคำอธิบายการทำงานของเครื่องมืออย่างชัดเจนว่าทำงานอย่างไร มีประสิทธิภาพเท่าไร มีการพัฒนาและปรับปรุงเครื่องมือมาเป็นลำดับอย่างไร มีการเลือกและทดสอบความเหมาะสมของอุปกรณ์อย่างไร

10.  กระดาษที่ใช้เขียนหรือพิมพ์รายงาน 

กระดาษที่ใช้เป็นกระดาษ  A4

การทำแผงโครงงาน

วัสดุ      ใช้ไม้อัดหรือวัสดุอื่นที่ไม่เป็นอุปสรรคในการตั้งแผงแสดงโครงงาน

ขนาด    ประกอบด้วยวัสดุเป็นแผ่น 3 แผ่น ดังนี้

–          แผ่นกลาง มีขนาด 60 x 120 เซนติเมตร

–          แผ่นข้าง มีขนาด 60 x 60 เซนติเมตร

60 cm

                                                           121200

                                                           120  cm                                         60 cm