การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล telnet

เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมโยงเครือข่ายทั่วโลกให้สามารถติดต่อถึงกันได้หมดจนกลายเป็นเครือข่ายของโลก ดังนั้นจึงมีผู้ใช้งานบนเครือข่ายนี้จำนวนมาก การใช้งานเหล่านี้เป็นสิ่งที่กำลังได้รับการกล่าวถึงกันทั่วไป เพราะการเชื่อมโยงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตทำให้โลกไร้พรมแดนข้อมูลข่าวสารต่างๆสามารถสื่อสารถึงกันได้อย่างรวดเร็วตัวอย่างการใช้งานบนอินเทอร์เน็ตที่จะกล่าวต่อไปนี้เป็นเพียงตัวอย่างที่แพร่หลายและใช้กันมากเท่านั้น ยังมีการประยุกต์งานอื่นที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ตลอดเวลา

1.) ไปรษณีย์อินเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail : E-mail) เป็นการส่งข้อความติดต่อกันระหว่างบุคคลกับบุคคลหรือกลุ่มบุคคลก็ได้ หากเปรียบเทียบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กับไปรษณีย์ธรรมดาจะพบว่าโดยหลักการนั้นไม่แตกต่างกันมากนัก ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เปลี่ยนบุรุษไปรษณีย์ให้เป็นโปรแกรม เปลี่ยนเส้นทางเป็นระบบเครือข่ายและเปลี่ยนรูปแบบการจ่าหน้าซองจดหมายให้เป็นการจ่าหน้าแบบอ้างอิงระบบอิเล็กทรอนิกส์โดยใช้ที่อยู่ของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (email address) การส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์นั้นมีรูปแบบที่ง่าย สะดวก และรวดเร็ว                                                                                                                     หากต้องการส่งข้อความถึงใครก็สามารถเขียนเป็นเอกสาร แล้วจ่าหน้าซองที่อยู่ของผู้รับ ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของที่อยู่ของผู้รับ ระบบจะนำส่งให้ทันทีอย่างรวดเร็ว ลักษณะของที่อยู่จะเป็นชื่อรหัสผู้ใช้และชื่อเครื่องประกอบกันเช่น การติดต่อบนอินเทอร์เน็ตนี้ระบบจะหาตำแหน่งให้เองโดยอัตโนมัติและนำส่งไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง การรับส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์กำลังเป็นที่นิยมกันอย่างแพร่หลาย

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล telnet

2.) การโอนย้ายแฟ้มข้อมูลระหว่างกัน (File Transfer Protocol : FTP) เป็นระบบที่ทำให้ ผู้ใช้สามารถรับส่งแฟ้มข้อมูลระหว่างกันหรือมีสถานีให้บริการเก็บแฟ้มข้อมูลที่อยู่ในที่ต่างๆและให้บริการ ผู้ใช้สามารถเข้าไปคัดเลือกนำแฟ้มข้อมูลมาใช้ประโยชน์ได้ เช่น โปรแกรม cuteFTP โปรแกรม wsFTP เป็นต้น

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล telnet

3.) การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล (telnet)  การเชื่่อมโยงคอมพิวเตอร์เข้ากับเครือข่าย ทำให้เราสามารถติดต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นสถานีบริการในที่ห่างไกลได้ถ้าสถานีบริการนั้นยินยอม ทำให้ผู้ใช้สามารถนำข้อมูลไปประมวลผลยังเครื่องคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในเครือข่ายเช่นนักเรียนในประเทศไทยส่งโปรแกรม ไปประมวลผลที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่บริษัทในประเทศญี่ปุ่นผ่านทางระบบเครือข่ายโดยไม่ต้องเดินทางไปเอง

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล telnet

4.) การเรียกค้นข้อมูลข่าวสาร (search engine) ปัจจุบันมีฐานข้อมูลข่าวสารที่เก็บไว้ให้ใช้จำนวนมากฐานข้อมูลบางแห่งเก็บข้อมูล ในรูปสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ผู้ใช้สามารถเรียกอ่าน หรือนำมาพิมพ์ฐานข้อมูลนี้จึงมีลักษณะเหมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่อยู่ภายในเครือข่ายที่สามารถค้นหาข้อมูลใดๆก็ได้ ฐานข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เวิลด์ไวด์เว็บ (World Wide Web :  WWW) ซึ่งเป็นฐานข้อมูลที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก

5.) การอ่านจากกลุ่มข่าว (usenet) ภายในอินเทอร์เน็ตมีกลุ่มข่าวเป็นกลุ่มๆ แยกตามความสนใจแต่ละกลุ่มข่าวอนุญาตให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตส่งข้อความไปได้และหากผู้ใดต้องการเขียน โต้ตอบก็สามารถเขียนตอบได้กลุ่มข่าวนี้จึงแพร่หลายและกระจายข่าวได้รวดเร็ว

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล telnet

6.) การสนทนาบนเครือข่าย (Chat) เมื่อเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเชื่อมต่อถึงกันได้ทั่วโลก ผู้ใช้จึงสามารถใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นตัวกลางในการติดต่อสนทนากันได้ ในยุคแรกใช้วิธีการสนทนากันด้วยตัวหนังสือ เพื่อโต้ตอบกันแบบทันทีทันใดบนจอภาพ ต่อมามีผู้พัฒนาให้ใช้เสียงได้จนถึงปัจจุบัน ถ้าระบบสื่อสารข้อมูลมีความเร็วพอก็สามารถสนทนา โดยที่เห็นหน้ากันและกันบนจอภาพได้

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล telnet

7.) การบริการสถานีวิทยุและโทรทัศน์บนเครือข่าย  เป็นการประยุกต์เพื่อให้เห็นว่าเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ ปัจจุบันมีผู้ตั้งสถานีวิทยุบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตหลายร้อยสถานี ผู้ใช้สามารถเลือกสถานีที่ต้องการและได้ยินเสียงเหมือนการเปิดฟังวิทยุ ขณะเดียวกันก็มีการส่งกระจายภาพวีดิทัศน์บนเครือข่ายด้วย แต่ปัญหายังอยู่ที่ความเร็วของเครือข่ายที่ยังไม่สามารถรองรับการส่งข้อมูลจำนวนมาก ทำให้คุณภาพของภาพวีดิทัศน์ยังไม่ดีเท่าที่ควร

การใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในที่ห่างไกล telnet

ที่มา:http://www.rajsima.ac.th/media/patchara/work41101-1/doc5.htm

ที่มา : http://www.itdigitserve.com/%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95/