เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล

เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล

สืค้ข้มูอิร์น็        

การที่จะค้นหาข้อมูลจำนวนมากมายอย่างนี้เราไม่อาจจะคลิกเพื่อค้นหาข้อมูลพบได้ง่ายๆ  จำเป็นจะต้องอาศัยการค้นหาข้อมูลด้วยเครื่องมือค้นหาที่เรียกว่า Search
Engine เข้ามาช่วยเพื่อความสะดวกและรวดเร็ว

ผู้ใช้ส่วนใหญ่กว่า 70% จะใช้วิธีการค้นหาแบบนี้คือ Search
Engine เป็นฐานข้อมูลขนาดใหญ่มหาศาลที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปบน Internet ไม่มีการแสดงข้อมูลออกมาเป็นลำดับขั้นของความสำคัญการใช้งานจะเหมือนการสืบค้นฐานข้อมูลอื่นๆ
คือ จะต้องพิมพ์
Keyword ซึ่งเป็นการอธิบายถึงข้อมูลที่ต้องการจะเข้าไปค้นหา
จากนั้น ก็จะแสดงข้อมูลและ
 Site ต่างๆ ที่เกี่ยวข้องออกมา

เทคนิค 11 ประการที่ควรรู้ในการค้นหาข้อมูล 
1.  เลือกรูปแบบการค้นหาให้ตรงกับสิ่งที่ต้องการมากที่สุด
เช่น
 ถ้าต้องการจะค้นหาข้อมูลที่มีลักษณะทั่วไป ไม่ชี้เฉพาะเจาะจง ก็ควรเลือกบริการสืบค้นข้อมูลแบบ Index อย่างของ yahoo เพราะ โอกาสที่จะเจอนั้น
เปอร์เซ็นต์สูงกว่าจะมานั่งสุ่มหาโดยใช้วิธีแบบ
 Search Engine 
2. ใช้คำมากกว่า 1 คำที่มีลักษณะเกี่ยวข้องกันช่วยค้นหา เพราะจะได้ผลลัพธ์ที่มีขนาดแคบลงและชี้เฉพาะมากขึ้น 
3. ใช้บริการของผู้ให้บริการเฉพาะด้าน เช่น การค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องราวของภาพยนตร์ก็น่าที่จะเลือกใช้ Search
Engine ที่ให้บริการใกล้เคียงกับเรื่องพวกนี้ เพราะผลลัพธ์ที่ได้น่าจะเป็นที่น่าพอใจกว่า 
4. ใส่เครื่องหมายคำพูดครอบคลุมกลุ่มคำที่ต้องการ เพื่อบอกกับ Search Engine ว่า ต้องการผลการค้นหาที่มีคำในกลุ่มนั้นครบและตรงตามลำดับที่เราพิมพ์ทุกคำ เช่น "Chompoo Araya" เป็นต้น 
5. การขึ้นต้นของตัวอักษรตัวเล็กเท่ากันหมด Search
Engine จะเข้าใจว่าเราต้องการให้มันค้นหาคำดังกล่าวแบบไม่ต้องสนใจว่าตัวอักษรที่ได้จะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ ดังนั้นหากต้องการอยากที่จะให้มันค้นหาคำตรงตามแบบที่เขียนไว้ก็ให้ใช้ตัวอักษรใหญ่แทน 
6. ใช้ตัวเชื่อมทางตรรกศาสตร์เข้ามาช่วยค้นหามีอยู่ 3 ตัวด้วยกันคือ AND สั่งให้หาโดยจะต้องมีคำนั้นๆ
มาแสดงด้วยเท่านั้นโดยไม่จำเป็นว่าจะต้องติดกัน เช่น
 phonelink AND
pager เป็นต้น OR สั่งให้หาโดยจะต้องนำคำใดคำหนึ่งที่พิมพ์ลงไปมาแสดง
NOT สั่งไม่ให้เลือกคำนั้นๆ มาแสดง เช่น food
and cheese not butterหมายความว่า ให้ทำการหาเว็บที่เกี่ยวข้องกับ food และ cheese แต่ต้องไม่มี butter เป็นต้น 
7. ใช้เครื่องหมายบวกลบคัดเลือกคำ +
หน้าคำที่ต้องการจริงๆ -
 ใช้นำหน้าคำที่ไม่ต้องการ ()
ช่วยแยกกลุ่มคำ เช่น
 (pentium+computer)cpu 
8. ใช้ * เป็นตัวร่วม เช่น com* เป็นการบอกให้หาคำที่มีคำว่า com ขึ้นหน้าส่วนด้านท้ายเป็น
อะไรไม่สนใจ *
tor เป็นการให้หาคำที่ลงท้ายด้วย tor ด้านหน้าจะเป็นอะไรไม่สนใจ 

9.หลีกเลี่ยงการใช้ตัวเลข พยายามเลี่ยงการใช้คำค้นหาที่เป็นคำเดี่ยวๆ หรือเป็นคำที่มีตัวเลขปน
แต่ถ้าเลี่ยงไม่ได้ก็อย่าลืมใส่เครื่องหมายคำพูด
 (" ") ลงไปด้วย เช่น "windows 8"

10. หลีกเลี่ยงภาษาพูดเป็นประโยค ควรสรุปเป็นเพียงกลุ่มคำหรือวลี ที่มีความหมายรวมทั้งหมดไว้ Advanced
Search อย่าลืมที่จะใช้ Advanced Search เพราะจะมีส่วนช่วยคุณได้มาก ในการบีบประเด็นหัวข้อ ให้แคบลง ซึ่งจะทำให้คุณได้รายชื่อเว็บไซต์ ที่ตรงกับความต้องการของคุณมากขึ้น 
11. อย่าละเลย Help ซึ่งในแต่ละเว็บ
จะมี ปุ่ม
 help หรือ Site map ไว้คอยช่วยเหลือ แต่คนส่วนใหญ่มักจะมองข้าม ซึ่ง help/site
map จะมีประโยชน์มากในการอธิบาย option หรือการใช้งาน/แผนผังปลีกย่อยของแต่ละเว็บไซต์

หลักการเขียนบรรณานุกรมจากเว็บไซต์

ข้อมูลที่ได้จากเว็บไซต์มีองค์ประกอบเช่นเดียวกับวัสดุสารนิเทศประเภทต่างๆ
เช่น ชื่อผู้แต่ง ชื่อเรื่อง ปีที่พิมพ์ ดังนั้นการเขียนรายละเอียดทางบรรณานุกรมของข้อมูลที่ค้นได้จากเว็บไซต์จึงใช้รูปแบบเดียวกับการเขียนรายละเอียดของบรรณานุกรมของเอกสารสื่อสิ่งพิมพ์โดยทั่วไป
เช่น กรณีของหนังสือข้อมูลรายละเอียดทางบรรณานุกรมจะประกอบไปด้วยชื่อผู้แต่ง ปีที่พิมพ์
ชื่อเรื่อง และสถานที่พิมพ์ นอกจากนี้อาจเพิ่มข้อมูลบางส่วนที่ช่วยในการสืบค้นอีกด้วย
คือ วันที่สืบค้น และ
URL โดยภาษาไทยใช้ว่า

สืบค้นเมื่อ........จาก............... และภาษาอังกฤษใช้คำว่า
“Retrieved……from………..”

ตัวอย่างเอกสารภาษาไทย

เรวัติ แสงสุริยงค์. (2542). คนอินโดจีน.
วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.
6(6),28. สืบค้นเมื่อ 25 กุมภาพันธ์ 2542 จาก htpp://www.huso.buu.ac.th

ตัวอย่างเอกสารภาษาอังกฤษ

Einstein, A. (2002). Relativity :
The special and general theory. New York : McGraw Hill. Retrieved August
25,2002 from http://www.geocities.com.

การอ้างอิงแหล่งข้อมูลจากอินเตอร์เน็ท

เป็นการเขียนแหล่งอ้างอิงแหล่งที่มาข้อข้อความหรือข้อมูลในบรรณานุกรม
เช่นเดียวกับการอ้างอิงหนังสือเอกสารทั่วไป 
แต่ปัจจุบัน (2548) ยังไม่มีองค์กรใดกำหนดรูปแบบสำหรับการอ้างอิงจาก
Internet ที่เป็นมาตรฐาน เนื่องจากเอกสารจาก Internet เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทำให้กลับไปค้นหาแหล่งที่มาได้ยาก
จึงให้ใช้รูปแบบเช่นเดียวกับการอ้างอิงจากหนังสือ และมีวงเล็บว่า [
Online] คือ

ชื่อผู้แต่ง.  ชื่อเรื่อง. 
แหล่งที่มา [
Online]. ปีที่พิมพ์.

เช่น

โลก.  www.kirdkao.org/edu/nineplanets/earth2.html[Online].

สายทางสามล้อไทย.  www.siam2.com/museum/3lor.php3[Online].

Technical.  www.modesite.com/56k/why56kis.asp[Online].

แหล่งอ้างอิง: 

http://portal.edu.chula.ac.th/peng/blog/view.php?Bid=1277613762810293&msite=peng

อะไรคือเทคนิคในการค้นหาข้อมูล

เทคนิคการสืบค้นข้อมูล หมายถึง วิธีการต่างๆ ที่ใช้ประกอบในการสร้างประโยคการค้นหา เพื่อให้ได้สารสนเทศที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด เทคนิคเหล่านี้ ได้แก่ 1. เลือก Search Engine ที่เหมาะสม 2. เลือกเว็บไซต์ที่อยู่ใกล้และอยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม

เทคนิคการค้นหาข้อมูลมีกี่แบบ อะไรบ้าง

1. การค้นหาจากชื่อของตำแหน่ง URL ใน เว็บไซต์ต่างๆ 2. การค้นหาจากคำที่มีอยู่ใน Title (ส่วนที่ Browser ใช้แสดงชื่อของเว็บเพจอยู่ทางด้าน ซ้ายบนของหน้าต่างที่แสดง 3. การค้นหาจากคำสำคัญหรือคำสั่ง keyword (อยู่ใน tag คำสั่งใน html ที่มีชื่อว่า meta) 4. การค้นหาจากส่วนที่ใช้อธิบายหรือบอกลักษณะ site.

เคล็ดลับการค้นหาข้อมูลมีกี่เคล็ดลับ

11 เคล็ดลับ ที่จะช่วยให้การค้นหาโดยกูเกิลมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น – เรียนรู้จากคำแนะนำนายกฯ.
การค้นหาประโยคหรือวลีต่าง ๆ ในเครื่องหมายคำพูด (“…”) ... .
ใช้เครื่องหมายดอกจัน (*) ทดแทนคำที่จำไม่ได้ ... .
ใส่เครื่องหมายลบ (-) ไว้หน้าคำที่ไม่ต้องการ ... .
การค้นหาเฉพาะเว็บไซต์ ... .
การค้นหาข่าวหรือบทความในหนังสือพิมพ์เก่า ๆ.

การค้นหาข้อมูลมีขั้นตอนใดบ้าง

2.4 การสืบค้นข้อมูลจากอินเทอร์เน็ต.
ทำการเปิดเว็บไซต์ที่ให้บริการ http://www.google.co.th/.
เลือกหัวข้อที่ต้องการค้น ในที่นี้จะเลือกหัวข้อ “เว็บ”.
พิมพ์ keyword (ข้อความ) ที่ต้องการสืบค้นลงในช่อง text box..
กดที่ปุ่ม “ค้นหา”.
ระบบจะทำการค้นหาเว็บไซต์ที่ตรงกับ keyword ที่ต้องการ และแสดงออกมาในรูปแบบของลิงค์พร้อม.