ระบบปฏิบัติการ ubuntu พัฒนาขึ้นโดยบริษัทใด

ระบบปฏิบัติการ ubuntu พัฒนาขึ้นโดยบริษัทใด
  


        อูบุนตู (Ubuntu) ) เป็นระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ที่เป็นระบบปฏิบัติการแบบเปิดซึ่งมีพื้นฐานบนลินุกซ์ดิสทริบิวชันที่พัฒนาต่อมาจากเดเบียน การพัฒนาสนับสนุนโดยบริษัท Canonical Ltd ซึ่งเป็นบริษัทของนายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ชื่อของดิสทริบิวชันนั้นมาจากคำในภาษาซูลู และภาษาโคซา (ภาษาในแอฟริกาใต้) ว่า Ubuntu ซึ่งมีความหมายในภาษาอังกฤษคือ "humanity towards others"อูบุนตูต่างจากเดเบียนตรงที่ออกรุ่นใหม่ทุก 6 เดือน และแต่ละรุ่นจะมีระยะเวลาในการสนับสนุนเป็นเวลา 18 เดือน รุ่นปัจจุบันของ Ubuntu คือ 15.10ซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่รวมมาใน อูบุนตูนั้นเป็นซอฟต์แวร์เสรีเกือบทั้งหมด(มีบางส่วนที่เป็นลิขสิทธิ์ เช่น ไดรเวอร์) โดยจุดมุ่งหมายหลักของ อูบุนตูคือเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับคนทั่วไป ที่มีโปรแกรมทันสมัย และมีเสถียรภาพในระดับที่ยอมรับได้

 

ประวัติและลำดับการพัฒนา

        Ubuntu ร่วมมือกับ Debian ในการผลักดันให้เปลี่ยนกลับไปเป็น Debian ถึงแม้ว่าว่าได้มีการวิพากษ์วิจารณ์ว่าไม่น่าจะเป็นไปได้ ส่วนประกอบของทั้งสองไม่สามารถเข้ากันนั้นคือแผนการที่จะแตกแยกโดยมีชื่อเรือกว่า Grumpy Groundhog มันควรจะมั่นคงแน่นอนในการพัฒนาและทดสอบ ผลักดันให้ซอร์สโค๊ด ออกไปโดยตรงจาก การควบคุมการแก้ไข ของโปรแกรมต่างต่างๆ และโปรแกรมประยุกต์นั้นก็ได้โอนย้ายไปเป็นส่วนของ Ubuntu นั่นควรจะอนุญาตให้ เหล่าpower users และ upstream developers ในการทดสอบโปรแกรมส่วนบุคคล พวกเขาน่าจะได้ทำหน้าที่ ถ้าโปรแกรมได้ถูกกำหนดเป็นส่วนประกอบที่ได้ทำการแจกจ่ายแล้ว นอกจากนี้แล้วยังต้องการที่จะสร้างส่วนประกอบขึ้นมาด้วยตัวของพวกเขาเอง มันควรจะสามารถจัดเตรียมล่วงหน้า ก่อนคำเตือนของการสร้างที่ผิดพลาด บนโครงสร้างที่แตกต่างกัน ซึ่งเป็นการเตรียมการเอาไว้ของ กัมไปร์ กราวฮ๊อก ร่วมมือกับ Debian Unstable ทุกๆ 6 เดือน และกัมไปร์ กราวฮ๊อก ได้ทำให้เป็นซอฟต์แวร์แบบสาธารณะแล้วปัจจุบัน Ubuntu ได้รับเงินทุนจาก บริษัท Canonical ในวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ. 2005 นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ และ บริษัทCanonical ประกาศสร้าง Ubuntu Foundation และเริ่มให้ทุนสนับสนุน 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ จุดมุ่งหมายของการริเริ่มที่แน่นอนว่าจะสนับสนุนและพัฒนา เวอร์ชันต่อๆไปข้างหน้าของ Ubuntu แต่ในปี ค.ศ. 2006 จุดมุ่งหมายก็ได้หยุดลง นาย มาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ กล่าวว่าจุดมุ่งหมายที่จะได้เงินทุนฉุกเฉินจากความสัมพันธ์กับบริษัทCanonical คงจบลงในช่วงเดือน กรกฎาคม ค.ศ. 2007 ได้มี Ubuntu Live 2007ขึ้น นายมาร์ก ชัทเทิลเวิร์ธ ประกาศว่า Ubuntu 8.04 (กำหนดการออกเดือนเมษายน ค.ศ. 2008) จะมีการสนับสนุน Long Term Support (LTS) เขาได้ดึงบริษัท Canonical มาเป็นคณะกรรมการในการออกเวอร์ชันการสนับสนุนLTSใหม่ๆทุกๆ 2 ปี

ความสามารถสำคัญ 

        นักพัฒนา Ubuntu จำนวนมากมาจากชุมชนเดเบียนและ GNOME โดยการออก  Ubuntu รุ่นใหม่จะตรงกับรุ่นใหม่ของ GNOME อยู่เสมอ มีนักพัฒนาอีกหลายกลุ่มพยายามที่  จะใช้ KDE กับ Ubuntu และทำให้เกิดโครงการ Kubuntu ขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการ  Xubuntu สำหรับ XFCE และตัว Shuttleworth เองยังประกาศโครงการ Gnubuntu ซึ่งใช้  ซอฟต์แวร์เสรีทั้งหมด ตามอุดมคติของริชาร์ด สตอลแมน และโครงการ Edubuntu ซึ่งเป็น  ลีนุกซ์ที่ใช้ภายในโรงเรียนอีกด้วยUbuntu นั้นเน้นในเรื่องความง่ายในการใช้งานเป็นหลัก ใช้  เครื่องมือ sudo สำหรับงานบริหารระบบ เช่นเดียวกับ Mac OS Xรองรับการทำงานกับทั้ง  CPU ชนิด 32bit , 64bit และ CPU แบบ ARMที่รันระบบปฏิบัติการจากแผ่นซีดี ให้ทดลอง  ใช้ก่อนการติดตั้งจริงรูปแบบการติดตั้งแบบ Live USB ที่รันระบบปฏิบัติการจากแฟลชเมมโมรี่  ให้ทดลองใช้ก่อนการติดตั้งจริงทุกโครงการของ Ubuntu นั้นไม่เสียค่าใช้จ่ายในการใช้งาน ผู้  ใช้ทุกคนจากทุกประเทศสามารถขอรับซีดี Ubuntu ได้ฟรี (ทาง Ubuntu จะเป็นฝ่ายเสียค่า  จัดส่งให้ทางไปรษณีย์) ใต้ชื่อโครงการ Ubuntu Shipit โครงการนี้ยังแบ่งย่อยเป็น  Kubuntu Shipit, และ Edubuntu Shipit ด้วย แตทว่า Edubuntu ShipIt ได้ปิดตัวลงไป  ตั้งแต่ออกเวอร์ชัน 8.10 มาส่วนติดต่อผู้ใช้หลังจากติดตั้งเสร็จจะเป็นสีน้ำตาลและส้ม ใช้ชื่อ  ชุดตกแต่งนี้ว่า Human ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนได้ แต่ในเวอร์ชัน 10.04 ได้เปลี่ยนโทนสี  ทั้งหมดเป็นสีดำ ม่วงและส้มใช้ระบบ APT และ Synaptic ในการจัดการโปรแกรมของระบบลิ  นุกซ์ทะเล (Linux TLE) ซึ่งเป็นลินุกซ์ที่พัฒนาโดยคนไทย ก็ได้ใช้ Ubuntu

ระบบที่ต้องการ

    ในที่สุดเวอร์ชันที่ผ่านของ Ubuntu นั้นสนับสนุนสถาปัตยกรรม Intel x86 และ AMD64 ของเครื่องเดสท็อปที่ และ สถาปัตยกรรม Intel x86, AMD64 ของเครื่องแม่ข่าย แต่ก็ยังไม่สนับสนุนสถาปัตยกรรมของ IA-64 (Itanium) และ เครื่องเล่นเกมส์ PlayStation 3 

 Server Edition

เครื่องที่เก่ามากๆก็เป็นไปได้ที่จะลงระบบปฏิบัติการนี้ได้ (เช่น 75 MHz Pentium หน่วยความ จำหลัก 32 MB) , ระบบขั้นต่ำที่แนะนำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:

ไมโครโปรเซสเซอร์ 300 MHz สถาปัตยกรรมx86

หน่วยความจำหลัก 192 MB

พื้นที่ Harddisk 1 GB

การ์ดแสดงผลได้ที่ความละเอียด 640×480 pixel

ไดรฟ์ CD-ROM

DesktopEdition

สำหรับรุ่นที่ใช้กับเครื่องเดสท็อปนั้นมีการแนะนำระบบขั้นต่ำที่ได้ประสิทธิภาพที่สุดดังนี้:

ไมโครโปรเซสเซอร์ 1000 MHz สถาปัตยกรรมx86 (แนะนำให้ใช้ Intel Celeron หรือใหม่กว่า )

หน่วยความจำหลัก 1024 MB

พื้นที่ Harddisk 10 GB

การ์ดแสดงผลความละเอียด 1024×768 pixel

หน่วยความจำในการ์ดแสดงผล 256 MB

ไดรฟ์ CD/DVD หรือพอร์ต USB สำหรับการติดตั้ง

การ์ดเชื่อมต่อกับระบบเน็ตเวิร์ก

สำหรับคอมพิวเตอร์รุ่นเก่าที่ไม่ได้อยู่ในระบบที่แนะนำก็ยังมี xubuntu และ lubuntu ซึ่งมีการแนะนำระบบขั้นต่ำดังนี้:

ไมโครโปรเซสเซอร์ 700 MHz

หน่วยความจำหลัก 512 MB

การ์ดแสดงผลความละเอียด 800x600 pixel

พื้นที่ Harddisk 5 GB