การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลควรพิจารณาแบบใด

หน่วย2 ความน่าเชื่อถือของข้อมูล from ให้รัก นำทาง

“ข้อมูลมีความสำคัญต่อการใช้ชีวิตประจำวันอย่างมาก ในแต่ละวันนักเรียนจะได้รับข้อมูลข่าวสารผ่านอินเทอร์เน็ตหรือเครือข่ายสังคมจำนวนมากและรวดเร็ว ข้อมูลที่เผยแพร่นั้นมีทั้งข้อมูลที่เป็นจริงและเป็นเท็จ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อตนเองและผู้อื่น ดังนั้นการนำผลงานของผู้อื่นไปใช้อย่างถูกต้อง การเลือกรับและส่งต่อข้อมูลอย่างมีวิจารณญาณ การรู้เท่าทันสื่อ จะทำให้การใช้ชีวิตในโลกไซเบอร์มีความปลอดภัย”

ในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลสารสนเทศทำได้ง่าย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศจึงเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับทุกคน ซึ่งต้องมีความรู้ ความรอบคอบ เข้าใจเทคโนโลยี และศึกษาเงื่อนไขในการใช้งาน ทุกคนควรเรียนรู้และติดตามการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล

การนำข้อมูลมาใช้ในการเรียน การทำงาน และการตัดสินใจ ต้องพิจารณาความถูกต้องของข้อมูลที่นำมาจากแหล่งข้อมูลหลาย ว่าแหล่งข้อมูลมีความน่าเชื่อถือ ถูกต้องสมบูรณ์ สอดคล้องตรงตามความต้องการ และมีความทันสมัย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่มีคุณภาพ จึงต้องมีการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล โดยใช้ประเด็นพิจารณาของ “พรอมท์ (PROMPT)” ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การนำเสนอ (Presentation) การนำเสนอข้อมูลที่ดีจะต้องมีการวางเค้าโครงที่เหมาะสม มีรายละเอียดชัดเจน ไม่คลุมเครือ ใช้ภาษาและสำนวนถูกต้อง มีข้อมูลตรงตามที่ต้อง เนื้อหามีความกระชับ สามารถจับใจความหรือประเด็นสำคัญได้

ความสัมพันธ์ (Relevance) การพิจจารณาประเด็นเกี่ยวกับความสัมพันธ์จะต้องคำนึงถึงความสอดคล้องของข้อมูลกับสิ่งที่ต้องการ ถึงแม้ว่าข้อมูลนั้นอาจมีคุณภาพมาก แต่ถ้าไม่สัมพันธ์หรือสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ ก็ไม่สามารถนำไปใช้ได้

วัตถุประสงค์ (Objectivity) ข้อมูลที่จะนำมาใช้ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ไม่ใช่ข้อมูลที่เป็นการแสดงความคิดเห็น หรือมีเจตนาแอบแฝง
ตัวอย่างข้อมูลที่มีเจตนาแอบแฝง เช่น
– สื่อสารด้วยการให้ข้อมูลด้านเดียว โดยมีวัตถุประสงค์อื่น พยายามปิดบังข้อมูลที่อาจส่งผลกระทบต่อตนเอง
– สื่อสารด้วยอารมณ์เชิงบวกหรือลบ
– มีการโฆษณาแอบแฝง
– มีส่วนได้ส่วนเสียในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น นักวิจัยเผยแพร่ผลงานวิจัยที่เอื้อกับบริษัทที่สนับสนุนทุนวิจัย

วิธีการ (Method) ข้อมูลที่นำมาใช้ เป็นข้อมูลที่มีการวางแผน การเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบ

แหล่งที่มา (Provenance) ข้อมูลที่น่าเชื่อถือต้องมีการระบุแหล่งที่มาอย่างชัดเจน และเป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้

เวลา (Timeliness) ข้อมูลที่มีคุณภาพจะต้องมีความเป็นปัจจุบัน หรือมีความทันสมัย และมีการระบุช่วงเวลาในการสร้างข้อมูลที่ตรงกับความเป็นจริง


การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูล

การค้นหาข้อมูลจากเว็บไซต์ หรือแหล่งที่มาของข้อมูล เพื่อนำไปใช้งานและอ้างอิง จำเป็นต้องตรวจสอบความน่าเชื่อถือของแหล่งที่มาของข้อมูลก่อน ไม่เช่นนั้นอาจได้ข้อมูลที่ขาดความถูกต้อง และเกิดปัญหาตามมาในภายหลัง ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบดังนี้

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลควรพิจารณาแบบใด

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลควรพิจารณาแบบใด

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลควรพิจารณาแบบใด

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลควรพิจารณาแบบใด

บางเว็บไซต์อาจใช้ชื่อคล้ายหน่วยงานราชการที่เป็นแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ เว็บไซต์เหล่านี้อาจให้ข้อมูลที่คาดเคลื่อนจากความเป็นจริง ผู้ใช้ควรสังเกตให้รอบคอบและตรวจสอบว่าเป็นเว็บไซต์ที่แท้จริงของหน่วยงานนั้น โดยสามารถตรวจสอบชื่อเว็บไซต์และข้อมูลต่างๆ ได้จากเว็บไซต์ที่ให้บริการตรวจสอบ เช่น whois.domaintools.com



อ้างอิง : สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, “เทคโนโลยี(วิทยาการคำนวณ)”, โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2562 หน้า 121

สุเมศ  ชาแท่น “การตรวจสอบความน่าเชื่อถือของข้อมูล” จากเว็บไซต์ https://sites.google.com/ site/teacherreybanis1/ngan-xdirek-laea-khwam-samarth-phises/bth-thi-7-kar-trwc-sxb-khwam-na-cheux-thux-khxng-khxmul เมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2562

เราสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างไร

ความทันสมัยของข้อมูล (currency) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลเผยแพร่เมื่อใด สำรวจและปรับปรุงเมื่อใด นอกจากนี้ในปัญหาที่สนใจ ควรตรวจสอบว่าสามารถใช้ข้อมูลที่เผยแพร่นานมาแล้วได้หรือไม่ ความสอดคล้องกับการใช้งาน (relevance) ควรตรวจสอบว่าข้อมูลเกี่ยวข้องกับปัญหาที่ต้องการหรือไม่

ข้อใดเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด

1.สารสนเทศปฐมภูมิ (Primary Information) มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด เนื่องจากเป็นสารสนเทศที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าโดยตรงของผู้เขียนและตีพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก เช่น ต้นฉบับตัวเขียน จดหมายส่วนตัว รายงานการวิจัย วิทยานิพนธ์ สิ่งพิมพ์รัฐบาล สารสนเทศประเภทนี้ถือว่ามีความน่าเชื่อถือควรนำมาอ้างอิงมากที่สุด เพราะเป็นข้อมูลจริง ...

การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้หลักการ Prompt มีอะไรบ้าง

ประเด็นพิจารณาตามหลักการ "พรอมท์ (PROMPT)" มีอะไรบ้าง การนำเสนอ ความสัมพันธ์ วัตถุประสงค์ วิธีการ แหล่งที่มา เวลา ความสัมพันธ์ วัตถุประสงค์ วิธีการ แหล่งที่มา ความกระชับ การนำเสนอ

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูลมีกี่ด้าน อะไรบ้าง

การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล สามารถใช้มุมมองทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ ความทันสมัยของ ข้อมูล ความสอดคล้องกับการใช้งาน ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ความถูกต้องแม่นยำ และจุดมุ่งหมาย ของแหล่งข้อมูล

เราสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลได้อย่างไร ข้อใดเป็นข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้หลักการ Prompt มีอะไรบ้าง การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูลมีกี่ด้าน อะไรบ้าง แบบฝึกหัด การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูล วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือโดยใช้ prompt การพิจารณาความเหมาะสมของแหล่งข้อมูล 5ข้อ ข้อใดไม่ใช่วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือโดยใช้ prompt การประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้ prompt มีกี่ขั้นตอน ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้องเกี่ยวกับการประเมินความน่าเชื่อถือของข้อมูลโดยใช้ promrt ใบงาน ความน่าเชื่อถือของข้อมูล