มิติด้านจริยธรรมของพลเมืองดิจิทัล คือ

นโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สำหรับผู้ใช้งานเว็บไซต์ของสำนักบริการคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (สบค.) ฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวของท่านซึ่งได้แวะเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ ของ สบค.

โปรดทราบว่านโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวฉบับนี้อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ โดยการเปลี่ยนแปลงทั้งหมดจะแสดงอยู่บนเว็บไซต์นี้ ทั้งนี้ เมื่อใดที่มีการเปลี่ยนแปลงสาระของนโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัว สบค. จะมีข้อความเตือนอย่างชัดเจนเพื่อให้ท่านได้ทราบถึงการดำเนินการดังกล่าว ซึ่งจะกระทำล่วงหน้าอย่างน้อย 30 วันก่อนวันที่การเปลี่ยนแปลงจะมีผลใช้บังคับ

ขอบเขตของนโยบายฉบับนี้

นโยบายฉบับนี้ครอบคลุมถึงการปฏิบัติของสบค. ต่อข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับหรือจัดเก็บอันสืบเนื่องมาจากการที่ท่านเข้าเยี่ยมชมหรือใช้งานเว็บไซต์นี้ โดยข้อมูลส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่ทำให้สามารถระบุได้ถึงตัวตนของบุคคล และมิใช่ข้อมูลที่โดยปกติสาธารณชนจะเข้าถึงได้ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 ตัวอย่างของข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ อายุ เพศ สัญชาติ เลขที่บัตรประจำตัวหรือหนังสือเดินทาง ที่อยู่หรือที่ทำงาน หมายเลขโทรศัพท์ หรือที่อยู่ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นต้น

นโยบายฉบับนี้ไม่ได้ใช้กับเว็บไซต์ของบุคคลที่สามซึ่งเชื่อมโยงมายังเว็บไซต์นี้ หรือเชื่อมโยงไปจากเว็บไซต์นี้

การเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

ผู้ประสงค์จะใช้บริการผ่านเว็บไซต์นี้ อาจต้องให้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านที่จำเป็นต่อการให้บริการดังกล่าว ตัวอย่างของการดำเนินการที่ผู้ใช้บริการต้องแจ้งข้อมูลส่วนบุคคล เช่น การให้ชื่อสำหรับจัดทำประกาศนียบัตร การสำรวจความคิดเห็น เป็นต้น

การใช้ การแลกเปลี่ยน และการเปิดเผยข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งาน

การเข้าถึงและการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลของท่านจะกระทำไปเพื่อประโยชน์เกี่ยวกับเรื่องที่ท่านขอให้ดำเนินการเท่านั้น สบค.อาจนำข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้งานจากหน่วยงานอื่น มารวบรวม จัดเก็บ ใช้ และเปิดเผย เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ภายใต้กฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.

สบค. จะไม่นำข้อมูลส่วนบุคคลของท่านไปจำหน่าย หรือนำไปแลกเปลี่ยนหรือเปิดเผยต่อบุคคลอื่นใด อันเป็นการไม่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการรวบรวมและจัดเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของท่าน เว้นแต่ ในกรณีดังต่อไปนี้

  • เป็นการดำเนินการตามกฎหมายที่อยู่ในการกำกับดูแลของ สบค.
  • เป็นการดำเนินการตามหน้าที่ ที่กำหนดตามกฎหมาย ตามคำสั่งศาล ตามคำสั่งของผู้มีอำนาจตามกฎหมาย หรือกรณีอื่นใดที่มีลักษณะทำนองเดียวกัน หรือ
  • เป็นการดำเนินการตามที่จำเป็นในกรณีที่อาจกระทบถึงความปลอดภัยในสวัสดิภาพ ชีวิต และร่างกายของบุคคลอื่น หรือในกรณีที่มีการละเมิดข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้เว็บไซต์ของ สบค.
การรักษาความปลอดภัย

สบค. มีมาตรการและกำหนดวิธีปฏิบัติภายในเพื่อรักษาความลับและความปลอดภัยของข้อมูลข่าวสารของท่าน ซึ่งรวมถึงการกำหนดสิทธิในการเข้าถึงและใช้ข้อมูลความลับ นอกจากนี้ สบค. ยังมีการใช้โปรโตคอล Secure Socket Layer (SSL) Protocol เพื่อจัดให้การสื่อสารข้อมูลระหว่างผู้ใช้และสบค. กระทำผ่านช่องทางสื่อสารแบบปลอดภัยด้วยการเข้ารหัสลับข้อมูลดังกล่าว

การใช้คุกกี้

สบค. ใช้คุกกี้ในการเก็บข้อมูลผู้เยี่ยมชม ซึ่งข้อมูลดังกล่าวจะช่วยให้เว็บไซต์นั้นสามารถให้บริการท่านในครั้งต่อไปได้ตรงตามความต้องการของท่าน แต่ท่านสามารถยกเลิกการให้ข้อมูลคุกกี้ได้ อนึ่ง หากท่านเข้าเยี่ยมชมเว็บไซต์ของสบค. โดยใช้โปรแกรมค้นผ่าน (search engine) โปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวอาจมีการใช้คุกกี้เพื่อเก็บข้อมูลของท่าน ท่านจึงควรศึกษานโยบายคุ้มครองความเป็นส่วนตัวที่กำหนดโดยโปรแกรมค้นผ่านดังกล่าวด้วย

ข้อตกลงการใช้งาน

สำนักบริการคอมพิวเตอร์ (สบค) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีจุดมุ่งหมายที่จะสร้างประโยชน์จากการเรียนรู้ ให้กับสังคมโดยส่วนรวม ซึ่งเป็นภารกิจหลักอย่างหนึ่งของ สบค.ในการบริการวิชาการสู่สังคม

เนื้อหาและสื่อนี้ต้องการให้นักเรียน ประชาชน สามารถเข้ามาศึกษา เรียนรู้ สามารถนำเนื้อหาไปใช้ประโยชน์และ เผยแพร่ต่อได้ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์กับสาธารณะเท่านั้นและไม่ถือเป็นการให้คำแนะนำเพื่อใช้ในเชิงวิชาชีพ

ท่านมีอิสระที่จะอ่านและพิมพ์บทความ ข้อความ และสื่ออื่น ๆ นี้โดยไม่มีการเก็บค่าใช้จ่าย สามารถแบ่งปันและนำบทความและสื่ออื่น ๆ ของเรา กลับมาใช้ใหม่ภายใต้ใบอนุญาตแบบ Creative Common และ แบบเปิด ภายใต้เงื่อนไขดังต่อไปนี้:

  • ความรับผิดชอบ - ท่านต้องรับผิดชอบต่อการแก้ไขของคุณ (เนื่องจากเราเป็นผู้ให้บริการเฉพาะเนื้อหา และเนื่องจาก เป็นเนื้อหาทางวิชาการ ตัวเลข ข้อมูล ความรู้ใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงได้ ตลอดเวลา ท่านจะต้องใช้วิจารณญาณ และตรวจสอบความถูกต้องด้วยตัวเอง)
  • ความสุภาพ – ต้องเคารพสภาพแวดล้อมทางการใช้งานที่ดีต่อสังคมและไม่ก่อกวนผู้ใช้รายอื่น
  • พฤติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมาย - ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือกฎหมายอื่น ๆ
  • ไม่เป็นอันตราย – ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีของเรา

ยุคแห่งพลเมืองดิจิทัล

เมื่อ :

วันศุกร์, 07 ธันวาคม 2561

          ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทสำคัญที่ทำให้การดำเนินชีวิตมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ซึ่งสร้างความท้าทายให้กับคนในสังคมทุกช่วงวัย สังคมดิจิทัล เป็นสังคมที่ทำให้มนุษย์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เชื่อมโยง และผสานกันด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ทำให้เทคโนโลยีเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการติดต่อสื่อสาร การแลกเปลี่ยนข้อมูล หรือแม้แต่การทำธุรกรรมการเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีส่วนในการขับเคลื่อนให้เกิดเป็นสังคมดิจิทัล

มิติด้านจริยธรรมของพลเมืองดิจิทัล คือ

ภาพที่ 1 พลเมืองดิจิทัล
ที่มา https://pixabay.com/photo-1958774/ , geralt


         ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) เป็นพลเมืองที่มีความสามารถในการใช้อินเทอร์เน็ตในการบริหารจัดการ ควบคุม กำกับตน รู้ผิดรู้ถูก และรู้เท่าทัน เป็นบรรทัดฐานในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลอย่างเหมาะสม มีความรับผิดชอบ เรียนรู้ที่จะใช้เทคโนโลยีอย่างชาญฉลาด และปลอดภัย พลเมืองดิจิทัลจึงต้องตระหนักถึงโอกาสและความเสี่ยงในโลกดิจิทัล เข้าใจถึงสิทธิและความรับผิดชอบในโลกออนไลน์ ความเป็นพลเมืองดิจิทัล นับเป็นมาตรฐานหนึ่งด้านเทคโนโลยีการศึกษาที่เสนอโดยสมาคมเทคโนโลยีการศึกษานานาชาติ (ISTE : International Society for Technology in Education) เพื่อให้ผู้เรียนสามารถแสดงความเข้าใจประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และความเป็นมนุษย์ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศ และปฏิบัติตนอย่างมีจริยธรรมและตามครรลองกฎหมายให้ใช้ข้อมูลข่าวสารได้อย่างปลอดภัย ถูกกฎหมาย ซึ่งมีความสำคัญในทักษะแห่งการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

ความเป็นพลเมืองดิจิทัลสามารถแยกองค์ประกอบได้เป็น 4 มิติ ดังนี้
1. มิติการรักษาอัตลักษณ์และข้อมูลส่วนบุคคล
          การสร้างอัตลักษณ์ออนไลน์ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ ที่ทำให้บุคคลสามารถแสดงออกถึงความเป็นตัวตนของตนเองต่อสังคมภายนอก ด้วยการอาศัยช่องทางการสื่อสารผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคมเพื่ออธิบายรูปแบบใหม่ของการสื่อสารแบบมีปฏิสัมพันธ์ทางอินเทอร์เน็ตที่ทำให้เกิดการแสดงออกเกี่ยวกับตัวตนผ่านเว็บไซต์เครือข่ายสังคมต่าง ๆ เพื่อการสื่อสารและเชื่อมต่อความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น การที่ผู้ใช้ปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีสื่อใหม่และการใช้กลยุทธ์ต่าง ๆ เพื่อนำเสนอตัวตนบนโลกออนไลน์ พลเมืองดิจิทัลจะต้องมีความตระหนักในความเท่าเทียมกันทางดิจิทัล การรักษาความปลอดภัยของข้อมูลตนเองในสังคมดิจิทัล ที่มีความจำเป็นจะต้องบริหารจัดการข้อมูลของตนเอง รู้ว่าข้อมูลใดควรเผยแพร่และข้อมูลใดไม่ควรเผยแพร่ การปกป้องข้อมูลส่วนบุคคล การจัดการกับความเสี่ยงของข้อมูลของตนในสื่อสังคมดิจิทัล
2. มิติของกิจกรรมบนสื่อสังคมดิจิทัล
          พลเมืองดิจิทัลทีความจำเป็นต้องมีความสามารถในการจัดการธุรกรรมการเงินทางอินเทอร์เน็ต เช่น การซื้อขายสินค้าในอินเทอร์เน็ต บัตรเครดิตอิเล็กทรอนิกส์ การค้าแบบดิจิทัล การเมือง เศรษฐกิจ การมีส่วนร่วมวัฒนธรรมพลเมืองดิจิทัลต้องรู้จักใช้ศักยภาพของอินเทอร์เน็ตในการมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม อินเทอร์เน็ตเป็นได้ทั้งเครื่องมือเพิ่มการมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบบ เช่น รัฐบาลใช้อินเทอร์เน็ตในการรับฟังความเห็นของประชาชนก่อนออกกฎหมาย การลงคะแนนเสียงอิเล็กทรอนิกส์ หรือการยื่นคำร้องออนไลน์ อีกทั้งพลเมืองดิจิทัลจะต้องการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนในสังคมดิจิทัล มีน้ำใจการแสดงความเห็นอกเห็นใจ เสียใจ เห็นด้วย ไม่เห็นด้วย ยินดี สนุกสนาน เพื่อสานสัมพันธ์กับผู้คนในโลกออนไลน์ การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคมและสิ่งแวดล้อมเพื่อให้สามารถอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

มิติด้านจริยธรรมของพลเมืองดิจิทัล คือ

ภาพที่ 2 กิจกรรมสื่อสังคมออนไลน์
ที่มา https://pixabay.com/photo-99506/ , cherylt23

3. มิติทักษะและความสามารถในสภาพแวดล้อมดิจิทัล
          พลเมืองดิจิทัลต้องมีความรู้ความสามารถในการเข้าถึง ใช้ สร้างสรรค์ ประเมิน สังเคราะห์ และสื่อสารข้อมูลข่าวสารผ่านเครื่องมือดิจิทัล ดังนั้นพลเมืองยุคใหม่จึงต้องมีความรู้ด้านเทคนิคในการเข้าถึงและใช้เครื่องมือดิจิทัล เช่น คอมพิวเตอร์ สมาร์ตโฟน แท็บเล็ต ได้อย่างเชี่ยวชาญ รวมถึงทักษะในการรู้คิดขั้นสูง เช่น ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ซึ่งจำเป็นต่อการเลือก จัดประเภท วิเคราะห์ ตีความ และเข้าใจข้อมูลข่าวสาร มีความรู้และทักษะในสภาพแวดล้อมดิจิทัล การรู้ดิจิทัลโดยมุ่งให้เป็นผู้ใช้ที่ดี เป็นผู้เข้าใจบริบทที่ดี และเป็นผู้สร้างเนื้อหาทางดิจิทัลที่ดี ในสภาพแวดล้อมสังคมดิจิทัล
4. มิติจริยธรรมทางดิจิทัล
          พลเมืองดิจิทัล จะต้องเป็นผู้รู้กฎหมายที่เกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ การกระทำความผิดทางคอมพิวเตอร์ การใช้เทคโนโลยีอย่างรู้จริยธรรม รู้จักคุณค่าและจริยธรรมจากการใช้เทคโนโลยี มีความรู้ในงานลิขสิทธิ์และเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น และการปกป้องตนเองและชุมชน มีความรับผิดชอบทางดิจิทัล รู้จักสิทธิเสรีภาพให้เกียรติในการพูดการกระทำในสังคมดิจิทัล มารยาททางดิจิทัล เข้าใจถึงการรับความในการบริหารจัดการความเสี่ยงในโลกออนไลน์ เช่น การไม่ไปรังแกและสามารถจัดการกับการถูกรังแกบนโลกไซเบอร์ (Cyberbullying) รวมไปถึงการเกี้ยวพาราสี การเหยียดผิว-เหยียดชนชั้น รวมไปถึงเนื้อหาต่าง ๆ ที่สุ่มเสี่ยงเช่น เนื้อหาที่มีความรุนแรง โป๊เปลือย ลามกหยาบคายด้วย
กล่าวโดยสรุป พลเมืองดิจิทัลที่ดีจะต้องมีทักษะทางดิจิทัลมีชุดทักษะและความรู้ทั้งในเชิงเทคโนโลยีและการคิดขั้นสูง ในการรักษาอัตลักษณ์และข้อมูลส่วนบุคคลของตนเอง เคารพสิทธิเสรีภาพการใช้ข้อมูลทั้งของตนเองและผู้อื่น สามารถบริหารจัดการกิจกรรมบนสื่อสังคมดิจิทัล รวมถึงการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างตนเองกับสังคมและสิ่งแวดล้อม มีความรู้ด้านเทคนิคในการเข้าถึงและใช้เครื่องมือดิจิทัล มีทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ รู้จักคุณค่าและจริยธรรมจากการใช้เทคโนโลยี มีความรู้ในงานลิขสิทธิ์และเคารพทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น การปกป้องตนเองและชุมชน และเกิดความรับผิดชอบทางดิจิทัล

แหล่งที่มา
ชนัญสรา อรนพ ณ อยุธยา. (2560). การรู้เท่าทันการสื่อสารกับการขับเคลื่อนวาระปฏิรูปสังคมไทย ในยุคดิจิทัล. สุทธิปริทัศน์, 31 (97), 21-33.
นิตยา วงศ์ใหญ่. (2560,พฤษภาคม). แนวทางการพัฒนาทักษะการรู้ดิจิทัลของดิจิทัลเนทีฟ. Veridian E-Journal Silpakorn University, 10 (2), 1630-1642.
ปณิตา วรรณพิรุณ. (2560,เมษายน). ความฉลาดทางงดิจิทัล. พัฒนาเทคนิคศึกษา, 29 (102), 12-20.
วิทยา ดำรงเกียรติศักดิ์. (2558). พลเมืองดิจิทัล. เชียงใหม่: คณะสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม. .
โสภิดา วีรกุลเทวัญ. (2561). เท่าทันสื่อ อำนาจในมือพลเมืองดิจิทัล. สถาบันสื่อเด็กและเยาวชน. กรุงเทพฯ
Gleason, B., & von Gillern, S. (2018). Digital Citizenship with Social Media: Participatory Practices of Teaching and Learning in Secondary Education. Educational Technology & Society, 21 (1), 200–212.
Kim, M., & Choi, D. (2018). Development of Youth Digital Citizenship Scale and Implication for Educational Setting. Educational Technology & Society, 21 (1), 155–171.
Pedersen, A. Y., Nørgaard, R. T., & Köppe, C. (2018). Patterns of Inclusion: Fostering Digital Citizenship through Hybrid Education. Educational Technology & Society, 21 (1), 225–236.

หัวเรื่อง และคำสำคัญ

พลเมือง,ดิจิทัล, Digital, Citizenship ,คอมพิวเตอร์ ,เทคโนโลยี

ประเภท แบ่งตามผลผลิต สสวท.

บทความ

รูปแบบการนำเสนอ แบ่งตามผลผลิต สสวท.

สื่อสิ่งพิมพ์ในรูปแบบดิจิทัล

ลิขสิทธิ์

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.)

วันที่เสร็จ

วันจันทร์, 20 สิงหาคม 2561

สาขาวิชา/กลุ่มสาระวิชา

เทคโนโลยี

กลุ่มเป้าหมาย

ครู
นักเรียน
บุคคลทั่วไป

ดูเพิ่มเติม

มิติด้านจริยธรรมของพลเมืองดิจิทัล คืออะไร

มิติด้านจริยธรรม พลเมืองดิจิทัลจะต้องใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างปลอดภัย มีจริยธรรม ความรับผิดชอบ ต้องตระหนักถึงผลกระทบที่อาจเกิดต่อสังคม เคารพสิทธิและความรับผิดชอบออนไลน์ และ 3). มิติด้านการมีส่วนร่วมทางการเมืองและสังคม พลเมืองดิจิทัลจะสามารถมีส่วนร่วมทางการเมือง เศรษฐกิจและสังคม โดยใช้อินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือ

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล คืออะไร

ความเป็นพลเมืองดิจิทัล (Digital Citizenship) คือ การเป็นพลเมืองผู้ฉลาดในการ ใช้งานสื่อดิจิทัลและสื่อสังคมออนไลน์ที่เข้าใจบรรทัดฐานของการปฏิบัติตัวให้เหมาะสม มี ความรับผิดชอบในการใช้เทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การสื่อสารในยุคดิจิทัลเป็นการ สื่อสารที่ไร้พรมแดนสมาชิกของโลกออนไลน์ คือ ทุกคนที่ใช้เครือข่ายอินเทอร์เน็ตบนโลก ...

องค์ประกอบของความเป็นพลเมืองดิจิทัลมีมิติ อะไรบ้าง อธิบาย

ความเป็นพลเมืองดิจิทัลสามารถแยกองค์ประกอบได้เป็น 4 มิติ ดังนี้.
มิติการรักษาอัตลักษณ์และข้อมูลส่วนบุคคล ... .
มิติของกิจกรรมบนสื่อสังคมดิจิทัล ... .
มิติทักษะและความสามารถในสภาพแวดล้อมดิจิทัล ... .
มิติจริยธรรมทางดิจิทัล.

กรอบแนวคิดการเป็นพลเมืองดิจิทัลที่ดี มี 3 ด้านอะไรบ้าง

1.2 กรอบแนวคิดเกี่ยวกับความเป็นพลเมืองดิจิทัล ประกอบไปด้วย 1) การเคารพ ตนเองและผู้อื่น (respect yourself and others) ได้แก่ 1.1) การใช้สื่อดิจิทัลอย่างมีมารยาท (digital etiquette) 1.2) การเข้าถึงสื่อดิจิทัล (digital access) 1.3) การปฏิบัติตามกฎหมาย ที่เกี่ยวกับการสื่อสารดิจิทัล (digital law) 2) การให้การศึกษาตนเองและ ...