ส่วนใดเป็นส่วนเนื้อหาของเว็บไซต์

April 2, 2009 3. ออกแบบเว็บไซต์ 121,240 ครั้ง

ในหัวข้อก่อนหน้านี้เราได้ศึกษาเรื่องการออกแบบเว็บไซต์ (Site Design) ซึ่งเป็นภาพรวมไปแล้ว ได้แก่
3.1 การออกแบบโครงสร้างเว็บไซต์ (Site Structure Design)
3.2 การออกแบบระบบเนวิเกชั่น (Site Navigation Design)

.

ในหัวข้อนี้เราจะได้ศึกษาในรายละเอียดการออกแบบหน้าเว็บเพจ (Page Design) ซึ่งเป็นส่วนประกอบของเว็บไซต์กันค่ะ

3.3 การออกแบบเว็บเพจ (Page Design)

ส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจ

แบ่งออกเป็น 3 ส่วนหลักๆ คือ

1. ส่วนหัวของหน้า (Page Header)

เป็นส่วนที่อยู่ตอนบนสุดของหน้า และเป็นส่วนที่สำคัญที่สุดของหน้า เพราะเป็นส่วนที่ดึงดูดผู้ชมให้ติดตามเนื้อหาภายในเว็บไซต์  มักใส่ภาพกราฟฟิกเพื่อสร้างความประทับใจ   ส่วนใหญ่ประกอบด้วย

  • โลโก้ (Logo) เป็นสิ่งที่เว็บไซต์ควรมี เป็นตัวแทนของเว็บไซต์ได้เป็นอย่างดี และยังทำให้เว็บน่าเชื่อถือ
  • ชื่อเว็บไซต์
  • เมนูหลักหรือลิงค์ (Navigation Bar) เป็นจุดเชื่อมโยงไปสู่เนื้อหาของเว็บไซต์

.

2.ส่วนของเนื้อหา (Page Body)

เป็นส่วนที่อยู่ตอนกลางของหน้า ใช้แสดงข้อมูลเนื้อหาของเว็บไซต์  ซึ่งประกอบด้วยข้อความ, ตารางข้อมูล ภาพกราฟิก วีดีโอ และอื่นๆ    และอาจมีเมนูหลัก หรือเมนูเฉพาะกลุ่มวางอยู่ในส่วนนี้ด้วย

สำหรับส่วนเนื้อหาควรแสดงใจความสำคัญที่เป็นหัวเรื่องไว้บนสุด ข้อมูลมีความกระชับ ใช้รูปแบบตัวอักษรที่อ่านง่าย และจัด Layout ให้เหมาะสมและเป็นระเบียบ

.

3. ส่วนท้ายของหน้า (Page Footer)

เป็นส่วนที่อยู่ด้านล่างสุดของหน้า จะมีหรือไม่มีก็ได้  มักวางระบบนำทางที่เป็นลิงค์ข้อความง่าย ๆ และอาจแสดงข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเนื้อหาภายในเว็บไซต์ เช่น เจ้าของเว็บไซต์, ข้อความแสดงลิขสิทธิ์, วิธีการติดต่อกับผู้ดูแลเว็บไซต์, คำแนะนำการใช้เว็บไซต์ เป็นต้น

.

โดยปกติส่วนหัวและส่วนท้ายมักแสดงเหมือนกันในทุกหน้าของเว็บเพจ

.

ตัวอย่าง แสดงส่วนประกอบของหน้าเว็บเพจ (trendypet.com)

ส่วนใดเป็นส่วนเนื้อหาของเว็บไซต์

Next 3.3.2 โครงสร้างและรูปแบบของเว็บเพจ »

คุณอาจสนใจเรื่องนี้

แนวทางการดีไซน์บล็อกยุคใหม่ (ตอน2)

6. ส่วนแสดงความคิดเห็น(Comments) ส่วนความคิดเห็น เป็นบริเวณที่มีการถกกันเกี่ยวกับบทความจากผู้อ่าน/ผู้เยี่ยมชม หน้าที่ของผู้ออกแบบ จะต้องออกแบบให้บริเวณนี้ดูเป็นการสนทนากัน ด้วยการแยกแต่ละความคิดเห็นออกจากกัน อาจจะด้วยการกำหนดหมายเลขให้แต่ละความคิดเห็น วิธีนี้ยังช่วยให้ง่ายต่อการอ้างอิงความคิดเห็นต่าง ๆ อีกประการ คือแยกความคิดเห็นของเจ้าของบทความ ให้ต่างจากความคิดเห็นทั่วไป เพื่อเอาไว้คั่นว่าได้ตอบความเห็นของผู้อ่านถึงไหนแล้ว หรือ ...

ส่วนใดเป็นส่วนเนื้อหาของเว็บไซต์



ส่วนประกอบของเว็บไซต์ที่ดี

ส่วนหัว (Header)

สำหรับไว้แสดงโลโก้ หรือข้อความที่บ่งบอกว่า เว็บไซต์ของเรามีเนื้อหาอะไรบ้าง ในส่วนหัว อาจเป็นพื้นที่สำหรับใส่ป้ายโฆษณา สำหรับการหารายได้พิเศษ นอกจากนี้อาจมีคำนิยามของเว็บหรือสโลแกนต่อท้ายโลโก้ (อาจมีหรือไม่มีก็ได้) ถ้ามี อาจทำให้คุ้นเคยได้ง่ายขึ้น

เมนู (Navigator)

ไม่หลงผิดไปทิศทางอื่นๆ การมีเมนู ช่วยให้การค้นหาข้อมูลได้สะดวกมากขึ้น การวางเมนู ส่วนใหญ่จะอยู่ด้านบน ด้านซ้าย หรือด้านขวา เป็นหลัก ส่วนหลายๆ เว็บในปัจจุบัน มีการเพิ่มเมนูในส่วนท้าย อาจเป็นเพราะเนื้อหามีความยาวเกินหนึ่งหน้า หรือเพื่อเป็นการเพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงเนื้อหาในส่วนอื่นๆ

เนื้อหา (Contents)

หมายถึง ข้อมูลที่เราต้องการให้ผู้เยี่ยมชมรับทราบ? เนื้อหาที่ดีควรมีการจัดแบ่งเป็นหมวดหมู่ให้ชัดเจน เพื่อให้สะดวกในการติดตามอ่านข้อมูลอื่นๆ เพ่ิมเติม ส่วนประเภทเนื้อหา ประกอบด้วย
ข้อความที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ / ภาพเคลื่อนไหว ไฟล์เสียง วีดีโอ ฯลฯ

สำหรับแสดงรายละเอียดพื้นฐาน เช่น ใส่คำพูด ส่วนลิขสิทธิ์ (copyright) หรือใส่ที่อยู่ในการติดต่อ

ช่องว่าง (Space)

ไม่จำเป็นที่เว็บไซต์หนึ่งๆ จะมีเนื้อหาแบบเต็มหน้าจนเกินไป การมีช่องว่างบ้าง เพื่อให้ได้ผ่อนคลายเวลาเข้าเว็บของเรา ไม่รู้สึกอึดอัด นอกจากนี้ยังเกี่ยวเนื่องกับการออกแบบด้วย
เนื้อหาส่วนประกอบและการจัดวางองค์ประกอบของเว็บไซต์ จะมีมาตราฐานดังตัวอย่างข้่างต้น แต่ถ้าเรามีการปรับเปลี่ยนหรือย้ายตำแหน่ง อาจทำให้ผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ของเราเกิดความสับสนได้ ดังนั้น เพื่อเป็นการเริ่มต้นการทำเว็บทีดี แนะนำให้ทำตามดังตัวอย่างมาตราฐานก่อน

ส่วนประกอบย่อยอื่นๆ ที่จำเป็น

         1. Text เป็นข้อความปกติ โดยเราสามารถตกแต่งให้สวยงามและมีลูกเล่นต่างๆ ดังเช่นโปรแกรมประมวลคำ
2. Graphic ประกอบด้วยรูปภาพ ลายเส้น ลายพื้น ต่างๆ มากมาย
3. Multimedia ประกอบด้วยรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และแฟ้มเสียง
4. Counter ใช้นับจำนวนผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมเว็บเพจของเรา
5. Cool Links ใช้เชื่อมโยงไปยังเว็บเพจของตนเองหรือเว็บเพจของคนอื่น
6. Forms เป็นแบบฟอร์มที่ให้ผู้เข้าเยี่ยมชม กรอกรายละเอียด แล้วส่งกลับมายังเว็บเพจ
7. Frames เป็นการแบ่งจอภาพเป็นส่วนๆ แต่ละส่วนก็จะแสดงข้อมูลที่แตกต่างกันและเป็นอิสระจากกัน
8. Image Maps เป็นรูปภาพขนาดใหญ่ที่กำหนดส่วนต่างๆ บนรูป เพื่อเชื่อมโยงไปยังเว็บเพจอื่นๆ
9.Java Applets เป็นโปรแกรมสำเร็จรูปเล็กๆ ที่ใส่ลงในเว็บเพจ เพื่อให้การใช้งานเว็บเพจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
        

นอกจากส่วนประกอบดังกล่าวแล้ว องค์ประกอบที่นิยมใส่ไว้ในเว็บเพจอีก 2 ส่วน ได้แก่ สมุดเยี่ยม (guestbook) และเว็บบอร์ด (webboard) ที่ช่วยให้เว็บเพจกลายเป็นสื่อที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างผู้ใช้กับผู้สร้างและระหว่างผู้ใช้ด้วยกันเอง