โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก สรุป

1.1. 9.1.1 เนื้อเยื่อเจริญ (meristematic tissue) หรือ meristem เป็นกลุ่มเซลล์ที่มีผนังเซลล์ปฐมภูมิบางและมีการแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เซลล์ที่ได้จากการแบ่งส่วนหนึ่งจะเปลี่ยนเป็นเนื้อเยื่อถาวรส่วนนึงยังคงเป็นเนื้อเยื่อเจริญ แบ่งตามตำแหน่งได้ 3 ประเภท คือ

1.1.1. 1.เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย (apical meristem) พบได้ 2 บริเวณ คือ ปลายยอด กับ ปลายราก

Show

1.1.2. 2.เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem) จัดเป็นการเจริญเติบโตแบบทุติยภูมิ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า แคมเบียม

1.1.3. 3.เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalary meristem) เป็นเนื้อเยื่อส่วนที่อยู่โคนปล้องหรือเหนือข้อ

1.2. 9.1.2 เนื้อเยื่อถาวร (permannat tissure) เปลี่ยนมาจากเนื้อเยื่อเจริญ มีรูปร่างคงที่ และไม่สามารถแบ่งเซลล์ได้อีก

1.2.1. แบ่งตามหน้าที่ได้เป็น 3 ระบบ คือ

1.2.1.1. 1.ระบบเนื้อเยื่อผิว (dermal tissue system) ประกอบด้วยเอพิเดอร์มิส และ เพริเดิร์ม

1.2.1.2. 2.ระบบเนื้อเยื่อพื้น (ground tissue หรือ fundamental tissue system) ประกอบด้วย พาเรงคิมา คอลเลงคิมา สเกลอเรงคิมา

1.2.1.3. 3.ระบบเนื้อเยื่อท่อลำเลียง (vascular tissue system) ประกอบด้วยไซเล็ม และ โฟลเอ็ม

1.2.2. มีหน้าที่สำคัญต่อการดำรงชีวิตของพืช เช่น

1.2.2.1. เอพิเดอร์มิส (epidermis)

1.2.2.2. พาเรงคิมา (perenchyma)

1.2.2.3. คอลเลงคิมา (collenchyma)

1.2.2.4. สเกลอเรงคิมา (sclerenchyma)

1.2.2.5. ไซเล็ม (xylem)

1.2.2.6. โฟลเอ็ม (phloem)

2. 9.2 โครงสร้างและการเจริญเติบโตของราก

2.1. โครงสร้างภายในของรากระยะที่มีการเติบโตปฐมภูมิ

2.1.1. โครงสร้างของรากพืชใบเลี้ยงคู่และเดี่ยว มีการตัดตามขวางและเรียงตัวเนื้อเยื่อแตกต่างอย่างชัดเจน แบ่งได้ 3 ชั้น ดังนี้

2.1.1.1. 3.1 เพริไซเคิล (pericycle)

2.1.1.2. 1.เอพิเดอร์มิส (epidermis)

2.1.1.3. 2.คอร์เท็กซ์ (cortex)

2.1.1.4. 3.สตีล (stele) ประกอบด้วยชั้นต่างๆดังนี้

2.1.1.4.1. 3.2 วาสคิวลาร์บันเดิล หรือ มัดท่อลำเลียง (vascular bundle)

2.1.1.4.2. 3.3 พิธ (pith)

2.2. โครงสร้างภายในของปลายราก

2.2.1. เมื่อรากงอกออกจากเมล็ดเพิ่มขนาดและจำนวน ประกอบด้วยเนื้อเยื่อบริเวณต่างๆ เรียงลำดับจากสุดปลายสุดของรากขึ้นไป ดังนี้

2.2.1.1. 1.หมวกราก (root cap)

2.2.1.2. 2.บริเวณการแบ่งเซลล์ (region of cell division)

2.2.1.3. 3.บริเวณการยืดตามยาวของเซลล์ (region of cell elongation)

2.2.1.4. 4.บริเวณการเปลี่ยนสภาพและการเจริญเต็มที่ของเซลล์ (region of cell differentiation)

2.3. โครงสร้างภายในของรากระยะที่มีการเติบโตทุติยภูมิ

2.3.1. การเติบโตทุติยภูมิของรากพืชใบเลี้ยงคู่ทำให้รากมีขนาดใหญ่ เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อถาวรเพิ่มจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ ได้แก่ วาสคิวลาร์แคมเบียมและคอร์กแคมเบียม วาสคิวลาร์แคมเบียมเปลี่ยนสภาพมาจากเซลล์ที่อยู่ระหว่างไซเล็มปฐมภูมิและโฟลเอ็มปฐมภูมิและเซลล์ในบริเวณเพริไซเคิล

2.3.1.1. โดยวาสคิวลาร์แคมเบียมแบ่งเซลล์สร้างไซเล็มทุติยภูมิ(secondary xylem)ทางด้านใน

2.3.1.2. และสร้างโฟลเอ็มทุติยภูมิ(secondary phloem)ทางด้านนอก

3. 9.3 โครงสร้างและการเจริญเติบโตของลำต้น

3.1. โครงสร้างภายในของปลายยอดตัดตามยาว

3.1.1. ปลายยอดจะมีส่วนของใบและตาตามซอกแตกออกมาด้านข้างด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

3.1.1.1. 1.เนื้อเยื่อเจริญปลายยอด (apical shoot meristem)

3.1.1.2. 2.ใบเริ่มเกิด หรือ เนื้อเยื่อกำเนิดใบ (leaf primordium)

3.1.1.3. 3.ใบอ่อน (young leaf)

3.1.1.4. 4.ลำต้นอ่อน

3.2. โครงสร้างภายในของลำต้นระยะที่มีการเติบโตปฐมภูมิ

3.2.1. จะพบว่า บริเวณของลำต้นอ่อนที่เซลล์มีการเปลี่ยนสภาพไปเป็นเนื้อเยื่อถาวรต่างๆนั้น จะเห็นเป็นบริเวณต่างๆ 3 บริเวณต่างๆดังนี้

3.2.1.1. 1.เอพิเดอร์มิส (epidermis)

3.2.1.2. 2.คอร์เท็กซ์ (cortex)

3.2.1.3. 3.สตีล (stele)

3.2.1.3.1. 3.1 วาสคิวลาร์บันเดิล (vascular bundle)

3.2.1.3.2. 3.2 พิธ (pith)

3.3. โครงสร้างภายในของลำต้นระยะที่มีการเติบโตทุติยภูมิ

3.3.1. การเติบโตทุติยภูมิของลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ทำให้ลำต้นมีขนาดใหญ่ขึ้น เนื่องจากมีการสร้างเนื้อเยื่อถาวรเพิ่มจากการแบ่งเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญด้านข้างซึ่งเป็นเนื้อเยื่อเจริญทุติยภูมิ ได้แก่ วาสคิวลาร์แคมเบียมและคอร์กแคมเบียม

4. 9.4 โครงสร้างและการเจริญเติบโตของใบ

4.1. การเจริญเติบโตของใบ

4.1.1. ใบเริ่มเกิดจะเจริญและพัฒนาไปเป็นใบอ่อน ตรงกลางโคนใบจะเห็นเซลล์ขนาดเล็กเรียงตัวเป็นแนวยากจากลำต้นอ่อนและเปลี่ยนสภาพต่อจนกระทั่งได้เป็นใบที่เจริญเต็มที่และมีสีเขียวเข้ม

4.1.2. โครงสร้างภายนอกของใบ

4.1.2.1. ใบของพืชส่วนใหญ่ประกอบด้วย 2 ส่วน

4.1.2.1.1. 1.ก้านใบ (petiole)

4.1.2.1.2. 2.แผ่นใบ (blade)

4.2. โครงสร้างภายในของใบ

4.2.1. โครงสร้างของภายในของใบพืชใบเลี้ยงคู่และใบพืชใบเลี้ยงเดี่ยวตัดตามขวาง ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 3 กลุ่ม ดังนี้

เนื้อเยื่อพืช

  1. เนื้อเยื่อเจริญ  ประกอบด้วยเซลล์ที่มีชีวิตกำลังแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส ผนังเซลล์ปฐมภูมิบางมากและเป็นเซลลูโลสเป็นส่วนใหญ่  เห็นนิวเคลียสขนาดใหญ่ชัดเจน เซลล์อยู่ชิดติดกันมาก คือ

1.1   เนื้อเยื่อเจริญส่วนปลาย  (apical meristem) พบที่ปลายยอดปลายราก  ที่ตาของลำค้น  ทำให้ราก  ลำต้นยืดยาวเพิ่มขึ้น เป็นการเจริญเติบโตขั้นแรก

1.2   เนื้อเยื่อเจริญด้านข้าง (lateral meristem)  เมื่อแบ่งเซลล์ทำให้รากและลำต้นเพิ่มขนาดทางกว้าง  เป็นการเจริญเติบโตขั้นที่สอง ได้แก่  แคมเบียม  ถ้าอยู่ในกลุ่มท่อลำเลียง  เรียกว่า  วาสคิวลาร์แคมเบียม  ถ้าอยู่ถัดจากเอพิเดอร์มิสของรากหรือลำต้นเข้าไปเรียกว่า คอร์กแคมเบียม

1.3   เนื้อเยื่อเจริญเหนือข้อ (intercalalry meristem)  อยู่เหนือข้อทำให้ปล้องยืดยาวขึ้น

  1. เนื้อเยื่อถาวร   เป็นกลุ่มเซลล์ที่เจริญเต็มที่แล้ว ไม่แบ่งเซลล์อีก  มีรูปร่างคงที่ไม่เปลี่ยน

2.1   เนื้อเยื่อถาวรเชิงเดี่ยว  ประกอบด้วยเซลล์ชนิดเดียวกัน ทำหน้าที่เดียวกัน  ได้แก่

เอพิเดอร์มิส   ปกคลุมและป้องกันอันตราย  เซลล์เอพีเดอร์มิสที่มีชีวิต มักมีชั้นเดียว   พาเรงคิมา ทำหน้าที่สะสมสารต่าง ๆ เป็นเซลล์ที่มีชีวิต  เซลล์บางชนิดมีคลอโรพลาสต์ด้วยจึงเรียกว่าคลอเรงคิมา
ทำหน้าที่ให้ความแข็งแรงผนังเซลล์  สเกลอเรงคิมา  ประกอบด้วยเซลล์ไฟเบอร์  มีความเหนียวยืดหยุ่นมาก  เซลล์สั้นกว่าซึ่งพบตามส่วนที่แข็งแรงของต้นไม้ เอนโตเดอร์มิส อยู่ที่ด้านนอกของ

เนื้อเยื่อลำเลียงในราก  ผนังเซลล์มีลิกนินและซูเบอริน  เซลล์เรียงตัวอัดกันแน่น  ไม่มีช่องว่าง  คอร์ก  เกิดจากการแบ่งตัวของคอร์กแคมเบียม  ผนังเซลล์มีซูเบอรินพอกเพื่อป้องกันน้ำระเหยออก

2.2   เนื้อเยื่อถาวรเชิงซ้อน  ประกอบด้วยเซลล์หลายชนิดทำงานร่วมกันเป็นเนื้อเยื่อลำเลียง   ซึ่งแบ่งเป็นไซเล็ม กับ โฟสเอ็ม   ไซเอ็ม ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากไปส่วนต่าง ๆ ของ
พืชไซเล็มประกอบด้วย  เซลล์พาเรงคิมา   ไฟเบอร์ เทรคีด   เวสเซลอีลีเมนต์  คือเมื่อโตเต็มที่เซลล์
จะตาย เกิดช่องลูเมน  ผนังเซลล์มีลักนินสะสมและมีพิต แต่เซลล์ขนาดใหญ่กล่าและสั้นกว่า
เทรคีด  ปลายเซลล์ตัดเฉียงและมีรูพรุน หน้าที่ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ  โฟลเอ็ม  ลำเลียงอาหารจากใบไปยังส่วนต่าง ๆของพืช เรียกว่าทรานสโลเคชั่น ประกอบด้วย พาเรงคิมา  ไฟเบอร์ ให้ความแข็งแรง ซีฟทิวบ์เมมเบอร์  เป็นเซลล์มีชีวิต  มีหน้าที่ลำเลียงอาหาร   คอมพาเนียนเซลล์ ช่วยส่งน้ำตาลเข้ามา
ในซีฟทิวบ์เมมเบอร์

อวัยวะและหน้าที่ของอวัยวะของพืช

  1. โครงสร้างและหน้าที่ของราก

1.1   หมวกราก  เป็นกลุ่มเซลล์พาเรงคิมาที่มีอายุสั้น มีหลายชั้นคลุมปลายสุดของราก  ฉีดขาดง่าย จะหลั่งเมือกลื่นออกมา ทำให้ปลายรากแทงลงดินได้ง่าย

1.2   บริเวณเซลล์แบ่งตัว  อยู่ถัดจากหมวกรากขึ้นมา  เป็นเซลล์ของเนื้อเยื่อเจริญส่วนปลายแบ่งเซลล์เพื่อแทนเซลล์หมวดรากที่ตายไป  บางเซลล์ยืดยาวขึ้นไปอยู่ในชั้นเซลล์ยืดตัวตามยาว

1.3   บริเวณเซลล์ยืดตัวตามยาว  อยู่สูงจากบริเวณเซลล์แบ่งตัว  เซลล์จะขยายตัวตามยาวทำให้รากยาวขึ้น

1.4   บริเวณเซลล์เจริญเติบโตเต็มที่  เป็นบริเวณที่มีเซลล์ขนรากซึ่งเปลี่ยนแปลงจากเซลล์เอพิเดอร์มิสบางเซลล์  เซลล์บริเวณนี้จะเจริญไปเป็นเนื้อเยื่อถาวร

โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก สรุป

โครงสร้างภายในของราก  เมื่อตัดรากตามขวาง โครงสร้างที่เรียงจากด้านนอกเข้าด้านใน

  1. เอพิเดอร์มิส  เป็นเนื้อเยื่อชั้นนอกสุดมีเซลล์ชั้นเดียว  ผนังเซลล์บางไม่มีคลอโรพลาสต์ มีแวคิวโอลใหญ่  บางเซลล์เปลี่ยนเป็นเซลล์ขนราก
  2. คอร์เทกซ์ ประกอบด้วยเซลล์พาเคงคิมา  ผนังบาง อมน้ำได้ดี  หน้าที่สะสมอาหารและน้ำ
  3. เอนโดเดอร์มิส  มีเซลล์ชั้นเดียว  เมื่ออายุมากขึ้นมีซูเบอรินหรือลิกนินมาเคลือบเซลล์ทำให้ผนังหนาเป็นแถบแคสพาเรียนสตริพที่กั้นไม่ให้อาหารและน้ำผ่านได้สะดวก
  4. สตีล  สตีลในรากแคบกว่าคอร์เทกซ์ แบ่งเป็น

4.1   เพริไซเคิล พบเฉพาะในราก เห็นชัดในรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยว หน้าที่สร้างรากแขนงออกทางด้านข้าง ในรากที่มีการเจริญขั้นที่สอง

4.2                มัดท่อลำเลียงหรือวาสคิวลาร์บันเดิล  ประกอบด้วยไซเล็มและโฟลเอ็ม ในรากพืชใบเลี้ยงคู่ไซเล็มจะเรียงตัวอยู่ใจกลางรากเป็นแฉก โดยมีโฟลเอ็มอยู่ระหว่างแฉกนั้น

ในรากพืชใบเลี้ยงคู่ยังมีวาสคิวลาร์แคมเบียม  เป็นเนื้อเยื่อเจริญที่แบ่งตัวให้ไซเล็มขั้นที่สองเข้าข้างใน และโฟลเอ็มขั้นที่สองออกด้านนอก  ทำให้รากเจริญออกด้านข้าง

หน้าที่สำคัญของราก คือ ยึดลำให้ติดกับพิ้นดิน  ลำเลียงน้ำและแร่ธาตุขึ้นสู่ลำต้น  รากบางชนิดทำหน้าที่สะสมอาหาร เช่นหัวไชเท้า  แครอท  มันเทศ  มันแกว ต้อยติ่ง กระชาย รักเร่  รากที่มีสีเขียวทำหน้าที่สังเคราะห์ด้วยแสง  เช่น รากกล้วยไม้  รากค้ำจุน  รากไทรย้อย เตย ลำเจียก โกงกาง

โครงสร้างและการเจริญเติบโตของพืชดอก สรุป

  1. โครงสร้างและหน้าที่ของลำต้น

ลำต้น  ต่างจากราก  คือ มีข้อ  ปล้อง บริเวณข้อมีตาอยู่ที่ซอกใบจะที่จะเจริญเป็นกิ่งหรือดอก
โครงสร้างภายในของลำต้นเมื่อตัดตามขวางจะคล้ายกับราก  เรียงจากชั้นนอกเข้าด้านใน

  1. เอพิเดอร์มิส
  2. คอร์เทกซ์  ของลำต้นแคบกว่าของราก เมื่อลำต้นเจริญมากขึ้น เซลล์ในคอร์เทกซ์เปลี่ยนเป็นคอร์กแคมเบียมที่แบ่งตัวให้คอร์กออกไปด้านนอก
  3. สตีล  ซึ่งมีวาสคิวลาร์บันเดิล ประกอบด้วยไซเล็มอยู่ด้านในและโฟลเอ็มอยู่ด้านนอก

ความแตกต่างระหว่างลำต้นกับราก

ลำต้นราก1. มักงอกในทิศตรงข้ามกับแรงโน้มถ่วงโลก

2. มีข้อ  ปล้อง

3. ตาแตกออกจากส่วนนอกของลำต้น

4. เนื้อเยื่อเจริญปลายยอดอาจมีหรือไม่มีเยื่อหุ้ม

5. ส่วนที่งอกออกจากลำต้นคือใบและดอก

6. ส่วนมากไม่มีเอนโดเดอร์มิสและเพริไซเคิล

7. ไซเล็มและโฟลเอ็มเรียงตัวอยู่ในกลุ่มเดียวกัน
โดยไซเล็มอยู่ด้านใน โฟลเอมอยู่ด้านนอก

8. ชั้นคอร์เทกซ์แคบกว่าสตีล

9. พืชใบเลี้ยงคู่เห็นพิธชัดเจน

พืชใบเลี้ยงเดี่ยวเห็นพิธไม่ชัดเจน

1. มักงอกในทิศทางเดียวกับแรงโน้มถ่วงโลก

2. ไม่มีข้อ  ไม่มีปล้อง

3. รากแขนงแตกออกจากเพริไซเคิล

4. ปลายรากมีหมวกรากหุ้ม

5. ส่วนที่งอกออกจากลำต้นคือใบและดอก

6. ส่วนที่งอกออกจากรากคือขนราก

7. ไซเล็มเรียงตัวแนแฉกโดยมีโฟลเอมแทรกอยู่

ในระหว่าวงแฉกนั้น

8. ชั้นคอร์เทกซ์กว้างกว่าสตีล

9. เฉพาะรากพืชใบเลี้ยงเดี่ยวมีพิธ (pith)

 

การเจริญเติบโตขั้นที่สอง

พืชใบเลี้ยงคู่  แคมเบียมจะแบ่งเซลล์ให้โฟลเอ็มใหม่ดันออกไปทางด้านคอร์เทกซ์จนรวมกันเป็นชั้นเปลือกไม้ และแบ่งเซลล์ให้ไซเล็มใหม่ไปดันไซเล็มเดิมเข้าสู่ศูนย์กลางลำต้นกลายเป็นเนื้อไม้  ไซเล็มที่เกิดในช่วงน้ำมากจะมีเซลล์ใหญ่และมีจาง เรียก สปริงวูด ไซเล็มที่เกิดในช่วงหน้าแล้งมีเซลล์เล็กและสีเข้ม เรียกซัมเมอร์วูด แถบสีจางที่สลับสีเข้มรวมเป็นวงปี 1 ปี ซึ่งใช้บอกอาวุลพืชได้ ไซเล็มที่ถูกดันเข้าสู่ศูนย์กลางลำต้นที่อยู่ด้านใน ๆ จะมีเรซิน แทนนิน เข้าไปอุดตัน จนลำเลียงน้ำไม่ได้เรียกว่าแก่นไม้ มักมีสีคล้ำ ส่วนไซเล็มด้านนอกยังลำเลียงน้ำได้เรียกว่า กระพี้ มีสีจาง

พืชใบเลี้ยงเดี่ยวทั่วไป  ไม่มีวาสคิวลาร์แคมเบียม  จึงไม่มีการเจริญขั้นที่สอง  ยกเว้นต้นหมากผู้หมากเมีย เข็มกุดั่น ว่านหางจระเข้ ที่มีแคบเบียนจึงแบ่งตัวให้ท่อลำเลียงขั้นที่สองได้ ซึ่งมีวงของไซเล็มล้อมรอบโฟลเอ็ม

หน้าที่ของลำต้น  พยุงลำต้น  ลำเลียงน้ำ  แร่ธาตุ และสารอาหาร สะสมอาหาร แพร่พันธุ์ สังเคราะห์ด้วยแสง   และอาจเปลี่ยนแปลงทำหน้าที่อื่น เช่น มือเกาะ หรือเป็นหนาม

ลำต้นเหนือดินที่เปลี่ยนแปลงรูปร่างและหน้าที่

  1. ลำต้นเลื้อยขนานผิวดินหรือผิวน้ำ  ที่ข้อมีรากแตกแขนงปักลงดินเพื่อยึดลำต้น และลำต้นแตกแขนงออกจากตาเลื้อยขนานกับผิวดิน เรียกว่า  สโตลอนหรือรันเนอร์ หรือไหล เช่น ผักบุ้ง
  2. ลำต้นเลื้อยขึ้นสูง

2.1   ลำต้นพันหลักเป็นเกลียวขึ้นไป เช่น ต้นถั่ว ฝอยทอง เถาวัลย์ ผักบุ้งฝรั่ง

2.2      ลำต้นเปลี่ยนเป็นมือเกาะ  เช่น บวบ  น้ำเต้า  ฟักทอง องุ่น  แตกกวา

2.3      ใช้รากพัน เช่น พลู  พลูด่าง  พริกไทย

2.4      ลำต้นเปลี่ยนเป็นหนามหรือขอเกี่ยว เรียกสแครมเบอร์ เช่น เฟื่องฟ้า มะนาว

  1. ลำต้นคล้ายใบ  มีข้อ  ปล้องชัดเจน มีตาด้วย ลำต้นใต้ดินแยกตามลักษณะดังนี้

3.1      แง่งหรือเหง้าหรือไรโซม เช่น หญ้าแห้วหมู ขิง ข่า ขมิ้น มันฝรั่ง ว่าน

3.2      ทูเบอร์  งอกจากปลายไรโซม ตามข้อไม่มีใบเกล็ดและราก มีตาบุ๋มที่งอกต้นใหม่

3.3      หัวกลีบหรือบัลบ์   ลำต้นตั้งตรง ลำต้นมีปล้องสั้นมาก ปล้องมีใบ

3.4      คอร์ม คล้ายหัวกลีบ  แต่เก็บสะสมอาหารไว้ที่ลำต้นแทนใบเกล็ดที่ข้อมีใบเกล็ดหุ้ม

โครงสร้างและหน้าที่ของใบ

                         ใบ  เป็นอวัยวะหรือส่วนของพืชที่เจริญเติบโตยื่นออกมาทางด้านข้างของลำต้นบริเวณข้อ  และมักมีตาอยู่บริเวณซอกใบ หน้าที่สำคัญของใบต้องการสร้างอาหารด้วยการสังเคราะห์ด้วยแสง หายใจ

คายน้ำ ยึดหรือค้ำจุนลำต้นโดยทำหน้าที่เป็นมือเกาะ สะสมอาหารและน้ำ แพร่พันธุ์

 

โครงสร้างภายในของใบ  เมื่อนำใบมาตัดตามขวางแล้วส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ พบว่า

  1. เอพิเดอร์มิส มีทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ ส่วนใหญ่เป็นเซลล์ที่ไม่มีคลอโรพลาสต์
  2. มีโซฟิลล์  ส่วนใหญ่เป็นเซลล์คลอเรงคิมา จึงมีคลอโรพลาสตน์อยู่ภายในเซลล์

–  แพลิเซดมีโซฟิลล์  เป็นชั้นที่เซลล์อัดแน่นเรียงตัวกันคล้ายเสารั้ว

–  สปันจีมีโซฟิลล์  เป็นชั้นที่มีเซลล์ค่อนข้างกลม เรียงตัวอย่างหลวม ๆ

  1. มัดท่อลำเลียง  ประกอบด้วยไซเล็มและโฟลเอ็มมาเรียงต่อกันเป็นเส้นใย

ชนิดของใบ

  1. ใบแท้   เป็นใบที่มีสีเขียว ทำหน้าที่สังเคราะห์อาหารด้วยกระบวนการสังเคราะห์
    ด้วยแสง และยังทำหน้าที่หายใจและคายน้ำด้วย
  2.    ใบที่เปลี่ยนแปลงไป  เป็นใบที่มีการเปลี่ยนแปลงไปจากใบแท้ทั่วไปที่มีสีเขียว

2.1   ใบสะสมอาหาร  ได้แก่ ใบเลี้ยง ใบว่านหางจระเข้  หัวหอม หัวกระเทียม

2.2   ใบดอก  มีสีสวยงามคล้ายกลีบดอก  ทำหน้าที่ช่วยล่อแมลง เช่น หน้าวัว

2.3   ใบประดับ  ช่วยรองรับดอกหรือช่อดอกอยู่บริเวณซอกใบ  และมักมีสีเขียว                                 2.4          ใบเกล็ด  ป้องกันอันตรายให้แก่ตาและยอดอ่อน  ไม่มีสีเขียวเพราะไม่มีคลอโรฟิลล์ เช่น ใบเกล็ดของสนทะเลที่เป็นแผ่นเล็ก ๆ ติดอยู่รอบ ๆ ข้อ

2.5   เกล็ดหุ้มตา  หุ้มตาหรือคลุมตาไว้  เมื่อตาเจริญเติบโตออกมา จึงดันให้เกล็ดหุ้มตาหลุดไป พบในต้นยาง  จำปี  สาเก  เป็นต้น

2.6   มือเกาะ ยึดและพยุงลำต้นให้ขึ้นสูง ตัวอย่างมือเกาะของถั่วลันเตา  ถั่วหอม

2.7   หนาม  ป้องกันอันตรายจากสัตว์ที่มากัดกินป้องกันการคายน้ำเนื่องจากปากใบลดน้อยลงกว่าปกติ เช่น หนามของต้นเหงือกปลาหมอเปลี่ยนแปลงมาจากขอบใบเป็นหูใบ

2.8   ฟิลโลด  บางส่วนของใบเปลี่ยนแปลงไปเป็นแผ่นแบนคล้ายใบแต่แข็งกว่าปกติ

2.9   ทุ่นลอย  ก้านใบพองโตคล้ายวุ้น ภายในมีเนื้อเยื่อหลวม ๆ เช่น ผักตบชวา                                  2.10        ใบแพร่พันธุ์  ช่วยแพร่พันธุ์โดยบริเวณขอบใบที่มีลักษณะเว้าเข้าเล็กน้อย มีตาการแลกเปลี่ยนแก๊สและการคายน้ำของพืช

 การแลกเปลี่ยนแก๊สของพืช

                   การแลกเปลี่ยนแก๊สของพืชเกิดในระหว่างการหายใจและการสังเคราะห์ด้วยแสง  โดยผ่านทางปากใบ  พืชทั่วไปมีปากใบทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ  ความหนาแน่นของปากใบบอกได้ถึงปริมาณน้ำในแหล่งที่พืชดำรงชีวิตอยู่  รวมทั้งบอกได้ถึงอัตราการคายน้ำและการแลกเปลี่ยนแก๊สของใบ  พืชบกมีปากใบมากที่สุด  พืชส่วนใหญ่มีปากใบอยู่ด้านท้องใบ  พืชที่มีใบปริ่มน้ำมีปากใบเฉพาะด้านบนของใบ  ปากใบไม่พบในพืชที่จมน้ำ เช่น สาหร่ายหางกระรอก

การคายน้ำของพืช

                   ตามปกติพืชคายน้ำทางปากใบ  แต่อาจพบเป็นหยดน้ำออกจากรูไฮดาโทด ที่ปลายเส้นใบเรียกว่า กัตเตชัน  เกิดในวันที่ความชื้นในอากาศสูง น้ำที่พืชคายออกมาไม่สามารถระเหยเป็นไอได้

การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุระหว่างเนื้อเยื่อ

สรุปขั้นตอนการลำเลียงน้ำและแร่ธาตุ

  1. เมื่อน้ำและแร่ธาตถผ่านขนรากของชั้นเอพิเดอร์มิสของราก  ซึ่งเข้าไปทั้ง 2 วิธีคือ วิธี
    อะโพพลาสต์  ผ่านผนังเซลล์ของแต่ละเซลล์ และวิธีซิมพลาสต์ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์เข้าสู่ไซโทพลาซึมโดยผ่านพลาสโมเดสมาตา
  2. ถ้าการลำเลียงนั้นเข้าทางอะโพพลาสต์ น้ำและแร่ธาตุบางส่วนจะลำเลียงเข้าเซลล์ของเอพิเดอร์มิส และคอร์เทกซ์โดยวิธีซิมพลาสต์
  3. น้ำและแร่ธาตุที่เข้าสู่เอนโดเดอร์มีสทางผนังเซลล์ จะไม่สามารถผ่านแคสพาเรียนสตริพของเอนโดเดอร์มิสไปได้โดยวิธีอะโพพลาสต์  จึงใช้วิธีซีมพลาสต์เพื่อผ่านเยื่อหุ้มเซลล์
  4. เซลล์ของเอนโดเดอร์มิสและเซลล์ในชั้นสตีล  ส่งน้ำและแร่ธาตุเข้าสู่ไซเล็ม  ไซเล็มประกอบด้วยเทรคีดและเวสเซลซึ่งเป็นเซลล์ที่ตายแล้ว  ไม่มีโพรโทพลาซึม  เหลือแต่ผนังเซลล์และช่องว่าง  เมื่อนำและแร่ธาตุเข้าสู่ไซเล็มจึงเปลี่ยนจากวิธีซิมพลาสต์เป็นอะโพพลาสต์ หลังจากนี้จะลำเลียงขึ้นสู่ลำต้นต่อไป

การลำเลียงน้ำและแร่ธาตุจากรากขึ้นสู่ลำต้น

              น้ำและแร่ธาตุจากดินที่เข้าสู่ไซเอ็มของราก  จะถูกลำเลียงไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช  โดยอาศัยแรงดันรากและแรงดึงเนื่องจากการคายน้ำ  ดึงน้ำขึ้นมาตามท่อไซเล็ม  เพราะน้ำมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุล เรียกว่า cohesion และมีแรงดึงดูดระหว่างโมเลกุลน้ำกับผนังไซเล็ม  เรียกว่า adhesion

การลำเลียงอาหารของพืช

              อาหารที่เกิดจากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงที่ใบ  ส่งไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืชทางโฟลเอ็ม  พืชสามารถลำเลียงอาหารจากด้านบนลงด้านล่าง และจากด้านล่างขึ้นด้านบนของลำต้นได้  ทดลองโดยการควั่นลำต้นพืชใบเลี้ยงคู่ออกตั้งแต่เปลือกไม้จนถึงชั้นแคมเบียมทิ้งไว้ 3-4 สัปดาห์  ทำให้โฟลเอ็ม

ถูกตัดออกไป อาหารจึงส่งลงด้านล่างไม่ได้ และสะสมอยู่เหนือรอยควั่น

ใบพืชเป็นส่วนที่สร้างอาหาร ใบพืชที่ส่วนล่างของลำต้นสร้างน้ำตาล แล้วลำเลียงลงสู่ส่วนล่างของลำต้น  ใบพืชที่อยู่ใกล้ยอดสร้างน้ำตาลแล้วลำเลียงไปสู่ส่วนยอดของลำต้น  ใบพืชที่อยู่ตรงกลางลำต้นสร้างน้ำตาลแล้วลำเลียงขึ้นสู่ส่วนยอดและลำเลียงลงสู่ส่วนราก คือ ลำเลียงได้ทั้งสองทิศทาง  นั่นคือพืชสามารถลำเลียงสารอาหารไปทั่วทุกส่วนของพืช