สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 3 doc

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 3 doc

     ปัญหาของนักเรียนไทยที่เห็นได้อย่างชัดเจนคือ ปัญหาในเรื่องของการประยุกต์ใช้ เพราะระบบการศึกษาของโรงเรียนยังคงยึดติดกับวิธีการสอนแบบเดิม ๆ ทำให้ผู้เรียนถูกปลูกฝังด้วยการเรียนรู้แบบท่องจำเพื่อนำไปสอบ มากกว่าที่จะเรียนรู้เพื่อให้เกิดการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ และมุ่งสร้างองค์ความรู้ให้เกิดขึ้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ส่งผลให้ผู้เรียนส่วนใหญ่ไม่สามารถนำความรู้ ความเข้าใจ ทักษะและคุณลักษณะต่าง ๆ ที่ตนเรียนรู้มาไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์กับตัวเองและสังคมได้ กล่าวคือ เด็กไทยนั้นมีสมรรถนะที่ต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อันเป็นเรื่องที่เสียเปรียบอย่างมากในการแข่งขันกับนานาประเทศ

      หลักสูตรฐานสมรรถนะ คือหลักสูตรที่เน้นการวัดผล แบบสมรรถนะแทนการท่องจำเนื้อหา เพียงเพื่อนำมาสอบต่างจากเดิมที่วัดผลจากการจำความรู้ ... แต่ฐานสมรรถนะ วัดผลจากการนำความรู้มาใช้งานและต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุดโดยจะนำมาใช้แทนที่หลักสูตรในปัจจุบัน

 หลักสูตรฐานสมรรถนะ จะกำหนดมาตรฐานสมรรถนะ (Competency Standards) ขึ้นเป็นสมรรถนะเบื้องต้นที่จำเป็นสำหรับผู้เรียน เพื่อการดำรงชีวิตอย่างมีคุณภาพ โดยทั่วไปมี 2 ลักษณะ คือ

1. สมรรถนะหลัก (Core Competency) มีลักษณะเป็นสมรรถนะข้ามวิชาหรือคร่อมวิชา คือเป็นสมรรถนะที่สามารถพัฒนาให้เกิดขึ้นแก่ผู้เรียนได้ในสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ ที่หลากหลาย หรือสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาผู้เรียนให้เรียนรู้สาระต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น

2. สมรรถนะเฉพาะ (Specific Competency) เป็นสมรรถนะเฉพาะวิชา / สาขาวิชาที่จำเป็นสำหรับวิชานั้น ๆ

ซึ่งสมรรถนะทั้ง 2 ประเภทนั้น ไม่ว่าจะเป็นสมรรถนะหลัก หรือสมรรถนะเฉพาะ ต่างก็มีระดับตั้งแต่ง่ายไปยาก ซึ่งหลักสูตรจะกำหนดให้ผู้เรียนได้เรียนรู้แบบไต่ระดับ ไปตามระดับความสามารถของตน

ฐานคิดของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

(หลักสูตรฐานสมรรถนะ) 

1. ส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล (Personalization)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 3 doc

การเรียนรู้และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง (Life-long Learning) ผู้เรียนแต่ละคนมีความแตกต่างกันทั้งในเรื่องของศักยภาพความพร้อม และความสนใจส่วนตน ซึ่งมีทฤษฎีที่รองรับ เช่น ทฤษฎีพหุปัญญา ทฤษฎีแบบแผนการเรียนรู้ (Learning style) ดังนั้น การเรียนรู้จึงต้องสอดคล้องกับศักยภาพของผู้เรียนรายบุคคล นอกจากนี้ การเรียนรู้มิได้เกิดขึ้น แค่ในห้องเรียนเสมอไป แต่การเรียนรู้ของผู้เรียนสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสถานที่และทุกเวลา ผู้สอนจะต้องสนับสนุนให้ผู้เรียนเป็นเจ้าของการเรียนรู้ ได้รับประสบการณ์ทั้งในห้องเรียน นอกห้องเรียน และนอกโรงเรียน

2. พัฒนาให้ผู้เรียนเกิดสุขภาวะ (Well-being)

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 3 doc

พัฒนาทั้งในด้านสุขภาพ ความฉลาดรู้ สังคมและอารมณ์อย่างสมดุล รอบด้านและเป็นองค์รวม โดยยึดหลักความเสมอภาค (Equity) พ.ร.บ.สุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2550 ให้ความหมายสุขภาวะไว้ว่า ภาวะของมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งทางกาย ทางจิต ทางปัญญาและทางสังคมเชื่อมโยงกันเป็นองค์รวมอย่างสมดุล ซึ่งเป็นรากฐานที่ต้องทำให้เกิดกับผู้เรียน จึงจะให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้อย่างตามเต็มศักยภาพและเรียนรู้อย่างมีความสุข นอกจากนี้การพัฒนาผู้เรียนให้เกิดสุขภาวะต้องยึดหลักความเสมอภาค โดยเน้นลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อให้ผู้เรียนได้รับและเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเสมอภาคและทั่วถึง


3. พัฒนาสมรรถนะที่จำเป็นเพื่อใช้ในการดำรงชีวิต การแก้ปัญหา ในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน และการสร้างประโยชน์ต่อสังคม

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 3 doc

สมรรถนะ คือ การผสมผสานการใช้ความรู้ ทักษะ เจตคติ และคุณลักษณะ เกิดเป็นความสามารถมาประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้ การทำงาน การใช้ชีวิต และการแก้ปัญหาสถานการณ์ในชีวิตประจำวัน ดังนั้น สมรรถนะจึงเป็นสิ่งจำเป็นในการดำรงชีวิต และเมื่อใช้สมรรถนะ ในการบรรลุเป้าหมายในชีวิตส่วนตนได้ จึงจะสามารถประพฤติตนเป็นประโยชน์ต่อสังคม ตามทฤษฎี ระดับความต้องการของมาสโลว์


4. พัฒนาผู้เรียนให้รู้เท่าทันและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคมและความก้าวหน้าทางวิทยาการ

สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล บทที่ 3 doc

โลกในปัจจุบันมีความผันผวน (Volatility) ความไม่แน่นอน (Uncertainty) ความสลับซับซ้อน (Complexity) และความคลุมเครือ (Ambiguity) หรือที่เรียกว่า VUCA World จากการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วของสังคม เศรษฐกิจ สภาพแวดล้อมและเทคโนโลยี รวมทั้งการแข่งขันทั้งในระดับชาติและนานาชาติ ดังนั้นผู้เรียนจึงต้องรู้เท่าทันและสามารถปรับตัวเข้ากับการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวได้

โดยแนวทางในการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรฐานสมรรถนะ นั้น สามารถดำเนินการได้ 6 แนวทางอันได้แก่

แนวทางที่ 1 : ใช้งานเดิม เสริมสมรรถนะ

เป็นการสอนตามปกติที่สอดแทรกสมรรถนะที่สอดคล้องกับการบทเรียนนั้นเข้าไป และอาจปรับหรือสร้างสรรค์กิจกรรม ต่อยอด เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาสมรรถนะนั้น

แนวทางที่ 2 ใช้งานเดิม ต่อเติมสมรรถนะ

เป็นการสอนตามปกติที่สอดแทรกสมรรถนะ ที่สอดคล้องกับการบทเรียนนั้นเข้าไป และมีการเน้นสมรรถนะที่เกี่ยวข้องให้มากขึ้น ซึ่งจะช่วยให้ผู้เรียนใช้ความรู้ ทักษะได้จริงในสถานการณ์ที่หลากหลาย

แนวทางที่ 3 ใช้รูปแบบการเรียนรู้ สู่การพัฒนาสมรรถนะ

เป็นการสอนตามปกติที่มีการนำรูปแบบการเรียนรู้ที่ใช้เดิมมาวิเคราะห์เชื่อมโยงกับสมรรถนะที่สอดคล้องกับรูปแบบการเรียนรู้และบทเรียน ซึ่งช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ตามจุดประสงค์พร้อมๆกับการเกิดสมรรถนะ

แนวทางที่ 4 สมรรถนะเป็นฐาน ผสานตัวชี้วัด

เป็นการสอนโดยนำสมรรถนะและตัวชี้วัดที่สอดคล้องกันมาออกแบบการสอนร่วมกัน เพื่อให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งเนื้อหาสาระและทักษะตามตัวชี้วัดที่กำหนด พร้อม ๆ กับการพัฒนาสมรรถนะหลักที่จำเป็นต่อชีวิต

แนวทางที่ 5 บูรณาการผสานหลายสมรรถนะ

เป็นการสอนโดยนำสมรรถนะหลักทั้งสิบด้านเป็นตัวตั้ง แล้วออกแบบการสอนที่มีลักษณะเป็นหน่วยบูรณาการที่ช่วยให้เด็กได้เรียนรู้อย่างเป็นธรรมชาติ และเห็นความสัมพันธ์ระหว่างวิชา/กลุ่มสาระการเรียนรู้ต่าง ๆ

แนวทางที่ 6 สมรรถนะชีวิตในกิจวัตรประจำวัน

สมรรถนะชีวิตในกิจวัตรประจำวันเป็นการสร้างสรรค์การเรียนรู้อย่างสอดคล้องสัมพันธ์กับการดำเนินชีวิตประจำวันปกติของนักเรียน สอดคล้องกับกิจกรรมต่าง ๆ ที่มักเกิดในโรงเรียน นับเป็นการฝึกพัฒนาสมรรถนะนั้น ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง