ความหมายของสาราณียธรรม 6 คืออะไร

สาราณียธรรม 6

ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ที่เป็นพลังในการสร้างความสามัคคี


ความหมายของสาราณียธรรม 6 คืออะไร

สาราณียธรรม 6

                 สาราณียธรรม 6 หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ถือว่าเป็นธรรมที่เป็นพลังในการสร้าง ควาสามัคคี มีอยู่ 6 ข้อ คือ

               1. กายกรรม อันประกอบด้วยเมตตา คือ การกระทำทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา เช่นการให้การอนุเคราะห์ช่วยเหลือและเอื้อเฟื้อต่อผู้อื่น ไม่รังแกทำร้ายผู้อื่น

               2. วจีกรรม อันประกอบด้วยเมตตา คือ การมีวาจาที่ดี สุภาพ อ่อนหวาน พูดมีเหตุผล ไม่พูดให้ร้ายผู้อื่นทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน

              3. มโนกรรม อันประกอบด้วยเมตตา คือ ความคิดที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง เป็นการคิดดีต่อกันไม่คิดอิจฉาริษยาหรือไม่คิดมุ่งร้ายพยาบาท หากทุกคนคิดแล้วปฏิบัติเหมือนกันความสามัคคีก็จะเกิดขึ้นในสังคม

             4. สาธารณโภคี คือ การรู้จักแบ่งสิ่งของให้กันและกันตามโอกาสอันควร เพื่อแสดงความรักความหวังดีของผู้ที่อยู่ในสังคมเดียวกัน

             5. สีลสามัญญตา คือ ความรักใคร่สามัคคี รักษาศีลอย่างเคร่งครัดเหมาะสมตามสถานะของตนมีความประพฤติสุจริตปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ของหมู่คณะ ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น

           6. ทิฏฐิสามัญญตา คือ การมีความเห็นร่วมกัน ไม่เห็นแก่ตัว รู้จักเคารพและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นร่วมมือร่วมใจในการสร้างสรรค์สังคมให้เกิดความสงบ

           ธรรม 6 ประการ ที่ผู้ใดได้ประพฤติจะเกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกื้อกูลกันไม่ทะเลาะวิวาทกัน อันจะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีกันตลอดไป






เขียนโดย Unknown ที่01:16

ความหมายของสาราณียธรรม 6 คืออะไร

ส่งอีเมลข้อมูลนี้BlogThis!แชร์ไปที่ Twitterแชร์ไปที่ Facebookแชร์ใน Pinterest

1.  กายกรรม อันประกอบด้วยเมตตา คือ การกระทำทางกายที่ประกอบด้วยเมตตา เช่นการให้การอนุเคราะห์ช่วยเหลือ

2.  วจีกรรม  อันประกอบด้วยเมตตา คือ การมีวาจาที่ดี สุภาพ

3.  มโนกรรมอัน ประกอบด้วยเมตตา คือ ความคิดที่ประกอบด้วยเมตตาทั้งต่อหน้าและลับหลัง

4.  สาธารณโภคี คือ การรู้จักแบ่งสิ่งของให้กันและกันตามโอกาสอันควร

5.  สีลสามัญญตา คือ ความรักใคร่สามัคคี รักษาศีลอย่างเคร่งครัดเหมาะสม

6.  ทิฏฐิสามัญญตา คือ การมีความเห็นร่วมกัน ไม่เห็นแก่ตัว

     สาราณียธรรมทั้ง 6 ประการนี้ ทำประเทศผู้ประพฤติปฏิบัติดังกล่าวให้เป็นที่ระลึกนึกถึงของมิตรนานาประเทศ เป็นที่รักและที่เคารพนับถือของนานาประเทศเพื่อนบ้าน เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ซึ่งกัน (เอื้อเฟอเกื้อกูลต่อกัน) เป็นไปเพื่อความไม่ทะเลาะวิวาทหรือก่อให้เกิดปัญหาระหว่างประเทศ (มีความสามัคคีต่อกัน) เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงและเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของประชาคมโลก

Click to rate this post!

[Total: 2594 Average: 5]

ในหน้านี้

  • สาราณียธรรม
    • สาราณียธรรม 
    • สาราณียธรรม 6
    • สาราณียธรรม คือ
    • อุบาสก ธรรม 5
    • สาราณียธรรม 6 หมายถึง
    • อธิปไตย 3
    • สัทธรรม 3
    • พระสัทธรรม 3 ประการ
    • หลักธรรมเกี่ยวกับความสามัคคี

สาราณียธรรม

สาราณียธรรม 

          ธรรมะคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน เป็นคุณธรรมที่ทำให้คนเราไม่เห็นแก่ตัว แต่จะคิดถึงคนอื่น เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่ผู้อื่น เข้าใจคนอื่นมากขึ้น ระลึกถึงกัน ผูกพันเชื่อมโยงบุคคลไว้ด้วยน้ำใจ ความสามัคคีเป็นบ่อเกิดแห่งความสำเร็จทั้งปวง แหล่งพลังอันยิ่งใหญ่ที่จะสามารถสร้างสรรค์ความเจริญ ก้าวหน้าและความมั่นคงให้เกิดขึ้นได้ ซึ่งสมาชิกในสังคมทุกๆคน ควรที่จะตระหนัก เอาใจใส่ และร่วมกันสร้างสรรค์ขึ้นให้ได้มากที่สุด

ความหมายของสาราณียธรรม 6 คืออะไร

สาราณียธรรม 6

           หลักธรรมในการแก้ปัญหาความขัดแย้งของสังคมไทย 6 ประการ ที่จะสามารถนำไปใช้ได้อยู่ตลอดเวลา ในทางพระพุทธศาสนานั้น พระพุทธเจ้าได้ทรงตรัสหลักธรรมอันจะเป็นแนวทางในการเสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นในสังคมเอาไว้ 6 ประการด้วยกัน ซึ่งอยู่ในหมวดธรรมที่เรียกว่า “สาราณียธรรม 6” มีความหมายว่า หลักธรรมอันเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึงกัน ทำให้เป็นที่รัก ทำให้เป็นที่เคารพ เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์ซึ่งกันและกัน เพื่อความไม่วิวาทกัน ความสามัคคีกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันทั้งในที่ทำงาน ในสังคม และในชุมชน ตลอดจนในประเทศชาติ

สาราณียธรรม คือ

           เสริมสร้างความรู้สึกที่ดีให้เกิดขึ้นต่อกันและกันอยู่เสมอในยามที่ระลึกถึงกัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสามัคคีมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นด้วย เป็นในยามที่ระลึกถึงกัน ซึ่งจะเป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างความสามัคคี ความมีน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้สามารถเกิดขึ้นได้ด้วย หากสังคมใดต้องการที่จะเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้น

          ต้องควรที่จะต้องนำเอาหลักธรรมทั้ง 6 ประการ คือ เมตตากายกรรม, เมตตาวจีกรรม, เมตตามโนกรรม,สาธารณโภคี, สีลสามัญญตา, ทิฏฐิสามัญญตา

          ให้นำหลักธรรมทั้ง 6 ประการไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันอยู่เสมอๆ หากสังคมใดต้องการที่จะเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วอย่างเป็นรูปธรรม จึงต้องนำเอาหลักธรรมธรรมไปใช้ ประกอบด้วย

  1. เมตตากายกรรม หมายถึง การกระทำต่อกันด้วยเมตตา
  2. เมตตาวจีกรรม หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี
  3. เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง จะคิดสิ่งใดก็ให้คิดในสิ่งที่ดี และคิดด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น
  4. สาธารณโภคี หมายถึง การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม
  5. ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึง ความเสมอภาคกันทางความคิด และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

ความหมายของสาราณียธรรม 6 คืออะไร

เมตตากายกรรม หมายถึง การกระทำต่อกันด้วยเมตตา

               ทำสิ่งใดก็ทำด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น เช่น การแสดงไมตรีจิต และหวังดีต่อมิตรสหาย เพื่อนร่วมงาน บุคคลรอบข้าง โดยช่วยเหลือในเรื่องต่างๆ ด้วยความเต็มอกเต็มใจ พร้อมกับประพฤติตนอย่างสุภาพ สม่ำเสมอ ให้ความเคารพ และจริงใจต่อผู้อื่นแม้ในยามหน้า และลับหลัง 

               การทำความดีต่อกัน สนับสนุนช่วยเหลือกันทางด้านกำลังกายมีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนหรือรังแกกัน ไม่ทำร้ายกัน  ไม่คิดอคติลำเอียง ก่อความพยาบาท สร้างความโกรธแค้นเคืองกัน ไม่มีความอิจฉาริษยา

               การตั้งกายกรรมประกอบด้วย เมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง จะทำแต่ในสิ่งที่เป็นความดีต่อกัน ช่วยเหลือส่งเสริมกันด้านกำลังกาย มีความอ่อนน้อมถ่อมตน รู้จักสัมมาคารวะ ไม่เบียดเบียนรังแกกัน ไม่ทำร้ายให้ได้รับความทุกขเวทนา ทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อกัน มีความเสียสละต่อผู้อื่น ช่วยเหลือขวนขวายการงานในสิ่งที่ตนเองสามารถกระทำได้ มีน้ำใจช่วยเหลือผู้อื่น รู้จักปกป้องช่วยเหลือบุคคลอื่นเมื่อประสบภัย จะดำรงตนอยู่ในศีลธรรมสำรวมระวังในอกุศลกรรมความไม่ดีทางกาย และไม่ใช้กำลังเบียดเบียนผู้อื่นให้ได้รับความทุกข์เดือดร้อนไม่ว่าด้วยวิธีการใดๆก็ตาม ให้ได้รับความทุกขเวทนา ทำแต่ในสิ่งที่ถูกต้องต่อกันอยู่ตลอดเวลา     

เมตตาวจีกรรม หมายถึง การพูดแต่สิ่งที่ดีงาม พูดกันด้วยความรักความปรารถนาดี

            รู้จักการพูดให้กำลังใจกันและกัน ในยามที่มีใครต้องพบกับความทุกข์ความผิดหวังหรือความเศร้าหมองต่างๆ โดยที่ไม่พูดจาซ้ำเติมกันในยามที่มีใครต้องหกล้มลง ไม่นินทาว่าร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลังพูดแนะนำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ พูดอย่างใดก็ทำอย่างนั้น ไม่โกหกมดเท็จ   จะพูดอะไรก็พูดด้วยความปรารถนาดีต่อกัน เช่น การให้ความรู้ หรือคำแนะนำที่ดีต่อผู้อื่น กล่าววาจาสุภาพ พูดจริง ไม่พูดเพื่อผลประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นแก่ตนเองฝ่ายเดียว

            การตั้งวจีกรรมประกอบด้วยเมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง เลือกใช้คำพูดที่ออกมาแต่คำพูดที่ดีงาม ด้วยความรักปรารถนาดี ต้องพูดให้กำลังใจซึ่งกันและกัน ในยามที่ต้องพบกับความทุกข์หรือความผิดหวังหรือความเศร้าหมอง ไม่พูดจาซ้ำเติมหรือถากถางกันในยามที่มีใคร โดยเฉพาะคู่อริ ฝ่ายตรงข้ามต้องหกล้ม ไม่นินทาว่าร้ายทั้งต่อหน้าและลับหลัง ให้คำแนะนำในสิ่งที่ดีและมีประโยชน์ พูดด้วยความจริงใจต่อบุคคลอื่น ไม่พูดส่อเสียดบุคคลอื่นให้เกิดความเจ็บช้ำน้ำใจ ไม่ดูถูกคนที่ด้อยกว่าตนเองและไม่พูดให้คนอื่นเกิดความเข้าใจผิดจนทะเลาะกัน พูดแต่สิ่งที่เป็นประโยชน์อย่างเดียวเท่านั้น                              

เมตตามโนกรรม คิดต่อกันด้วยเมตตา หมายถึง จะคิดสิ่งใดก็ให้คิดในสิ่งที่ดี และคิดด้วยความปรารถนาดีต่อผู้อื่น

เช่น ตั้งจิตปรารถนาที่จะทำคุณงามความดี คิดมั่นในการสร้างบุญกุศล และมีจิตเมตตาช่วยเหลือผู้อื่นด้วยความหวังดี

               การคิดดี การมองกันในแง่ดีมีความหวังดีและปรารถนาดีต่อกัน รักและเมตตาต่อกันคิดแต่ในสิ่งที่สร้างสรรค์ต่อกัน ไม่อิจฉาริษยา ไม่คิดอคติ ไม่พยาบาท ไม่โกรธแค้นเคืองกัน รู้จักให้โอกาสและให้อภัยต่อกันและกันอยู่เสมอ                                                                                  

             การตั้งมโนกรรมประกอบด้วยเมตตา ทั้งต่อหน้าและลับหลัง หมายถึง ความรู้สึกในจิตใจที่มีแต่ความคิดดีๆ การมองกันในเรื่องดี มีความหวังดี ปรารถนาดี รักและเมตตาต่อกัน คิดในสิ่งที่สร้างสรรค์ มองด้านบวกต่อกัน ให้โอกาสและให้อภัยต่อกันทุกเรื่องไม่ว่าจะหนักเบาแค่ไหน ความคิดปรารถนาให้ผู้อื่นเป็นสุขและเข้าใจผู้อื่น ไม่เอาความรู้สึกนึกคิดของตนเป็นใหญ่ มีน้ำใจต่อบุคคลอื่น แสดงถึงความความอดทนอดกลั้นต่อความอาฆาตมาดร้ายบุคคลอื่นที่มีต่อตนเอง

สาธารณโภคี หมายถึง การรู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม

               ช่วยเหลือกัน ไม่เห็นแก่ตัว ไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่เอารัดเอาเปรียบและมีความเสมอภาคต่อกัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันอยู่เสมอ  แบ่งปันสิ่งที่ได้มาโดยชอบธรรม แบ่งปันลาภผลที่ร่วมกัน หาร่วมกันทำโดยยุติธรรมแม้สิ่งของที่ได้มาจะน้อย แต่ก็แจกจ่ายให้ได้มีส่วนร่วมใช้สอยบริโภคทั่วถึงกันนั้น คือ การร่วมสุข ร่วมทุกข์กัน

          การแบ่งปันลาภที่ได้มา รู้จักแบ่งปันผลประโยชน์กันด้วยความยุติธรรม ไม่เอารัดเอาเปรียบกันช่วยเหลือกัน และมีความเสมอภาคต่อกัน เอื้อเฟื้อซึ่งกันและกันอยู่เสมอ รู้จักแบ่งปัน บริจาคช่วยเหลือผู้ยากไร้ผู้ด้อยโอกาสในสังคม เสียสละประโยชน์ส่วนตนเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เพื่อความผาสุกของคนหมู่มากในประเทศ

สีลสามัญญตา หมายถึง การปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับหรือวินัยต่างๆ อย่างเดียวกัน

               เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคลไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่อ้างอำนาจบาตรใหญ่ ไม่ถืออภิสิทธิ์ใดๆทั้งปวง  มีความประพฤติเสมอภาคกัน หมายถึง ประพฤติสุจริตในสิ่งที่ดีงามอย่างสม่ำเสมอ ประพฤติตนอย่างมีระเบียบวินัยเหมือนผู้อื่น ไม่ประพฤติตนในทางแตกแยกจนเป็นที่ขัดข้องหมองใจต่อผู้อื่นหรือเสื่อมเสียแก่หมู่คณะ

               การมีศีลบริสุทธิ์เสมอกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง การปฏิบัติตามกฎระเบียบข้อบังคับหรือวินัยต่างๆ อย่างเดียวกันอย่างเคร่งครัด เคารพในสิทธิเสรีภาพของบุคคล ไม่ก้าวก่ายหน้าที่กัน ไม่อ้างอำนาจของตนข่มเหงรังแกผู้อื่น ไม่ถืออภิสิทธิ์ ทั้งปวง มีความเคารพต่อกฎหมาย ระเบียบวินัย มีความเกรงอกเกรงใจและให้เกียรติต่อกัน ไม่ทำกระทำการล่วงละเมิดสิทธิอันเป็นของผู้อื่นไม่ว่าจะเป็นเรื่องใดๆ ก็ตาม

ทิฏฐิสามัญญตา หมายถึง ความเสมอภาคกันทางความคิด และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

               คิดในสิ่งที่ตรงกัน ปรับมุมมองให้ตรงกัน รู้จักแสงหาจุดร่วมและสงวนไว้ซึ่งจุดต่างของกันและกันไม่ยึดถือความคิดของตนเป็นใหญ่ รู้จักยอมรับฟังความคิดเห็นของคนอื่นอยู่เสมอ การปรับความคิดความเห็นให้มีเหตุมีผลถูกต้องเหมือนกับผู้อื่น และหมู่คณะภายใต้เหตุ และผลในทางที่ดีงาม พร้อมกับเคารพเหตุผล ยึดหลักความดีงามเป็นอุดมคติมีความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกันอย่างสม่ำเสมอ

               การมีความเห็นถูกต้องดีงามทั้งต่อหน้าและลับหลัง ความคิดเห็นเป็นอย่างเดียวกัน คิดในสิ่งที่ตรงกัน ยอมรับในเหตุผล พูดจาหาข้อสรุปตรงกัน รู้จักแสงหาจุดร่วมและสงวนจุดต่างไม่ถือเอาความคิดของตนเป็นใหญ่แต่เพียงฝ่ายเดียว ยอมรับฟังความคิดของผู้อื่นที่เป็นประโยชน์ต่อบ้านเมืองจะทำอะไรก็ควรปรึกษาหารือผู้ที่อยู่ร่วมกันใช้เหตุและผลร่วมกันเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมอย่างแท้จริง

อุบาสก ธรรม 5

           ธรรมของอุบาสกที่ดี สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกอย่างเยี่ยม สมบัติหรือองค์คุณของอุบาสกและอุบาสิกาอย่างเยี่ยม มี 5 ข้อ ดังนี้

  1. มีศรัทธา เป็นเบื้องต้น
  2. มีศีล อย่างน้อยตั้งตนอยู่ในศีล 5
  3. เชื่อกรรม ไม่ถือมงคลตื่นข่าว
  4. ไม่แสวงบุญนอกพระพุทธศาสนา
  5. กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้ เป็นเบื้องต้น

1.มีศรัทธา เป็นเบื้องต้น

        คือ มีความเชื่อ มีความมั่นใจในพระรัตนตรัย ความเชื่อของเรานี้ต้องเป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา ไม่ศรัทธางมงาย เชื่อว่าทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น

2.มีศีล อย่างน้อยตั้งตนอยู่ในศีล 5

       จะทำให้มีชีวิตที่ดีงาม เป็นฐานสำหรับตนเองที่จะก้าวไปสู่การปฏิบัติเบื้องสูง เพราะว่าผู้ถือศีล ๕ เป็นผู้ไม่เบียดเบียนคนอื่น แต่ดำรงชีวิตที่สุจริต

3.เชื่อกรรม ไม่ถือมงคลตื่นข่าว

      ต้องมุ่งหวังผลจากการกระทำและการงานที่ทำที่เป็นไปตามหลักคำสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มิใช่หวังผลจากหมอดู โชคลางและตื่นข่าว เชื่อถือต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของขลังทั้งหลาย ไม่นับถือการทรงเจ้าเข้าผี ไม่นับถือเทพเจ้าว่า เป็นที่พึ่งอันสูงสุด เป็นต้น

4.ไม่แสวงบุญนอกพระพุทธศาสนา

     ไม่เที่ยวแสวงบุญโดยเข้าร่วมพิธีกรรมในศาสนาอื่นด้วยความเต็มใจ เพราะคิดว่าจะได้บุญ ทั้งไม่กราบไหว้รูปเคารพของศาสนาอื่น แต่ก็ต้องไม่ล่วงเกินไม่วิจารณ์วัตถุอันเป็นที่เคารพของลัทธิศาสนาอื่นด้วย ตลอดชีวิตต้องขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา

5.กระทำความสนับสนุนในพระศาสนานี้ เป็นเบื้องต้น

      ขวนขวายในการอุปถัมภ์บำรุงพระพุทธศาสนา หมายความว่าทำการขวนขวาย ทะนุบำรุงอุปถัมภ์พระสงฆ์ และกิจการพระพุทธศาสนาที่จะทำให้พระธรรมวินัยเจริญมั่นคง

      ธรรมะ 5  ประการนี้ ในบาลีมีที่มาที่เรียกว่า ธรรมของอุบาสกรัตน์ ถ้าท่านผู้ใดปฏิบัติได้ครบ 5 ข้อนี้ พระพุทธเจ้าตรัสเรียกว่า เป็นอุบาสกรัตนะ และอุบาสิการัตนะ นั้นคือ การเป็น “อุบาสกแก้ว” หรือ อุบาสกปทุม อุบาสกดอกบัวคือ มีคุณค่าสูง ดีงาม ประเสริฐ

สาราณียธรรม 6 หมายถึง

        หลักธรรมทั้ง 6 ประการข้างต้น เป็นหลักธรรมสำหรับการเสริมสร้างความสามัคคีและความเป็นปึกแผ่นให้เกิดขึ้นในสังคมอันจะนำมาซึ่งความสุข ความสันติความมั่นคงและความเจริญก้าวหน้าทั้งทั้งหลายทั้งปวง   สังคมที่เราอยู่ในปัจจุบันนี้คงจะมีความสงบสุขและน่าอยู่มากกว่านี้ยิ่งนัก

         ถ้าหากว่าคนไทยทุกคน เรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกันอย่างสันติเข้าอกเข้าใจซึ่งกันและกัน ยอมรับในความแตกต่างซึ่งกันและกัน ช่วยเหลือกันให้กำลังใจซึ่งกันและกัน และรู้จักการให้อภัยกันอยู่ตลอดเวลา ขอให้ทุกท่านมาร่วมมือกันพัฒนาสังคมของพวกเราให้มีความอบอุ่นและน่าอยู่ โดยการเสริมสร้างความสามัคคีเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันให้เกิดขึ้นในสังคม จะได้พบกับสันติภาพและความอบอุ่นที่แต่ละคนต่างก็ปรารถนาและใฝ่ฝันหากันอยู่ตลอดมา นอกจากนี้ยังมีหลักธรรม   อธิปไตย 3 ประการ

ความหมายของสาราณียธรรม 6 คืออะไร

อธิปไตย 3

        อธิปไตย 3 ประการ หมายถึง ต้นแบบของการปกครอง ความเป็นใหญ่ อันเป็นสิทธิ์หรืออำนาจในตัวบุคคลที่จะนำมาใช้ในการดำรงชีวิต ทั้งในลักษณะของการเป็นผู้นำ ผู้ปกครอง และผู้ปฎิบัติ อันจะทำให้สังคมเจริญ และเกิดความสงบสุข

         เป็นคำสอนของทางพระพุทธศาสนาที่ให้สติต่อผู้ที่เป็นผู้นำอย่างดี เพราะความเป็นใหญ่นี้ให้แก่ผู้นำ อาทิ นักการเมืองหรือตัวแทนเข้าไปใช้ในการบริหารแทนตน โดยมีเป้าหมาย คือ ให้ประเทศชาติมีความสงบสุข และสังคมเกิดความร่มเย็น โดยหลักการซึ่งกำหนดหน้าที่ของผู้ปกครอง และผู้ถูกปกครองที่ดี ปรากฏอยู่ในอธิปเตยยสูตร หรือเรียก อธิปไตย 3

1.อัตตาธิปไตย หมายถึง ความมีตนเป็นใหญ่

       การปรารภตนเองเป็นใหญ่ หรือ การถือตนเป็นใหญ่ กระทำการโดยยึดความคิดเห็นของตนเองเป็นที่ตั้ง ซึ่งเปรียบได้กับเผด็จการ ในอำนาจ 3 ทาง

  • อำนาจบริหาร
  • อำนาจตุลาการ
  • อำนาจนิติบัญญัติ
ลักษณะผู้ไม่มีอัตตาธิปไตยที่ดี
    • การเชื่อมั่นในตนเองมากเกินไป
    • สำคัญผิดในแนวคิดของตนเอง
    • ไม่รับฟังความคิดเห็นของคนอื่น
    • มุ่งหวังแต่ประโยชน์ส่วนตนมากกว่าสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม
    • หวังแต่ผลประโยชน์จากผู้อื่นเป็นหลักสำคัญ

2.โลกาธิปไตย หมายถึง ความมีโลกเป็นใหญ่

       ปรารภโลภเป็นใหญ่ หรือ การถือโลกเป็นใหญ่ กระทำการโดยยึดถือกระแสของโลกเป็นประมาณ ซึ่งเปรียบได้กับประชาธิปไตย

ลักษณะผู้ไม่มีโลกาธิปไตยที่ดี

    • เชื่อข่าวสารหรือผู้อื่นอย่างไร้เหตุผลที่มาและที่ไป
    • ขาดความรู้ ขาดประสบการณ์เรื่องประชาธิปไตย
    • หลอกลวงเพื่อหวังประโยชน์จากส่วนรวม
    • ลุ่มหลงหรืองมงายง่ายๆ
    • หลงใหลในวัตถุหรือค่านิยมที่ผิดๆ

3.ธรรมาธิปไตย หมายถึง ความมีธรรมเป็นใหญ่

       ปรารภธรรมเป็นใหญ่ หรือ การถือธรรมคือความถูกต้องเป็นใหญ่ กระทำการโดยยึดความถูกต้องเป็นหลัก ซึ่งเป็นแนวทางที่ผู้ปกครองทั้งในระบอบเผด็จการ และประชาธิปไตยจะต้องยึดถือ โดยที่ผู้ปกครองในระบอบเผด็จการจะต้องมีสติคอยกำกับ การคิด การพูด และการทำตลอดเวลา เพื่อไม่ให้เหลิงและหลงในอำนาจนั้น

ลักษณะผู้ไม่มีเป็นธรรมาธิปไตยที่ดี

    • ไม่ยึดมั่นในหลักธรรมความดีงาม
    • ไม่ยึดหลักเหตุผลประกอบการพิจารณา
    • ขาดการใช้สติปัญญาสำหรับการไตร่ตรองและพิจารณา
    • ขาดความรู้ในหลักธรรมการบริหารและการทำงาน
    • เชื่อ และศรัทธาในศาสนาที่ไร้เหตุผล

          หากนำเพียงแบบใดแบบหนึ่งย่อมส่งผลดี และผลเสียควบคู่กัน แต่หากนำลักษณะหรือหลักการบางอย่างมารวม ประยุกต์กันเพื่อให้ได้หลักในการปกครอง สำหรับข้อปฏิบัติร่วมกัน ก็ย่อมส่งผลดี และเกิดประสิทธิภาพในการปกครองหรือการใช้ชีวิตได้มากกว่า แนวทางนี้ เรียกว่า “ทางสายกลางแห่งอธิปไตย 3”นั้นคือ

  • รู้จักใช้ปัญญาพิจารณา
  • มีความเด็ดขาด และเชื่อมั่นในตนเอง
  • รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
  • รู้จักตามทันข่าวสาร และเหตุการณ์ของโลก
  • ไม่เชื่อข่าวสารหรือผู้อื่นโดยง่าย และเชื่ออย่างมีเหตุมีผล
  • ใช้หลักธรรมเป็นพื้นฐานประกอบการพิจารณาตัดสินใจ
  • ปฏิบัติตามกฎ ศีลธรรม และประเพณีอันดีงามของสังคม
  • มั่นศึกษาหาความรู้อยู่เป็นนิจ

ความหมายของสาราณียธรรม 6 คืออะไร

สัทธรรม 3

           สัทธรรม 3 ประการ หมายถึง ธรรมอันเที่ยงแท้ ธรรมของสัตบุรุษ ธรรมอันดี ธรรมที่แท้ ธรรมของคนดีธรรมที่ดีเลิศ ธรรมเหล่านี้ เป็นคำสอนที่เที่ยงแท้ของพระพุทธเจ้าที่เป็นหลักหรือแก่นของพระพุทธศาสนา ซึ่งมีความสำคัญต่อการดำรงอยู่ของพระพุทธศาสนา ตราบใดที่พระสัทธรรมยังดำรงอยู่ พระพุทธศาสนาก็ยังคงดำรงอยู่และถือเป็นแก่นพุทธศาสนา 3 ประการที่ถูกต้อง

         พระพุทธพจน์หรือคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้าที่พระองค์ทรงได้ทรงเทศนา และได้บัญญัติไว้ในพระธรรม และพระวินัย เพื่อให้เป็นแนวทาง และหลักปฏิบัติของภิกษุ ภิกษุณี และคฤหัสถ์ทั้งหลาย อันเพื่อให้สาวกทั้งหลายเข้าใจในหลักแก่นแท้ของพระธรรม อันนำไปสู่การปฏิบัติ และยังผลให้เกิดขึ้นด้วยความสุข และการพ้นทุกข์

พระสัทธรรม 3 ประการ

1.ปริยัตติสัทธรรม หมายถึง คำสั่งสอนจะต้องเล่าเรียน

          พุทธพจน์ พระธรรม และพระวินัย รวมถึงเอกสารต่างๆที่เกี่ยวข้อง อาทิ พุทธประวัติ ประวัติพุทธสาวกต่างๆ หลักวิปัสสนากรรมฐาน และสมถกรรมฐาน เป็นต้น

พระธรรมคำสอนในส่วนที่จะต้องเล่าเรียน ได้แก่ นวังคสัตถุศาสน์ อันประกอบด้วย
    • สุตตะ ได้แก่ พระสูตรต่าง ๆ และพระวินัย
    • เคยยะ ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาผสม
    • เวยยากรณะ ได้แก่ ข้อความร้อยแก้วล้วน ๆ เช่น พระอภิธรรมปิฎก
    • คาถา ได้แก่ ข้อความร้อยกรองที่เป็นคาถาล้วน ๆ เช่น คาถาธรรมบท เถรคาถา
    • อุทาน ได้แก่ ข้อความที่เป็นพุทธอุทาน
    • อิติวุตตกะ ได้แก่ ข้อความที่ตรัสอุเทศแล้วแสดงนิเทศจบลงด้วยบทสรุป
    • ชาตกะ ได้แก่ ชาดกทั้งหมด
    • อัพภูตธรรม ได้แก่ พระสูตรว่าด้วยเรื่องอัศจรรย์
    • เวทัลละ ได้แก่ ข้อความถามตอบกันไปมา

การได้ศึกษาเล่าเรียน ทั้งในหลักทฤษฎีหรือหลักการต่างๆในพระธรรมคำสอนจนเข้าใจเพื่อเป็นพื้นฐานต่อไปแห่งการปฏิบัติ อันเป็นพระปริยัติสัทธรรม

2.ปฏิปัตติสัทธรรม หมายถึง ปฏิปทาอันจะต้องปฏิบัติ

                ที่เรียกว่า “อัฏฐังคิกมรรค” หรือ “อริยมรรคมีองค์ 8” คือ ไตรสิกขา อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา การนำเอาปริยัตติสัทธรรมที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมาแล้วนั้น มาปฏิบัติให้ถูกต้องตามที่ได้ศึกษาเล่าเรียนมา เพื่อให้เกิดผลคือปฏิเวธสัทธรรม

อริยมรรคมีองค์ 8
    • สัมมาทิฏฐิ คือ ความเห็นถูก, ความเห็นชอบ
    • สัมมาสังกัปปะ คือ ความดำริชอบ
    • สัมมาวาจา คือ แสดงออกทางวาจา พูดชอบถูกธรรม พูดมีประโยชน์ ก่อให้สามัคคี
    • สัมมากัมมันตะ คือ การงานชอบ ทำถูก
    • สัมมาอาชีวะ คือ การเลี้ยงชีพชอบ
    • สัมมาวายามะ คือ ความเพียรชอบ ป้องกันอกุศลที่ยังไม่เกิด ละอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว
    • สัมมาสติ คือ การระลึกชอบ ระลึกรู้อยู่กับปัจจุบัน รู้ทั่วตัว ตามสติปัฏฐาน4 กาย เวทนา จิต ธรรม
    • สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งมั่นชอบ ฝึกจิตให้สงบ มั่นคงในฌาน จิตสงบ มีองค์ความรู้ถูกต้อง
โดยย่ออริยมรรค 8 คือ ไตรสิกขา 3 อันประกอบด้วย ศีล สมาธิ ปัญญา
    • ศีลก็คือ สัมมาวาจา สัมมากัมมันตะ สัมมาอาชีวะ
    • สมาธิ คือ สัมมาวายามะ สัมมมาสติ สัมมาสมาธิ
    • ปัญญา คือ สัมมาทิฏฐิ และ สัมมาสังกัปปะ

การลงมือปฏิบัติ โดยการนำพื้นฐานที่ได้จากการศึกษาเล่าเรียนนั้น มาใช้กับการปฏิบัติจริงตามแนวทา หลักสำคัญที่เรียกว่า หัวใจพุทธศาสนา คือ ศีล สมาธิ และปัญญา

3.ปฏิเวธสัทธรรม หมายถึง ผลอันจะพึงเข้าถึงหรือบรรลุด้วยการปฏิบัติ

         ผลอันเกิดขึ้นด้วยการปฏิบัติ คือ การเข้าถึง หรือ การบรรลุ ประกอบด้วย มรรค ผล และนิพพาน ได้แก่ ผลที่เกิดจากปฏิปัตติสัทธรรมคือการปฏิบัติ อันได้แก่ โลกุตตรธรรม 9 คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ซึ่งเป็นผลหรือเป้าหมายอันมุ่งหวังสูงสุดของพระพุทธศาสนา ปฏิเวธสัทธรรมนี้ หรือ “อธิคมสัทธรรม”

โลกุตตรธรรม 9 คือ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1 ประกอบด้วย

    1. โสดาปัตติมรรค
    2. โสดาปัตติผล
    3. สกทาคามิมรรค
    4. สกทาคามิผล
    5. อนาคามิมรรค
    6. อนาคามิผล
    7. อรหัตตมรรค
    8. อรหัตตผล
    9. นิพพาน

         ผลแห่งการปฏิบัติอันเป็นเป้าหมายปลายทางแห่งการปฏิบัติที่ทำให้เกิดความเข้าใจแจ่มแจ้ง คือ การบรรลุ อันประกอบด้วยขั้นต่างๆ คือ มรรค ผล และนิพพาน ซึ่งขึ้นอยู่กับสติปัญญาของผู้นั้นที่จะรู้แจ้งในขั้นใด ทั้งนี้ ผลที่เกิดขึ้นอาจเกิดผลปรากฏในระยะสั้น เช่น ภพนี้บรรลุได้เพียงมรรค หรือผลระยะยาว เช่น เมื่อบรรลุมรรคสะสมในหลายภพชาติจนสามารถบรรลุผล และนิพพานในภพนี้

หลักธรรมเกี่ยวกับความสามัคคี

            สาราณียธรรม เป็นหลักธรรมแห่งความรัก ความสามัคคี ความปรองดองเป็นหนึ่งเดียวกัน มาปรับใช้ สำหรับผู้ใดที่ได้ประพฤติปฎิบัติ ให้เกิดความสามัคคีเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เกื้อกูลต่อกันไม่ทะเลาะวิวาทกัน อันจะเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความรักความสามัคคีกันตลอดไป ไม่ว่าอยู่ในสถานใดก็ขึ้นชื่อว่า “อยู่ให้เขารัก จากให้เขาคิดถึง” อันหมายถึงคติธรรมที่ สาราณียธรรม 6 สรุปให้เข้าใจง่ายๆ คือ ต้องประกอบด้วย

  • “สาธารณโภคี” คือ การกระจายผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน โดยไม่เลือกปฏิบัติ ซึ่งหากทำได้ ประชาชนจะเกิดความรักความสามัคคีและหวงแหนร่วมกันปกป้องพิทักษ์คุ้มครองผลประโยชน์ของส่วนรวม และเป็นแนวทางการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นด้วย
  • “สีลสามัญญตา” คือ การรักษาศีลเสมอกัน ทุกคนในสังคมควรเริ่มจากการรักษาศีล 5 และปฏิบัติตามกฎระเบียบของสังคมอย่างเคร่งครัดและเท่าเทียมกันภายใต้กฏหมาย ผู้ใดทำผิดก็ต้องได้รับโทษ สังคมจึงจะมีความสงบสุข
  • “ทิฏฐิสามัญญตา” คือ การปรับความเห็นให้เสมอกัน โดยไม่ยึดความเห็นส่วนตนเป็นหลัก แต่ใจกว้างรับฟังความคิดเห็นจากทุกฝ่าย
  • “เมตตามโนกรรม” คือ การคิดถึงกันด้วยความรัก คิดถึงส่วนดีของกันและกัน
  • “เมตตาวจีกรรม” คือ การพูดจาด้วยถ้อยคำดีๆ ไม่ซ้ำเติมกัน
  • “เมตตากายกรรม” คือ การแสดงออกทางกายด้วยการงดเว้นการทำร้าย ไม่ใช้ความรุนแรง ไม่เบียดเบียนสร้างความทุกข์ให้คนอื่น เอาใจเขามาใส่ใจเรา และเกื้อกูลช่วยเหลือซึ่งกันและกัน

              สามัคคี คือพลัง กับหลักธรรม “สาราณียธรรม 6” สามารถนำพาให้มนุษย์ทุกๆคนได้อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข  ถ้าทุกคนยึดหลักการประพฤติปฏิบัติตามหลัก สาราณียธรรม6 สังคมไทยจะน่าอยู่ขึ้นมากกว่าเดิมอย่างแน่นอน สามารถเริ่มต้นได้อย่างง่ายๆ จากตนเอง ครอบครัว ชุมชม สังคมขนาดเล็กๆ ปฏิบัติตามหลักสาธารณียธรรม6 กัน ตั้งแต่วันนี้สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงที่เจริญเติบโตมากขึ้นในสังคมของประทศไทยได้อย่างยั่งยืนและตลอดไป

คำค้น : 6 คือ ๖ ข้อใดไม่ใช่ความหมายของหลักธรรม ความหมายของหลักธรรม 6 เน้นการสร้างคุณสำคัญหลายประการ ยกเว้นข้อใด 6 ใน พระ ไตรปิฎก 7 6 ข่าว

หลักสาราณียธรรม6 มีอะไรบ้าง

สาราณียธรรม หมายถึง ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความระลึกถึง เป็นเหตุให้ระลึกถึงกัน ท าให้มีความ เคารพกัน ช่วยเหลือกัน และสามัคคีพร้อมเพรียงกัน มี6 อย่าง ได้แก่เมตตากายกรรม เมตตาวจีกรรม เมตตามโนกรรม สาธารณโภคี สีลสามัญญตา ทิฏฐิสามัญญตา สารานียธรรมทั้ง 6 ข้อ เสมือนบัญญัติ6 ประการเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข สงบสุข และทาให้ ...

ข้อใดคือแก่นของสาราณียธรรม 6

หลักสาราณียธรรม 6 กับการบริหารจัดการวัดของพระสังฆาธิการ 1. เมตตากายกรรม คือ การแสดงออกซึ่งความเป็นมิตรทางกาย 2. เมตตาวจีกรรม คือ มีการกระทำทางวาจาที่แสดงออกถึงความปรารถนาดีต่อกัน 3. เมตตามโนกรรม คือ มีจิตใจปรารถนาดีกับมิตรประเทศ ปราศจากอกุศลจิต ไม่หวาดระแวง 4. สาธารณโภคี คือ การจัดสรรผลประประโยชน์ที่เหมาะสม

สาราณียธรรม 6 ข้อไหนสําคัญสุด

ส่วน 3 ประการหลัง เป็นการวางเงื่อนไขหรือกติกาในการอยู่ร่วมกัน โดยกำหนดให้ผู้ที่อยู่ร่วมกันต้องรู้จักการแบ่งปัน เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ และจะต้องมีความประพฤติอันดีงามเสมอภาคกัน และที่สำคัญที่สุดคือ จะต้องมีความคิดเห็นถูกต้อง และเป็นไปในแนวทางเดียวกันกับผู้อื่น

หลักสาราณียธรรม 6 เป็นหลักธรรมเพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขได้อย่างไร

สาราณียธรรม 6 เป็นหลักธรรมที่ทําให้เกิดความเคารพกัน เป็นไปเพื่อสงเคราะห์ ช่วยเหลือกัน เพื่อไม่ทะเลาะวิวาทโต้เถียงกัน เพื่อความพร้อมเพรียงเป็นอันเดียวกัน อันจะ นําไปสู่ความสามัคคีปรองดองในการทํางาน สังคมหรือประเทศชาติ เมื่อยึดหลักสาราณีย ธรรม คือ หลักธรรมแห่งความรัก และความสามัคคีปรองดอง คิดถึงส่วนดีของกันและกัน การ ...