คุณสมบัติในการประกอบอาชีพหมอ

     ผมว่าไม่น่าจะเหลือบ่ากว่าแรงที่หมออนามัย ผู้ให้การบำบัดรักษาผู้ป่วย หรือทีมสุขภาพ ซึ่งนอกจากแพทย์แล้ว ก็น่าจะต้องนำปฏิบัติให้ได้ อีกทั้งการปฏิบัติได้ตามนี้ย่อมจะส่งผลดีต่อตนเอง ชุมชน และสังคมครับ สำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมอ่านต่อได้ที่ สุดิพันธ์ดอทเน็ต ประเด็น คุณสมบัติของผู้เป็นหมอ

ข่าวที่เป็นประเด็นในช่วงนี้ คงหนีไม่พ้นข่าวของนักศึกษาแพทย์ที่สงสัยว่าใช้ความรู้ทางการแพทย์ในทางที่ผิด ทำร้ายสัตว์เพื่อขอรับเงินประกัน ในเมื่อหมอเป็นสาขาที่ไม่เพียงต้องการคนเก่ง แต่ต้องมีคุณสมบัติเหมาะสมจริงๆ เราเลยต้องย้อนกลับมาทบทวนการคัดเลือกคุณสมบัติของคนที่จะเรียนหมอกันใหม่

หมอจัดเป็นสาขาที่มีการแข่งขันสูง และคาดหวังบุคคลที่มีคุณลักษณะพิเศษเฉพาะด้าน พร้อมสละเวลาและความสามารถของตนเพื่อช่วยเหลือผู้อื่น การสอบได้คะแนนสูงๆ หรือเก่งเฉพาะวิชาการอย่างเดียวนั้นไม่พอ เด็กที่จะสมัครคณะแพทย์ต้องมีทักษะหรือส่วนประกอบอื่นๆ ที่ดีร่วมด้วย เพื่อให้มั่นใจว่าจะสามารถประกอบวิชาชีพนี้ได้ 

ในต่างประเทศการวัดแววความถนัดในสาชาอาชีพ เช่น UKCAT หรือ BMAT เป็นส่วนที่เด็กต้องสอบเพิ่มเติมเพื่อยื่นคะแนนเข้าพิจารณา และอีกส่วนที่มหาลัยให้ความสำคัญมากเช่นกัน คือ “การสัมภาษณ์” มหาลัยส่วนใหญ่จะจัดทีมนักจิตวิทยาเข้าสัมภาษณ์เด็ก อาจใช้การสัมภาษณ์แบบ MMI (Multiple Mini Interview) โดยแบ่งออกเป็นฐานและนำคะแนนของเด็กที่ตอบคำถามในแต่ละฐานมาจัดลำดับ เพื่อหาคนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพอย่างแท้จริงในการเรียนแพทย์แล้วทักษะแบบ ไหนบ้างที่ผู้สัมภาษณ์มองหาจากเด็ก 

1. ความเห็นอกเห็นใจ (Empathy)
หมอเป็นอาชีพที่ต้องเผชิญกับความเจ็บป่วย ความเข้าใจ ความเห็นอกเห็นใจ ไม่ว่าจะต่อผู้ป่วย ต่อคนในครอบครัว ต่อสัตว์เลี้ยง และต่อบุคคลอันเป็นที่รัก    

2. แรงบันดาลใจ (Motivation) 
เด็กต้องให้เหตุผลของการอยากเรียนหมอ แสดงออกถึงความสนใจที่มาจากตนเอง รวมถึงเป้าหมายและแรงบันดาลใจในการเลือกเรียนสาขานี้ 

3. การสื่อสาร (Communication)
ความสามารถทางการสื่อสาร การใช้ภาษาได้ถูกต้องและเหมาะสม การอธิบายที่ชัดเจนและเข้าใจง่าย รวมทั้งความสามารถในการรับฟัง

4. ความซื่อสัตย์ จริงใจ (Honesty and Integrity)
การมีศีลธรรมและความจริงใจต่อตนเองและผู้อื่นเป็นอีกส่วนที่สำคัญในการทำงานในทุกอาชีพ และสำคัญอย่างยิ่งสำหรับผู้เป็นหมอทุกคนในการตรวจคนไข้และวินิจฉัยอาการ แจ้งผล และแก้ปัญหาของโรคให้ดีที่สุด 

5. การรู้จักตนเอง (Personal Insight)   
เข้าใจตนเองและรับมือกับความเครียด รู้จักจัดสรรเวลา ตั้งเป้าหมาย มีความรับผิดชอบ ยืดหยุ่นในบางสถานการณ์ และควบคุมอารมณ์จากความกดดันและปัญหาต่างๆ ได้ สิ่งเหล่านี้คือการเห็นคุณค่าในตนเอง เป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฏิบัติงานได้ดียิ่งขึ้น

6. การทำงานร่วมกัน (Team Work) 
การทำงานร่วมกับผู้อื่น การทำงานเป็นทีม และการจ่ายงานให้เพื่อนร่วมทีมก็สำคัญพอๆ กัน อย่าลืมว่านอกจากวินิจฉัยโรคแล้ว การลงมือปฏิบัติงาน เช่น การผ่าตัด ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับคนในแผนกอื่นๆ ด้วย 

7. การคิดแก้ปัญหา (Problem Solving) 
การคิดวิเคราะห์และการแก้ปัญหา รวมถึงความสามรถในการตัดสินใจ การวินิจฉัยโรคต่างๆ เกิดจากการวิเคราะห์ตามอาการและข้อมูลประกอบกัน ทักษะในด้านนี้จึงสำคัญมาก

8. การยึดหลักจริยธรรม (Ethical Awareness)
จริยธรรมเกี่ยวข้องกับการทำงานของทุกคน ในส่วนของการเป็นหมอ จริยธรรมคือ การดำเนินงานรักษาโรค การตัดสินใจของหมอจึงสำคัญมาก เพราะเกี่ยวข้องกับชีวิตและการประพฤติปฏิบัติที่ควรเป็นไปตามความเหมาะสมของวิชาชีพ 

9. ความกระหายรู้ (Intellectual Curiosity)
สนใจขวนขวาย ไม่หยุดที่จะหาความรู้ ติดตามข่าวสารวงการแพทย์และงานวิจัยใหม่ๆ และพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ ไม่หยุดอยู่กับที่ ถึงแม้เด็กจะผ่านการสัมภาษณ์และได้รับเลือกให้เรียนแล้ว ทางมหาลัยในต่างประเทศยังมีชุดคำถามและการวัดระดับเพิ่มเติม เพื่อทดสอบว่าเด็กมีพฤติกรรมที่เหมาะสมสำหรับการเป็นหมอหรือไม่ และในระหว่างเรียนจะมีการพัฒนาเรื่องทักษะ (Skill) และทัศนคติ (Attitude) เพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง

เด็กที่มีความสนใจในการเรียนหมอ ขอแนะนำเรื่องของการฝึกงานในโรงพยาบาล หรือการเป็นอาสาสมัครจะช่วยให้เด็กเห็นรูปแบบการทำงานและการแก้ปัญหาที่หมอในชีวิตจริงต้องเจอ ไม่ใช่การรู้จักอาขีพหมอผ่านเพียงสื่อหรือการบอกต่อกันมา ในหลายๆ มหาลัยระดับโลกกำหนดให้เด็กต้องฝึกงานก่อนที่จะทำการสมัคร เพื่อยืนยันและแสดงความชัดเจนของตนเองในการเข้าเรียนหมอ การคัดเลือกคนที่จะเข้าเรียนหมอ จึงไม่ใช่แค่มีผลการเรียนดีเท่านั้น นิสัยและบุคลิกภาพที่เหมาะสมเป็นปัจจัยสำคัญกว่า การเป็นหมอที่ดีจึงเชื่อมโยงกับความรู้ความสามารถ ความคิด และทัศนคติ ที่เหมาะสมจะเป็นหมออย่างแท้จริง   

เตรียมพร้อมสู่การเป็นหมอ เข้มข้นด้านวิชาการ แฝงทัศนคติของวิชาชีพที่ดีในอนาคตที่ BMAT Cours ที่ Krutoo Homeschool  สอบถามเพิ่มเติม โทร. 095-9429714

สำหรับการเรียนแพทย์ ถือได้ว่าเป็นอีกหนึ่งสาขาวิชาที่มีความยากและโหดมากๆ เลยทีเดียว โดยนอกจากที่เราจะต้องมีความขยันและตั้งใจจริงๆ แล้ว เรายังต้องเป็นคนที่เก่ง สามารถตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย เพราะอย่าลืมนะว่า อาชีพแพทย์หรือหมอ เป็นอาชีพที่จะต้องดูแลชีวิตของคนป่วยให้มีอาการดีขึ้นหรือหายขาดจากโรคต่างๆ ดังนั้น ก่อนที่น้องๆ จะตัดสินใจเรียนต่อแพทย์ ควรที่จะดูก่อนว่าเรามีลักษณะนิสัยแบบนี้หรือเปล่า และนี่ก็คือ 6 ลักษณะนิสัยที่ดีของคนเป็นหมอ

ลักษณะนิสัยที่ดีของคนเป็นหมอ

1. มีความขยันอดทน

นอกจากคนที่เรียนแพทย์จะต้องเป็นคนเก่งและฉลาดแล้ว ยังจะต้องเป็นคนที่มีความขยันอดทนอีกด้วย เพราะอยากที่เรารู้กันอยู่แล้วว่า การเรียนแพทย์นั้นเป็นสิ่งที่ยากและต้องใช้ความพยายามเป็นอย่างมากเลยทีเดียว ด้วยเนื้อหาวิชาที่เรียนมีจำนวนมากและค่อนข้างยาก ดังนั้น จึงทำให้ต้องใช้เวลาในการเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งที่เรียนให้ดีที่สุด แถมยังจะต้องใช้ระยะเวลาในการเรียนนานถึง 6 ปีด้วยกัน น้องๆ คนไหนที่จะตัดสินใจเรียนต่อคณะแพทยศาสตร์ ก็ต้องคิดให้ดีเสียก่อนเลยว่า เราจะเรียนไหวไหมและมีความขยันอดทนพอหรือเปล่า

2. เป็นคนที่มีความรับผิดชอบสูง

ก่อนที่น้องๆ จะตัดสินใจเรียนต่อแพทย์นั้น จะต้องดูก่อนเลยว่าเราเป็นคนที่มีความรับผิดชอบมากแค่ไหนและพร้อมที่จะทุ่มเทเวลาให้กับคนไข้ได้หรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเรียนในชั้นปีสูงๆ ซึ่งเป็นการเรียนกึ่งฝึกงานไปด้วย ยิ่งจะต้องมีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมายมากขึ้นเรื่อยๆ เช่น การดูแลผู้ป่วย เพราะความรับผิดชอบของการเป็นแพทย์นั้น คือการตัดสินชีวิตของผู้ป่วยว่าเขาป่วยเป็นอะไร และจะต้องได้รับวิธีการรักษาแบบไหนถึงจะดีที่สุด เป็นต้น

3. ต้องเก่งภาษาอังกฤษ

สำหรับการเรียนต่อแพทย์ นอกจากที่น้องๆ จะต้องเก่งในวิชาต่างๆ และมีความรู้รอบตัวที่ดีแล้ว อีกหนึ่งวิชาที่ขาดไม่ได้เลยก็คือ ภาษาอังกฤษ เพราะการเรียนแพทย์ส่วนใหญ่เนื้อหาที่เราจะต้องเจอจะมีภาษาอังกฤษและมีคำศัพท์เฉพาะทางการแพทย์เป็นส่วนใหญ่ ดังนั้น ถ้าน้องๆ ไม่เก่งภาษาเลยก็จะทำให้เราเรียนได้ยากมากจากที่มีความยากอยู่แล้ว หรือถ้าเรารู้ตัวจริงๆ ว่าไม่เก่งภาษาเลย วิธีง่ายๆ ที่จะช่วยทำให้เรารู้จักคำศัพท์ภาษาอังกฤษมากยิ่งขึ้นก็คือ การฝึกท่องศัพท์ในทุกๆ วัน ซึ่งในตอนแรกเราอาจจะท่องแค่ 10 คำ หลังจากที่เราจำได้แล้ว เราก็เพิ่มเข้าไปอีก 10 คำ ทำต่อไปเรื่อยๆ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยทำให้เราจำคำศัพท์ได้ดียิ่งขึ้นแล้ว

คุณสมบัติในการประกอบอาชีพหมอ

4. พร้อมเรียนรู้อยู่เสมอ

อย่างที่เรารู้กันว่า การเรียนแพทย์นั้นแตกต่างจากการเรียนในคณะอื่นๆ ตรงที่เนื้อหาวิชาที่เรียนนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ตามความก้าวหน้าทางการแพทย์ในยุคปัจจุบันที่ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ส่งผลทำให้ความรู้ทางการแพทย์มีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อยๆ ทำให้การเรียนแพทย์ในระยะเวลา 6 ปี ไม่สามารถนำความรู้ที่ได้เรียนไปประกอบอาชีพได้ตลอดชีวิต ดังนั้น แพทย์จึงจะต้องมีการหมั่นหาความรู้เพิ่มเติมอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ตามทันความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่นำมาประยุกต์ใช้ในทางการแพทย์ และความรู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่ได้มีการพัฒนาให้มีความรุนแรงมากขึ้น

5. มีหลักจริยธรรม

สำหรับ หลักจริยธรรม เป็นสิ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับทุกคน ทุกสายงานอยู่แล้ว โดยในส่วนของการเป็นแพทย์นั้น จริยธรรมก็คือ วิธีการดำเนินการรักษาโรคให้กับผู้ป่วย การตัดสินใจของแพทย์จึงถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญมาก เพราะมีความเกี่ยวข้องกับชีวิตของผู้ป่วยและวิธีการรักษา ถ้าแพทย์คนไหนตัดสินใจผิดนั้นหมายถึงชีวิตของผู้ป่วยเลยที่อาจจะได้รับผลกระทบที่ไม่ดี

6. ต้องรู้จักทำงานเป็นทีม

เมื่อน้องๆ เรียนจบออกไปเป็นแพทย์จริงๆ แล้ว ใช่ว่าเราจะต้องทำงานคนเดียวตลอดเวลา เพราะการเป็นแพทย์ยังจะต้องทำงานร่วมกับผู้อื่นด้วย เช่น นอกจากที่เราจะทำการวินิจฉัยโรคของผู้ป่วยแล้ว เรายังจะต้องใส่จ่ายยาให้ทางเภสัชกรด้วย และยังมีเรื่องของการผ่าตัด ที่ต้องอาศัยการทำงานร่วมกันกับคนในแผนกอื่นๆ ซึ่งจะต้องคอยช่วยกันทำให้การผ่าตัดของคนไข้ผ่านพ้นไปได้ด้วยดี เป็นต้น