การสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพ 3ขั้นตอน

�·������������Ҩ���������������ҧ��������ѹ�������ҧ�ؤ�š�������� �պ���ҡ�Ȣͧ�������㨡ѹ �������㨡ѹ �¤�������ѹ��ͧ����������������� 2 ���������� ��������ѹ���ҹ����Ҿ(Physical Relationship) �蹡�����������㹾�鹷�����ǡѹ ��������ǡѹ ���ͷ��ӧҹ���ǡѹ �ա������˹�觡��ͤ�������ѹ���ҹ��Ҿ�Ǵ�����ҧ�ѧ����ШԵ� (Climate or Social-Psychological Relationship) �¤�������ѹ��оѲ�Ң����е�ͧ��Сͺ����ͧ���Сͺ���

��Ҿ�Ǵ�����ҧ�ѧ����ШԵ� ������ҧ����ҡ�Ȣͧ���������������������ʹѺʹع���������Ǣ�ͧ�Ѻ���������èЪ����Դ������ҧ��������ѹ����բ�� �蹡�������͹��ҡѹ ����¾��Сѹ�ҡ�͹ �·ӧҹ�ҹ�����ѹ ��������з�觡�����͡���㨡ѹ

�������� 㹡�����ҧ��������ѹ�������ҧ�ѹ���Ҩ���ͧ���Сͺ ��������Դ��������ѹ�������ҡ��� ������ҹҹ��� ��з�����Դ�������������ѹ ����ҧ㨫�觡ѹ��Сѹ

����š����¹�����Ţ�����������ѹ ����š����¹������âͧ�������������ҧ��������ѹ�������ҧ�ѹ ����ö������ 2 Ẻ��� �š����¹�����šѹ��ǡ��ҧ(Breadth) ������֡(Depth) ��ǡ��ҧ��鹨��繡���š����¹�����ŷ�������дѺ����Թ ��������ѡ�ѹ��Ф�¡ѹ���Ǣ�ͷ����ҡ�����͡����ǡѺ�Թ����ҡ�� ����� ��÷�ͧ����� ���������֡���������ͧ�������ǹ����ҡ��� �Ҩ����ǡѺ��ͺ�������˹�ҷ���çҹ ��觨��Դ���������â���Ẻ㴹�鹡�������Ѻ��Ҽ����������դ������㨷�������Դ��������ѹ������дѺ�

�������ҧ㨫�觡ѹ��Сѹ ��÷��ؤ���դ������� ����֡��ʹ��� ʺ��� ��ͺؤ��㴺ؤ��˹�� �����������������Դ��������ѹ������¢��

�����ѡ��С�äǺ�����觡ѹ��Сѹ �����ѡ �������´ ��äǺ��� ��ê��� ��ê�������͡ѹ ���������͡ѹ ����ö�觼�����Դ��������ѹ����� 2 Ẻ��� ��þ�觾ҫ�觡ѹ��Сѹ ��ͷ���ͧ�������Ѻ��õͺʹͧ�ش������������ѹ�ҡ��������ѹ��������Ѻ�Ż���ª���駤�� ��աẺ���ͤ�������ѹ��Ẻ���� �¡��������÷���Դ��鹺����Ъ������ҧ��������ѹ�����Դ����׹��Ǣ��

บุคคลเรียนรู้จักตนเองได้จากการมีความสัมพันธ์กับผู้อื่น จากสัมพันธภาพนี้ บุคคลจะได้รู้จุดเด่น และจุดด้อยของตนเอง รู้และเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล รวมทั้งเรียนรู้ความเป็นจริงของโลก โดยสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคลจะช่วยให้การเรียนรู้เป็นไปโดยไม่บิดเบือน มีการยอมรับและเข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างที่เป็นจริง ดังนั้นสัมพันธภาพอันดีระหว่างบุคคล จึงเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำบุคคลไปสู่ การพัฒนาเอกลักษณ์ของตนเอง การมีความรู้สึกว่าชีวิตมีความหมายและมีคุณค่า และการมีสุขภาพจิตที่ดีและสามารถพัฒนาตนให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของตนได้ แต่บุคคลที่ไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นได้ จะรู้สึกอ้างว้าง โดดเดี่ยว เกิดความรู้สึกว่าชีวิตไร้ความหมาย และนำไปสู่ความรู้สึกซึมเศร้า และท้อแท้ในชีวิต และการมีพฤติกรรมที่เป็นปัญหาได้ เช่น พฤติกรรมแยกตัวจากสังคม การติดยาเสพติด เป็นต้น

การสร้างและคงไว้ซึ่งสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นจะเกิดบรรลุผลได้ ต้องอาศัยคุณลักษณะที่สำคัญของบุคคลในการยอมรับและส่งเสริมซึ่งกันและกัน และนอกจากนี้ ปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ทักษะการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น อันได้แก่ การเปิดเผยตนเอง การไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจ

คุณลักษณะสำคัญของบุคคลในการสร้างสัมพันธภาพ (Relationship or Rapport)

ความสัมพันธ์ระหว่าง คน 2 คน จะเป็นสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน ต้องอาศัยคุณลักษณะภายในหรือทัศนคติของบุคคลที่สำคัญบางประการ ได้แก่

การยอมรับและให้เกียรติ หมายถึง การยอมรับลักษณะส่วนตัวหรือลักษณะเฉพาะของบุคคลตามที่เขาเป็น ให้เกียรติและเคารพในคุณค่าของบุคคล มีความเป็นมิตร และความอบอุ่นใจแก่ผู้อื่น
การเข้าใจสาระและความรู้สึก หมายถึง การเข้าใจในเนื้อหาสาระของสิ่งที่สื่อสารระหว่างกัน และเข้าใจในความรู้สึกของผู้อื่นเสมือนเราเป็นตัวเขา ซึ่งในสัมพันธภาพที่ขาดความเข้าใจความรู้สึกซึ่งกันและกัน สัมพันธภาพนั้นไม่สามารถดำเนินไปถึงขั้นที่ลึกซึ้งได้
การจริงใจ หมายถึง การไม่เสแสร้งในการแสดงออกถึงความคิด ความรู้สึก และทัศนคติของตนเอง
คุณลักษณะของบุคคล 3 ประการนี้ จะส่งผลต่อสัมพันธภาพระหว่างบุคคลได้มากน้อยเพียงใดนั้น ไม่ใช่เพียงแต่มีคุณลักษณะเช่นนี้อยู่ภายในเท่านั้น สิ่งสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ ความสามารถในการสื่อ หรือแสดงออกถึงคุณลักษณะเหล่านี้ออกมาให้ผู้อื่นรับรู้ด้วย ซึ่งความสามารถในการแสดงออก หรือการสื่อสารให้ผู้อื่นทราบถึงคุณลักษณะสำคัญเหล่านี้ เรียกว่า ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีระหว่างบุคคล

ทักษะการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นเป็นสิ่งจำเป็น

สัมพันธภาพระหว่างบุคคลเกิดขึ้นได้หลายรูปแบบ บางคู่เกิดขึ้นเป็นแค่เพียงความรู้จัก บางคู่เป็นความสนิทสนม กลายเป็นเพื่อนรัก คู่รัก หรือคู่สมรส บางคู่สัมพันธภาพมีอันต้องสิ้นสุดลง ด้วยความเบื่อหน่ายหรือทุกข์ใจ ซึ่งสัมพันธภาพระหว่างบุคคลจะเริ่มต้นและดำเนินไปอย่างลึกซึ้ง หรือมีอันต้องสิ้นสุดลงนั้น ขึ้นกับทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล จะช่วยให้สัมพันธภาพได้มีโอกาสเริ่มต้นขึ้นและดำเนินต่อไป เป็นสัมพันธภาพที่แน่นแฟ้นลึกซึ้งยิ่งขึ้น และคงไว้ซึ่งสัมพันะภาพที่ดีต่อกันได้ ด้วยบรรยากาศของความเชื่อใจและไว้วางใจซึ่งกันและกัน และการสื่อสารความเข้าใจต่อกัน

ครูต้นขอใช้กระบวนการของมะขามป้อมนะครับ จัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยการใช้กระบวนการเรียนรู้ Learning Curve 5 ขั้นตอน

ชั่วโมงที่ 1

1. Intro เรียกความพร้อม

วันนี้เราจะเรียนเรื่องการสื่อสารแต่ Wifi ไม่มี เอาไงดีหล่ะนักเรียน เช็คชื่อก่อนแหละ วันนี้โจทย์คือเครื่องมือสื่อสารอะไรก็ได้ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เริ่ม จิรายุ -นกพิราบ เบลล่า - Line ฯลฯ ต่อด้วยเกมดารากับการสื่อสาร **ใช่หรือไม่** วิธีเล่น ครูตั้งโจทย์ขึ้นมาถามนักเรียน ใครเห็นว่าใช่ให้อยู่ฝั่งขวาของครู ใครคิดว่าไม่ใช่ให้อยู่ฝั่งซ้าย เช่น ณเดชน์ไม่เคยเป็นพรีเซ็นเตอร์เครื่องมือสื่อสาร

2. Stimulate กระตุ้นให้อยากรู้

ครูสอบถามนักเรียนว่า หากเกิดสถานการณ์ต่อไปนี้กับนักเรียน นักเรียนจะทําอย่างไร

  •  - ปวดอุจจาระมาก จนขนาดอั้นไว้ไม่อยู่ แต่ถึงคิวต้องออกไปรายงานหน้าห้อง
  •  - ทํางานส่งครูไม่ทันจริงๆ เพราะเมื่อคืนพ่อกับแม่ทะเลาะกันจนบ้านแทบแตก ไม่มีสติและสมาธิที่จะทําอะไร จะต้องถูกครูหักคะแนน
  •  - ไปตามนัดกับเพื่อนไม่ได้จริง ๆ เพราะแม่ป่วยต้องเข้าโรงพยาบาลกะทันหัน
  •  - แม่ถามว่าจะไปไหน โรงเรียนเลิกแล้วไม่ใช่หรือ
  •  - เพื่อนคุยกันเสียงดัง ไม่ได้ยินที่ครูสอน
  •  - แฟนงอนไม่พูดด้วยสามวันแล้ว ฯลฯ (ตามที่เห็นว่าเป็นสถานการณ์ที่ต้องใช้การสื่อสาร)

ครูฟังคําตอบนักเรียน และพูดคุยให้นักเรียนตระหนักว่า การพูด การบอกความคิด ความรู้สึก หรือเหตุผลความจําเป็นต่าง ๆ กับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับเรา เป็นเรื่องธรรมดาในชีวิตประจําวัน ตราบใดที่เราต้องอยู่ร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งเราจะเรียกว่า “การสื่อสารระหว่างบุคคล” 

3. Learn เรียนรู้จากประสบการณ์

ให้นักเรียนเรียนรู้รูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 แบบ คือ การสื่อสารทางเดียว กับ การสื่อสารสองทาง โดยให้ทํากิจกรรมตามลําดับดังนี้

1) แบ่งนักเรียนเป็นกลุ่ม ๆ ละ 6-10 คน แต่ละกลุ่มส่งตัวแทน 1 คน เพื่อเป็นคน คนออกคําสั่งให้สมาชิกในกลุ่มวาดรูปตามแบบที่ครูเตรียมไว้ โดยมีกติกาว่า “ห้ามสมาชิกซักถาม ให้ทําตาม คําสั่งอย่างเดียว” และ “ผู้สั่ง สั่งอย่างเดียว ไม่ให้ใช้กิริยาท่าทางบอกใบ้” (หมายเหตุรูปที่เตรียมไว้ คือรูปที่สามารถอธิบายเป็นคำได้ไม่ยาก เช่น รูปทุ่งหญ้ากว้างมีกังหันลม มีนกบินอยู่บนท้องฟ้า ให้ดูว่านักเรียนสามารถคิดซับซ้อนได้หรือไม่ ตามใจครูครับ)

2) เมื่อสมาชิกทุกคนวาดเสร็จ ครูสุ่มสมาชิกที่วาดรูปไม่เหมือนกัน 7 – 8 คน ออกมาแสดงผลงานที่ตนวาดให้สมาชิกอื่น ๆ ดู

3) ให้แต่ละกลุ่มวาดรูปตามแบบเดิมอีกครั้ง โดยให้คนสั่งทําหน้าที่เหมือนเดิม แต่ ครั้งนี้เปิดโอกาสให้สมาชิกซักถามได้ถ้าสงสัยหรือไม่เข้าใจคําสั่ง

4) เมื่อสมาชิกวาดรูปเสร็จ ครูสุ่มสมาชิกที่วาดรูป 7 – 8 คน ออกมาแสดงผลงานที่ ตนวาดให้สมาชิกอื่น ๆ ดู

5) ให้สมาชิกเปรียบเทียบภาพที่วาดทั้งสองครั้ง ว่าการวาดครั้งใดเหมือนหรือ ใกล้เคียงกับรูปต้นแบบ เพราะเหตุใด

4. Conclusion ทวน/ถอดบทเรียนร่วมกัน

ให้นักเรียนร่วมกันอภิปราย ในประเด็นต่อไปนี้ - เพราะอะไรเราต้องสื่อสารสองทาง - เราสื่อสารสองทางได้ประโยชน์อย่างไร - วิธีการสื่อสารสองทางอย่างมีประสิทธิภาพมีอะไรบ้าง

5. Apply ชวนให้ปรับใช้ในชีวิต ประจำวัน

ให้นักเรียนสรุปแนวคิดที่ได้จากกิจกรรม (แนวสรุป : การสื่อสารที่ดี ควรเป็นการสื่อสาร สองทาง (Two-Way Communication) จากฝ่ายหนึ่งไปยังอีกฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเป็นการสื่อสารที่ผู้รับข้อมูลจะ สามารถสื่อสาร โต้ตอบกับผู้ให้ข้อมูลได้ มีการใส่ใจซึ่งกันและกัน เปิดโอกาสให้ผู้รับข้อมูล มีโอกาสสอบถามข้อ สงสัย มีโอกาสแสดงความคิดเห็น ก่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันทั้งผู้ส่งและผู้รับ นําไปสู่สัมพันธภาพที่ ดีต่อกัน เพราะรากฐานที่แท้ของการสื่อสาร คือการเชื่อมโยงจิตใจของคนเข้าด้วยกัน)

ชั่วโมงที่ 2

กิจกรรม **ใบ้คำทายคำ** (วิธีเล่น 1.นักเรียนนั่งเป็นแถวตอนลึกตามกลุ่มเมื่อชั่วโมงที่แล้ว 2. นักเรียนได้รับโจทย์ที่ครูเตรียมไว้ ได้แก่ รุ่นของโทรศัพท์ แต่ละกลุ่มได้ชื่อของรุ่นไม่ซ้ำกัน 3.นักเรียนคนแรกที่ได้รับโจทย์อ่านไม่ออกเสียง (ลิปซิ้งค์) ยี่ห้อโทรศัพท์นั้นๆให้เพื่อนคนที่ 2 เดาจากการขยับปาก เมื่อคนที่ 2 อ่่านปากแล้ว ก็กลับหลังหันทำแบบนี้จนถึงคนสุดท้าย) หมายเหตุ ครูอาจเตรียมสุภาษิตคำพังเพยหรือเนื้อเพลงไว้เล่นต่อสัก 2-3 รอบ

ทบทวนรูปแบบการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 รูปแบบ จากการเรียนรู้ในชั่วโมงที่ผ่านมาและถามนักเรียนว่า ในการสื่อสารสนทนากับบุคคลต่าง ๆ ที่ผ่านมา มีบ้างไหมที่เคยพูดกันไม่รู้เรื่อง ไม่เข้าใจกัน บางครั้งก็ทะเลาะกัน บางครั้งก็เกิดปัญหาต่าง ๆ ตามมา ให้นักเรียนอาสาสมัคร 1 คู่บอกเล่า โดยการแสดงบทบาทสมมติการสื่อสารที่ไม่เข้าใจนั้น ๆ จากประสบการณ์ที่เคยเจอมา

ให้นักเรียนอภิปรายการแสดงบทบาทสมมติของเพื่อน ในประเด็นต่อไปนี้

  • - เป็นการสื่อสารทางเดียว หรือ สองทาง (เป็นการสื่อสารสองทาง แต่เป็นไปในทางที่ไม่เข้าใจกัน)
  • - คิดว่าใครผิด เพราะอะไร (ผิดทั้งคู่ เพราะต่างๆไม่ฟังกัน)
  • - สัมพันธภาพระหว่างคู่สนทนาดีหรือไม่ดี (ไม่ดี)
  • - อะไรทําให้เกิดความไม่เข้าใจกัน (การไม่ใส่ใจกัน ไม่ฟังกัน เอาตัวเองเป็นหลัก)
  • - ผลของการสื่อสารที่ไม่เข้าใจก่อให้เกิดผลอะไรตามมาบ้าง เป็นผลดีหรือไม่ดีต่อสัมพันธภาพของบุคคลทั้งสองฝ่าย

ครูนําเสนอหลักคิดและแนวปฏิบัติในการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดี ดังนี้

หลักคิด : การสนทนาการสื่อสารกันเพื่อให้รับรู้เรื่องราวที่เป็นประโยชน์ เกิดสัมพันภาพที่ดีต่อกัน

แนวปฏิบัติ : ใส่ใจฟังอย่างตั้งใจ สนใจทั้งความคิดและความรู้สึกของคู่สนทนา

: ใส่ใจถาม เพื่อให้รู้ เพื่อให้เข้าใจคู่สนทนามากขึ้น ให้เกียรติและเชื่อว่าทุกคนมีความคิดและเหตุผลของตนเอง

: มีสติรู้ตัวทุกขณะเวลาสื่อสารกับผู้อื่น

**เพื่อนช่วยเพื่อน** ให้นักเรียนร่วมกันสร้างบทสนทนาการสื่อสารระหว่างบุคคล 2 แบบของบุคคล 3 คู่ 1.นักเรียน-พ่อ 2. นักเรียน-แม่ 3.นักเรียน-เพื่อน 4.นักเรียน-คนอื่นๆ แบบไม่เข้าใจกัน และแสดงออกมา จากนั้นให้กลุ่มเดิมร่วมกันแก้ไขบทบทสนทนาให้เข้าใจกันมากขึ้น และชวนพูดคุยในประเด็นในประเด็นต่อไปนี้

  • - การสื่อสารแบบใดได้เป็นประโยชน์ เกิดความเข้าใจกัน มีสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน
  • - คิดว่าใครเป็นคนเปลี่ยน ถึงทําให้เข้าใจกัน
  • - อะไรทําให้เกิดความเข้าใจและเกิดสัมพันธภาพที่ดีต่อกัน (การใส่ใจกัน ฟังกันไม่เอาตัวเองเป็นหลัก)

การบ้าน ให้นักเรียนทบทวนหลักคิดและแนวปฏิบัติในการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันและมอบหมายให้นักเรียนนําไปฝึกฝน โดยการแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มๆละ 10 คน (หรือตามความเหมาะสม) ให้แต่ละกลุ่มจับฉลากเลือกหัวข้อ ในการสื่อสารเพื่อสัมพันธภาพที่ดีต่อกันในสถานการณ์ต่าง ๆ และให้เตรียมนําเสนอโดยการแสดงบทบาทสมมติในชั่วโมงต่อไป

กลุ่มที่ 1 การสื่อสารที่เข้าใจกัน ระหว่างนักเรียน กับ พ่อ

กลุ่มที่ 2 การสื่อสารที่เข้าใจกัน ระหว่างนักเรียน กับ กับแม่

กลุ่มที่ 3 การสื่อสารที่เข้าใจกัน ระหว่างนักเรียน กับ กับครู

กลุ่มที่4 การสื่อสารที่เข้าใจกัน ระหว่างนักเรียน กับ กับเพื่อน

กลุ่มที่ 5 การสื่อสารที่เข้าใจกัน ระหว่างนักเรียน กับ คนอื่น ๆ (กําหนดตามความเหมาะสม)

ชั่วโมงที่ 3 Roleplay

ให้แต่ละกลุ่มนําเสนอการสื่อสารที่เข้าใจกัน ด้วยการแสดงบทบาทสมมติตามหัวข้อที่จับฉลากได้และให้เพื่อนต่างกลุ่มช่วยกันประเมินว่าเป็นการสื่อสารที่เหมาะสมมีผลต่อการสร้างสัมพันธภาพที่ดีต่อกันหรือไม่

นักเรียนสรุปประโยชน์การสื่อสารสองทางเพื่อสร้างสัมพันธภาพ และแนวปฏิบัติในการสื่อสาร ที่มีเป้าหมายสําคัญคือ สัมพันธภาพที่ดีต่อกัน เกิดความเข้าใจ ความสบายใจ ผ่านการสนทนาสื่อสารที่ต่างฝ่ายต่างใส่ใจซึ่งกันและกัน รับฟังกัน และถามเมื่อไม่เข้าใจ ให้โอกาสอีกฝ่ายได้บอกเล่าความคิด เหตุผลความรู้สึก ความจําเป็น ให้อีกฝ่ายได้รับทราบ ให้เกียรติ และเชื่อว่าทุกคนต่างมีความคิดและเหตุผลของตนเอง

ขั้นตอนการสื่อสารเพื่อสร้างสัมพันธภาพมีอะไรบ้าง

ในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นนั้น มีขั้นตอนที่เกี่ยวข้องอยู่หลายประการที่จะสามารถช่วยให้เกิดความสัมพันธ์ เช่น การมีทัศนคติที่ดีต่อตัวเราเองเข้าใจตัวเอง การใช้ภาษาที่ดีทั้งคำพูดและกริยาการแสดงออก ความมั่นใจในการเริ่มต้นสนทนา การจดจำชื่อและให้ความสำคัญคู่สนทนา การเป็นผู้ฟังที่ดี การเปิดเผยตัวเองเพื่อให้ผู้อื่นรู้จัก ...

การสร้างสัมพันธภาพมีกี่แบบ

การสร้างสัมพันธภาพ มี 2 รูปแบบ คือ การสร้างสัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไป และการ สร้างสัมพันธภาพเพื่อการบาบัด ดังนี้ 1.สัมพันธภาพกับบุคคลทั่วไป มีดังนี้ 1.1 ความใกล้ชิดของบุคคลที่อยู่ใกล้ชิด กัน 1.2ความเหมือนกันหรือความคล้ายกัน กับตนเอง 1.3สถานการณ์ที่ท าให้เกิดความสัมพันธ์ ที่ดีต่อกัน

ข้อใดคือ การสื่อสาร สร้างความสัมพันธ์ที่ดี

การสร้างความสัมพันธ์ที่ดี นักสื่อสารจะสร้างความสัมพันธ์ก่อนการสื่อสารโดยการเข้าใจความต้องการของผู้ฟัง พูดในเรื่องที่ผู้ฟังสนใจ อยู่ในโลกของผู้ฟัง มีความรักให้กับผู้ฟัง อยากช่วยเหลือผู้ฟัง มากกว่าความต้องการของผู้สื่อสารเพียงอย่างเดียว ทำให้ผู้ฟังเกิดความรู้สึกที่ดี และความเข้าใจในเจตนาของผู้สื่อสาร ว่าต้องการสื่อสาร ...

ลักษณะของการสื่อสารเพื่อรักษาสัมพันธภาพมีกี่ประเภท อะไรบ้าง

1. ลักษณะการสื่อสารเพื่อสัมพันธภาพ การสื่อสารแบบกัลยาณมิตร • การสื่อสารแบบสนับสนุน • การสื่อสารแบบไม่เผด็จการ • การสื่อสารแบบไว้วางใจ • การสื่อสารแบบคานึงถึงผลประโยชน์ที่เกิดแก่ส่วนรวม