การ พูด โน้มน้าว ใจ เรื่องการทิ้งขยะ

แยกขยะให้ถูกวิธี ดีต่อเรา ดีต่อโลก!

การ พูด โน้มน้าว ใจ เรื่องการทิ้งขยะ


วันนี้คุณแยกขยะถูกวิธีแล้วหรือยัง? หมดยุคของการทิ้งขยะรวมกันในถังเดียวแล้ว!!! เพราะ การแยกขยะช่วยโลกได้มากกว่าที่คิด มาดูกันว่าแยกขยะยังให้ให้ถูกวิธี นำกลับมารีไซเคิลได้ไม่ยาก ยิ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 ด้วยแล้ว การแยกขยะนอกจากจะช่วยเซฟโลก ยังเซฟเจ้าหน้าที่กำจัดขยะด้วยนะ 

การ พูด โน้มน้าว ใจ เรื่องการทิ้งขยะ

รู้จักของประเภทถังขยะกัน! 

1. ถังขยะสำหรับขยะอินทรีย์ ขยะเปียก (สีเขียว)

ขยะอินทรีย์ คือ ขยะที่เน่าเสียและย่อยสลายได้เร็ว เช่น เศษอาหาร เปลือกผลไม้ เศษผัก เนื้อสัตว์ เศษใบไม้แห้ง 

ประโยชน์จากการแยกขยะ : นำไปทำปุ๋ยหมักชีวภาพ ใส่ต้นไม้ แปลงผักสวนครัวได้

2. ถังขยะสำหรับขยะทั่วไป (สีน้ำเงิน)

เป็นขยะที่มักจะย่อยสลายไม่ได้ หรือย่อยสลายยากแต่ไม่เป็นพิษและไม่คุ้มค่าต่อการรีไซเคิล จำเป็นต้องหาวิธีกำจัดอย่างถูกวิธี เช่น ซองขนม กล่องโฟม ถุงพลาสติก  ภาชนะปนเปื้อนอาหาร กระดาษชานอ้อย

ประโยชน์จากการแยกขยะ : นำผ่านเทคโนโลยีการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้เป็นวัสดุใหม่

3.ถังขยะสำหรับขยะรีไซเคิล (สีเหลือง)

ขยะรีไซเคิลก็คือขยะที่เราทิ้งไปแล้วสามารถนำกลับมาใช้ซ้ำอีกครั้งได้ ไม่ใช่ใช้ครั้งเดียวแล้วทิ้ง เช่น ขวดพลาสติก, ถุงพลาสติก, ขวดแก้ว, กระป๋อง, กล่องกระดาษ, กระดาษ

ประโยชน์จากการแยกขยะ: ผลิตขาเทียม ผลิตหลังคารีไซเคิล ผลิตหลอดไฟ ผลิตจีวรพระสงฆ์

4. ถังขยะสำหรับขยะอันตราย (สีแดง)

ขยะอันตราย คือ ขยะที่มีสารปนเปื้อนวัตถุอันตรายชนิดต่างๆ เช่น สารพิษ วัตถุติดเชื้อได้ วัตถุกัดกร่อน เช่น ถ่านไฟฉาย, อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์, ยาหมดอายุ, วัตถุไวไฟ, กระป๋องเสปรย์

ประโยชน์จากการแยกขยะ: แยกขยะเพื่อนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีตาม เพื่อไม่ไห้รั่วซึมลงแหล่งน้ำ หรือชั้นผิวดิน

ส่วนข้อดีของการแยกขยะก็มีมากมาย! ไม่ว่าจะเป็น

ช่วยลดปริมาณขยะ 
การ
แยกขยะเพิ่มการนำกลับมารีไซเคิล เราจะเหลือขยะที่ต้องกำจัดน้อยลง ขยะบนโลกก็จะลดลงด้วย

ประหยัดงบในการกำจัดขยะ 
นำงบส่วนนี้ไปพัฒนาด้านอื่นๆ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้

ลดการสิ้นเปลืองพลังงานและทรัพยากร 
ของที่สามารถกลับมา
รีไซเคิลได้จะช่วยเพิ่มรายได้และลดทรัพยากรโลกในการผลิตใหม่อีกครั้งด้วยนะ

รักษาสิ่งแวดล้อมลดมลพิษในโลก
การแยกขยะ ทำให้เรากำจัดขยะได้ถูกวิธีมากขึ้น ลดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม


ข้อดีของการแยกขยะ มีเพียบเลยใช่ไหมคะ? :) รู้อย่างนี้แล้วต้องช่วยกันแยกขยะเพื่อเรา เพื่อโลกกันนะ ที่บ้านเพื่อนๆ แยกขยะยังไงกันบ้างมาแชร์ไอเดียกันได้ที่ Facebook Page : CP for Sustainability ลิงค์นี้เลย
https://www.facebook.com/CPGroupSustainability/posts/1330283557169709

การแยกขยะ คืออะไร แล้วมัน #ช่วยคุณได้อย่างไร

ทุกวันนี้ ปัญหาเรื่องการจัดการขยะ ถือเป็นหนึ่งปัญหาระดับโลก เลยก็ว่าได้ ยิ่งมนุษย์มีพัฒนาการด้านความเจริญทางวัตถุมากขึ้น ขยะจากความเจริญ ก็มีมากขึ้น และที่สำคัญ ขยะที่เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม ก็มีมากขึ้นเช่นกัน

เรามักจะได้เห็นข่าว เกี่ยวกับปัญหาขยะต่อสิ่งแวดล้อม ไม่ว่าจะเป็นทางทะเล ต่อสัตว์น้ำ หรือขยะอันตราย ปะปนลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ ก่อให้เกิดผลเสียมากมาย

คนจำนวนมากทราบถึงข้อมูลเหล่านี้อย่างผ่าน ๆ แต่ในชีวิตประจำวัน อาจจะนึกไม่ถึงว่า ตัวเราคนเดียว มีผลกระทบกับปัญหานี้อย่างไร หรือเราคนเดียว จะช่วยอะไรกับเรื่องนี้ได้บ้าง จึงเป็นธรรมดา ที่จะไม่ได้ให้ความสนใจกับมันมากนัก

แต่ผมก็เชื่อว่า หลาย ๆ คน ต้องเคยนึกสงสัยเรื่องนี้ ไม่มากก็น้อย ว่า ขยะ ที่เราทิ้ง ๆ กัน ปลายทางของมัน ทิ้งแล้ว ไปไหน?

ประเทศไทยเรา เป็นประเทศที่มีการสร้างขยะเฉลี่ยอยู่ที่อันดับ 70-80 ของโลก โดยประชากรหนึ่งคน จะผลิตขยะเฉลี่ย 1.1-1.5 กิโลกรัม ต่อวัน

จากข้อมูลปี 59 พบว่าขยะตกค้างในไทย หากนำมากองรวมกัน จะมีขนาดเท่ากับตึกใบหยก 147 ตึกเลยทีเดียว! โดยขยะส่วนมาก 64% เป็นขยะอินทรีย์ เช่น กิ่งไม้ เศษอาหาร อีก 30% เป็นขยะรีไซเคิล 3% เป็นขยะทั่วไป และ 3% เป็นขยะของเสียอันตราย

จากจำนวนขยะที่กล่าวมา มีการจัดการที่ถูกต้องตามกรรมวิธี เพียง 49% เท่านั้น
ในขณะที่อีก 51% ของขยะทั้งหมด ไม่สามารถกำจัดได้! จึงเกิดการทับถมสะสมเป็นเวลานาน เป็นกองขยะขนาดมหึมา อยู่ตามพื้นที่ต่าง ๆ ของประเทศไทย
ซึ่งบางส่วนอาจถูกนำมาเผาในที่โล่ง ส่งผลให้เกิดมลภาวะทางอากาสที่เป็นอันตรายกับประชาชนเป็นอย่างมาก

ผลกระทบจากกองขยะที่ไม่ถูกนำไปจัดการอย่างถูกต้อง นอกจากการนำไปเผาในที่โล่ง และของเหลวอันตรายที่ซึมออกมาแล้ว เมื่อเกิดการหมักยังทำให้เกิดก๊าซ ที่ส่งผลกระทบต่อมลภาวะทางอากาส เช่น Methane, Carbondioxide และ Hydrogen Sulfide (ก๊าซไข่เน่า) อีกด้วย

หากไม่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงในการจัดการ ทั้งในระดับภาครัฐ และระดับท้องถิ่นเกิดขึ้น ขยะทับถมในประเทศจะมีกองขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนวันนึง มันก็จะ..ล้น...

หนึ่งในตัวแปรสำคัญของปัญหาในการจัดการขยะคือ การที่ขยะ ปะปนกันจนไม่สามารถแยกได้อย่างมีประสิทธิภาพที่ปลายทาง ทำให้ไม่สามารถจัดการขยะมูลฝอยได้ตามที่ควรจะเป็น

แล้วเราทำอะไรกับมันได้บ้าง?

การแยกขยะ

ทุกวันนี้ ในครัวเรือนเรามักจะมีถังขยะ ถังเดียว (หรือหลายถังแต่มี Function เดียว) ที่ใช้ทิ้งทุกอย่างรวม ๆ กัน ไม่ว่าจะเป็นขยะทั่วไป ทิชชู่ เศษอาหาร ขวดพลาสติก ไปจนถึงสารเคมีหรือขยะอันตราย..โดยที่เราก็ไม่ได้นึกถึงมันมากนัก ว่าสุดท้ายปลายทางมันไปจบที่ไหน...นั่นแหละครับ คือหนึ่งในตัวการสำคัญของปัญหา! ใช่ครับ พวกเราเนี่ยแหละ ต้นตอของปัญหา! 555

ชนิดของขยะที่ถูกแยกได้ง่าย ๆ จากบ้านเราเองเลย มีดังนี้ครับ

1. ขยะย่อยสลายได้ : เศษอาหาร พืชผัก ขยะอินทรีย์ กิ่งไม้ ขยะที่สามารถนำไปผ่านกระบวนการให้กลายเป็นปุ๋ยได้

2. ขยะรีไซเคิล : ขยะที่สามารถนำไปผ่านกระบวนการรีไซเคิล เพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น กระดาษ ขวดพลาสติก แก้ว เศษเหล็ก โลหะ (นำไปขายได้)

3. ขยะทั่วไป : ขยะที่ย่อยสลายยากและไม่คุ้มต่อการรีไซเคิล เช่น ถุงพลาสติก ถุงขนม เศษพลาสติกเช่นซองลูกอม หลอด ฯลฯ

4. ขยะพิษ : ขยะอันตราย เช่นสารเคมี หรือขยะที่มีพิษต้องผ่านกระบวนการกำจัดอย่างถูกวิธีเท่านั้น เช่น หลอดไฟ กระป๋องสี กระป๋องสารเคมี ยาฆ่าแมลง ยาฆ่าหญ้า น้ำมันเครื่อง ฯลฯ

หากเราสามารถแยกขยะเบื้องต้นได้ดังนี้แล้ว เมื่อขยะถูกลำเลียงไปยังสถานที่จัดการขยะที่ได้มาตรฐาน ขยะเหล่านี้ จะเป็นขยะที่ถูกนำไปผ่านกระบวนการที่ กำจัดได้ รีไซเคิลได้ หมักปุ๋ยได้ แยกกำจัดเพื่อไม่ให้มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้มากที่สุด หรือในกรณีที่กระบวนการจัดการมีประสิทธิภาพ อาจนำไปสร้างเป็นมูลค่าให้กับสังคมและประเทศชาติได้อีกด้วย

จากขยะ สู่มูลค่า?

ในปัจจุบัน มีหลายประเทศที่นำเอาเทคโนโลยีในการแปรรูปขยะอย่างมีประสิทธิภาพ กลับมาสร้างมูลค่า จากขยะได้อย่างมหาสาร เรามาดูตัวอย่างประเทศเพื่อนบ้านเรากันดีกว่าครับ กับประเทศ สิงคโปร์

(Chart ข้างบนเป็นสถิติปี 2014…ไม่ธรรมดาจริง ๆ ครับ)

ประเทศสิงคโปร์ มีระบบจัดการขยะที่น่าทึ่ง หากคำนึงจากวิถีชีวิตแบบเมืองใหญ่ของชาวสิงคโปร์ซึ่งรักการช็อปปิ้งเป็นชีวิตจิตใจ ในขณะเดียวกัน ชาวสิงคโปร์ ก็รักความสะอาดเป็นชีวิตจิตใจเช่นกัน

ด้วยความที่เนื้อที่ในประเทศ เล็กกว่า กทม. ถึง 3 เท่า ประเทศสิงคโปร์จึงมีระบบจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพมาก และสามารถรับมือจัดการกับกระบวนการทุกขั้นตอนได้เป็นอย่างดี โดยเริ่มต้นกระบวนการทั้งหมดจากการนำเรือท้องแบน ขนขยะจากทางตอนเหนือของเกาะ ลงมายังทางตอนใต้สู่เขตที่เรียกว่า “เซมาเกา” ซึ่งเป็นที่ตั้งของโรงงานเผาขยะและแยกขยะถึง 4 โรงด้วยกัน

ขยะจะถูกนำไปแยกอย่างมีประสิทธิภาพ และขยะส่วนที่เผาได้ จะถูกส่งไปยังโรงเผาขยะความร้อนสูง ที่จะทำการเผาขยะ ซึ่งในกระบวนการเผาขยะนี้ พวกเขาสามารถผลิตไฟฟ้าจากการเผาขยะ ได้มากเท่ากับไฟฟ้า 3% ของทั้งประเทศเลยทีเดียว (เยอะมากกกกก นะครับ) ซึ่งทางโรงเผาขยะ ก็จะทำการขายไฟฟ้าที่ผลิตได้ให้กับการไฟฟ้า คิดเป็นมูลค่าหลายสิบล้านบาทต่อปี (เป็นเงินไทยประมาณ 80 ล้านบาท)

และเมื่อขยะถูกเผาด้วยกรรมวิธีแบบพิเศษ และความร้อนสูงมาก (900-1200 องศา ) จะเกิดเป็นขี้เถ้าที่มีความละเอียด ซึ่งจะถูกนำมาตรวจสอบก่อนว่า ไม่มีสารเคมีปนเปื้อนเกินปริมาณที่ปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม ก่อนจะถูกนำไปใช้ในการถมเกาะ สร้างแผ่นดินใหม่ (ซึ่งแน่นอน มีการล้อมบริเวณและปูแผ่นยางทุกครั้ง เพื่อป้องกันการรั่วไหล แม้ปริมาณสารปนเปื้อนจะแทบไม่มีอันตรายต่อสิ่งแวดล้อม เพราะระเหยไปกับกระบวนการเผาแล้วก็ตาม) และขยะในส่วนที่เหลือจากกระบวนการนี้ จึงเหลือแต่ขยะ รีไซเคิล ซึ่งสามารถนำกลับไปแปรรูปได้
ทำให้ประเทศสิงคโปร์ เป็นหนึ่งในประเทศที่มีการจัดการขยะ ดีที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ มีมาตรฐานที่ใกล้เคียงกับประเทศญี่ปุ่นเลยทีเดียว

*เกาะธรรมชาติที่ใช้ขี้เถ้าถม

ทางการ ได้มีการจัดตั้งโครงการชื่อ Zero Waste ขึ้นมา โดยมีเป้าหมายว่า ภายในปี 2030 ประเทศจะมีพื้นที่ใช้สอย จากกระบวนการถมที่ด้วยขยะ มากขึ้น 25% จากพื้นที่เดิม และภายในปี 2040 จะสามารถรีไซเคิลและใช้ประโยชน์จากขยะให้ได้มากถึง 90% โดยมีการวางแผนงานให้เพิ่มประสิทธิภาพ ให้ได้ไม่น้อยกว่า 5% ต่อปี นับจากปี 2015
ที่สำคัญ ในพื้นที่ ๆ ถูกถมขึ้นมาใหม่ ทางการต้องการจะสร้างสิ่งแวดล้อมที่อุดมสมบูรณ์ จึงมีโครงการสร้างเป็นเขตธรรมชาติ เพื่อการศึกษา โดยมีป่าโกงกางที่สมบูรณ์ และมีความหลากหลายทางชีวภาพ ไม่แพ้กับป่าโกงกางธรรมชาติในเขตบ้านเราปัจจุบันเลยทีเดียว

แล้วการแยกขยะ #ช่วยคุณได้อย่างไร

สุดท้ายนะครับ ผมเชื่อว่าการแยกขยะ นอกจากจะช่วยเรา จากวิกฤตทางสิ่งแวดล้อมแล้ว ยังสามารถช่วยบ่มเพาะเราในเรื่องของจิตสำนึกร่วมต่อสังคมอีกด้วย (Social Awareness)

แม้ว่าปัจจุบัน เราซูมตัวเองกลับมาที่ประเทศไทย ที่การจัดการขยะยังถูกทำอย่างไม่เต็มประสิทธิภาพ และถึงแม้ จะมีหลากหลายโครงการดี ๆ ที่เกิดขึ้น แต่ก็ยังคงไม่สามารถที่จะแก้ไขปัญหาได้ในวงที่กว้างมากพอ

ผมยังเชื่อ ว่าพลังของคนเล็ก ๆ หรือประชาชนทั่วไป หากทุกคนมาจากจุดเริ่มต้น ที่เป็นต้นตอของปัญหา คือ "จิตสำนึก" ในสังคมส่วนรวม สถานการณ์จะดีขึ้นแน่ ๆ ครับ

ถ้าเรารอหวังพึ่งแต่เจ้าหน้าที่และภาครัฐ ลองคิดดูว่า เราทุกคนสร้างขยะ ทุกวัน แล้วโยนความรับผิดชอบไปให้คนจำนวนน้อยในการจัดการอย่าง 100% ...มันก็คงไม่ถูกต้องถูกมั้ยครับ

ถึงแม้มันจะฟังดูโบราณ แต่ผมก็ยังเชื่อในคำว่า "คนละไม้คนละมือ" ว่ามันจะเป็นทางออกที่แท้จริงของปัญหาระดับชาตินี้

เพราะเราทุกคน คือ "ต้นเหตุ" ให้เกิดขยะ ในขณะเดียวกัน เราทุกคนก็สามารถที่จะเป็น "ต้นเหตุ" ในการช่วยเหลือโลกและสังคมที่เราอยู่อาศัย ในการจัดการขยะ ด้วยเช่นกัน

เริ่มต้นจากการสร้างจิตสำนึกในครัวเรือน ส่งต่อให้มันเป็นค่านิยม ของมนุษย์รุ่นต่อ ๆ ไป

เพื่อโลกที่เรารัก และเพื่อเพื่อนร่วมโลกของเราทุกคน

Follow me at

Instagram : @Saimake

Facebook Fanpage: @SaimakeOfficial